คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รายงานผลแนวทางการแก้ไขพฤติกรรมเยาวชนที่เสี่ยงต่อการกระทำความผิดกรณีนักเรียนอาชีวศึกษา และให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์นำผลการดำเนินงานดังกล่าวรายงานให้สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องตามนัยมติคณะรัฐมนตรี (3 พฤษภาคม 2548) และเผยแพร่ทางเว็บไซต์ของหน่วยงานต่อไป โดยมีสาระสำคัญดังนี้
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ) ได้ขอความร่วมมือหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ องค์กรเอกชน และกระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวม 15 แห่ง รายงานผลการดำเนินงานให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ทราบ ภายในเดือนมีนาคมและกันยายนของทุกปี พบว่าในปีงบประมาณ 2548 มีหน่วยงานจัดส่งข้อมูลโครงการที่ได้ดำเนินการแล้ว จำนวน 7 แห่ง ได้แก่ สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ และกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมสุขภาพจิต กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน และสำนักงานตรวจแห่งชาติ โดยผลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมเยาวชนที่เสี่ยงต่อการกระทำความผิดกรณีนักเรียนอาชีวศึกษา สรุปได้ดังนี้
1. ด้านครอบครัว ได้มีการสนับสนุนส่งเสริมศักยภาพให้ครอบครัวได้ทำบทบาทในการอบรมเลี้ยงดูเด็กได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะให้ความสำคัญกับการปลูกฝังเด็กให้มีความอ่อนโยน รู้จักความอ่อนน้อมถ่อมตน เข้าใจผู้อื่น มีคุณธรรม จริยธรรม อันเป็นกิจกรรมสร้างพื้นฐานที่ดีต่อการดำรงชีวิตเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น
2. ด้านสังคม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงการเพิ่มพื้นที่และกิจกรรมสร้างสรรค์ให้กับนักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษามากขึ้น ทั้งในด้านการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมการส่งเสริมทักษะวิชาชีพด้านงานช่างในการพัฒนาสังคม และมีงานวิจัยส่งเสริมสุขภาพจิตเพื่อป้องกันการใช้ความรุนแรงของวัยรุ่นไทย เพื่อพัฒนาองค์ความรู้อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพตามวัยของนักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษาในทางที่สร้างสรรค์ ฝึกทักษะการจัดการแก้ไขปัญหาในทางที่เหมาะสมได้ เมื่อเข้าสู่วัยทำงานมีกิจกรรมการเพิ่มทักษะฝีมือให้กับนักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษาก่อนทำงานและมีการจัดหางานพิเศษให้นักเรียน นักศึกษา
3. ด้านหน่วยงาน คณะอนุกรรมการการศึกษาสาเหตุและแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทในเด็กและเยาวชนได้ร่วมกันสร้างมาตรการ แนวทาง และนโยบายระดับต่าง ๆ เพื่อแก้ไขป้องกันปัญหาการทะเลาะวิวาท นอกจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการพัฒนากลไกการทำงานให้สามารถรองรับและป้องกันปัญหาโดยการพัฒนาบุคลากรในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 แจ้งเบาะแสเหตุการณ์ และการทำงานร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้
4. ด้านสถานศึกษา ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพิษภัยยาเสพติด ฝึกทักษะให้นักเรียน นักศึกษารู้จักการปฏิเสธสิ่งเสพติด และอบายมุขต่าง ๆ ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม และฝึกอบรมนักเรียนเป็นแกนนำทูตอาชีวะ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 4 เมษายน 2549--จบ--
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ) ได้ขอความร่วมมือหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ องค์กรเอกชน และกระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวม 15 แห่ง รายงานผลการดำเนินงานให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ทราบ ภายในเดือนมีนาคมและกันยายนของทุกปี พบว่าในปีงบประมาณ 2548 มีหน่วยงานจัดส่งข้อมูลโครงการที่ได้ดำเนินการแล้ว จำนวน 7 แห่ง ได้แก่ สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ และกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมสุขภาพจิต กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน และสำนักงานตรวจแห่งชาติ โดยผลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมเยาวชนที่เสี่ยงต่อการกระทำความผิดกรณีนักเรียนอาชีวศึกษา สรุปได้ดังนี้
1. ด้านครอบครัว ได้มีการสนับสนุนส่งเสริมศักยภาพให้ครอบครัวได้ทำบทบาทในการอบรมเลี้ยงดูเด็กได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะให้ความสำคัญกับการปลูกฝังเด็กให้มีความอ่อนโยน รู้จักความอ่อนน้อมถ่อมตน เข้าใจผู้อื่น มีคุณธรรม จริยธรรม อันเป็นกิจกรรมสร้างพื้นฐานที่ดีต่อการดำรงชีวิตเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น
2. ด้านสังคม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงการเพิ่มพื้นที่และกิจกรรมสร้างสรรค์ให้กับนักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษามากขึ้น ทั้งในด้านการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมการส่งเสริมทักษะวิชาชีพด้านงานช่างในการพัฒนาสังคม และมีงานวิจัยส่งเสริมสุขภาพจิตเพื่อป้องกันการใช้ความรุนแรงของวัยรุ่นไทย เพื่อพัฒนาองค์ความรู้อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพตามวัยของนักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษาในทางที่สร้างสรรค์ ฝึกทักษะการจัดการแก้ไขปัญหาในทางที่เหมาะสมได้ เมื่อเข้าสู่วัยทำงานมีกิจกรรมการเพิ่มทักษะฝีมือให้กับนักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษาก่อนทำงานและมีการจัดหางานพิเศษให้นักเรียน นักศึกษา
3. ด้านหน่วยงาน คณะอนุกรรมการการศึกษาสาเหตุและแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทในเด็กและเยาวชนได้ร่วมกันสร้างมาตรการ แนวทาง และนโยบายระดับต่าง ๆ เพื่อแก้ไขป้องกันปัญหาการทะเลาะวิวาท นอกจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการพัฒนากลไกการทำงานให้สามารถรองรับและป้องกันปัญหาโดยการพัฒนาบุคลากรในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 แจ้งเบาะแสเหตุการณ์ และการทำงานร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้
4. ด้านสถานศึกษา ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพิษภัยยาเสพติด ฝึกทักษะให้นักเรียน นักศึกษารู้จักการปฏิเสธสิ่งเสพติด และอบายมุขต่าง ๆ ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม และฝึกอบรมนักเรียนเป็นแกนนำทูตอาชีวะ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 4 เมษายน 2549--จบ--