คณะรัฐมนตรีรับทราบมาตรการควบคุมเรื่องเสียงของอากาศยานตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
ด้วยกระทรวงคมนาคม โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี) ซึ่งกำกับดูแลกรมการขนส่งทางอากาศ ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ปัจจุบันปัญหามลภาวะทางเสียงจากอากาศยานที่มีระดับเสียงไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) กำหนดได้สร้างมลภาวะทางเสียงให้แก่ชุมชนที่อยู่บริเวณใกล้เคียงสนามบิน ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามมาตรฐานที่ ICAO กำหนด ในการลดและป้องกันปัญหาเสียงรบกวนจากอากาศยานที่ได้ระบุไว้ใน Annex 16 Volume 1 Environmental Protection ของอนุสัญญา ICAO กรมการขนส่งทางอากาศ จึงได้ออกมาตรการกำหนดให้อากาศยานทุกลำที่จดทะเบียนในไทยและต่างประเทศที่ไม่สามารถปฏิบัติการให้ได้มาตรฐานเสียงที่ ICAO กำหนดคือ
1. อากาศยานความเร็วต่ำกว่าเสียงที่ต้นแบบได้รับการรับรองก่อนวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ.1977 (2520) ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานของเสียงตาม Chapter 2, ICAO Annex 16 Volume I โดยกำหนดว่าจะต้องมีระดับเสียงจากอากาศยานวัด ได้ขณะบินผ่านไม่เกิน 104 EPNdB ที่น้ำหนักบินสูงสุดที่ 325,000 กิโลกรัมขึ้นไป และอากาศยานที่มีน้ำหนักบินสูงสุดต่ำกว่า 325,000 กิโลกรัม กำหนดให้ค่าระดับเสียงจะลดลงตามน้ำหนัก
2. อากาศยานความเร็วต่ำกว่าเสียงที่ต้นแบบได้รับการรับรองหลังจากวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ.1977 (2520) ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานของเสียงตาม Chapter 3, ICAO Annex 16 Volume I โดยกำหนดว่าจะต้องมีระดับเสียงจากอากาศยานที่วัดได้ขณะบินผ่านไม่เกิน 101 EPNdB สำหรับอากาศยานที่มีน้ำหนักบินขึ้นสูงสุดต่ำกว่า 385,000 กิโลกรัม สำหรับอากาศยานที่มีน้ำหนักบินขึ้นสูงสุดต่ำกว่า 385,000 กิโลกรัม กำหนดให้ค่าระดับเสียงจะลดลงตามน้ำหนัก
3. อากาศยานความเร็วต่ำกว่าเสียงที่ต้นแบบได้รับการรับรองหลังจากวันที่ 1 มกราคม ค.ศ.2006 (2549) ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานของเสียงตาม Chapter 4, ICAO Annex 16, Volume I
ทั้งนี้ ให้ทำการหยุดบินเข้าประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2552 เป็นต้นไป และสำหรับสนามบินที่มีประชากรหนาแน่นในบริเวณชุมชนใกล้เคียง ได้แก่ ท่าอากาศยานกรุงเทพ เชียงใหม่ ห้ามทำการบินโดยมีผลตั้งแต่ พ.ศ.2549 เป็นต้นไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 มกราคม 2548--จบ--
ด้วยกระทรวงคมนาคม โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี) ซึ่งกำกับดูแลกรมการขนส่งทางอากาศ ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ปัจจุบันปัญหามลภาวะทางเสียงจากอากาศยานที่มีระดับเสียงไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) กำหนดได้สร้างมลภาวะทางเสียงให้แก่ชุมชนที่อยู่บริเวณใกล้เคียงสนามบิน ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามมาตรฐานที่ ICAO กำหนด ในการลดและป้องกันปัญหาเสียงรบกวนจากอากาศยานที่ได้ระบุไว้ใน Annex 16 Volume 1 Environmental Protection ของอนุสัญญา ICAO กรมการขนส่งทางอากาศ จึงได้ออกมาตรการกำหนดให้อากาศยานทุกลำที่จดทะเบียนในไทยและต่างประเทศที่ไม่สามารถปฏิบัติการให้ได้มาตรฐานเสียงที่ ICAO กำหนดคือ
1. อากาศยานความเร็วต่ำกว่าเสียงที่ต้นแบบได้รับการรับรองก่อนวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ.1977 (2520) ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานของเสียงตาม Chapter 2, ICAO Annex 16 Volume I โดยกำหนดว่าจะต้องมีระดับเสียงจากอากาศยานวัด ได้ขณะบินผ่านไม่เกิน 104 EPNdB ที่น้ำหนักบินสูงสุดที่ 325,000 กิโลกรัมขึ้นไป และอากาศยานที่มีน้ำหนักบินสูงสุดต่ำกว่า 325,000 กิโลกรัม กำหนดให้ค่าระดับเสียงจะลดลงตามน้ำหนัก
2. อากาศยานความเร็วต่ำกว่าเสียงที่ต้นแบบได้รับการรับรองหลังจากวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ.1977 (2520) ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานของเสียงตาม Chapter 3, ICAO Annex 16 Volume I โดยกำหนดว่าจะต้องมีระดับเสียงจากอากาศยานที่วัดได้ขณะบินผ่านไม่เกิน 101 EPNdB สำหรับอากาศยานที่มีน้ำหนักบินขึ้นสูงสุดต่ำกว่า 385,000 กิโลกรัม สำหรับอากาศยานที่มีน้ำหนักบินขึ้นสูงสุดต่ำกว่า 385,000 กิโลกรัม กำหนดให้ค่าระดับเสียงจะลดลงตามน้ำหนัก
3. อากาศยานความเร็วต่ำกว่าเสียงที่ต้นแบบได้รับการรับรองหลังจากวันที่ 1 มกราคม ค.ศ.2006 (2549) ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานของเสียงตาม Chapter 4, ICAO Annex 16, Volume I
ทั้งนี้ ให้ทำการหยุดบินเข้าประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2552 เป็นต้นไป และสำหรับสนามบินที่มีประชากรหนาแน่นในบริเวณชุมชนใกล้เคียง ได้แก่ ท่าอากาศยานกรุงเทพ เชียงใหม่ ห้ามทำการบินโดยมีผลตั้งแต่ พ.ศ.2549 เป็นต้นไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 มกราคม 2548--จบ--