คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รายงานการจัดอันดับความสามารถในการ
แข่งขันประจำปี 2549 ของ IMD สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. อันดับความสามารถในการแข่งขัน
1.1 อันดับความสามารถในการแข่งขันโดยรวม การจัดอันดับของประเทศและกลุ่มเศรษฐกิจต่าง ๆ ทั่วโลกรวม 61 กลุ่ม
โดยประเทศหรือกลุ่มเศรษฐกิจที่ได้รับการจัดลำดับให้มีความสามารถในการแข่งขันสูงสุด 5 ลำดับแรก คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ฮ่องกง
สิงคโปร์ ไอซ์แลนด์ และเดนมาร์ก ตามลำดับ (4 ลำดับแรกไม่มีการเปลี่ยนแปลง) สำหรับประเทศกลุ่มอาเซียน จำนวน 5 ประเทศ
นอกจากประเทศสิงคโปร์ที่ได้รับการจัดลำดับอยู่ที่ลำดับ 3 นั้น อีก 4 ประเทศ คือ มาเลเซีย ประเทศไทย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย
ได้รับการจัดลำดับอยู่ที่ลำดับ 23,32,49 และ 60 ตามลำดับ
1.2 ข้อสังเกตโดยเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศเอเชีย-แปซิฟิก จากการเปรียบเทียบกลุ่มประเทศเอเชีย-แปซิฟิก 15 ประเทศ
พบว่าขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยถูกปรับลดลงจากอันดับ 8 ในปี 2548 มาอยู่อันดับ 10 ของกลุ่มฮ่องกงและสิงค์โปร์ยังคงรักษา
อันดับ 1 และ 2 ของกลุ่มไว้ได้เช่นเดียวกับปีที่แล้วในขณะที่จีนปรับตัวดีขึ้น จากอันดับที่ 11 ของกลุ่มในปี 2548 มาอยู่ที่อันดับที่ 6 ในปี 2549
อินเดียปรับตัวดีขึ้นมาก เช่นเดียวกัน โดยปรับขึ้นจากอันดับ 12 ของกลุ่มในปี 2548 มาอยู่ที่ 9 ในปีนี้
1.3 สถานภาพการแข่งขันของประเทศไทย
ในปี 2549 ประเทศไทยถูกลดอันดับจาก 27 ในปี 2548 มาอยู่ที่ 32 ซึ่งเมื่อพิจารณาปัจจัยหลัก 4 กลุ่มพบว่า
1) สมรรถนะเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นมาตลอดในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา แต่ในปี 2549 ลดลงมาอยู่ที่อันดับ 21
2) ประสิทธิภาพภาครัฐบาลตกจากอันดับ 14 ในปี 2548 มาอยู่ที่ 21 ในปี 2549
3) ประสิทธิภาพภาคธุรกิจยังคงอยู่ในอันดับเดียวกับปี 2548 คือ อันดับ 28
4) โครงสร้างพื้นฐานซึ่งเป็นจุดอ่อนและปัจจัยถ่วงความสามารถในการแข่งขันของประเทศมาโดยตลอด ถูกปรับลดลงอีกจาก
อันดับที่ 47 ในปี 2548 มาอยู่ที่อันดับ 48 ในปี 2549
2. ปัจจัยที่ทำให้อันดับความสามารถในการแข่งขันของไทยลดลง
ตัวชี้วัด หน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง
1. สมรรถนะทางเศรษฐกิจ
- การลงทุนในหลักทรัพย์ (ทรัพย์สิน) (58) กระทรวงการคลัง
- GDP ต่อหัว $US (54)
- GDP (PPP) ต่อหัว $US (51)
- การลงทุนในหลักทรัพย์ (หนี้สิน) (50) กระทรวงการคลัง
- การลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ $US (48) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
2. ประสิทธิภาพของภาครัฐ
- การเข้าถือครองธุรกิจในประเทศของนักลงทุน กระทรวงพาณิชย์
ต่างประเทศ ยังไม่เปิดเสรี (56) จากผลสำรวจ
- การควบคุมราคา (55) ผลสำรวจ กระทรวงพาณิชย์
- ความโปร่งใสของนโยบายรัฐบาล (52) จากผลสำรวจ
- กฎระเบียบการแข่งขัน (50) จากผลสำรวจ กระทรวงพาณิชย์
- ความไม่มั่นคงทางการเมือง (50) จากผลสำรวจ
3. ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ
- ผลิตภาพแรงงานรวม (PPP) (56) กระทรวงแรงงาน,กระทรวงอุตสาหกรรม
- อัตราเพิ่มดัชนีตลาดหลักทรัพย์ (53) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- ความเสี่ยงในการลงทุน (47) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
- มาตรฐานของธุรกิจ SME (47) จากผลสำรวจ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
กระทรวงการคลัง
- ทักษะทางการเงิน (47) จากผลสำรวจ
4. โครงสร้างพื้นฐาน
- ค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุข ต่อ GDP (59) กระทรวงสาธารณสุข
- ค่าใช้จ่ายด้าน R&D ต่อ GDP (58) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- จำนวนคนไข้ในต่อแพทย์และพยาบาล (57) กระทรวงสาธารณสุข
- ค่าใช้จ่ายด้าน R&D ในภาคธุรกิจ ต่อ GDP (55) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- จำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ต (53) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศฯ
3. ข้อวิเคราะห์
3.1 อันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยที่ลดลงหลายอันดับในปีนี้ นอกจากปัญหาราคาน้ำมันที่ทำให้ระดับราคาและ
ค่าครองชีพสูงขึ้นตามไปด้วยแล้ว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะประเทศไทยยังไม่สามารถแก้จุดอ่อนที่สะสมมานานได้ เช่น ผลิตภาพ ทักษะ และการวิจัยและ
พัฒนาอยู่ในระดับต่ำ การนำเข้าสินค้าทุนที่มีมูลค่าสูง และโครงสร้างเศรษฐกิจที่ไม่ยึดหยุ่น ขณะที่ปัจจัยสนับสนุน เช่น โครงสร้างพื้นฐาน และ
ประสิทธิภาพภาครัฐ ยังคงเป็นจุดอ่อน จึงจำเป็นต้องเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าว
3.2 นอกจากจุดอ่อนภายในประเทศแล้ว ไทยยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก เช่น การขาดดุลงบประมาณของสหรัฐฯ
ซึ่งจะส่งผลต่อเศรษฐกิจโลก ความต้องการวัตถุดิบจำนวนมากของอินเดียและจีน ซึ่งจะส่งผลให้ราคาวัตถุดิบ สินค้า และพลังงานสูงขึ้น แรงงาน
ฝีมือค่าจ้างถูกจากต่างประเทศ และการเกิดขึ้นของตลาดใหม่ ๆ ในเอเชีย รัสเซีย และประเทศในแถบละตินอเมริกา รวมถึงแอฟริกา ซึ่งเป็น
ทั้งคู่แข่งและคู่ค้า
3.3 ประเทศไทยจะต้องเผชิญความท้าทายอันได้แก่ การปฏิรูปโครงสร้างการส่งออกและนำเข้า การพัฒนาความสามารถในการ
แข่งขันของอุตสาหกรรม การพัฒนาคุณภาพแรงงานให้ตรงตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด การปรับปรุง
ประสิทธิภาพการใช้พลังงานเพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าพลังงาน และการปรับปรุงกฎหมายและระเบียบปฏิบัติ เพื่อรักษาและพัฒนาอันดับความสามารถ
ในการแข่งขันของไทย ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจะเร่งปรับตัว เพื่อมิให้ปัญหาฝังรากลึกและส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม ทั้งนี้
การรักษาหรือพัฒนาอันดับความสามารถในการแข่งขัน มีปัจจัยที่ต้องให้ความสำคัญปลายประการ ซึ่งเป็นจุดอ่อนของประเทศไทยมาโดยตลอด ได้แก่
สภาพแวดล้อมทางกฎหมาย การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน การลงทุนในการศึกษา และผลิตภาพแรงงาน
3.4 รายงานของ IMD สรุปว่าการมีทัศนคติที่ดีเป็นสิ่งสำคัญ และต้องตั้งอยู่บนรากฐานของความเข้าใจและตระหนักในความสำคัญ
และจำเป็นของความสามารถในการแข่งขันในยุคโลกาภิวัฒน์ ดังนั้นการปรับตัวจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยความสามารถในการแข่งขันมี
เป้าหมายสูงสุดอยู่ที่การยกระดับการพัฒนาที่มุ่งสู่
คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชากรส่วนใหญ่ในประเทศ
3.5 กระบวนการปรับตัวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันต้องการการกำหนดทิศทางเชิงยุทธศาสตร์และการขับเคลื่อน
ผ่านแผนงาน/โครงการ/มาตรการ โดยมีกระบวนการการตัดสินใจที่ตั้งอยู่บนระบบข้อมูลที่สมบูรณ์และทันสมัย สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ
เอกชน และประชาชนในวงกว้าง
3.6 การจัดให้มีระบบข้อมูลที่จำเป็นเป็นประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการเชื่อมโยงระบบข้อมูลที่จัดทำโดยส่วน
ต่าง ๆ เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนและเชื่อมโยงเพื่อการใช้ประโยชน์ และลดความซ้ำซ้อนที่ไม่จำเป็น
4. ความเห็นและข้อเสนอแนะ
4.1 สมรรถนะทางเศรษฐกิจ ควรให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการออมเพื่อสนับสนุนการลงทุนในประเทศและลดการพึ่งพาเงินทุน
จากต่างประเทศ รวมทั้งการสร้างสมดุลระหว่างตลาดเงินและตลาดลงทุน ให้เหมาะสมกับความต้องการใช้ทุนที่แตกต่างกัน โดยการจัดสรรทุนควร
ให้เกิดความสมดุลระหว่างภาคการผลิตต่างๆ ทั้งนี้ควรพัฒนาเสถียรภาพตลาดทุนโดยส่งเสริมนักลงทุนที่มีคุณค่า (Valued investors) เพื่อให้
ตลาดทุนเป็นที่สำหรับการระดมทุนอย่างแท้จริง พัฒนาระบบการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพและการบังคับใช้มาตรฐานทางการเงินระดับโลก และ
พัฒนาตราสารหนี้ ตราสารลงทุนใหม่ ๆ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการคลัง และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และลาดหลักทรัพย์
4.2 ประสิทธิภาพของภาครัฐ
4.2.1 เร่งสร้างเสถียรภาพและประสิทธิภาพในการบริหารจัดการภาครัฐ โดยปรับปรุงกลไกบริหารจัดการ เพื่อสร้างความ
ต่อเนื่องและชัดเจนของนโยบายและการปฏิบัติตั้งแต่ระดับส่วนกลางจนถึงท้องถิ่น พร้อมทั้งพัฒนาขีดความสามาถของภาครัฐในทุกระดับเพื่อการอำนวย
ความสะดวกในการดำเนินงานของภาคเอกชน การบริการแก่ประชาชน และการบริหารจัดการภายในอย่างมีประสิทธิภาพ
4.2.2 ควรร่วมกันสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีทางธุรกิจ เช่น ปรับปรุงกฎหมายและระเบียบปฏิบัติ ลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์
และการพัฒนาทักษะแรงงาน เป็นต้น
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงแรงงาน และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
4.3 ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ
4.3.1 ควรให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างการผลิตให้ผลิตภาพการผลิตและการเพิ่มคุณค่าของสินค้าและบริการที่ผลิต
ในประเทศไทยสูงขึ้นบนฐานความรู้และความเป็นไทย โดยใช้กระบวนการพัฒนาคลัสเตอร์และห่วงโซ่อุปทาน และผสมผสานการใช้เทคโนโลยีกับการ
ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการปฏิรูปโครงสร้างการส่งออกและนำเข้า โดยให้ความสำคัญกับการเพิ่มมูลค่าสินค้า
การกำหนดตลาดเฉพาะกลุ่มที่ไทยมีความได้เปรียบ (Niche market) การเข้าเป็นส่วนหนึ่งในห่วงโซ่อุปทานในระดับภูมิภาค (Pan Asian
Supply Chain) การพัฒนาสินค้าและบริการโดยบูรณาการความเป็นไทยเข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น อุตสาหกรรมวัฒนธรรมและสื่อดิจิตัลแฟชั่น
และการท่องเที่ยว การพัฒนามาตรฐานสินค้าและสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามมาตรฐานโลกทั้งสำหรับสินค้าส่งออกและเพื่อป้องกันการนำเข้าสินค้าที่ไม่ได้
มาตรฐาน การพัฒนาสินค้าทดแทนการนำเข้า และการจัดทำข้อตกลงทวิภาคีอย่างระมัดระวัง
4.3.2 สนับสนุนแหล่งทุน และยกระดับผู้ประกอบการไทยให้มีความเป็นสากล นอกจากนี้ควรเน้นให้ประชาชนยึดหลักเศรษฐกิจ
พอเพียงและการพึ่งตนเอง เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งของรากหญ้าและชนชั้นกลางอย่างยั่งยืน
4.3.3 สนับสนุนการพัฒนาการศึกษาของนักเรียนนักศึกษา การอบรมแรงงาน/พนักงาน และการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน
ให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคเศรษฐกิจและสังคมในประเทศและการเปลี่ยนแปลงทักษะและองค์ความรู้ใหม่ๆ ในระดับโลก
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ
มนุษย์
4.4 โครงสร้างพื้นฐาน ควรพัฒนาปัจจัยสนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น เช่น พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพและ
เทคโนโลยี สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาในภาคธุรกิจ การลดการใช้พลังงานและปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การวิจัยและพัฒนาพลังงานทาง
เลือก ทั้งพลังงานชีวภาพและพลังงานธรรมชาติ รวมทั้งพัฒนาอุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์ที่ใช้พลังงานดังกล่าวแทนน้ำมันและพลังงานสิ้นเปลืองอื่นๆ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงคมนาคม กระทรวงพลังงาน กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 สิงหาคม 2549--จบ--
แข่งขันประจำปี 2549 ของ IMD สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. อันดับความสามารถในการแข่งขัน
1.1 อันดับความสามารถในการแข่งขันโดยรวม การจัดอันดับของประเทศและกลุ่มเศรษฐกิจต่าง ๆ ทั่วโลกรวม 61 กลุ่ม
โดยประเทศหรือกลุ่มเศรษฐกิจที่ได้รับการจัดลำดับให้มีความสามารถในการแข่งขันสูงสุด 5 ลำดับแรก คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ฮ่องกง
สิงคโปร์ ไอซ์แลนด์ และเดนมาร์ก ตามลำดับ (4 ลำดับแรกไม่มีการเปลี่ยนแปลง) สำหรับประเทศกลุ่มอาเซียน จำนวน 5 ประเทศ
นอกจากประเทศสิงคโปร์ที่ได้รับการจัดลำดับอยู่ที่ลำดับ 3 นั้น อีก 4 ประเทศ คือ มาเลเซีย ประเทศไทย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย
ได้รับการจัดลำดับอยู่ที่ลำดับ 23,32,49 และ 60 ตามลำดับ
1.2 ข้อสังเกตโดยเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศเอเชีย-แปซิฟิก จากการเปรียบเทียบกลุ่มประเทศเอเชีย-แปซิฟิก 15 ประเทศ
พบว่าขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยถูกปรับลดลงจากอันดับ 8 ในปี 2548 มาอยู่อันดับ 10 ของกลุ่มฮ่องกงและสิงค์โปร์ยังคงรักษา
อันดับ 1 และ 2 ของกลุ่มไว้ได้เช่นเดียวกับปีที่แล้วในขณะที่จีนปรับตัวดีขึ้น จากอันดับที่ 11 ของกลุ่มในปี 2548 มาอยู่ที่อันดับที่ 6 ในปี 2549
อินเดียปรับตัวดีขึ้นมาก เช่นเดียวกัน โดยปรับขึ้นจากอันดับ 12 ของกลุ่มในปี 2548 มาอยู่ที่ 9 ในปีนี้
1.3 สถานภาพการแข่งขันของประเทศไทย
ในปี 2549 ประเทศไทยถูกลดอันดับจาก 27 ในปี 2548 มาอยู่ที่ 32 ซึ่งเมื่อพิจารณาปัจจัยหลัก 4 กลุ่มพบว่า
1) สมรรถนะเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นมาตลอดในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา แต่ในปี 2549 ลดลงมาอยู่ที่อันดับ 21
2) ประสิทธิภาพภาครัฐบาลตกจากอันดับ 14 ในปี 2548 มาอยู่ที่ 21 ในปี 2549
3) ประสิทธิภาพภาคธุรกิจยังคงอยู่ในอันดับเดียวกับปี 2548 คือ อันดับ 28
4) โครงสร้างพื้นฐานซึ่งเป็นจุดอ่อนและปัจจัยถ่วงความสามารถในการแข่งขันของประเทศมาโดยตลอด ถูกปรับลดลงอีกจาก
อันดับที่ 47 ในปี 2548 มาอยู่ที่อันดับ 48 ในปี 2549
2. ปัจจัยที่ทำให้อันดับความสามารถในการแข่งขันของไทยลดลง
ตัวชี้วัด หน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง
1. สมรรถนะทางเศรษฐกิจ
- การลงทุนในหลักทรัพย์ (ทรัพย์สิน) (58) กระทรวงการคลัง
- GDP ต่อหัว $US (54)
- GDP (PPP) ต่อหัว $US (51)
- การลงทุนในหลักทรัพย์ (หนี้สิน) (50) กระทรวงการคลัง
- การลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ $US (48) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
2. ประสิทธิภาพของภาครัฐ
- การเข้าถือครองธุรกิจในประเทศของนักลงทุน กระทรวงพาณิชย์
ต่างประเทศ ยังไม่เปิดเสรี (56) จากผลสำรวจ
- การควบคุมราคา (55) ผลสำรวจ กระทรวงพาณิชย์
- ความโปร่งใสของนโยบายรัฐบาล (52) จากผลสำรวจ
- กฎระเบียบการแข่งขัน (50) จากผลสำรวจ กระทรวงพาณิชย์
- ความไม่มั่นคงทางการเมือง (50) จากผลสำรวจ
3. ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ
- ผลิตภาพแรงงานรวม (PPP) (56) กระทรวงแรงงาน,กระทรวงอุตสาหกรรม
- อัตราเพิ่มดัชนีตลาดหลักทรัพย์ (53) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- ความเสี่ยงในการลงทุน (47) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
- มาตรฐานของธุรกิจ SME (47) จากผลสำรวจ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
กระทรวงการคลัง
- ทักษะทางการเงิน (47) จากผลสำรวจ
4. โครงสร้างพื้นฐาน
- ค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุข ต่อ GDP (59) กระทรวงสาธารณสุข
- ค่าใช้จ่ายด้าน R&D ต่อ GDP (58) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- จำนวนคนไข้ในต่อแพทย์และพยาบาล (57) กระทรวงสาธารณสุข
- ค่าใช้จ่ายด้าน R&D ในภาคธุรกิจ ต่อ GDP (55) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- จำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ต (53) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศฯ
3. ข้อวิเคราะห์
3.1 อันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยที่ลดลงหลายอันดับในปีนี้ นอกจากปัญหาราคาน้ำมันที่ทำให้ระดับราคาและ
ค่าครองชีพสูงขึ้นตามไปด้วยแล้ว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะประเทศไทยยังไม่สามารถแก้จุดอ่อนที่สะสมมานานได้ เช่น ผลิตภาพ ทักษะ และการวิจัยและ
พัฒนาอยู่ในระดับต่ำ การนำเข้าสินค้าทุนที่มีมูลค่าสูง และโครงสร้างเศรษฐกิจที่ไม่ยึดหยุ่น ขณะที่ปัจจัยสนับสนุน เช่น โครงสร้างพื้นฐาน และ
ประสิทธิภาพภาครัฐ ยังคงเป็นจุดอ่อน จึงจำเป็นต้องเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าว
3.2 นอกจากจุดอ่อนภายในประเทศแล้ว ไทยยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก เช่น การขาดดุลงบประมาณของสหรัฐฯ
ซึ่งจะส่งผลต่อเศรษฐกิจโลก ความต้องการวัตถุดิบจำนวนมากของอินเดียและจีน ซึ่งจะส่งผลให้ราคาวัตถุดิบ สินค้า และพลังงานสูงขึ้น แรงงาน
ฝีมือค่าจ้างถูกจากต่างประเทศ และการเกิดขึ้นของตลาดใหม่ ๆ ในเอเชีย รัสเซีย และประเทศในแถบละตินอเมริกา รวมถึงแอฟริกา ซึ่งเป็น
ทั้งคู่แข่งและคู่ค้า
3.3 ประเทศไทยจะต้องเผชิญความท้าทายอันได้แก่ การปฏิรูปโครงสร้างการส่งออกและนำเข้า การพัฒนาความสามารถในการ
แข่งขันของอุตสาหกรรม การพัฒนาคุณภาพแรงงานให้ตรงตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด การปรับปรุง
ประสิทธิภาพการใช้พลังงานเพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าพลังงาน และการปรับปรุงกฎหมายและระเบียบปฏิบัติ เพื่อรักษาและพัฒนาอันดับความสามารถ
ในการแข่งขันของไทย ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจะเร่งปรับตัว เพื่อมิให้ปัญหาฝังรากลึกและส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม ทั้งนี้
การรักษาหรือพัฒนาอันดับความสามารถในการแข่งขัน มีปัจจัยที่ต้องให้ความสำคัญปลายประการ ซึ่งเป็นจุดอ่อนของประเทศไทยมาโดยตลอด ได้แก่
สภาพแวดล้อมทางกฎหมาย การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน การลงทุนในการศึกษา และผลิตภาพแรงงาน
3.4 รายงานของ IMD สรุปว่าการมีทัศนคติที่ดีเป็นสิ่งสำคัญ และต้องตั้งอยู่บนรากฐานของความเข้าใจและตระหนักในความสำคัญ
และจำเป็นของความสามารถในการแข่งขันในยุคโลกาภิวัฒน์ ดังนั้นการปรับตัวจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยความสามารถในการแข่งขันมี
เป้าหมายสูงสุดอยู่ที่การยกระดับการพัฒนาที่มุ่งสู่
คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชากรส่วนใหญ่ในประเทศ
3.5 กระบวนการปรับตัวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันต้องการการกำหนดทิศทางเชิงยุทธศาสตร์และการขับเคลื่อน
ผ่านแผนงาน/โครงการ/มาตรการ โดยมีกระบวนการการตัดสินใจที่ตั้งอยู่บนระบบข้อมูลที่สมบูรณ์และทันสมัย สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ
เอกชน และประชาชนในวงกว้าง
3.6 การจัดให้มีระบบข้อมูลที่จำเป็นเป็นประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการเชื่อมโยงระบบข้อมูลที่จัดทำโดยส่วน
ต่าง ๆ เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนและเชื่อมโยงเพื่อการใช้ประโยชน์ และลดความซ้ำซ้อนที่ไม่จำเป็น
4. ความเห็นและข้อเสนอแนะ
4.1 สมรรถนะทางเศรษฐกิจ ควรให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการออมเพื่อสนับสนุนการลงทุนในประเทศและลดการพึ่งพาเงินทุน
จากต่างประเทศ รวมทั้งการสร้างสมดุลระหว่างตลาดเงินและตลาดลงทุน ให้เหมาะสมกับความต้องการใช้ทุนที่แตกต่างกัน โดยการจัดสรรทุนควร
ให้เกิดความสมดุลระหว่างภาคการผลิตต่างๆ ทั้งนี้ควรพัฒนาเสถียรภาพตลาดทุนโดยส่งเสริมนักลงทุนที่มีคุณค่า (Valued investors) เพื่อให้
ตลาดทุนเป็นที่สำหรับการระดมทุนอย่างแท้จริง พัฒนาระบบการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพและการบังคับใช้มาตรฐานทางการเงินระดับโลก และ
พัฒนาตราสารหนี้ ตราสารลงทุนใหม่ ๆ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการคลัง และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และลาดหลักทรัพย์
4.2 ประสิทธิภาพของภาครัฐ
4.2.1 เร่งสร้างเสถียรภาพและประสิทธิภาพในการบริหารจัดการภาครัฐ โดยปรับปรุงกลไกบริหารจัดการ เพื่อสร้างความ
ต่อเนื่องและชัดเจนของนโยบายและการปฏิบัติตั้งแต่ระดับส่วนกลางจนถึงท้องถิ่น พร้อมทั้งพัฒนาขีดความสามาถของภาครัฐในทุกระดับเพื่อการอำนวย
ความสะดวกในการดำเนินงานของภาคเอกชน การบริการแก่ประชาชน และการบริหารจัดการภายในอย่างมีประสิทธิภาพ
4.2.2 ควรร่วมกันสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีทางธุรกิจ เช่น ปรับปรุงกฎหมายและระเบียบปฏิบัติ ลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์
และการพัฒนาทักษะแรงงาน เป็นต้น
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงแรงงาน และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
4.3 ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ
4.3.1 ควรให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างการผลิตให้ผลิตภาพการผลิตและการเพิ่มคุณค่าของสินค้าและบริการที่ผลิต
ในประเทศไทยสูงขึ้นบนฐานความรู้และความเป็นไทย โดยใช้กระบวนการพัฒนาคลัสเตอร์และห่วงโซ่อุปทาน และผสมผสานการใช้เทคโนโลยีกับการ
ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการปฏิรูปโครงสร้างการส่งออกและนำเข้า โดยให้ความสำคัญกับการเพิ่มมูลค่าสินค้า
การกำหนดตลาดเฉพาะกลุ่มที่ไทยมีความได้เปรียบ (Niche market) การเข้าเป็นส่วนหนึ่งในห่วงโซ่อุปทานในระดับภูมิภาค (Pan Asian
Supply Chain) การพัฒนาสินค้าและบริการโดยบูรณาการความเป็นไทยเข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น อุตสาหกรรมวัฒนธรรมและสื่อดิจิตัลแฟชั่น
และการท่องเที่ยว การพัฒนามาตรฐานสินค้าและสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามมาตรฐานโลกทั้งสำหรับสินค้าส่งออกและเพื่อป้องกันการนำเข้าสินค้าที่ไม่ได้
มาตรฐาน การพัฒนาสินค้าทดแทนการนำเข้า และการจัดทำข้อตกลงทวิภาคีอย่างระมัดระวัง
4.3.2 สนับสนุนแหล่งทุน และยกระดับผู้ประกอบการไทยให้มีความเป็นสากล นอกจากนี้ควรเน้นให้ประชาชนยึดหลักเศรษฐกิจ
พอเพียงและการพึ่งตนเอง เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งของรากหญ้าและชนชั้นกลางอย่างยั่งยืน
4.3.3 สนับสนุนการพัฒนาการศึกษาของนักเรียนนักศึกษา การอบรมแรงงาน/พนักงาน และการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน
ให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคเศรษฐกิจและสังคมในประเทศและการเปลี่ยนแปลงทักษะและองค์ความรู้ใหม่ๆ ในระดับโลก
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ
มนุษย์
4.4 โครงสร้างพื้นฐาน ควรพัฒนาปัจจัยสนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น เช่น พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพและ
เทคโนโลยี สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาในภาคธุรกิจ การลดการใช้พลังงานและปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การวิจัยและพัฒนาพลังงานทาง
เลือก ทั้งพลังงานชีวภาพและพลังงานธรรมชาติ รวมทั้งพัฒนาอุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์ที่ใช้พลังงานดังกล่าวแทนน้ำมันและพลังงานสิ้นเปลืองอื่นๆ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงคมนาคม กระทรวงพลังงาน กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 สิงหาคม 2549--จบ--