คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สรุปสถานการณ์อุทกภัยในภาคเหนือตอนล่างและการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดเชียงใหม่ ปี 2549 ดังนี้
1. สถานการณ์อุทกภัยในภาคเหนือตอนล่าง
1.1 จังหวัดที่ประสบอุทกภัยในปัจจุบัน
จังหวัดสุโขทัย ปริมาณน้ำในแม่น้ำยมได้เอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่บริเวณ อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2549 โดยท่วมพื้นที่การเกษตรทุกตำบลรวม 11 ตำบล 102 หมู่บ้าน โดยเฉพาะบริเวณริมแม่น้ำยม ระดับน้ำสูงประมาณ 06.0 เมตร คาดว่าระดับน้ำจะทรงตัวประมาณ 1 — 2 วัน แล้วเริ่มลดระดับลง
จังหวัดพิษณุโลก ปริมาณน้ำในแม่น้ำยมที่ไหลเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรในอำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย ได้ไหลบ่าตามทุ่งลงถึงอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก เริ่มไหลเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร บริเวณตำบลชุมแสงสงคราม หมู่ 1 ตำบลคุยม่วง หมู่ 7 และตำบลท่านางงาม หมู่ 2 ระดับน้ำสูงประมาณ 0.40 เมตร และมีน้ำท่วมพื้นที่การเกษตร 4 ตำบล ในตำบลชุมแสงสงคราม ตำบลคุยม่วง ตำบลท่านางงาม และตำบลบางระกำ ใน 16 หมู่บ้าน นอกจากนี้ปริมาณน้ำจากเขตติดต่อจังหวัดสุโขทัย จังหวัดอุตรดิตถ์ บริเวณริมฝั่งแม่น้ำน่านได้ไหลท่วมทุ่งเข้าท่วมขังในพื้นที่ ตำบลวังวน ตำบลหนองแขม ตำบลท่าช้าง อำเภอพรหมพิราม สูงประมาณ 0.20 — 0.40 เมตร ปริมาณน้ำส่วนนี้จะถูกระบายลงสู่คลองเมม และคลองระบายสาย 15.8 D ลงสู่แม่น้ำน่าน ซึ่งกรมชลประทานได้พร่องน้ำไว้รอรับสถานการณ์น้ำส่วนนี้ไว้แล้ว จะทำให้ระดับน้ำท่วมในเขตจังหวัดพิษณุโลกเริ่มลดระดับลง
1.2 สถานการณ์น้ำท่า
ลำน้ำยม ปัจจุบันปริมาณน้ำที่อำเภอศรีสัชนาลัย อำเภอสวรรคโลก อำเภอศรีสำโรง ตัวเมืองสุโขทัย อยู่ในสภาวะปกติ ส่วนที่อำเภอกงไกรลาศ มีระดับน้ำอยู่ที่ 9.96 เมตร สูงกว่าตลิ่ง 0.96 เมตร (ระดับตลิ่ง 9.00 เมตร)
แม่น้ำเจ้าพระยา ปริมาณน้ำจากลำน้ำน่านได้ไหลมาถึงแม่น้ำเจ้าพระยาและรวมกับปริมาณน้ำจากลำน้ำปิง ที่จังหวัดนครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุดเมื่อเวลา 12.00 น. ของวันที่ 28 พฤษภาคม 2549 มีปริมาณน้ำ 1,368 ลบ.ม. / วินาที และวันที่ 5 มิถุนายน 2549 เวลา 06.00 น. มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 942 ลบ.ม. / วินาที ปริมาณน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง ปริมาณน้ำจำนวนนี้จะไม่มีผลกระทบทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาตอนล่างแต่อย่างใด
1.3 การให้ความช่วยเหลือ กรมชลประทานได้จัดเตรียมเครื่องจักรเครื่องมือเพื่อให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาน้ำท่วมภาคเหนือตอนล่างในจังหวัดต่าง ๆ ที่เกิดปัญหาน้ำท่วม ดังนี้ เครื่องสูบน้ำ 101 เครื่อง รถบรรทุก 15 คัน รถบรรทุกน้ำ 10 คัน รถแบคโฮ 2 คัน รถแทรกเตอร์ 2 คัน รถเกรด 1 คัน และรถเครน 1 คัน
ในส่วนของจังหวัดอุตรดิตถ์และจังหวัดแพร่ที่ยังมีเศษซากปรักหักพัง เศษไม้ และดินจำนวนมาก และอยู่ระหว่างการปรับปรุงฟื้นฟู กรมชลประทานได้ส่งรถเทรลเลอร์ 6 คัน รถยก 1 คัน รถขุด 5 คัน เข้าช่วยเหลือในจังหวัดอุตรดิตถ์ สำหรับอ่างเก็บน้ำแม่มานจังหวัดแพร่ ซึ่งเป็นแหล่งรับน้ำจากช่วงฝนตกหนักเมื่อวันที่ 21 — 23 พฤษภาคม 2549 ไม่ให้ไหลเข้าไปท่วมในเขตตำบลหัวฝาย ตำบลสูงเม่น ตำบลดอนมูล ตำบลพระหลวง ตำบลน้ำชา อำเภอสูงเม่น ปัจจุบันมีปริมาณน้ำ 17.78 ล้าน ลบ.ม. (95 % ของความจุอ่างฯ) มีโคลนดิน และเศษกิ่งไม้อุดตันท่อส่งน้ำ ไม่สามารถใช้ระบายน้ำได้ กรมชลประทานได้น้ำเครื่องสูบน้ำความดันสูงจำนวน 2 เครื่อง และติดตั้งกาลักน้ำจำนวน 11 แถว ใช้ระบายพร่องน้ำจากอ่างเก็บน้ำ ได้ประมาณวันละ 240,000 ลบ.ม.
2. การเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดเชียงใหม่ ปี 2549 กรมชลประทานได้ประชุมร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่รวมทั้งส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันน้ำท่วม จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2549 เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2549 ณ สำนักชลประทานที่ 1 อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดเชียงใหม่ ดังนี้
2.1 เตรียมแผนป้องกันน้ำท่วมในเขตเทศบาล ให้สามารถรองรับปริมาณน้ำปิงที่จะไหลผ่านตัวเมืองที่อัตราการไหล 500 ลบ.ม. / วินาที (ที่ระดับน้ำ + 3.90 เมตร ณ สะพานนวรัฐ)
2.2 กรมชลประทานจะบริหารจัดการปริมาณน้ำภายในเขื่อนแม่งัด และเขื่อนแม่กวงโดยภายในสิ้นเดือนมิถุนายนจะพร่องปริมาณน้ำภายในเขื่อนแม่งัดให้เหลือความจุอยู่ที่ 70 ล้าน ลบ.ม. (สามารถรองรับปริมาณน้ำได้อีก 195 ล้าน ลบ.ม.) และเขื่อนแม่กวงจะพร่องปริมาณน้ำภายในเขื่อนให้เหลือความจุอยู่ที่ 130 ล้าน ลบ.ม. (สามารถรองรับปริมาณน้ำได้อีก 133 ล้าน ลบ.ม.)
2.3 กรมชลประทานจะผันน้ำแม่แตงเข้าปากคลองส่งน้ำของโครงการฯ แม่แตง และผันน้ำปิงเข้าปากคลองส่งน้ำของโครงการฯ แม่แฝก — แม่งัด ให้ได้รวมกันประมาณ 40 ลบ.ม. / วินาที เพื่อลดปริมาณน้ำในแม่น้ำปิงที่จะไหลผ่านตัวเมืองเชียงใหม่
2.4 กรมชลประทานให้การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำแบบเคลื่อนที่ จำนวนรวมทั้งสิ้น 55 เครื่อง เพื่อช่วยเหลือพื้นที่ตัวเมืองเชียงใหม่ฝั่งตะวันออก จำนวน 16 เครื่อง และฝั่งตะวันตก จำนวน 18 เครื่อง เพื่อช่วยในกรณีที่ปริมาณน้ำจากแม่น้ำปิงล้นตลิ่ง และกรณีที่ฝนตกหนักเกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่ม อำเภอเมืองในพื้นที่เฝ้าระวังจำนวน 4 เครื่อง อำเภอสันกำแพงในพื้นที่เฝ้าระวังจำนวน 7 เครื่อง อำเภอแม่แตงเพื่อเสริมศักยภาพการผันน้ำเข้าคลองชลประทานแม่แตง จำนวน 10 เครื่อง โดยจะดำเนินการติดตั้งแล้วเสร็จในวันที่ 9 มิถุนายน 2549 และจะให้การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติมให้ได้อีกตามความต้องการร้องขอของจังหวัดและเทศบาลนครเชียงใหม่
2.5 กรมชลประทาน จะช่วยสำรวจและวางระดับของคันกั้นน้ำ ตั้งแต่สะพานฟ้าฮ่าม ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์เชียงใหม่ — ลำปาง จนถึงสะพานกองบังคับการตำรวจภูธรภาค 5 ถนนมหิดล เป็นระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร ตลอดตามแนวทั้งสองฝั่งของแม่น้ำปิง
2.6 กรมชลประทานจะดำเนินการติดตั้งเครื่องวัดน้ำฝนแบบเคลื่อนที่ จำนวน 5 ชุด ในลุ่มน้ำแม่แตงอำเภอเวียงแหง และบริเวณ ตำบลห้วยแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อมาเสริมระบบโทรมาตรของลุ่มน้ำปิงตอนบน
2.7 สำหรับเครื่องจักรที่จะให้ช่วยในการขุดเปิดทางน้ำหรือจัดเก็บขยะที่จะไหลลอยมากับน้ำและมาติดที่ ตอม่อสะพานข้ามแม่น้ำปิงทำให้กีดขวางการระบายน้ำนั้น ขอให้ทางจังหวัดพิจารณาให้หน่วยงานต่าง ๆ ช่วยกันดูแลก่อน ส่วนกรมชลประทานยินดีจะให้ความสนับสนุนตามคำร้องขอของจังหวัด
2.8 กรมชลประทาน โดยสำนักชลประทานที่ 1 ได้จัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม เมื่อเดือนพฤษภาคม 2549 แล้ว และพร้อมที่จะให้การเฝ้าระวังและแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำปิงกับทางจังหวัดตลอด 24 ชั่วโมง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 มิถุนายน 2549--จบ--
1. สถานการณ์อุทกภัยในภาคเหนือตอนล่าง
1.1 จังหวัดที่ประสบอุทกภัยในปัจจุบัน
จังหวัดสุโขทัย ปริมาณน้ำในแม่น้ำยมได้เอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่บริเวณ อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2549 โดยท่วมพื้นที่การเกษตรทุกตำบลรวม 11 ตำบล 102 หมู่บ้าน โดยเฉพาะบริเวณริมแม่น้ำยม ระดับน้ำสูงประมาณ 06.0 เมตร คาดว่าระดับน้ำจะทรงตัวประมาณ 1 — 2 วัน แล้วเริ่มลดระดับลง
จังหวัดพิษณุโลก ปริมาณน้ำในแม่น้ำยมที่ไหลเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรในอำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย ได้ไหลบ่าตามทุ่งลงถึงอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก เริ่มไหลเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร บริเวณตำบลชุมแสงสงคราม หมู่ 1 ตำบลคุยม่วง หมู่ 7 และตำบลท่านางงาม หมู่ 2 ระดับน้ำสูงประมาณ 0.40 เมตร และมีน้ำท่วมพื้นที่การเกษตร 4 ตำบล ในตำบลชุมแสงสงคราม ตำบลคุยม่วง ตำบลท่านางงาม และตำบลบางระกำ ใน 16 หมู่บ้าน นอกจากนี้ปริมาณน้ำจากเขตติดต่อจังหวัดสุโขทัย จังหวัดอุตรดิตถ์ บริเวณริมฝั่งแม่น้ำน่านได้ไหลท่วมทุ่งเข้าท่วมขังในพื้นที่ ตำบลวังวน ตำบลหนองแขม ตำบลท่าช้าง อำเภอพรหมพิราม สูงประมาณ 0.20 — 0.40 เมตร ปริมาณน้ำส่วนนี้จะถูกระบายลงสู่คลองเมม และคลองระบายสาย 15.8 D ลงสู่แม่น้ำน่าน ซึ่งกรมชลประทานได้พร่องน้ำไว้รอรับสถานการณ์น้ำส่วนนี้ไว้แล้ว จะทำให้ระดับน้ำท่วมในเขตจังหวัดพิษณุโลกเริ่มลดระดับลง
1.2 สถานการณ์น้ำท่า
ลำน้ำยม ปัจจุบันปริมาณน้ำที่อำเภอศรีสัชนาลัย อำเภอสวรรคโลก อำเภอศรีสำโรง ตัวเมืองสุโขทัย อยู่ในสภาวะปกติ ส่วนที่อำเภอกงไกรลาศ มีระดับน้ำอยู่ที่ 9.96 เมตร สูงกว่าตลิ่ง 0.96 เมตร (ระดับตลิ่ง 9.00 เมตร)
แม่น้ำเจ้าพระยา ปริมาณน้ำจากลำน้ำน่านได้ไหลมาถึงแม่น้ำเจ้าพระยาและรวมกับปริมาณน้ำจากลำน้ำปิง ที่จังหวัดนครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุดเมื่อเวลา 12.00 น. ของวันที่ 28 พฤษภาคม 2549 มีปริมาณน้ำ 1,368 ลบ.ม. / วินาที และวันที่ 5 มิถุนายน 2549 เวลา 06.00 น. มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 942 ลบ.ม. / วินาที ปริมาณน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง ปริมาณน้ำจำนวนนี้จะไม่มีผลกระทบทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาตอนล่างแต่อย่างใด
1.3 การให้ความช่วยเหลือ กรมชลประทานได้จัดเตรียมเครื่องจักรเครื่องมือเพื่อให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาน้ำท่วมภาคเหนือตอนล่างในจังหวัดต่าง ๆ ที่เกิดปัญหาน้ำท่วม ดังนี้ เครื่องสูบน้ำ 101 เครื่อง รถบรรทุก 15 คัน รถบรรทุกน้ำ 10 คัน รถแบคโฮ 2 คัน รถแทรกเตอร์ 2 คัน รถเกรด 1 คัน และรถเครน 1 คัน
ในส่วนของจังหวัดอุตรดิตถ์และจังหวัดแพร่ที่ยังมีเศษซากปรักหักพัง เศษไม้ และดินจำนวนมาก และอยู่ระหว่างการปรับปรุงฟื้นฟู กรมชลประทานได้ส่งรถเทรลเลอร์ 6 คัน รถยก 1 คัน รถขุด 5 คัน เข้าช่วยเหลือในจังหวัดอุตรดิตถ์ สำหรับอ่างเก็บน้ำแม่มานจังหวัดแพร่ ซึ่งเป็นแหล่งรับน้ำจากช่วงฝนตกหนักเมื่อวันที่ 21 — 23 พฤษภาคม 2549 ไม่ให้ไหลเข้าไปท่วมในเขตตำบลหัวฝาย ตำบลสูงเม่น ตำบลดอนมูล ตำบลพระหลวง ตำบลน้ำชา อำเภอสูงเม่น ปัจจุบันมีปริมาณน้ำ 17.78 ล้าน ลบ.ม. (95 % ของความจุอ่างฯ) มีโคลนดิน และเศษกิ่งไม้อุดตันท่อส่งน้ำ ไม่สามารถใช้ระบายน้ำได้ กรมชลประทานได้น้ำเครื่องสูบน้ำความดันสูงจำนวน 2 เครื่อง และติดตั้งกาลักน้ำจำนวน 11 แถว ใช้ระบายพร่องน้ำจากอ่างเก็บน้ำ ได้ประมาณวันละ 240,000 ลบ.ม.
2. การเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดเชียงใหม่ ปี 2549 กรมชลประทานได้ประชุมร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่รวมทั้งส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันน้ำท่วม จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2549 เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2549 ณ สำนักชลประทานที่ 1 อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดเชียงใหม่ ดังนี้
2.1 เตรียมแผนป้องกันน้ำท่วมในเขตเทศบาล ให้สามารถรองรับปริมาณน้ำปิงที่จะไหลผ่านตัวเมืองที่อัตราการไหล 500 ลบ.ม. / วินาที (ที่ระดับน้ำ + 3.90 เมตร ณ สะพานนวรัฐ)
2.2 กรมชลประทานจะบริหารจัดการปริมาณน้ำภายในเขื่อนแม่งัด และเขื่อนแม่กวงโดยภายในสิ้นเดือนมิถุนายนจะพร่องปริมาณน้ำภายในเขื่อนแม่งัดให้เหลือความจุอยู่ที่ 70 ล้าน ลบ.ม. (สามารถรองรับปริมาณน้ำได้อีก 195 ล้าน ลบ.ม.) และเขื่อนแม่กวงจะพร่องปริมาณน้ำภายในเขื่อนให้เหลือความจุอยู่ที่ 130 ล้าน ลบ.ม. (สามารถรองรับปริมาณน้ำได้อีก 133 ล้าน ลบ.ม.)
2.3 กรมชลประทานจะผันน้ำแม่แตงเข้าปากคลองส่งน้ำของโครงการฯ แม่แตง และผันน้ำปิงเข้าปากคลองส่งน้ำของโครงการฯ แม่แฝก — แม่งัด ให้ได้รวมกันประมาณ 40 ลบ.ม. / วินาที เพื่อลดปริมาณน้ำในแม่น้ำปิงที่จะไหลผ่านตัวเมืองเชียงใหม่
2.4 กรมชลประทานให้การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำแบบเคลื่อนที่ จำนวนรวมทั้งสิ้น 55 เครื่อง เพื่อช่วยเหลือพื้นที่ตัวเมืองเชียงใหม่ฝั่งตะวันออก จำนวน 16 เครื่อง และฝั่งตะวันตก จำนวน 18 เครื่อง เพื่อช่วยในกรณีที่ปริมาณน้ำจากแม่น้ำปิงล้นตลิ่ง และกรณีที่ฝนตกหนักเกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่ม อำเภอเมืองในพื้นที่เฝ้าระวังจำนวน 4 เครื่อง อำเภอสันกำแพงในพื้นที่เฝ้าระวังจำนวน 7 เครื่อง อำเภอแม่แตงเพื่อเสริมศักยภาพการผันน้ำเข้าคลองชลประทานแม่แตง จำนวน 10 เครื่อง โดยจะดำเนินการติดตั้งแล้วเสร็จในวันที่ 9 มิถุนายน 2549 และจะให้การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติมให้ได้อีกตามความต้องการร้องขอของจังหวัดและเทศบาลนครเชียงใหม่
2.5 กรมชลประทาน จะช่วยสำรวจและวางระดับของคันกั้นน้ำ ตั้งแต่สะพานฟ้าฮ่าม ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์เชียงใหม่ — ลำปาง จนถึงสะพานกองบังคับการตำรวจภูธรภาค 5 ถนนมหิดล เป็นระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร ตลอดตามแนวทั้งสองฝั่งของแม่น้ำปิง
2.6 กรมชลประทานจะดำเนินการติดตั้งเครื่องวัดน้ำฝนแบบเคลื่อนที่ จำนวน 5 ชุด ในลุ่มน้ำแม่แตงอำเภอเวียงแหง และบริเวณ ตำบลห้วยแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อมาเสริมระบบโทรมาตรของลุ่มน้ำปิงตอนบน
2.7 สำหรับเครื่องจักรที่จะให้ช่วยในการขุดเปิดทางน้ำหรือจัดเก็บขยะที่จะไหลลอยมากับน้ำและมาติดที่ ตอม่อสะพานข้ามแม่น้ำปิงทำให้กีดขวางการระบายน้ำนั้น ขอให้ทางจังหวัดพิจารณาให้หน่วยงานต่าง ๆ ช่วยกันดูแลก่อน ส่วนกรมชลประทานยินดีจะให้ความสนับสนุนตามคำร้องขอของจังหวัด
2.8 กรมชลประทาน โดยสำนักชลประทานที่ 1 ได้จัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม เมื่อเดือนพฤษภาคม 2549 แล้ว และพร้อมที่จะให้การเฝ้าระวังและแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำปิงกับทางจังหวัดตลอด 24 ชั่วโมง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 มิถุนายน 2549--จบ--