สรุปสถานการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูฝน ครั้งที่ 26 ช่วงวันที่ 11 — 17 พฤศจิกายน 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday November 20, 2008 14:28 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปสถานการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูฝน ครั้งที่ 26 ช่วงวันที่ 11 - 17 พฤศจิกายน 2551 ประกอบด้วย สถานการณ์อุทกภัย สถานการณ์น้ำ ผลกระทบด้านการเกษตร และการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร สรุปได้ดังนี้

สถานการณ์อุทกภัย

ปัจจุบันมีสถานการณ์อุทกภัย จำนวน 10 จังหวัด แยกเป็น ภาคใต้ 4 จังหวัด ภาคกลาง 3 จังหวัด และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 จังหวัด ดังนี้

1. ภาคใต้ จำนวน 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และพัทลุง

จังหวัดชุมพร พื้นที่ประสบภัย 8 อำเภอ 56 ตำบล ได้แก่ อำเภอเมือง สวี ทุ่งตะโก หลังสวน ละแม พะโต๊ะ ปะทิว และท่าแซะ ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน 3 อำเภอ คือ อำเภอสวี(11 ตำบล) หลังสวน (12 ตำบล) และละแม(4 ตำบล) แนวโน้มระดับน้ำลดลง คาด ว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 1-2 วัน

จังหวัดสุราษฎร์ธานี พื้นที่ประสบภัย 7 อำเภอ 35 ตำบล คือ อำเภอเกาะพะงัน เกาะสมุย ท่าชนะดอนสัก กาญจนดิษฐ์ ไชยา และท่าฉาง ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน 2 อำเภอ คือ อำเภอดอนสัก(4 ตำบล) และกาญจนดิษฐ์(7 ตำบล) แนวโน้มระดับน้ำลดลง หากไม่มี ฝนตกคาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 1-2 วัน

จังหวัดนครศรีธรรมราช พื้นที่ประสบภัย 16 อำเภอ คือ อำเภอขนอม สิชล นบพิตำ ท่าศาลา พรหมคีรี ร่อนพิบูลย์ เฉลิมพระ เกียรติ ชะอวด ลานสกา เชียรใหญ่ เมือง พระพรหม หัวไทร พิปูน จุฬาภรณ์ และปากพนัง ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน 7 อำเภอ คือ อำเภอท่าศาลา(10 ตำบล) เฉลิมพระเกียรติ(2 ตำบล) เชียรใหญ่(10 ตำบล) เมือง(8 ตำบล) พระพรหม(3 ตำบล) หัวไทร(11 ตำบล) และ ปากพนัง(4 ตำบล) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.50 เมตร

จังหวัดพัทลุง พื้นที่ประสบภัย 1 อำเภอ คือ อำเภอควนขนุน(8 ตำบล) ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ

2. ภาคกลาง จำนวน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสิงห์บุรี อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา

จังหวัดสิงห์บุรี พื้นที่ประสบภัย 1 อำเภอ 6 ตำบล คือ อำเภออินทร์บุรี

จังหวัดอ่างทอง พื้นที่ประสบภัย 3 อำเภอ 13 ตำบล ได้แก่ อำเภอเมือง (7 ตำบล) ป่าโมก (2 ตำบล) และไชโย (4 ตำบล)

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พื้นที่ประสบภัย 9 อำเภอ 96 ตำบล ได้แก่ อำเภอผักไห่ บางบาล เสนา บางไทร มหาราช นครหลวง พระนครศรีอยุธยา บ้านแพรก และบางปะอิน

3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชัยภูมิ มหาสารคาม และบุรีรัมย์

จังหวัดชัยภูมิ พื้นที่ประสบภัย 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบ้านเขว้า จัตุรัส เมือง และคอนสวรรค์ นอกจากนี้ น้ำจากลำปะทาว ลำช่อ ระกา และห้วยยางบ่า ได้เอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมบริเวณรอบตัวเมือง และเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ ระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 0.20-0.30 เมตร ระดับน้ำ ยังคงทรงตัวและมีแนวโน้มลดลง คาดว่าจะเข้าสู่สภาวะปกติใน 1-2 สัปดาห์

จังหวัดมหาสารคาม พื้นที่ประสบภัย 3 อำเภอ 9 ตำบล ได้แก่ อำเภอเมือง (1 ตำบล) กันทรวิชัย (4 ตำบล) อำเภอโกสุมพิสัย (4 ตำบล) ระดับน้ำในลำน้ำชีมีแนวโน้มทรงตัว หากไม่มีฝนตกในพื้นที่เพิ่มเติม จะทำให้ระดับน้ำให้ลำน้ำชีลดลง ซึ่งจะส่งผลให้ระดับที่ท่วมลดลง คาด ว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 1-2 สัปดาห์

จังหวัดบุรีรัมย์ พื้นที่ประสบภัย 1 อำเภอ 2 ตำบล คือ อำเภอลำปลายมาศ คาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 1-2 วัน

สถานการณ์น้ำ ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2551

1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ (17 พฤศจิกายน 2551) มีปริมาณน้ำในอ่างฯทั้งหมด 57,758 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ คิดเป็นร้อยละ 84 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด (ปริมาณน้ำใช้การได้ 34,445 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 50 ของความจุ อ่างฯ) น้อยกว่าปี 2550 (59,810 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 2,052 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 3 ของความจุอ่างฯ ทั้งนี้ สามารถรับน้ำ ได้อีก 10,731 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 16 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ เฉลี่ยทั้งปี 38,221 ล้าน ลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ วันนี้ 106.6 ล้านลูกบาศก์เมตร (ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ สะสมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 ถึง วันนี้ จำนวน 43,547 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 114 ของค่าเฉลี่ยทั้งปี)

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ และป่าสักชลสิทธิ์

อ่างเก็บน้ำ        ปริมาตรน้ำในอ่างฯ        ปริมาตรน้ำใช้การได้                ไหลลงอ่างฯ             ปริมาณน้ำรับได้อีก
            ปริมาตรน้ำ  %ความจุอ่างฯ    ปริมาตรน้ำ   %ความจุอ่างฯ   เฉลี่ยทั้งปี    วันนี้   สะสม 1 ม.ค.
1. ภูมิพล        9,849          73       6,049           45     5,602   19.0         5,495           3,613
2. สิริกิติ์        8,396          88       5,546           58     5,391  11.20         7,250           1,114
3. ป่าสักชลสิทธิ์     973         101         970          101     2,200   8.60         3,008               -

เมื่อเปรียบเทียบปริมาตรน้ำปัจจุบันกับปี 2550 เขื่อนภูมิพล น้อยกว่า จำนวน 1,735 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนสิริกิติ์ มากกว่า จำนวน 991 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มากกว่า จำนวน 104 ล้านลูกบาศก์เมตร

สภาพน้ำของอ่างเก็บน้ำภาคใต้

อ่างเก็บน้ำ           ปริมาตรน้ำในอ่างฯ       ปริมาตรน้ำใช้การได้                ไหลลงอ่างฯ            ปริมาณน้ำรับได้อีก

ปริมาตรน้ำ %ความจุอ่างฯ ปริมาตรน้ำ %ความจุอ่างฯ เฉลี่ยทั้งปี วันนี้ สะสม 1 ม.ค.

1. แก่งกระจาน        457          64        390          55       929   2.50           721             253
2. ปราณบุรี           269          77        209          60       436   1.20           336              78
3. รัชชประภา       4,600          82      3,248          58     2,598   4.00         2,076           1,039
4. บางลาง           811          56        551          38     1,545  3.50          1,424             643

อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯ จำนวน 22 อ่าง ได้แก่

ภาค            จำนวนอ่างฯ        อ่างฯ/ร้อยละของความจุที่ระดับน้ำเก็บกักของอ่างฯ

ทั้งหมด มากกว่า 80%

เหนือ          5           3     สิริกิติ์(88),แม่งัด(104),กิ่วลม(91)
ตะวันออก
เฉียงเหนือ     12          10     ห้วยหลวง(109),น้ำอูน(93),จุฬาภรณ์(105),อุบลรัตน์(101),ลำปาว(93),

ลำตะคอง(98), ลำพระเพลิง(101),มูลบน(101),ลำแซะ(95),สิรินธร(90)

กลาง          3           3     ป่าสักชลสิทธิ์(101),ทับเสลา(103),กระเสียว(106)
ตะวันตก        2           1     ศรีนครินทร์(91)
ตะวันออก       5           4     ขุนด่านปราการชล(95),คลองสียัด(96),หนองปลาไหล(101),ประแสร์(96)
ใต้            4           1     รัชชประภา(82)
รวม          31          22

2. สภาพน้ำท่า

แม่น้ำ                                     ที่ตั้งสถานี                        อยู่ในเกณฑ์         แนวโน้ม
                      สถานี                อำเภอ          จังหวัด
ปิง             P.7A   สะพานบ้านห้วยยาง      เมือง           กำแพงเพชร      ปกติ              เพิ่มขึ้น
               P.17   บ้านท่างิ้ว             บรรพตพิสัย       นครสวรรค์       ปกติ              ลดลง
วัง             W.4A   บ้านวังหมัน            สามเงา         ตาก            น้อยวิกฤติ          เพิ่มขึ้น
ยม             Y.1C   สะพานบ้านน้ำโค้ง       เมือง           แพร่            น้อย              เพิ่มขึ้น
               Y.17   บ้านสามง่าม           สามง่าม         พิจิตร           ปกติ              ทรงตัว
น่าน            N.5A   สะพานเอกาทศรถ       เมือง           พิษณุโลก         ปกติ              ลดลง
               N.67   สะพานบ้านเกศไชย      ชุมแสง          นครสวรรค์       มาก              ลดลง
เจ้าพระยา        C.2   ค่ายจิรประวัติ          เมือง           นครสวรรค์       ปกติ              ลดลง
               C.13   ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา     สรรพยา         ชัยนาท          ปกติ              ลดลง
                C.3   บ้านบางพุดทรา         เมือง           สิงห์บุรี          ปกติ              ลดลง
               C.7A   บ้านบางแก้ว           เมือง           อ่างทอง         มาก              ลดลง
               C.35   สะพานรถยนต์          พระนครศรีอยุธยา  พระนครศรีอยุธยา  มาก              ลดลง
              Ct.2A   หน้าศาลากลาง         เมือง           อุทัยธานี         ปกติ              ลดลง
ชี              E.91   บ้านหนองขนอน         โกสุมพิสัย        มหาสารคาม      มาก              ลดลง
              E.20A   บ้านฟ้าหยาด           มหาชนะชัย       ยโสธร          ท่วม              ลดลง
มูล             M.6A   บ้านสะตึก             สตึก            บุรีรัมย์          ท่วม              เพิ่มขึ้น
                M.7   สะพานเสรีประชาธิปไตย  เมือง           อุบลราชธานี      มาก              ลดลง
ท่าตะเภา       X 158   สะพานบ้านวังครก       ท่าแซะ          ชุมพร           น้อยวิกฤติ          ลดลง
ตาปี           X 37A   บ้านย่านดินแดง         พระแสง         สุราษฎร์ธานี      ปกติ              ลดลง
คลองท่าดี        X 55   บ้านท่าใหญ่            ลานสกา         นครศรีธรรมราช   น้อยวิกฤติ          ลดลง
คลองอู่ตะเภา     X 44   บ้านหาดใหญ่ใน         เมือง           สงขลา          น้อยวิกฤติ          ลดลง
ปัตตานี         X 40A   บ้านท่าสาป            เมือง           ยะลา           น้อย              ลดลง
โก-ลก        X 119A   บ้านปาเสมัส           สุไหงโก-ลก      นราธิวาส            ไม่ได้รับรายงาน
ตะกั่วป่า        X 187   บ้านหินดาน            ตะกั่วป่า         พังงา           ปกติ              เพิ่มขึ้น
คลองดุสน       X 239   บ้านฉลุงเหนือ          ละงู            สตูล            น้อย              ลดลง

แม่น้ำเจ้าพระยา รับน้ำเข้าระบบส่งน้ำทุ่งฝั่งตะวันออก 257 ลบ.ม.ต่อวินาที (เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน) รับน้ำเข้าระบบส่งน้ำทุ่งฝั่ง ตะวันตก 264 ลบ.ม.ต่อวินาที (เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน)

เขื่อนพระรามหก ระบายน้ำ 219 ลบ.ม.ต่อวินาที (ลดลงจากเมื่อวาน)

อิทธิพลน้ำทะเลในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่สะพานพุทธ (C.4 ระดับน้ำสูงสุดวันนี้ วัดได้ +2.11 เมตร รทก. เวลา 10.45 น. คาดว่า ระดับน้ำสูงสุดวันพรุ่งนี้ อยู่ที่ระดับ +2.24 เมตร เวลา 11.45 น. ต่ำกว่าตลิ่ง 0.76 เมตร

ผลกระทบด้านการเกษตร

1. อุทกภัยช่วงวันที่ 1 - 14 พฤศจิกายน 2551 พื้นที่ประสบภัย 25 จังหวัด แยกเป็น

ด้านพืช 22 จังหวัด เกษตรกร 128,436 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 595,324 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 415,507 ไร่ พืชไร่ 133,176 ไร่ พืชสวน 46,641 ไร่

ด้านปศุสัตว์ 5 จังหวัด เกษตรกร 14,956 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 335,127 ตัว แบ่งเป็น โค-กระบือ 17,295 ตัว สุกร- แพะ-แกะ 41,785 ตัว สัตว์ปีก 276,047 ตัว แปลงหญ้า 170 ไร่

ด้านประมง 5 จังหวัด เกษตรกร 3,295 ราย คาดว่าจะเสียหายเป็น บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ 5,095 บ่อ คิดเป็นพื้นที่ 5,764 ไร่ และ กระชังเลี้ยงสัตว์น้ำ 16 กระชัง คิดเป็นพื้นที่ 140 ตารางเมตร อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหาย

2. อุทกภัยช่วงวันที่ 1 สิงหาคม—30 ตุลาคม 2551 พื้นที่เสียหาย 52 จังหวัด เกษตรกร 529,210 ราย พื้นที่การเกษตร 4.39 ล้าน ไร่สัตว์ 3.03 ล้านตัวบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ 80,117 ไร่ กระชังเลี้ยงสัตว์น้ำ 16,614 ตารางเมตรประมาณการกรอบวงเงินช่วยเหลือ 3,228 ล้านบาท

การให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรในช่วงฤดูฝน (ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม — 14 พฤศจิกายน 2551)

1. การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำ

กรมชลประทานได้เตรียมความพร้อมเครื่องสูบน้ำเพื่อช่วยเหลืออุทกภัยตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ จำนวน 1,200 เครื่อง ปัจจุบัน ได้ส่งเครื่องสูบน้ำช่วยเหลือไปแล้ว 26 จังหวัด จำนวน 379 เครื่อง เครื่องผลักดันน้ำ 38 เครื่อง ตามจังหวัดต่างๆ ดังนี้

ภาค        จังหวัด  เครื่องสูบน้ำ(เครื่อง)  เครื่องผลักดันน้ำ (เครื่อง)   จังหวัด
เหนือ           6                40                     -   พิจิตร(4) กำแพงเพชร(3) พิษณุโลก(6) เชียงราย(5)

น่าน(14) ตาก(8) ตะวันออก

เฉียงเหนือ       8               167                    11   นครราชสีมา(60,ผลักดันน้ำ(11) สกลนคร(5) หนองคาย(18)

ขอนแก่น(14) ชัยภูมิ(4) มหาสารคาม(50) กาฬสินธุ์(13)

นครพนม(3)

กลาง           8               150                    27   ชัยนาท(1) อุทัยธานี(3) ลพบุรี(41) สิงห์บุรี( 31)

พระนครศรีอยุธยา(1) อ่างทอง(47) นครปฐม(ผลักดันน้ำ 20)

สุพรรณบุรี(26,ผลักดันน้ำ 7)

ตะวันออก        1                 9                     -   ปราจีนบุรี(9)
ใต้             3                13                     -   ประจวบคีรีขันธ์(2) สุราษฎร์ธานี(5) นครศรีธรรมราช(6)
รวม           26               379                    38

2. การสนับสนุนเสบียงสัตว์และดูแลสุขภาพสัตว์

กรมปศุสัตว์สนับสนุนเสบียงสัตว์จำนวน 878,801 กิโลกรัม และดูแลสุขภาพสัตว์ 99,975 ตัว ทั้งนี้ได้สำรองเสบียงสัตว์ไว้เพื่อช่วย เหลือเกษตรกรที่ประสบภัยเพิ่มเติม โดยมีเสบียงสัตว์คงเหลือ 6,985 ตัน ประกอบด้วย ถั่วแห้ง 39 ตัน หญ้าแห้ง 3,675 ตัน หญ้าหมัก 124 ตัน และหญ้าสด 3,147 ตัน

3. สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ผัก

กรมส่งเสริมการเกษตร โดยศูนย์ส่งเสริมพัฒนาอาชีพการเกษตร ศูนย์เพาะเลี้ยงพันธุ์พืช จำนวน 10 แห่ง ผลิตต้นกล้าพืชผักจำนวน 1 ล้านต้น แจกจ่ายให้เกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแล้ว จำนวน 250,000 ต้น รวมทั้งได้จัดตั้งครัวสายใยรักแห่งครอบครัว เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยในจังหวัดลพบุรีและปราจีนบุรี

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 พฤศจิกายน 2551--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ