คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สรุปสถานการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูฝน ครั้งที่ 24 ช่วงวันที่ 28 ตุลาคม- 3 พฤศจิกายน 2551 ประกอบด้วย สถานการณ์อุทกภัย สถานการณ์น้ำ ผลกระทบด้านการเกษตร และการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร สรุปได้ดังนี้
สถานการณ์อุทกภัย
ช่วงวันที่ 31 ตุลาคม - 1 พฤศจิกายน 2551 เกิดฝนตกหนักในภาคเหนือ และภาคตะวันออก ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหล หลากในพื้นที่ 6 จังหวัด ดังนี้
1. จังหวัดตาก เมื่อเวลา 24.00 น. ของวันที่ 31 ตุลาคม 2551 เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่อำเภอเมือง (6 ตำบล) และ ชุมชนเขตเทศบาลเมืองแม่สอด ระดับน้ำสูงประมาณ 0.40-0.50 เมตร ปัจจุบันสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว และจากปริมาณฝนที่ตกหนัก วัดได้สูง สุด 84 ม.ม. ที่สถานีอ่างฯ ห้วยแม่สอด ทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำห้วยแม่สอดไหลล้นข้ามทางระบายน้ำล้น ระดับน้ำล้นเมื่อเวลา 10.00 น. (1 พ.ย. 2551) สูงประมาณ 0.65 เมตร ปัจจุบันสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว
2. จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2551 เกิดฝนตกหนัก วัดปริมาณฝนได้สูงสุด 200 ม.ม. ที่สถานีตำรวจอำเภอโกสัมพี ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในพื้นที่ 2 อำเภอ คือ อำเภอโกสัมพี(1 ตำบล) และอำเภอพรานกระต่าย(3 ตำบล)
3. จังหวัดระยอง เมื่อเวลา 03.00 น. ของวันที่ 1 พฤศจิกายน 2551 เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ชุมชนในเขตเทศบาลมาบตา พุด อำเภอเมือง ปัจจุบันสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว
4. จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม — 2 พฤศจิกายน 2551 เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง ทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มต่ำของอำเภอ ด่านขุนทด(4 ตำบล) ปัจจุบันสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว
5. จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2551 เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่อำเภอลับแล(2 ตำบล) ปัจจุบันสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว
6. จังหวัดแพร่ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2551 เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่อำเภอ 2 อำเภอ คือ อำเภอ ลอง(2 ตำบล) และอำเภอเด่นชัย(5 ตำบล) ปัจจุบันสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว
สถานการณ์น้ำ
1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ (2 พฤศจิกายน 2551) มีปริมาณน้ำในอ่างฯทั้งหมด 56,446 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ คิดเป็นร้อยละ 82 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด (ปริมาณน้ำใช้การได้ 33,132 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 48 ของความจุอ่างฯ) น้อยกว่าปี 2550 (60,103 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 3,657 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 6 ของความจุอ่างฯ ทั้งนี้ สามารถรับน้ำได้อีก 12,043 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 18 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ เฉลี่ยทั้งปี 38,221 ล้านลูกบาศก์ เมตร ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ วันนี้ 352.3 ล้านลูกบาศก์เมตร (ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ สะสมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 ถึง วันนี้ จำนวน 40,236 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 105 ของค่าเฉลี่ยทั้งปี)
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ และป่าสักชลสิทธิ์
อ่างเก็บน้ำ ปริมาตรน้ำในอ่างฯ ปริมาตรน้ำใช้การได้ ไหลลงอ่างฯ ปริมาณน้ำรับได้อีก
ปริมาตรน้ำ %ความจุอ่างฯ ปริมาตรน้ำ %ความจุอ่างฯ เฉลี่ยทั้งปี วันนี้ สะสม 1 ม.ค.
1. ภูมิพล 9,187 68 5,387 40 5,602 103.2 4,764 4,275 2. สิริกิติ์ 8,311 87 5,461 57 5,391 18.6 7,022 1,199 3. ป่าสักชลสิทธิ์ 955 99 952 99 2,200 33.6 2,665 5
เมื่อเปรียบเทียบปริมาตรน้ำปัจจุบันกับปี 2550 เขื่อนภูมิพล น้อยกว่า จำนวน 2,245 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนสิริกิติ์ มากกว่า จำนวน 858 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มากกว่า จำนวน 32 ล้านลูกบาศก์เมตร
สภาพน้ำของอ่างเก็บน้ำภาคใต้
อ่างเก็บน้ำ ปริมาตรน้ำในอ่างฯ ปริมาตรน้ำใช้การได้ ไหลลงอ่างฯ ปริมาณน้ำรับได้อีก
ปริมาตรน้ำ %ความจุอ่างฯ ปริมาตรน้ำ %ความจุอ่างฯ เฉลี่ยทั้งปี วันนี้ สะสม 1 ม.ค.
1. แก่งกระจาน 439 62 372 52 929 3.1 687 271 2. ปราณบุรี 248 71 188 54 436 4.3 296 99 3. รัชชประภา 4,592 81 3,240 57 2,598 9.5 1,999 1,047 4. บางลาง 821 56 561 39 1,545 3 1,360 633
อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯ จำนวน 23 อ่าง ได้แก่
ภาค จำนวนอ่างฯ อ่างฯ/ร้อยละของความจุที่ระดับน้ำเก็บกักของอ่างฯ
ทั้งหมด มากกว่า 80%
เหนือ 5 3 สิริกิติ์(87),แม่งัด(102),กิ่วลม(96) ตะวันออก 12 10 ห้วยหลวง(98),น้ำอูน(90),จุฬาภรณ์(83), เฉียงเหนือ อุบลรัตน์(98),ลำตะคอง(91),ลำปาว(87),
ลำพระเพลิง(104),มูลบน(94),ลำแซะ(85),สิรินธร(89)
กลาง 3 3 ป่าสักชลสิทธิ์(99),ทับเสลา(107),กระเสียว(105) ตะวันตก 2 2 ศรีนครินทร์(90),วชิราลงกรณ(81) ตะวันออก 5 4 ขุนด่านปราการชล(91),คลองสียัด(97),หนองปลาไหล(103),
ประแสร์(96)
ใต้ 4 1 รัชชประภา(81) รวม 31 23
2. สภาพน้ำท่า
แม่น้ำ ที่ตั้งสถานี อยู่ในเกณฑ์ แนวโน้ม สถานี อำเภอ จังหวัด ปิง P.7A สะพานบ้านห้วยยาง เมือง กำแพงเพชร ปกติ เพิ่มขึ้น P.17 บ้านท่างิ้ว บรรพตพิสัย นครสวรรค์ มาก ลดลง วัง W.4A บ้านวังหมัน สามเงา ตาก ปกติ ลดลง ยม Y.1C สะพานบ้านน้ำโค้ง เมือง แพร่ น้อย เพิ่มขึ้น Y.17 บ้านสามง่าม สามง่าม พิจิตร ปกติ ลดลง น่าน N.5A สะพานเอกาทศรถ เมือง พิษณุโลก ปกติ ลดลง N.67 สะพานบ้านเกศไชย ชุมแสง นครสวรรค์ มาก เพิ่มขึ้น ชี E.91 บ้านหนองขนอน โกสุมพิสัย มหาสารคาม ปกติ ลดลง E.20A บ้านฟ้าหยาด มหาชนะชัย ยโสธร ล้นตลิ่ง ลดลง มูล M.6A บ้านสะตึก สตึก บุรีรัมย์ ล้นตลิ่ง เพิ่มขึ้น M.7 สะพานเสรีประชาธิปไตย เมือง อุบลราชธานี มาก ลดลง ท่าตะเภา X 158 สะพานบ้านวังครก ท่าแซะ ชุมพร น้อย เพิ่มขึ้น X 180 สะพานเทศบาล 2 เมือง ชุมพร น้อย ลดลง ตาปี X 37A บ้านย่านดินแดง พระแสง สุราษฎร์ธานี ปกติ ลดลง คลองท่าดี X 55 บ้านท่าใหญ่ ลานสกา นครศรีธรรมราช น้อย เพิ่มขึ้น คลองอู่ตะเภา X 44 บ้านหาดใหญ่ใน เมือง สงขลา น้อย ลดลง ปัตตานี X 40A บ้านท่าสาป เมือง ยะลา น้อย ลดลง โก-ลก X 119A บ้านปาเสมัส สุไหงโก-ลก นราธิวาส น้อย ลดลง ตะกั่วป่า X 187 บ้านหินดาน ตะกั่วป่า พังงา ปกติ ลดลง คลองดุสน X 239 บ้านฉลุงเหนือ ละงู สตูล น้อย ทรงตัว
แม่น้ำเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำที่ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ (C.2) 2,105 ลบ.ม.ต่อวินาที อยู่ในเกณฑ์ปกติ ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้า พระยา (C.13) 1,851 ลบ.ม.ต่อวินาที (เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน) โดยมีระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา +16.70 เมตร.(รทก.) ท้ายเขื่อนเจ้า พระยา +13.73 เมตร.(รทก.) ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ ปริมาณน้ำไหลผ่านจังหวัดอ่างทอง (C.7A) 1,643 ลบ.ม.ต่อวินาที อยู่ในเกณฑ์ปกติ รับ น้ำเข้าระบบส่งน้ำทุ่งฝั่งตะวันออก 252 ลบ.ม.ต่อวินาที (ลดลงจากเมื่อวาน) รับน้ำเข้าระบบส่งน้ำทุ่งฝั่งตะวันตก 461 ลบ.ม.ต่อวินาที (เพิ่มขึ้นจาก เมื่อวาน)
สถานีบางไทร (C.29) อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปริมาณน้ำไหลผ่านเฉลี่ย 1,786 ลบ.ม. ต่อวินาที คาดการณ์ระดับ น้ำสูงสุดวันนี้ +2.72 เมตร รทก. เวลา 23.45 น.
อิทธิพลน้ำทะเลในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่สะพานพุทธ (C.4) ระดับน้ำสูงสุดเมื่อวานนี้ วัดได้ +1.73 เมตร รทก. เวลา 08.15 น. คาด ว่าระดับน้ำสูงสุดวันนี้ อยู่ที่ระดับ +1.86 เมตร เวลา 09.45 น.
เขื่อนพระรามหก ระบายน้ำ 329.03 ลบ.ม.ต่อวินาที (เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน)
ผลกระทบด้านการเกษตร
อุทกภัยช่วงวันที่ 1 กันยายน — 31 ตุลาคม 2551 พื้นที่ประสบภัยรวม 55 จังหวัดได้แก่ ภาคเหนือ 17 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียง เหนือ 18 จังหวัด ภาคกลาง 10 จังหวัด ภาคตะวันออก 7 จังหวัด และภาคใต้ 3 จังหวัด
ด้านพืช 52 จังหวัด เกษตรกร 435,099 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 4,585,051 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 3,474,557 ไร่ พืชไร่ 987,836 ไร่ พืชสวน 122,658 ไร่ (ข้อมูล 31 ต.ค. 2551)
ด้านปศุสัตว์ 39 จังหวัด เกษตรกร 66,906 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 3,372,654 ตัว แบ่งเป็น โค-กระบือ 213,725 ตัว สุกร- แพะ-แกะ 34,677 ตัว สัตว์ปีก 3,124,252 ตัว แปลงหญ้า 3,110 ไร่ (ข้อมูล 3 พ.ย. 2551)
ด้านประมง 35 จังหวัด เกษตรกร 70,604 ราย บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ 85,097 บ่อ คิดเป็นพื้นที่ 86,801 ไร่ กระชังเลี้ยงสัตว์น้ำ 617 กระชัง คิดเป็นพื้นที่ 16,390 ตารางเมตร (ข้อมูล 31 ต.ค. 2551)
การให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร
1. การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำ
กรมชลประทานได้เตรียมความพร้อมเครื่องสูบน้ำเพื่อช่วยเหลืออุทกภัยตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ จำนวน 1,200 เครื่อง ปัจจุบัน ได้ส่งเครื่องสูบน้ำช่วยเหลือไปแล้ว 22 จังหวัด จำนวน 348 เครื่อง เครื่องผลักดันน้ำ 38 เครื่อง ตามจังหวัดต่างๆ ดังนี้
ภาค จังหวัด เครื่องสูบน้ำ(เครื่อง) เครื่องผลักดันน้ำ(เครื่อง) จังหวัด เหนือ 5 32 - พิจิตร(4) กำแพงเพชร(3) พิษณุโลก(6)
เชียงราย(5) น่าน(14) ตะวันออก
เฉียงเหนือ 8 167 11 นครราชสีมา(60,ผลักดันน้ำ(11) สกลนคร(5)
หนองคาย(18) ขอนแก่น(14) ชัยภูมิ(4)
มหาสารคาม(50) กาฬสินธุ์(13) นครพนม(3)
กลาง 8 140 27 ชัยนาท(1) อุทัยธานี(3) ลพบุรี(41) สิงห์บุรี( 31)
พระนครศรีอยุธยา(1)อ่างทอง(37) นครปฐม
(ผลักดันน้ำ 20) สุพรรณบุรี(26,ผลักดันน้ำ 7)
ตะวันออก 1 9 - ปราจีนบุรี(9) รวม 22 348 38
2. การสนับสนุนเสบียงสัตว์และดูแลสุขภาพสัตว์
กรมปศุสัตว์สนับสนุนเสบียงสัตว์จำนวน 806,461 กิโลกรัม และดูแลสุขภาพสัตว์ 97,900 ตัว ทั้งนี้ ได้สำรองเสบียงสัตว์ไว้เพื่อ ช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยเพิ่มเติม โดยมีเสบียงสัตว์คงเหลือ 8,773 ตัน ประกอบด้วย ถั่วแห้ง 53 ตัน หญ้าแห้ง 5,000 ตัน หญ้าหมัก 124 ตัน และหญ้าสด 3,596 ตัน
3. สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ผัก
กรมส่งเสริมการเกษตร โดยศูนย์ส่งเสริมพัฒนาอาชีพการเกษตร ศูนย์เพาะเลี้ยงพันธุ์พืช จำนวน 10 แห่ง ผลิตต้นกล้าพืชผักจำนวน 1 ล้านต้น แจกจ่ายให้เกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแล้ว จำนวน 250,000 ต้น รวมทั้งได้จัดตั้งครัวสายใยรักแห่งครอบครัว เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยในจังหวัดลพบุรีและปราจีนบุรี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 4 พฤศจิกายน 2551--จบ--