แท็ก
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
จังหวัดอุตรดิตถ์
ภาพถ่ายดาวเทียม
จังหวัดสุโขทัย
จังหวัดลำปาง
จังหวัดแพร่
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายงานการใช้ภาพถ่ายดาวเทียมสำรวจพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยเพื่อศึกษาเส้นทางของน้ำ สรุปได้ดังนี้ สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 22-25 พฤษภาคม 2549 ได้เกิดอุทกภัยครอบคลุมพื้นที่ในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคเหนือ ประกอบด้วย จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดสุโขทัย จังหวัดแพร่ จังหวัดลำปาง และจังหวัดน่าน มีผู้เสียชีวิตประมาณ 77 คน สูญหายราว 39 คน บ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตรกรรมเสียหายเป็นจำนวนมาก อุทกภัยในพื้นที่ดังกล่าวได้เกิดขึ้นและทำให้เกิดความเสียหายเป็นประจำทุกปี ในการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2549 นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใช้ภาพถ่ายดาวเทียมสำรวจพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยเพื่อศึกษาเส้นทางของน้ำ
การดำเนินการที่ผ่านมา กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) : สทอภ. ซึ่งรับผิดชอบงานด้านการรับสัญญาณ จัดหาและแจกจ่ายข้อมูลดาวเทียมสำรวจทรัพยากร ตลอดจนการประยุกต์ใช้ข้อมูลดาวเทียมและภูมิสารสนเทศในสาขาต่าง ๆ ได้ดำเนินการรับสัญญาณข้อมูลจากดาวเทียม LANDRSAT-5, RADARSAT , SPOT และ ALOS เพื่อสำรวจและติดตามสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้น โดยได้ริเริ่มโปรแกรมรับสัญญาณภาพจากดาวเทียม ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2549 และได้บันทึกภาพบริเวณที่เกิดอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ แพร่ และสุโขทัย ในช่วงระหว่างวันที่ 26-27 พฤษภาคม 2549 ไว้นอกจากนั้น ยังได้นำข้อมูลจากดาวเทียมมาวิเคราะห์หาพื้นที่ที่เกิดอุทกภัย และส่งมอบให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ประโยชน์เพื่อติดตามและวางแผนการฟื้นฟูพื้นที่ที่เกิดอุทกภัย
การใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของเส้นทางน้ำ ข้อมูลที่ได้จากภาพถ่ายดาวเทียมแสดงพื้นที่ประสบอุทกภัย จ.อุตรดิตถ์ แพร่ สุโขทัย และพิษณุโลก เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมก่อนเกิดอุทกภัยและแผนที่ภูมิประเทศ มาตราส่วน 1:50,000 สามารถแสดงการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและเส้นทางน้ำได้เป็นอย่างดี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้ให้ สทอภ. กำหนดแผนการรับสัญญาณภาพถ่ายดาวเทียม เพื่อใช้ในการตรวจสอบและติดตามอุทกภัยอย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องจากในปัจจุบันได้มีหลายหน่วยงานร่วมกันศึกษาผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่และเส้นทางน้ำในลักษณะการบริหารจัดการแบบบูรณาการ โดยมีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานหลัก กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงพร้อมจะให้การสนับสนุนภาพจากดาวเทียมอย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้ในการศึกษาดังกล่าวต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 มิถุนายน 2549--จบ--
การดำเนินการที่ผ่านมา กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) : สทอภ. ซึ่งรับผิดชอบงานด้านการรับสัญญาณ จัดหาและแจกจ่ายข้อมูลดาวเทียมสำรวจทรัพยากร ตลอดจนการประยุกต์ใช้ข้อมูลดาวเทียมและภูมิสารสนเทศในสาขาต่าง ๆ ได้ดำเนินการรับสัญญาณข้อมูลจากดาวเทียม LANDRSAT-5, RADARSAT , SPOT และ ALOS เพื่อสำรวจและติดตามสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้น โดยได้ริเริ่มโปรแกรมรับสัญญาณภาพจากดาวเทียม ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2549 และได้บันทึกภาพบริเวณที่เกิดอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ แพร่ และสุโขทัย ในช่วงระหว่างวันที่ 26-27 พฤษภาคม 2549 ไว้นอกจากนั้น ยังได้นำข้อมูลจากดาวเทียมมาวิเคราะห์หาพื้นที่ที่เกิดอุทกภัย และส่งมอบให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ประโยชน์เพื่อติดตามและวางแผนการฟื้นฟูพื้นที่ที่เกิดอุทกภัย
การใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของเส้นทางน้ำ ข้อมูลที่ได้จากภาพถ่ายดาวเทียมแสดงพื้นที่ประสบอุทกภัย จ.อุตรดิตถ์ แพร่ สุโขทัย และพิษณุโลก เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมก่อนเกิดอุทกภัยและแผนที่ภูมิประเทศ มาตราส่วน 1:50,000 สามารถแสดงการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและเส้นทางน้ำได้เป็นอย่างดี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้ให้ สทอภ. กำหนดแผนการรับสัญญาณภาพถ่ายดาวเทียม เพื่อใช้ในการตรวจสอบและติดตามอุทกภัยอย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องจากในปัจจุบันได้มีหลายหน่วยงานร่วมกันศึกษาผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่และเส้นทางน้ำในลักษณะการบริหารจัดการแบบบูรณาการ โดยมีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานหลัก กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงพร้อมจะให้การสนับสนุนภาพจากดาวเทียมอย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้ในการศึกษาดังกล่าวต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 มิถุนายน 2549--จบ--