คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้อง
กันและบรรเทาสาธารณภัย สรุปรายงานสถานการณ์ความแห้งแล้งและผลการดำเนินการให้ความช่วยเหลือ
(จนถึงวันที่ 3 มิถุนายน 2548)
1. สภาพภูมิอากาศและสภาพฝนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 27 พ.ค. — 2 มิ.ย.2548)
1.1 สภาพภูมิอากาศ ในห้วงสัปดาห์ที่ผ่านมาร่องความกดอากาศต่ำยังคงปกคลุมประเทศไทย
ตอนบน ประกอบกับมีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณอ่าวไทยและประเทศไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้
มีฝนตกชุกและมีฝนฟ้าคะนองกระจายในหลายพื้นที่ ลักษณะสภาวะอากาศเช่นนี้เอื้ออำนวยต่อการทำฝนหลวงเป็นบาง
พื้นที่ สำนักฝนหลวงและการบินเกษตรได้ปฏิบัติการทำฝนหลวงอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีฝนตกลงมาในพื้นที่เป้าหมาย
และพื้นที่ต่าง ๆ กระจายในหลายพื้นที่
1.2 สภาพฝน ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมามีฝนตกหนักในบางจังหวัด และมีฝนกระจายในพื้นที่ทุก
จังหวัดของประเทศ
1.3 ปริมาตรน้ำที่ไหลลงอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ (30 แห่งทั่วประเทศ) ในรอบ 7 วัน (ระหว่าง
วันที่ 27 พ.ค.— 2 มิ.ย. 2548) มีปริมาตรน้ำใช้การได้จริง (2 มิ.ย. 48) 10,732 ล้าน ลบ.ม.
2. ผลที่ได้รับจากปริมาณฝนตก จากการที่มีฝนตกหนักและมีฝนตกกระจายเป็นบริเวณกว้างในหลายพื้นที่
ทุกภาคของประเทศ ทำให้สามารถคลี่คลายความเดือดร้อนให้แก่ราษฎรในเรื่องน้ำอุปโภคและบริโภคและน้ำเพื่อการ
เกษตรได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งจังหวัดที่ประสบภัยแล้ง มีจำนวนหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งลดลง ดังนี้
- เปรียบเทียบกับสถานการณ์ภัยแล้งรุนแรงที่สุดของปี 2548 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2548
ปรากฏว่ามีจังหวัดประสบภัยแล้งจำนวน 71 จังหวัด 44,519 หมู่บ้าน (ร้อยละ 60.19 ของหมู่บ้านทั่วประเทศ
73,663 หมู่บ้าน) ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 3 มิถุนายน 2548) ลดลงเหลือ จำนวน 48 จังหวัด 5,166 หมู่บ้าน
ลดลง 39,353 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 7.01 ของจำนวนหมู่บ้านทั่วประเทศ
- ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมาจำนวน 4,558 หมู่บ้าน (สัปดาห์ที่ผ่านมายอด 9,724 หมู่บ้าน)
3. สถานการณ์ภัยแล้งปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 3 มิถุนายน 2548) มีจังหวัดที่ประสบภัย จำนวน
48 จังหวัด 253 อำเภอ 31 กิ่งอำเภอ 1,249 ตำบล 5,166 หมู่บ้าน 1,222,605 ครัวเรือน 4,772,956 คน
- จังหวัดที่ไม่มีรายงานสถานการณ์ภัยแล้งจำนวน 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครปฐม นนทบุรี
ปทุมธานี สมุทรสาคร
- จังหวัดที่สถานการณ์ภัยแล้งคลี่คลาย 23 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ สมุทรปราการ
อ่างทอง สิงห์บุรี สมุทรสงคราม นครนายก ปัตตานี พังงา ร้อยเอ็ด แม่ฮ่องสอน มุกดาหาร สระบุรี
ราชบุรี พระนครศรีอยุธยา ปราจีนบุรี จันทบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง ตราด ภูเก็ต สกลนคร และ
ลำพูน
พื้นที่การเกษตรที่ประสบความแห้งแล้ง (ภาพรวมทั้งประเทศ)
ประเภทพืช พื้นที่การเกษตรที่ได้รับ พื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะประสบความเสียหาย (ไร่)
ความเสียหายแล้ว เปรียบเทียบ หมายเหตุ
(ก.ย.-ธ.ค. 2547) (ไร่) ( ณ 21 มี.ค.2548 ) ( ณ 3 มิ.ย.2548 ) ( - ลด + เพิ่มขึ้น )
นาข้าว 10,098,546 ไร่ 6,029,059 ไร่ 106,637 ไร่ -5,922,422 ไร่ มีการเก็บเกี่ยว
พืชไร่ 3,017,045 ไร่ 3,445,430 ไร่ 166,727 ไร่ -3,278,703 ไร่ ข้าวนาปรัง และมีฝนตกทำให้พื้นที่คาดว่าเสียหายลดลง
พืชสวน 511,423 ไร่ 2,281,829 ไร่ 480,111 ไร่ -1,801,718 ไร่
รวม 13,627,014 ไร่ 11,756,318 ไร่ 753,475 ไร่ -11,002,843 ไร่
มูลค่าความเสียหาย 7,544,841,439 บาท 5,909,796,250 บาท 380,876,730 บาท -5,528,919,520 บาท
การดำเนินการแจกจ่ายน้ำของจังหวัด/อำเภอ
(1) การช่วยเหลือน้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่นอกเขตชลประทาน
- ใช้รถบรรทุกน้ำ 328 คัน 39,474 เที่ยว
- ปริมาณน้ำ 897,934,300 ลิตร (เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 120,000 ลิตร)
- ใช้เครื่องสูบน้ำ รวม 32,667 เครื่อง
- สร้างทำนบ/ฝายเก็บกักน้ำ 11,782 แห่ง ขุดลอกแหล่งน้ำ 4,824 แห่ง
(2) การช่วยเหลือด้านน้ำอุปโภค/บริโภค
- รถบรรทุกน้ำ จำนวน 2,767 คัน 260,410 เที่ยว
- ปริมาณน้ำที่แจกจ่าย 2,459,652,709 ลิตร (เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 68,923,255 ลิตร)
- การเป่าล้างบ่อบาดาล 26,095 บ่อ
- ซ่อมถังน้ำกลาง คสล. 12,400 ถัง
- ซ่อมประปาหมู่บ้าน 7,721 แห่ง
(3) งบประมาณดำเนินการใช้จ่ายไปแล้ว
- งบฉุกเฉินทดรองราชการของจังหวัด(งบ 50 ล้านบาท) 1,196,427,415 บาท
- งบฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 395,010,040.97 บาท
- งบประมาณอื่น ๆ เช่น งบจังหวัด CEO 259,023,865 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,850,461,320.97 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 มิถุนายน 2548--จบ--
กันและบรรเทาสาธารณภัย สรุปรายงานสถานการณ์ความแห้งแล้งและผลการดำเนินการให้ความช่วยเหลือ
(จนถึงวันที่ 3 มิถุนายน 2548)
1. สภาพภูมิอากาศและสภาพฝนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 27 พ.ค. — 2 มิ.ย.2548)
1.1 สภาพภูมิอากาศ ในห้วงสัปดาห์ที่ผ่านมาร่องความกดอากาศต่ำยังคงปกคลุมประเทศไทย
ตอนบน ประกอบกับมีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณอ่าวไทยและประเทศไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้
มีฝนตกชุกและมีฝนฟ้าคะนองกระจายในหลายพื้นที่ ลักษณะสภาวะอากาศเช่นนี้เอื้ออำนวยต่อการทำฝนหลวงเป็นบาง
พื้นที่ สำนักฝนหลวงและการบินเกษตรได้ปฏิบัติการทำฝนหลวงอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีฝนตกลงมาในพื้นที่เป้าหมาย
และพื้นที่ต่าง ๆ กระจายในหลายพื้นที่
1.2 สภาพฝน ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมามีฝนตกหนักในบางจังหวัด และมีฝนกระจายในพื้นที่ทุก
จังหวัดของประเทศ
1.3 ปริมาตรน้ำที่ไหลลงอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ (30 แห่งทั่วประเทศ) ในรอบ 7 วัน (ระหว่าง
วันที่ 27 พ.ค.— 2 มิ.ย. 2548) มีปริมาตรน้ำใช้การได้จริง (2 มิ.ย. 48) 10,732 ล้าน ลบ.ม.
2. ผลที่ได้รับจากปริมาณฝนตก จากการที่มีฝนตกหนักและมีฝนตกกระจายเป็นบริเวณกว้างในหลายพื้นที่
ทุกภาคของประเทศ ทำให้สามารถคลี่คลายความเดือดร้อนให้แก่ราษฎรในเรื่องน้ำอุปโภคและบริโภคและน้ำเพื่อการ
เกษตรได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งจังหวัดที่ประสบภัยแล้ง มีจำนวนหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งลดลง ดังนี้
- เปรียบเทียบกับสถานการณ์ภัยแล้งรุนแรงที่สุดของปี 2548 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2548
ปรากฏว่ามีจังหวัดประสบภัยแล้งจำนวน 71 จังหวัด 44,519 หมู่บ้าน (ร้อยละ 60.19 ของหมู่บ้านทั่วประเทศ
73,663 หมู่บ้าน) ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 3 มิถุนายน 2548) ลดลงเหลือ จำนวน 48 จังหวัด 5,166 หมู่บ้าน
ลดลง 39,353 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 7.01 ของจำนวนหมู่บ้านทั่วประเทศ
- ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมาจำนวน 4,558 หมู่บ้าน (สัปดาห์ที่ผ่านมายอด 9,724 หมู่บ้าน)
3. สถานการณ์ภัยแล้งปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 3 มิถุนายน 2548) มีจังหวัดที่ประสบภัย จำนวน
48 จังหวัด 253 อำเภอ 31 กิ่งอำเภอ 1,249 ตำบล 5,166 หมู่บ้าน 1,222,605 ครัวเรือน 4,772,956 คน
- จังหวัดที่ไม่มีรายงานสถานการณ์ภัยแล้งจำนวน 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครปฐม นนทบุรี
ปทุมธานี สมุทรสาคร
- จังหวัดที่สถานการณ์ภัยแล้งคลี่คลาย 23 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ สมุทรปราการ
อ่างทอง สิงห์บุรี สมุทรสงคราม นครนายก ปัตตานี พังงา ร้อยเอ็ด แม่ฮ่องสอน มุกดาหาร สระบุรี
ราชบุรี พระนครศรีอยุธยา ปราจีนบุรี จันทบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง ตราด ภูเก็ต สกลนคร และ
ลำพูน
พื้นที่การเกษตรที่ประสบความแห้งแล้ง (ภาพรวมทั้งประเทศ)
ประเภทพืช พื้นที่การเกษตรที่ได้รับ พื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะประสบความเสียหาย (ไร่)
ความเสียหายแล้ว เปรียบเทียบ หมายเหตุ
(ก.ย.-ธ.ค. 2547) (ไร่) ( ณ 21 มี.ค.2548 ) ( ณ 3 มิ.ย.2548 ) ( - ลด + เพิ่มขึ้น )
นาข้าว 10,098,546 ไร่ 6,029,059 ไร่ 106,637 ไร่ -5,922,422 ไร่ มีการเก็บเกี่ยว
พืชไร่ 3,017,045 ไร่ 3,445,430 ไร่ 166,727 ไร่ -3,278,703 ไร่ ข้าวนาปรัง และมีฝนตกทำให้พื้นที่คาดว่าเสียหายลดลง
พืชสวน 511,423 ไร่ 2,281,829 ไร่ 480,111 ไร่ -1,801,718 ไร่
รวม 13,627,014 ไร่ 11,756,318 ไร่ 753,475 ไร่ -11,002,843 ไร่
มูลค่าความเสียหาย 7,544,841,439 บาท 5,909,796,250 บาท 380,876,730 บาท -5,528,919,520 บาท
การดำเนินการแจกจ่ายน้ำของจังหวัด/อำเภอ
(1) การช่วยเหลือน้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่นอกเขตชลประทาน
- ใช้รถบรรทุกน้ำ 328 คัน 39,474 เที่ยว
- ปริมาณน้ำ 897,934,300 ลิตร (เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 120,000 ลิตร)
- ใช้เครื่องสูบน้ำ รวม 32,667 เครื่อง
- สร้างทำนบ/ฝายเก็บกักน้ำ 11,782 แห่ง ขุดลอกแหล่งน้ำ 4,824 แห่ง
(2) การช่วยเหลือด้านน้ำอุปโภค/บริโภค
- รถบรรทุกน้ำ จำนวน 2,767 คัน 260,410 เที่ยว
- ปริมาณน้ำที่แจกจ่าย 2,459,652,709 ลิตร (เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 68,923,255 ลิตร)
- การเป่าล้างบ่อบาดาล 26,095 บ่อ
- ซ่อมถังน้ำกลาง คสล. 12,400 ถัง
- ซ่อมประปาหมู่บ้าน 7,721 แห่ง
(3) งบประมาณดำเนินการใช้จ่ายไปแล้ว
- งบฉุกเฉินทดรองราชการของจังหวัด(งบ 50 ล้านบาท) 1,196,427,415 บาท
- งบฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 395,010,040.97 บาท
- งบประมาณอื่น ๆ เช่น งบจังหวัด CEO 259,023,865 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,850,461,320.97 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 มิถุนายน 2548--จบ--