คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรายงานผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาท ช่วยคนไทยห่างไกลโรค) พ.ศ. 2549 ดังนี้
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้จัดทำโครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาท ช่วยคนไทยห่างไกลโรค) พ.ศ. 2549 โดยสอบถามประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ทุกจังหวัดทั่วประเทศ มีประชาชนที่ตกเป็นตัวอย่างจำนวน 5,800 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 3-11 เมษายน 2549 และผลการสำรวจมีสาระสำคัญสรุปดังนี้
1. การช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของครัวเรือน เมื่อมีโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 61.4 เห็นว่าโครงการฯ ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของครัวเรือนได้มาก สำหรับประชาชนที่เห็นว่าช่วยได้ปานกลาง ร้อยละ 29.9 ช่วยได้น้อย ร้อยละ 4.6 ส่วนผู้ที่เห็นว่าช่วยไม่ได้เลย มีเพียงร้อยละ 4.1
2. คุณภาพชีวิตทางด้านสุขภาพ ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 66.4 ระบุว่าคุณภาพชีวิตทางด้านสุขภาพดีขึ้นหลังจากมีโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า ส่วนผู้ที่เห็นว่าเหมือนเดิม และแย่ลง มีร้อยละ 32.7 และร้อยละ 0.9
3. กรณีหากจะมีการให้สมาชิกของครอบครัวผู้ใช้สิทธิประกันสังคม ซึ่งปัจจุบันใช้สิทธิ 30 บาท เปลี่ยนไปใช้สิทธิกองทุนประกันสังคมแทน นั้น มีประชาชนที่เห็นด้วย ร้อยละ 62.7 ส่วนผู้ที่ระบุว่าไม่เห็นด้วยมีร้อยละ 13.5 และไม่แน่ใจ ร้อยละ 23.8
4. กรณีหากรัฐจะดำเนินการปรับปรุงสวัสดิการ/กองทุนด้านสุขภาพ โดยปรับให้มีเพียงกองทุนเดียวประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 54.6 ระบุว่าเห็นด้วย ส่วนร้อยละ 21.0 ระบุว่าไม่เห็นด้วย และร้อยละ 24.4 ไม่แน่ใจ
5. การประสบปัญหาเรื่องคนไข้มีอาการหนักสถานพยาบาลไม่ส่งต่อ และสถานพยาบาลลำดับต่อไปปฏิเสธการรับคนไข้ ประชาชนที่เคยใช้บริการการประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประมาณร้อยละ 95 ระบุว่าไม่เคยประสบปัญหาดังกล่าวข้างต้น มีเพียงประมาณร้อยละ 5 ที่ระบุว่าเคยประสบปัญหา
6. ปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ประชาชนที่เคยใช้บริการฯ เห็นว่าโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทำให้ปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของครัวเรือนลดลง คือ ก่อนมีโครงการฯ ประชาชน ร้อยละ 45.9 ระบุว่ามีปัญหา แต่หลังจากมีโครงการฯ สัดส่วนของประชาชนที่ระบุว่ามีปัญหา ลดลงเหลือเพียงร้อยละ 6.1
7. ความพึงพอใจต่อการใช้บริการการประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประชาชนที่เคยใช้บริการฯ ระบุว่ามีความพึงพอใจระดับมาก และปานกลาง ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน คือ ร้อยละ 46.7 และ ร้อยละ 47.4 ส่วนผู้ที่ระบุว่าน้อย และไม่พึงพอใจ มีเพียงร้อยละ 4.3 และร้อยละ 1.6 ตามลำดับ
8. มาตรฐานการรักษาพยาบาลที่ผู้ใช้สิทธิ 30 บาท ได้รับ ประชาชน ร้อยละ 49.0 ของผู้ที่เคยใช้บริการฯ เห็นว่ายังไม่ได้มาตรฐานเดียวกับสวัสดิการประเภทอื่น ๆ เช่น สวัสดิการการรักษาพยาบาลของข้าราชการ กองทุนประกันสังคม เป็นต้น ส่วนผู้ที่เห็นว่ามีมาตรฐานเดียวกันมีประมาณร้อยละ 27.5 และผู้ที่ระบุว่าไม่แน่ใจ ร้อยละ 23.5
9. ความสำเร็จของการบริหารจัดการ / การให้บริการโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าประชาชนเห็นว่าประสบผลสำเร็จในระดับมาก และปานกลางในสัดส่วนที่ใกล้เคียง คือ ร้อยละ 47.9 และร้อยละ 45.5 ส่วนผู้ที่ระบุว่าประสบผลสำเร็จน้อย และไม่ประสบผลสำเร็จ มีเพียงร้อยละ 5.1 และร้อยละ 1.5
10. ปัญหาและแนวทางการปรับปรุงโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประชาชน ร้อยละ 53.1 เห็นว่าไม่มีปัญหา ส่วนประชาชนที่ระบุว่ามีปัญหา มีร้อยละ 33.7 โดยให้ข้อเสนอแนะที่สำคัญ คือ คุณภาพของยาควรมีมาตรฐาน ร้อยละ 13.0 ให้เพิ่มค่าธรรมเนียมได้ แต่การบริการต้องดีขึ้น ร้อยละ 9.9 ควรปรับปรุงการบริการให้ดี และ รวดเร็วขึ้น ร้อยละ 8.4 และควรมีมาตรฐานการรักษาพยาบาลเท่าเทียมกันทุกสวัสดิการ ร้อยละ 5.5 เป็นต้น และยังมีประชาชนอีกร้อยละ 13.2 ที่ระบุไม่แน่ใจ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 กรกฎาคม 2549--จบ--
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้จัดทำโครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาท ช่วยคนไทยห่างไกลโรค) พ.ศ. 2549 โดยสอบถามประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ทุกจังหวัดทั่วประเทศ มีประชาชนที่ตกเป็นตัวอย่างจำนวน 5,800 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 3-11 เมษายน 2549 และผลการสำรวจมีสาระสำคัญสรุปดังนี้
1. การช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของครัวเรือน เมื่อมีโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 61.4 เห็นว่าโครงการฯ ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของครัวเรือนได้มาก สำหรับประชาชนที่เห็นว่าช่วยได้ปานกลาง ร้อยละ 29.9 ช่วยได้น้อย ร้อยละ 4.6 ส่วนผู้ที่เห็นว่าช่วยไม่ได้เลย มีเพียงร้อยละ 4.1
2. คุณภาพชีวิตทางด้านสุขภาพ ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 66.4 ระบุว่าคุณภาพชีวิตทางด้านสุขภาพดีขึ้นหลังจากมีโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า ส่วนผู้ที่เห็นว่าเหมือนเดิม และแย่ลง มีร้อยละ 32.7 และร้อยละ 0.9
3. กรณีหากจะมีการให้สมาชิกของครอบครัวผู้ใช้สิทธิประกันสังคม ซึ่งปัจจุบันใช้สิทธิ 30 บาท เปลี่ยนไปใช้สิทธิกองทุนประกันสังคมแทน นั้น มีประชาชนที่เห็นด้วย ร้อยละ 62.7 ส่วนผู้ที่ระบุว่าไม่เห็นด้วยมีร้อยละ 13.5 และไม่แน่ใจ ร้อยละ 23.8
4. กรณีหากรัฐจะดำเนินการปรับปรุงสวัสดิการ/กองทุนด้านสุขภาพ โดยปรับให้มีเพียงกองทุนเดียวประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 54.6 ระบุว่าเห็นด้วย ส่วนร้อยละ 21.0 ระบุว่าไม่เห็นด้วย และร้อยละ 24.4 ไม่แน่ใจ
5. การประสบปัญหาเรื่องคนไข้มีอาการหนักสถานพยาบาลไม่ส่งต่อ และสถานพยาบาลลำดับต่อไปปฏิเสธการรับคนไข้ ประชาชนที่เคยใช้บริการการประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประมาณร้อยละ 95 ระบุว่าไม่เคยประสบปัญหาดังกล่าวข้างต้น มีเพียงประมาณร้อยละ 5 ที่ระบุว่าเคยประสบปัญหา
6. ปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ประชาชนที่เคยใช้บริการฯ เห็นว่าโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทำให้ปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของครัวเรือนลดลง คือ ก่อนมีโครงการฯ ประชาชน ร้อยละ 45.9 ระบุว่ามีปัญหา แต่หลังจากมีโครงการฯ สัดส่วนของประชาชนที่ระบุว่ามีปัญหา ลดลงเหลือเพียงร้อยละ 6.1
7. ความพึงพอใจต่อการใช้บริการการประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประชาชนที่เคยใช้บริการฯ ระบุว่ามีความพึงพอใจระดับมาก และปานกลาง ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน คือ ร้อยละ 46.7 และ ร้อยละ 47.4 ส่วนผู้ที่ระบุว่าน้อย และไม่พึงพอใจ มีเพียงร้อยละ 4.3 และร้อยละ 1.6 ตามลำดับ
8. มาตรฐานการรักษาพยาบาลที่ผู้ใช้สิทธิ 30 บาท ได้รับ ประชาชน ร้อยละ 49.0 ของผู้ที่เคยใช้บริการฯ เห็นว่ายังไม่ได้มาตรฐานเดียวกับสวัสดิการประเภทอื่น ๆ เช่น สวัสดิการการรักษาพยาบาลของข้าราชการ กองทุนประกันสังคม เป็นต้น ส่วนผู้ที่เห็นว่ามีมาตรฐานเดียวกันมีประมาณร้อยละ 27.5 และผู้ที่ระบุว่าไม่แน่ใจ ร้อยละ 23.5
9. ความสำเร็จของการบริหารจัดการ / การให้บริการโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าประชาชนเห็นว่าประสบผลสำเร็จในระดับมาก และปานกลางในสัดส่วนที่ใกล้เคียง คือ ร้อยละ 47.9 และร้อยละ 45.5 ส่วนผู้ที่ระบุว่าประสบผลสำเร็จน้อย และไม่ประสบผลสำเร็จ มีเพียงร้อยละ 5.1 และร้อยละ 1.5
10. ปัญหาและแนวทางการปรับปรุงโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประชาชน ร้อยละ 53.1 เห็นว่าไม่มีปัญหา ส่วนประชาชนที่ระบุว่ามีปัญหา มีร้อยละ 33.7 โดยให้ข้อเสนอแนะที่สำคัญ คือ คุณภาพของยาควรมีมาตรฐาน ร้อยละ 13.0 ให้เพิ่มค่าธรรมเนียมได้ แต่การบริการต้องดีขึ้น ร้อยละ 9.9 ควรปรับปรุงการบริการให้ดี และ รวดเร็วขึ้น ร้อยละ 8.4 และควรมีมาตรฐานการรักษาพยาบาลเท่าเทียมกันทุกสวัสดิการ ร้อยละ 5.5 เป็นต้น และยังมีประชาชนอีกร้อยละ 13.2 ที่ระบุไม่แน่ใจ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 กรกฎาคม 2549--จบ--