คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์รายงานผลการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยและภัยหนาว โดยเฉพาะจังหวัดที่ได้รับผลกระทบรุนแรง เช่น นนทบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครสวรรค์ สิงห์บุรี ชัยนาท ปทุมธานี พิษณุโลก พิจิตร สุพรรณบุรี สระบุรี จันทบุรี ปราจีนบุรี อุทัยธานี และนครปฐม โดยสรุป ดังนี้
1. ระยะเร่งด่วนเฉพาะหน้า ในช่วงที่กำลังประสบอุทกภัย กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินมาตรการต่าง ๆ ดังนี้
1) การมอบถุงยังชีพ ได้จัดทำถุงยังชีพซึ่งประกอบด้วย อาหารกระป๋อง น้ำตาลทราย ยารักษาโรค เสื้อยืด น้ำดื่ม นม ยากันยุง ฯลฯ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ผู้บริหารและข้าราชการกระทรวงพาณิชย์ ได้นำไปมอบให้กับประชาชนในพื้นที่ประสบอุทกภัย รวมจำนวน 6,400 ชุด มูลค่าประมาณ 2,560,000 บาท (สองล้านห้าแสนหกหมื่นบาท)
2) การมอบข้าวสารบรรจุถุง กระทรวงพาณิชย์ได้มอบข้าวสารบรรจุถุง โดยผ่านให้กับจังหวัดที่ประสบอุทกภัย รวม 13 จังหวัด เพื่อนำไปแจกจ่าย ประชาชนในพื้นที่ห่างไกลของจังหวัด จำนวน 144,700 ถุง มูลค่าประมาณ 6,077,400 บาท (หกล้านเจ็ดหมื่นเจ็ดพันสี่ร้อยบาท) นอกจากนั้น ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของกระทรวงพาณิชย์ ได้ประสานงานผ่านพาณิชย์จังหวัด ให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนที่ร้องทุกข์ ผ่านสายด่วนกระทรวงพาณิชย์ หมายเลข 02-507-5555 รวมทั้งรับบริจาคสิ่งของและเงินจากผู้มีจิตศรัทธา มียอดเงินบริจาคทั้งสิ้นประมาณ 785,800 บาท (เจ็ดแสนแปดหมื่นห้าพันแปดร้อยบาท)
3) การติดตามตรวจสอบราคาสินค้าในพื้นที่น้ำท่วมอย่างใกล้ชิด และต่อเนื่องเป็นกรณีพิเศษ เนื่องจากเกิดภาวะน้ำท่วม ทำให้การคมนาคมไม่สะดวกและร้านค้าหลายแห่งถูกน้ำท่วม กระทรวงพาณิชย์ได้มอบหมายให้ผู้ตรวจราชการกระทรวง ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบและเยี่ยมเยียนผู้ประสบอุทกภัย รวมทั้งได้กำชับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ให้ตรวจสอบภาวะการค้าและราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ค้าฉวยโอกาสขึ้นราคาหรือกักตุนสินค้า เพื่อเป็นการไม่ให้เกิดสินค้าขาดแคลน โดยกรมการค้าภายในดูแลอย่างใกล้ชิด
2. การช่วยเหลือฟื้นฟูภายหลังน้ำลด กระทรวงพาณิชย์ได้มีแผนเข้าฟื้นฟูภาวะความเป็นอยู่ของประชาชนโดยได้กำหนดจัด Mobile Unit ออกให้บริการช่วยเหลือและให้คำปรึกษาในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย โดยจะเริ่มดำเนินการร่วมกับจังหวัดต่าง ๆ ซึ่งครั้งแรก ณ จังหวัดอ่างทอง ซึ่งกำหนดจัดกิจกรรมหลัก ๆ ดังนี้
1) การจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในราคาถูก โดยกรมการค้าภายในร่วมมือกับโรงงานและผู้ผลิตสินค้า เพื่อช่วยเหลือด้านค่าครองชีพของผู้ประสบอุทกภัย
2) กรมการประกันภัย ร่วมกับสมาคมประกันวินาศภัย สมาคมประกันชีวิตและสมาคมอู่กลางการประกันภัย ออกให้บริการรับปรึกษาปัญหาด้านประกันภัย พร้อมเสริมกิจกรรมการให้บริการช่วยเหลือแก้ไขความขัดข้องของเครื่องยนต์และจักรยานยนต์ การล้างเครื่องยนต์ โดยมอบอะไหล่และอุปกรณ์เครื่องยนต์ให้ฟรี การจำหน่ายหมวก กันน็อคนิรภัยในราคาถูก (99) (เก้าสิบเก้าบาท) โดยเริ่มดำเนินการแล้วที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชัยนาท และนครสวรรค์ และจะกระจายไปยังพื้นที่อื่นต่อไป
3) จัดเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ให้บริการรับแจ้งและให้คำปรึกษากรณีบัญชีและเอกสารสำคัญสูญหาย แก่ผู้ประกอบการและภาคธุรกิจ รวมทั้งมาตรการขยายเวลาการยื่นงบการเงินในรอบปี 2548 และผ่อนผันการชำระหนี้ของร้านค้าชุมชนในพื้นที่ประสบอุทกภัย
3. การช่วยเหลือด้านภัยหนาว กระทรวงพาณิชย์ ได้กำหนดแผนช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาวโดยจัดหาผ้าห่ม และเสื้อกันหนาว จำนวน 5,000 ชุด เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาวในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงเดือนธันวาคม 2549 — มกราคม 2550 โดยจะประสานงานกับจังหวัดในพื้นที่ประสบภัยหนาวต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 28 พฤศจิกายน 2549--จบ--
1. ระยะเร่งด่วนเฉพาะหน้า ในช่วงที่กำลังประสบอุทกภัย กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินมาตรการต่าง ๆ ดังนี้
1) การมอบถุงยังชีพ ได้จัดทำถุงยังชีพซึ่งประกอบด้วย อาหารกระป๋อง น้ำตาลทราย ยารักษาโรค เสื้อยืด น้ำดื่ม นม ยากันยุง ฯลฯ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ผู้บริหารและข้าราชการกระทรวงพาณิชย์ ได้นำไปมอบให้กับประชาชนในพื้นที่ประสบอุทกภัย รวมจำนวน 6,400 ชุด มูลค่าประมาณ 2,560,000 บาท (สองล้านห้าแสนหกหมื่นบาท)
2) การมอบข้าวสารบรรจุถุง กระทรวงพาณิชย์ได้มอบข้าวสารบรรจุถุง โดยผ่านให้กับจังหวัดที่ประสบอุทกภัย รวม 13 จังหวัด เพื่อนำไปแจกจ่าย ประชาชนในพื้นที่ห่างไกลของจังหวัด จำนวน 144,700 ถุง มูลค่าประมาณ 6,077,400 บาท (หกล้านเจ็ดหมื่นเจ็ดพันสี่ร้อยบาท) นอกจากนั้น ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของกระทรวงพาณิชย์ ได้ประสานงานผ่านพาณิชย์จังหวัด ให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนที่ร้องทุกข์ ผ่านสายด่วนกระทรวงพาณิชย์ หมายเลข 02-507-5555 รวมทั้งรับบริจาคสิ่งของและเงินจากผู้มีจิตศรัทธา มียอดเงินบริจาคทั้งสิ้นประมาณ 785,800 บาท (เจ็ดแสนแปดหมื่นห้าพันแปดร้อยบาท)
3) การติดตามตรวจสอบราคาสินค้าในพื้นที่น้ำท่วมอย่างใกล้ชิด และต่อเนื่องเป็นกรณีพิเศษ เนื่องจากเกิดภาวะน้ำท่วม ทำให้การคมนาคมไม่สะดวกและร้านค้าหลายแห่งถูกน้ำท่วม กระทรวงพาณิชย์ได้มอบหมายให้ผู้ตรวจราชการกระทรวง ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบและเยี่ยมเยียนผู้ประสบอุทกภัย รวมทั้งได้กำชับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ให้ตรวจสอบภาวะการค้าและราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ค้าฉวยโอกาสขึ้นราคาหรือกักตุนสินค้า เพื่อเป็นการไม่ให้เกิดสินค้าขาดแคลน โดยกรมการค้าภายในดูแลอย่างใกล้ชิด
2. การช่วยเหลือฟื้นฟูภายหลังน้ำลด กระทรวงพาณิชย์ได้มีแผนเข้าฟื้นฟูภาวะความเป็นอยู่ของประชาชนโดยได้กำหนดจัด Mobile Unit ออกให้บริการช่วยเหลือและให้คำปรึกษาในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย โดยจะเริ่มดำเนินการร่วมกับจังหวัดต่าง ๆ ซึ่งครั้งแรก ณ จังหวัดอ่างทอง ซึ่งกำหนดจัดกิจกรรมหลัก ๆ ดังนี้
1) การจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในราคาถูก โดยกรมการค้าภายในร่วมมือกับโรงงานและผู้ผลิตสินค้า เพื่อช่วยเหลือด้านค่าครองชีพของผู้ประสบอุทกภัย
2) กรมการประกันภัย ร่วมกับสมาคมประกันวินาศภัย สมาคมประกันชีวิตและสมาคมอู่กลางการประกันภัย ออกให้บริการรับปรึกษาปัญหาด้านประกันภัย พร้อมเสริมกิจกรรมการให้บริการช่วยเหลือแก้ไขความขัดข้องของเครื่องยนต์และจักรยานยนต์ การล้างเครื่องยนต์ โดยมอบอะไหล่และอุปกรณ์เครื่องยนต์ให้ฟรี การจำหน่ายหมวก กันน็อคนิรภัยในราคาถูก (99) (เก้าสิบเก้าบาท) โดยเริ่มดำเนินการแล้วที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชัยนาท และนครสวรรค์ และจะกระจายไปยังพื้นที่อื่นต่อไป
3) จัดเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ให้บริการรับแจ้งและให้คำปรึกษากรณีบัญชีและเอกสารสำคัญสูญหาย แก่ผู้ประกอบการและภาคธุรกิจ รวมทั้งมาตรการขยายเวลาการยื่นงบการเงินในรอบปี 2548 และผ่อนผันการชำระหนี้ของร้านค้าชุมชนในพื้นที่ประสบอุทกภัย
3. การช่วยเหลือด้านภัยหนาว กระทรวงพาณิชย์ ได้กำหนดแผนช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาวโดยจัดหาผ้าห่ม และเสื้อกันหนาว จำนวน 5,000 ชุด เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาวในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงเดือนธันวาคม 2549 — มกราคม 2550 โดยจะประสานงานกับจังหวัดในพื้นที่ประสบภัยหนาวต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 28 พฤศจิกายน 2549--จบ--