คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแผนป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2550 ของศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ตามมติคณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ครั้งที่ 6/2549 วันที่ 7 ธันวาคม 2549 ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์) ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนเสนอ และมอบหมายให้จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบดำเนินการต่อไปเป้าหมายการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2550 (ระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม 2549 ถึงวันที่ 3 มกราคม 2550)
แผนป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2550 นี้ เป็นแผนบูรณาการเพื่อการปฏิบัติงานของจังหวัดและหน่วยงานทีเกี่ยวข้อง โดยมีเป้าหมาย ดังนี้
1 เป้าหมายของแผน : ลดความสูญเสียในชีวิต ทรัพย์สินของประชาชน และเพิ่มความมั่นคง ปลอดภัยให้แก่ประชาชนเป็นเป้าหมายหลัก
2 เป้าหมายการปฏิบัติงาน : ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน กำหนดเป้าหมายคาดคะเนจำนวนครั้งอุบัติเหตุ ผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บ (Admit) จากอุบัติเหตุทางถนนของแต่ละจังหวัด ไม่เกินผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน ในช่วงระยะเวลาเดียวกันของเทศกาลปีใหม่ 2549 ที่ผ่านมา โดยคิดคำนวณกับสัดส่วนปริมาณจำนวนยานพาหนะในปี 2549 ที่เพิ่มขึ้นแล้ว ควรจะลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ดังนี้
- เป้าหมายคาดคะเนจำนวนครั้งอุบัติเหตุ ไม่เกิน 4,001 ครั้ง (ประมาณการครั้งอุบัติเหตุ 4,707 ครั้ง)
- เป้าหมายคาดคะเนผู้เสียชีวิต 410 คน (ประมาณการผู้เสียชีวิต 482 คน )
- เป้าหมายคาดคะเนผู้บาดเจ็บ (Admit) 4,555 คน (ประมาณการผู้บาดเจ็บ 5,359 คน)
มาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุ
โดยกำหนดมาตรการเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมายในการลดความสูญเสียในชีวิต ทรัพย์สิน เพิ่มความมั่นคงปลอดภัยของประชาชน และเป้าหมายในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2550 ที่กำหนดไว้ ดังนี้
1. เป้าหมายลดความสูญเสีย ได้แก่ มาตรการด้านการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัย เป็นมาตรการสำหรับรองรับการเดินทางของประชาชน การให้บริการด้านการขนส่ง การเดินทาง และการรายงานสถานการณ์ ตลอดจนบรรเทาและแก้ไขปัญหาการเดินทางให้แก่ประชาชน อันได้แก่ การเตรียมความพร้อมของผู้ขับขี่ ยานพาหนะ วัสดุอุปกรณ์ เส้นทาง การจัดระเบียบ และระบบการจราจร รวมทั้งการช่วยเหลือฉุกเฉินและแก้ไขปัญหา
2. เป้าหมายด้านป้องกัน ได้แก่ มาตรการด้านการรณรงค์ เป็นมาตรการเพื่อกระตุ้นเตือน ปลูกจิตสำนึกให้เกิดความตระหนักในการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน โดยบูรณาการเครือข่ายประชาสัมพันธ์ทุกชนิดและการมีส่วนร่วมของทุกกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยอย่างยั่งยืน
3. เป้าหมายลดอุบัติเหตุ ได้แก่ มาตรการด้านการควบคุม เป็นมาตรการสำหรับการควบคุมปัจจัยเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุที่สำคัญ คือ คน รถ ถนน และสิ่งแวดล้อม แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ การควบคุมคน การควบคุมรถ และการควบคุมพื้นที่ โดยใช้การบังคับใช้กฎหมาย ระเบียบ ข้อสั่งการ ข้อตกลง รวมทั้งสัญญาประชาคม เป็นกลไกควบคุมเพื่อลดอุบัติเหตุ
4. เป้าหมายการจัดการ ได้แก่ มาตรการด้านการรายงานและประเมินผล เป็นมาตรการสำหรับการบริหารจัดการอุบัติภัย โดยใช้ระบบการเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนน ข้อมูลสมบูรณ์เป็นมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งการวิเคราะห์และประเมินผลเพื่ออำนวยการ สั่งการการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ได้อย่างทันกาล โดยใช้เทคโนโลยีทันสมัยเป็นตัวเชื่อมโยงผ่านระบบ Internet ความเร็วสูงมายังศูนย์ปฏิบัติการฯ
แนวทางการปฏิบัติ : ให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
โดยให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบในการบูรณาการการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ได้แก่ ตำรวจ ฝ่ายปกครอง ขนส่ง สาธารณสุข แขวงการทาง ทางหลวงชนบท สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทหาร มูลนิธิภาคเอกชน และอาสาสมัคร โดยใช้กลไกของศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนเป็นหน่วยงานหลักในการอำนวยการให้ทุกหน่วยงานปฏิบัติภายใต้ยุทธศาสตร์หลัก 5 ด้าน (ด้านการบังคับใช้กฎหมาย ด้านวิศวกรรมจราจร
ด้านการให้ความรู้ การประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วม ด้านการบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน ด้านการประเมินผลและระบบสารสนเทศ) ดำเนินการใน 3 ช่วง คือ
ช่วงเตรียมความพร้อม (วันที่ 1-15 ธันวาคม 2549) : ให้จังหวัดทุกจังหวัดและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมาตรการฯอย่างต่อเนื่อง
ช่วงปฏิบัติการเข้มข้น (วันที่ 16-27 ธันวาคม 2549) : ให้จังหวัดและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมาตรการฯอย่างเข้มข้นจริงจัง
ช่วงดำเนินการในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2550 (วันที่ 28 ธันวาคม 2549 — 3 มกราคม 2550) ให้เพิ่มการปฏิบัติงานที่มีลักษณะพิเศษ ดังนี้
(1) จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการ โดยการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาล
ปีใหม่ 2550 ทั้งในส่วนกลางและในระดับพื้นที่ เพื่ออำนวยการ ควบคุม กำกับดูแล ประสาน และปฏิบัติงานตลอดจนการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ได้แก่ ศูนย์ปฏิบัติการส่วนกลางและจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ศูนย์ปฏิบัติงานระดับจังหวัด 75 จังหวัด ระดับอำเภอ/กิ่งอำเภอ 877 แห่ง และสถานีตำรวจนครบาล 97 แห่ง และสถานีตำรวจทางหลวง 38 แห่ง ทั้งนี้ โดยใช้งบประมาณปกติของหน่วยงานในการดำเนินงาน
ส่วนกลาง
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
หน่วยงานรับผิดชอบรอง : สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ หน่วยงานทหาร
ระดับจังหวัด
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก : กระทรวงมหาดไทย (ผู้ว่าราชการจังหวัด กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย)
หน่วยงานรับผิดชอบรอง : สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมการปกครอง กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงคมนาคม หน่วยงานทหาร มูลนิธิ อาสาสมัคร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเครือข่าย
ระดับอำเภอ/กิ่งอำเภอ
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก : กรมการปกครอง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
หน่วยงานรับผิดชอบรอง : กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงคมนาคม หน่วยงานทหาร มูลนิธิ อาสาสมัคร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเครือข่าย
(2) จัดตั้งจุดตรวจร่วม โดยผู้ว่าราชการจังหวัด ระดมกำลังเจ้าหน้าที่ และงบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มูลนิธิ อาสาสมัคร และภาคประชาชน ในการตั้งด่านตรวจตามเส้นทางสายหลัก สายรอง และเส้นทางอื่นๆ ที่จำเป็น โดยดำเนินการทุกอำเภอ/กิ่งอำเภอ และกรุงเทพมหานคร อย่างเต็มพื้นที่ทั่วประเทศ จำนวน 1,012 แห่งประมาณ 3,036 จุด เฉลี่ยแห่งละ 3 จุดๆ ละ 3 ผลัดๆ ละ 10 คน ปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมงเป็นเวลา 7 วัน ทั้งนี้ ให้จังหวัดสามารถปรับจำนวนจุดและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานได้ตามความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ และใช้อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องจัดตั้งจุดตรวจ จุดสกัดในพื้นที่ ชุมชน/หมู่บ้าน โดยใช้งบประมาณจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก : สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมการปกครอง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
หน่วยงานรับผิดชอบรอง : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงคมนาคม หน่วยงานทหาร องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น มูลนิธิ และอาสาสมัคร
(3) การสนับสนุนการปฏิบัติงานตามแผน มาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุช่วงเทศกาลปีใหม่ 2550 โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่เป็นหน่วยงานในระดับภาคหรือเขต จัดหน่วยสนับสนุนการปฏิบัติงานของจังหวัดต่างๆ เช่น หน่วยบริการอำนวยความสะดวกในการเดินทางและใช้รถใช้ถนนของกรมการขนส่งทางบก และกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน หน่วยเคลื่อนที่เร็วในการแก้ปัญหาจราจรของตำรวจทางหลวง กรมทางหลวง หน่วยช่วยเหลือฉุกเฉินของกระทรวงสาธารณสุข และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หน่วยประชาสัมพันธ์ของสถานีวิทยุและเครือข่ายของกรมประชาสัมพันธ์และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การงดการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในบริเวณสถานีจำหน่ายน้ำมันของกรมธุรกิจพลังงาน และการเข้มงวดห้ามจำหน่ายฯ บริเวณสองข้างทางถนนสายหลักของกรมสรรพสามิต การหยุดวิ่งรถบรรทุกในช่วงเทศกาลของสมาคมขนส่งสินค้า การให้ความรู้ การบริการ การป้องปราม และการคุมประพฤติของกระทรวงยุติธรรม และการร่วมรณรงค์ของทุกภาคส่วน รวมทั้งการสนับสนุนจากภาคเอกชน สมาคม ชมรมต่างๆ เช่น ชมรม TAXI สภาอุตสาหกรรม ศูนย์พัฒนาคุณธรรม สมาคมหมออนามัย สสส. มูลนิธิเมาไม่ขับ มูลนิธิเพื่อการกุศลต่างๆ ทั้งนี้ โดยใช้งบประมาณปกติของแต่ละหน่วยงานในการดำเนินงาน
หน่วยงานรับผิดชอบ : กรมการขนส่งทางบก กรมทางหลวง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมคุมประพฤติ กรมราชทัณฑ์ สำนักงาน ปปส. กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กรมประชาสัมพันธ์ กรมธุรกิจพลังงาน กรมสรรพสามิต สมาคมขนส่งสินค้า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายลดอุบัติเหตุ และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
การประสานการปฏิบัติ : ให้หน่วยงานระดับภูมิภาค/ ระดับพื้นที่ และทุกภาคส่วนทีเกี่ยวข้องประสานการปฏิบัติกับศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัดและกรุงเทพมหานคร เพื่อบูรณการแผนปฏิบัติการทั้งด้านอัตรากำลัง ภารกิจงบประมาณและการรณรงค์ให้สอดคล้องเหมาะสมกับสถานการณ์ ห้วงเวลาและสภาพพื้นที่ของแต่ละพื้นที่
ตัวชี้วัด
- จำนวนครั้งอุบัติเหตุช่วงเทศกาลปีใหม่ลดลงกว่าปีที่ผ่านมา
- จำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ลดลงกว่าปีที่ผ่านมา
- จำนวนผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาลลดลง
- มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นอันเกิดจากอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ลดลง
- ผู้ใช้รถใช้ถนนมีจิตสำนึกในการลดพฤติกรรมเสี่ยง 6 ประการ ( 3 ม. 2 ข. 1 ร.)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 ธันวาคม 2549--จบ--
แผนป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2550 นี้ เป็นแผนบูรณาการเพื่อการปฏิบัติงานของจังหวัดและหน่วยงานทีเกี่ยวข้อง โดยมีเป้าหมาย ดังนี้
1 เป้าหมายของแผน : ลดความสูญเสียในชีวิต ทรัพย์สินของประชาชน และเพิ่มความมั่นคง ปลอดภัยให้แก่ประชาชนเป็นเป้าหมายหลัก
2 เป้าหมายการปฏิบัติงาน : ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน กำหนดเป้าหมายคาดคะเนจำนวนครั้งอุบัติเหตุ ผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บ (Admit) จากอุบัติเหตุทางถนนของแต่ละจังหวัด ไม่เกินผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน ในช่วงระยะเวลาเดียวกันของเทศกาลปีใหม่ 2549 ที่ผ่านมา โดยคิดคำนวณกับสัดส่วนปริมาณจำนวนยานพาหนะในปี 2549 ที่เพิ่มขึ้นแล้ว ควรจะลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ดังนี้
- เป้าหมายคาดคะเนจำนวนครั้งอุบัติเหตุ ไม่เกิน 4,001 ครั้ง (ประมาณการครั้งอุบัติเหตุ 4,707 ครั้ง)
- เป้าหมายคาดคะเนผู้เสียชีวิต 410 คน (ประมาณการผู้เสียชีวิต 482 คน )
- เป้าหมายคาดคะเนผู้บาดเจ็บ (Admit) 4,555 คน (ประมาณการผู้บาดเจ็บ 5,359 คน)
มาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุ
โดยกำหนดมาตรการเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมายในการลดความสูญเสียในชีวิต ทรัพย์สิน เพิ่มความมั่นคงปลอดภัยของประชาชน และเป้าหมายในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2550 ที่กำหนดไว้ ดังนี้
1. เป้าหมายลดความสูญเสีย ได้แก่ มาตรการด้านการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัย เป็นมาตรการสำหรับรองรับการเดินทางของประชาชน การให้บริการด้านการขนส่ง การเดินทาง และการรายงานสถานการณ์ ตลอดจนบรรเทาและแก้ไขปัญหาการเดินทางให้แก่ประชาชน อันได้แก่ การเตรียมความพร้อมของผู้ขับขี่ ยานพาหนะ วัสดุอุปกรณ์ เส้นทาง การจัดระเบียบ และระบบการจราจร รวมทั้งการช่วยเหลือฉุกเฉินและแก้ไขปัญหา
2. เป้าหมายด้านป้องกัน ได้แก่ มาตรการด้านการรณรงค์ เป็นมาตรการเพื่อกระตุ้นเตือน ปลูกจิตสำนึกให้เกิดความตระหนักในการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน โดยบูรณาการเครือข่ายประชาสัมพันธ์ทุกชนิดและการมีส่วนร่วมของทุกกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยอย่างยั่งยืน
3. เป้าหมายลดอุบัติเหตุ ได้แก่ มาตรการด้านการควบคุม เป็นมาตรการสำหรับการควบคุมปัจจัยเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุที่สำคัญ คือ คน รถ ถนน และสิ่งแวดล้อม แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ การควบคุมคน การควบคุมรถ และการควบคุมพื้นที่ โดยใช้การบังคับใช้กฎหมาย ระเบียบ ข้อสั่งการ ข้อตกลง รวมทั้งสัญญาประชาคม เป็นกลไกควบคุมเพื่อลดอุบัติเหตุ
4. เป้าหมายการจัดการ ได้แก่ มาตรการด้านการรายงานและประเมินผล เป็นมาตรการสำหรับการบริหารจัดการอุบัติภัย โดยใช้ระบบการเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนน ข้อมูลสมบูรณ์เป็นมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งการวิเคราะห์และประเมินผลเพื่ออำนวยการ สั่งการการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ได้อย่างทันกาล โดยใช้เทคโนโลยีทันสมัยเป็นตัวเชื่อมโยงผ่านระบบ Internet ความเร็วสูงมายังศูนย์ปฏิบัติการฯ
แนวทางการปฏิบัติ : ให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
โดยให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบในการบูรณาการการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ได้แก่ ตำรวจ ฝ่ายปกครอง ขนส่ง สาธารณสุข แขวงการทาง ทางหลวงชนบท สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทหาร มูลนิธิภาคเอกชน และอาสาสมัคร โดยใช้กลไกของศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนเป็นหน่วยงานหลักในการอำนวยการให้ทุกหน่วยงานปฏิบัติภายใต้ยุทธศาสตร์หลัก 5 ด้าน (ด้านการบังคับใช้กฎหมาย ด้านวิศวกรรมจราจร
ด้านการให้ความรู้ การประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วม ด้านการบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน ด้านการประเมินผลและระบบสารสนเทศ) ดำเนินการใน 3 ช่วง คือ
ช่วงเตรียมความพร้อม (วันที่ 1-15 ธันวาคม 2549) : ให้จังหวัดทุกจังหวัดและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมาตรการฯอย่างต่อเนื่อง
ช่วงปฏิบัติการเข้มข้น (วันที่ 16-27 ธันวาคม 2549) : ให้จังหวัดและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมาตรการฯอย่างเข้มข้นจริงจัง
ช่วงดำเนินการในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2550 (วันที่ 28 ธันวาคม 2549 — 3 มกราคม 2550) ให้เพิ่มการปฏิบัติงานที่มีลักษณะพิเศษ ดังนี้
(1) จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการ โดยการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาล
ปีใหม่ 2550 ทั้งในส่วนกลางและในระดับพื้นที่ เพื่ออำนวยการ ควบคุม กำกับดูแล ประสาน และปฏิบัติงานตลอดจนการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ได้แก่ ศูนย์ปฏิบัติการส่วนกลางและจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ศูนย์ปฏิบัติงานระดับจังหวัด 75 จังหวัด ระดับอำเภอ/กิ่งอำเภอ 877 แห่ง และสถานีตำรวจนครบาล 97 แห่ง และสถานีตำรวจทางหลวง 38 แห่ง ทั้งนี้ โดยใช้งบประมาณปกติของหน่วยงานในการดำเนินงาน
ส่วนกลาง
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
หน่วยงานรับผิดชอบรอง : สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ หน่วยงานทหาร
ระดับจังหวัด
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก : กระทรวงมหาดไทย (ผู้ว่าราชการจังหวัด กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย)
หน่วยงานรับผิดชอบรอง : สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมการปกครอง กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงคมนาคม หน่วยงานทหาร มูลนิธิ อาสาสมัคร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเครือข่าย
ระดับอำเภอ/กิ่งอำเภอ
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก : กรมการปกครอง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
หน่วยงานรับผิดชอบรอง : กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงคมนาคม หน่วยงานทหาร มูลนิธิ อาสาสมัคร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเครือข่าย
(2) จัดตั้งจุดตรวจร่วม โดยผู้ว่าราชการจังหวัด ระดมกำลังเจ้าหน้าที่ และงบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มูลนิธิ อาสาสมัคร และภาคประชาชน ในการตั้งด่านตรวจตามเส้นทางสายหลัก สายรอง และเส้นทางอื่นๆ ที่จำเป็น โดยดำเนินการทุกอำเภอ/กิ่งอำเภอ และกรุงเทพมหานคร อย่างเต็มพื้นที่ทั่วประเทศ จำนวน 1,012 แห่งประมาณ 3,036 จุด เฉลี่ยแห่งละ 3 จุดๆ ละ 3 ผลัดๆ ละ 10 คน ปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมงเป็นเวลา 7 วัน ทั้งนี้ ให้จังหวัดสามารถปรับจำนวนจุดและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานได้ตามความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ และใช้อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องจัดตั้งจุดตรวจ จุดสกัดในพื้นที่ ชุมชน/หมู่บ้าน โดยใช้งบประมาณจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก : สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมการปกครอง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
หน่วยงานรับผิดชอบรอง : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงคมนาคม หน่วยงานทหาร องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น มูลนิธิ และอาสาสมัคร
(3) การสนับสนุนการปฏิบัติงานตามแผน มาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุช่วงเทศกาลปีใหม่ 2550 โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่เป็นหน่วยงานในระดับภาคหรือเขต จัดหน่วยสนับสนุนการปฏิบัติงานของจังหวัดต่างๆ เช่น หน่วยบริการอำนวยความสะดวกในการเดินทางและใช้รถใช้ถนนของกรมการขนส่งทางบก และกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน หน่วยเคลื่อนที่เร็วในการแก้ปัญหาจราจรของตำรวจทางหลวง กรมทางหลวง หน่วยช่วยเหลือฉุกเฉินของกระทรวงสาธารณสุข และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หน่วยประชาสัมพันธ์ของสถานีวิทยุและเครือข่ายของกรมประชาสัมพันธ์และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การงดการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในบริเวณสถานีจำหน่ายน้ำมันของกรมธุรกิจพลังงาน และการเข้มงวดห้ามจำหน่ายฯ บริเวณสองข้างทางถนนสายหลักของกรมสรรพสามิต การหยุดวิ่งรถบรรทุกในช่วงเทศกาลของสมาคมขนส่งสินค้า การให้ความรู้ การบริการ การป้องปราม และการคุมประพฤติของกระทรวงยุติธรรม และการร่วมรณรงค์ของทุกภาคส่วน รวมทั้งการสนับสนุนจากภาคเอกชน สมาคม ชมรมต่างๆ เช่น ชมรม TAXI สภาอุตสาหกรรม ศูนย์พัฒนาคุณธรรม สมาคมหมออนามัย สสส. มูลนิธิเมาไม่ขับ มูลนิธิเพื่อการกุศลต่างๆ ทั้งนี้ โดยใช้งบประมาณปกติของแต่ละหน่วยงานในการดำเนินงาน
หน่วยงานรับผิดชอบ : กรมการขนส่งทางบก กรมทางหลวง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมคุมประพฤติ กรมราชทัณฑ์ สำนักงาน ปปส. กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กรมประชาสัมพันธ์ กรมธุรกิจพลังงาน กรมสรรพสามิต สมาคมขนส่งสินค้า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายลดอุบัติเหตุ และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
การประสานการปฏิบัติ : ให้หน่วยงานระดับภูมิภาค/ ระดับพื้นที่ และทุกภาคส่วนทีเกี่ยวข้องประสานการปฏิบัติกับศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัดและกรุงเทพมหานคร เพื่อบูรณการแผนปฏิบัติการทั้งด้านอัตรากำลัง ภารกิจงบประมาณและการรณรงค์ให้สอดคล้องเหมาะสมกับสถานการณ์ ห้วงเวลาและสภาพพื้นที่ของแต่ละพื้นที่
ตัวชี้วัด
- จำนวนครั้งอุบัติเหตุช่วงเทศกาลปีใหม่ลดลงกว่าปีที่ผ่านมา
- จำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ลดลงกว่าปีที่ผ่านมา
- จำนวนผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาลลดลง
- มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นอันเกิดจากอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ลดลง
- ผู้ใช้รถใช้ถนนมีจิตสำนึกในการลดพฤติกรรมเสี่ยง 6 ประการ ( 3 ม. 2 ข. 1 ร.)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 ธันวาคม 2549--จบ--