คณะรัฐมนตรีรับทราบและเห็นชอบกรอบและงบประมาณของรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ 2550 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ดังนี้
1. รับทราบงบประมาณทำการของรัฐวิสาหกิจปี 2550 ในภาพรวม โดยมีกำไรสุทธิจำนวน 74,025 ล้านบาท และสามารถจัดหาเงินสดเพื่อใช้ในการลงทุนได้ประมาณ 240,783 ล้านบาท
2. รับทราบแนวโน้มการดำเนินงานปี 2551-2553 ที่ประมาณว่าจะมีการเบิกจ่ายลงทุนรวมทั้งสิ้น 1,204,019 ล้านบาท (เฉลี่ยปีละ 401,340 ล้านบาท) และงบประมาณทำการ ที่คาดว่าจะมีกำไรสุทธิรวม 333,466 ล้านบาท (เฉลี่ยปีละ 111,155 ล้านบาท)
3. เห็นชอบงบประมาณลงทุนประจำปี 2550 ของรัฐวิสาหกิจในเบื้องต้น วงเงินดำเนินการ 413,272 ล้านบาท และวงเงินเบิกจ่ายลงทุน 284,010 ล้านบาท โดยปรับลดและชะลอการลงทุนวงเงินดำเนินการ 93,584 ล้านบาท และวงเงินเบิกจ่ายลงทุน 91,527 ล้านบาท สำหรับโครงการใหม่ จำนวน 45,447 ล้านบาท และการลงทุนที่ใช้เงินงบประมาณตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 เห็นควรให้ดำเนินการได้เมื่อได้รับอนุมัติตามขั้นตอนการพิจารณาแล้ว
4. เห็นชอบกรอบงบประมาณของรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ 2550 โดยมีวงเงินดำเนินการ จำนวน 498,564 ล้านบาท และวงเงินเบิกจ่ายลงทุนจำนวน 369,302 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.4 ของ GDP ประกอบด้วยการลงทุนที่มีความพร้อมดำเนินการ 284,010 ล้านบาท โครงการใหม่ที่ต้องขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี จำนวน 45,447 ล้านบาท และการลงทุนเพิ่มเติมระหว่างปี จำนวน 39,845 ล้านบาท โดยมอบให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นผู้พิจารณาการลงทุนเพิ่มเติมระหว่างปีดังกล่าว
5. ให้กระทรวงเจ้าสังกัดรับข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการ และรายงานผลความก้าวหน้าของการดำเนินงานและการลงทุนในปีงบประมาณ 2550 ของรัฐวิสาหกิจในสังกัดให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทราบภายในวันที่ 5 ของทุกเดือนอย่างเคร่งครัด เพื่อประโยชน์ในการติดตามประเมินผลการดำเนินงานและการลงทุนของรัฐวิสาหกิจได้อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้เสนอเงื่อนไข 4 ข้อได้แก่ 1. ให้ปรับปรุงการบริหารจัดการในรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกระทรวงการคลังและกระทรวงคมนาคมจะเสนอแผนงานต่อคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่งในสัปดาห์หน้า 2. ปรับคณะกรรมการให้ได้มาตรฐานสากล โดยเฉพาะด้านพัฒนาบุคลากร ธรรมาภิบาล และการตรวจสอบประเมินความเสี่ยง 3. ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ทำการติดตามประเมินผลการเบิกจ่ายงบประมาณร่วมกับกระทรวงการคลังให้เป็นไปตามเป้าหมาย 4. ให้มีการรายงานการดำเนินการต่อ
คณะรัฐมนตรีทุกวันที่ 5 ของเดือนเพื่อให้แต่ละกระทรวงที่รับผิดชอบเร่งรัดการดำเนินการ นอกจากนี้นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ยังได้มอบหมายให้สศช. ทำการวางแผนงบประมาณของรัฐวิสาหกิจในระยะเวลา 3 ปี โดยเน้นด้านพลังงานและที่อยู่อาศัย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 กันยายน 2549--จบ--
1. รับทราบงบประมาณทำการของรัฐวิสาหกิจปี 2550 ในภาพรวม โดยมีกำไรสุทธิจำนวน 74,025 ล้านบาท และสามารถจัดหาเงินสดเพื่อใช้ในการลงทุนได้ประมาณ 240,783 ล้านบาท
2. รับทราบแนวโน้มการดำเนินงานปี 2551-2553 ที่ประมาณว่าจะมีการเบิกจ่ายลงทุนรวมทั้งสิ้น 1,204,019 ล้านบาท (เฉลี่ยปีละ 401,340 ล้านบาท) และงบประมาณทำการ ที่คาดว่าจะมีกำไรสุทธิรวม 333,466 ล้านบาท (เฉลี่ยปีละ 111,155 ล้านบาท)
3. เห็นชอบงบประมาณลงทุนประจำปี 2550 ของรัฐวิสาหกิจในเบื้องต้น วงเงินดำเนินการ 413,272 ล้านบาท และวงเงินเบิกจ่ายลงทุน 284,010 ล้านบาท โดยปรับลดและชะลอการลงทุนวงเงินดำเนินการ 93,584 ล้านบาท และวงเงินเบิกจ่ายลงทุน 91,527 ล้านบาท สำหรับโครงการใหม่ จำนวน 45,447 ล้านบาท และการลงทุนที่ใช้เงินงบประมาณตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 เห็นควรให้ดำเนินการได้เมื่อได้รับอนุมัติตามขั้นตอนการพิจารณาแล้ว
4. เห็นชอบกรอบงบประมาณของรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ 2550 โดยมีวงเงินดำเนินการ จำนวน 498,564 ล้านบาท และวงเงินเบิกจ่ายลงทุนจำนวน 369,302 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.4 ของ GDP ประกอบด้วยการลงทุนที่มีความพร้อมดำเนินการ 284,010 ล้านบาท โครงการใหม่ที่ต้องขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี จำนวน 45,447 ล้านบาท และการลงทุนเพิ่มเติมระหว่างปี จำนวน 39,845 ล้านบาท โดยมอบให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นผู้พิจารณาการลงทุนเพิ่มเติมระหว่างปีดังกล่าว
5. ให้กระทรวงเจ้าสังกัดรับข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการ และรายงานผลความก้าวหน้าของการดำเนินงานและการลงทุนในปีงบประมาณ 2550 ของรัฐวิสาหกิจในสังกัดให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทราบภายในวันที่ 5 ของทุกเดือนอย่างเคร่งครัด เพื่อประโยชน์ในการติดตามประเมินผลการดำเนินงานและการลงทุนของรัฐวิสาหกิจได้อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้เสนอเงื่อนไข 4 ข้อได้แก่ 1. ให้ปรับปรุงการบริหารจัดการในรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกระทรวงการคลังและกระทรวงคมนาคมจะเสนอแผนงานต่อคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่งในสัปดาห์หน้า 2. ปรับคณะกรรมการให้ได้มาตรฐานสากล โดยเฉพาะด้านพัฒนาบุคลากร ธรรมาภิบาล และการตรวจสอบประเมินความเสี่ยง 3. ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ทำการติดตามประเมินผลการเบิกจ่ายงบประมาณร่วมกับกระทรวงการคลังให้เป็นไปตามเป้าหมาย 4. ให้มีการรายงานการดำเนินการต่อ
คณะรัฐมนตรีทุกวันที่ 5 ของเดือนเพื่อให้แต่ละกระทรวงที่รับผิดชอบเร่งรัดการดำเนินการ นอกจากนี้นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ยังได้มอบหมายให้สศช. ทำการวางแผนงบประมาณของรัฐวิสาหกิจในระยะเวลา 3 ปี โดยเน้นด้านพลังงานและที่อยู่อาศัย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 กันยายน 2549--จบ--