คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแนวทางการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน (Road Map 2549) ที่ได้มีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียดการดำเนินการเพื่อให้เกิดความครอบคลุมชัดเจนในการปฏิบัติ ซึ่งคณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนได้ให้ความเห็นชอบแล้วในคราวประชุมครั้งที่ 4/2549 เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2549 และมอบหมายให้จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางดำเนินการในปี 2549 ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอกชิดชัย วรรณสถิตย์) เสนอ
ทั้งนี้ ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน รายงานว่า
1. คณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ได้มีการประชุมครั้งที่ 4/2549 เมื่อวันที่19 พฤษภาคม 2549 ณ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์) เป็นประธานเพื่อติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนและพิจารณาแนวทางในการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนและแนวทางการดำเนินงานในระยะต่อไป (ปี 2549) ซึ่งที่ประชุมมีมติ ดังนี้
1.1 เห็นชอบในหลักการแนวทางการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในระยะต่อไป (ROAD MAP 2549) ตามที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ฝ่ายเลขานุการฯ) เสนอ โดยให้ฝ่ายเลขานุการฯ ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปรับปรุงเพิ่มเติมเนื้อหารายละเอียดตามยุทธศาสตร์ทั้ง 5 เพื่อให้เกิดความครอบคลุมชัดเจนในการปฏิบัติมากขึ้น
1.2 การดำเนินการตามมาตรการการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนจะต้องทำงานอย่างเป็นระบบ มีแผนงานดำเนินการทั้งแผนเฉพาะหน้า แผนระยะกลาง และแผนระยะยาว
2. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในฐานะฝ่ายเลขานุการฯ ได้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการตามข้อ 1.1 ได้ผลสรุป ดังนี้
2.1 ให้ดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนตามยุทธศาสตร์หลัก 5 ด้าน ต่อไปอย่างจริงจังต่อเนื่อง
2.2 กำหนดเป้าหมายการดำเนินการลดอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทยในปี 2549 ให้ลดลงร้อยละ 15 (จำนวนการเกิดอุบัติเหตุ ผู้เสียชีวิต และผู้บาดเจ็บ) จากประมาณการในภาพรวมของประเทศ
2.3 มอบหมายให้จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการตามมาตรการเพิ่มเติมจากมาตรการเดิมที่คณะรัฐมนตรี ได้ให้ความเห็นชอบไว้แล้ว คือ
1) ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนทั้งระบบอย่างยั่งยืน และเป็นหน่วยสนับสนุนหลักระดับพื้นที่ โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน สร้างเครือข่ายและกลุ่มเป้าหมาย ตรงกับสภาวการณ์และสภาพพื้นที่
2) ดำเนินการตามยุทธศาสตร์หลัก 5 ด้าน (5E’s) โดยเน้นการบังคับใช้กฎหมาย รวมทั้งพัฒนาระบบอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลืองานด้านจราจร การเร่งแก้ไขปรับปรุงระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และวิศวกรรมจราจรที่ได้มาตรฐานความปลอดภัย
3) การประชาสัมพันธ์อย่างเป็นระบบและมีความต่อเนื่อง เพื่อรณรงค์ให้ภาคประชาชนได้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และความเคยชินต่อการปฏิบัติตามกฎจราจร และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนทัศนคติของผู้ใช้รถให้คำนึงถึงความปลอดภัยทางถนน การเคารพกฎหมาย และการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่นให้บังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
4) ส่งเสริมสนับสนุนบทบาทและเพิ่มทักษะความชำนาญของเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย เพื่อสนับสนุนระบบการบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
5) พัฒนาระบบการปฏิบัติงาน โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยตลอดจนสนับสนุนให้มีระบบการสร้างขวัญและกำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ
6) เน้นการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนโดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุอย่างยั่งยืนในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ
3. สำหรับแผนการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนที่จะต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบตามข้อ 1.2 ปัจจุบันมีแผนปฏิบัติการด้านความปลอดภัยทางถนนของประเทศไทยตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2547 เป็นกรอบแนวทางการดำเนินการ ประกอบกับศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนได้นำเสนอแผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน (พ.ศ. 2548-2551) เพื่อใช้เป็นแผนหลักในการดำเนินการ ขณะนี้อยู่ระหว่างการนำเสนอคณะรัฐมนตรีชุดใหม่พิจารณา ซึ่งศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในฐานะฝ่ายเลขานุการฯ จะเป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการวางกรอบแนวทางการดำเนินการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 มิถุนายน 2549--จบ--
ทั้งนี้ ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน รายงานว่า
1. คณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ได้มีการประชุมครั้งที่ 4/2549 เมื่อวันที่19 พฤษภาคม 2549 ณ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์) เป็นประธานเพื่อติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนและพิจารณาแนวทางในการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนและแนวทางการดำเนินงานในระยะต่อไป (ปี 2549) ซึ่งที่ประชุมมีมติ ดังนี้
1.1 เห็นชอบในหลักการแนวทางการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในระยะต่อไป (ROAD MAP 2549) ตามที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ฝ่ายเลขานุการฯ) เสนอ โดยให้ฝ่ายเลขานุการฯ ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปรับปรุงเพิ่มเติมเนื้อหารายละเอียดตามยุทธศาสตร์ทั้ง 5 เพื่อให้เกิดความครอบคลุมชัดเจนในการปฏิบัติมากขึ้น
1.2 การดำเนินการตามมาตรการการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนจะต้องทำงานอย่างเป็นระบบ มีแผนงานดำเนินการทั้งแผนเฉพาะหน้า แผนระยะกลาง และแผนระยะยาว
2. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในฐานะฝ่ายเลขานุการฯ ได้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการตามข้อ 1.1 ได้ผลสรุป ดังนี้
2.1 ให้ดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนตามยุทธศาสตร์หลัก 5 ด้าน ต่อไปอย่างจริงจังต่อเนื่อง
2.2 กำหนดเป้าหมายการดำเนินการลดอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทยในปี 2549 ให้ลดลงร้อยละ 15 (จำนวนการเกิดอุบัติเหตุ ผู้เสียชีวิต และผู้บาดเจ็บ) จากประมาณการในภาพรวมของประเทศ
2.3 มอบหมายให้จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการตามมาตรการเพิ่มเติมจากมาตรการเดิมที่คณะรัฐมนตรี ได้ให้ความเห็นชอบไว้แล้ว คือ
1) ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนทั้งระบบอย่างยั่งยืน และเป็นหน่วยสนับสนุนหลักระดับพื้นที่ โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน สร้างเครือข่ายและกลุ่มเป้าหมาย ตรงกับสภาวการณ์และสภาพพื้นที่
2) ดำเนินการตามยุทธศาสตร์หลัก 5 ด้าน (5E’s) โดยเน้นการบังคับใช้กฎหมาย รวมทั้งพัฒนาระบบอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลืองานด้านจราจร การเร่งแก้ไขปรับปรุงระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และวิศวกรรมจราจรที่ได้มาตรฐานความปลอดภัย
3) การประชาสัมพันธ์อย่างเป็นระบบและมีความต่อเนื่อง เพื่อรณรงค์ให้ภาคประชาชนได้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และความเคยชินต่อการปฏิบัติตามกฎจราจร และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนทัศนคติของผู้ใช้รถให้คำนึงถึงความปลอดภัยทางถนน การเคารพกฎหมาย และการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่นให้บังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
4) ส่งเสริมสนับสนุนบทบาทและเพิ่มทักษะความชำนาญของเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย เพื่อสนับสนุนระบบการบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
5) พัฒนาระบบการปฏิบัติงาน โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยตลอดจนสนับสนุนให้มีระบบการสร้างขวัญและกำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ
6) เน้นการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนโดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุอย่างยั่งยืนในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ
3. สำหรับแผนการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนที่จะต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบตามข้อ 1.2 ปัจจุบันมีแผนปฏิบัติการด้านความปลอดภัยทางถนนของประเทศไทยตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2547 เป็นกรอบแนวทางการดำเนินการ ประกอบกับศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนได้นำเสนอแผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน (พ.ศ. 2548-2551) เพื่อใช้เป็นแผนหลักในการดำเนินการ ขณะนี้อยู่ระหว่างการนำเสนอคณะรัฐมนตรีชุดใหม่พิจารณา ซึ่งศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในฐานะฝ่ายเลขานุการฯ จะเป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการวางกรอบแนวทางการดำเนินการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 มิถุนายน 2549--จบ--