คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการติดตามและประสานงานตามการสั่งการของนายกรัฐมนตรี รายงานการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ดังนี้
1. เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมทั่วประเทศ มีจำนวน 23,439 ครัวเรือน มีโคนม จำนวน 408,350 ตัว แม่โคนมพร้อมรีดนม จำนวน 210,345 ตัว มีศูนย์โรงนม จำนวน 180 แห่ง ทั่วประเทศ (สหกรณ์จำนวน 117 แห่ง ศูนย์เอกชน จำนวน 63 แห่ง) และโรงงาน จำนวน 75 แห่ง มีขีดความสามารถผลิตน้ำนมรวม 2,779 ตัน/วัน ปัจจุบันผลิตน้ำนมได้ 2,260 ตัน/วัน คิดเป็น 80 % ของกำลังผลิตจริง
2. ปัญหาที่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ขาดทุนจากการเลี้ยงโคนมและมีแนวโน้มจะเลิกประกอบอาชีพเลี้ยงโคนมที่สำคัญ ได้แก่
2.1 ต้นทุนการผลิตน้ำนมดิบที่สูงขึ้น และขายน้ำนมดิบได้ราคาต่ำ ปัจจุบันต้นทุนน้ำนมดิบจากข้อมูลของ อสค. ราคาโดยเฉลี่ย 10.35 บาท/กก. (ค่าอาหาร 60% แรงงาน 20% ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ 20%) แต่ต้นทุนน้ำนมดิบจากชุมนุมสหกรณ์ ฯ ราคาโดยเฉลี่ยประมาณ 11.41 บาท/กก. (ราคาเฉลี่ยแตกต่าง 11.41 — 10.35 = 1.06 บาท) และต้นทุนการเลี้ยงโคนมจะมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นอีกประมาณ 30% เนื่องจากราคาน้ำมัน วัตถุดิบค่าแรง ขณะนี้สหกรณ์ฯ รับซื้อน้ำนมดิบราคา 11.50 บาท/กก. (เกษตรกรขายได้ราคาที่ต่ำกว่า 11.50 บาท/กก. เนื่องจากมาตรฐานของน้ำนมดิบแต่ละราย) และโรงงานแปรรูปน้ำนมดิบรับซื้อ 12.50 บาท/กก.
2.2 การบริหารจัดการการเลี้ยงโคนมของเกษตรกรมีข้อจำกัด ขาดประสิทธิภาพการเลี้ยงโคนมในเชิงธุรกิจ ทำให้การผลิตน้ำนมดิบไม่คุ้มทุนเนื่องจากมีสัดส่วนฝูงโคนมที่ไม่เหมาะสมสมดุลย์เพราะมีแม่โคที่ให้ผลผลิต (โครีดนม) ต่อ โคที่ยังไม่ให้ผลผลิตคิดเป็น ร้อยละ 40:60 ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูโคที่ไม่ให้ผลผลิตอยู่ด้วยเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตน้ำนมดิบโดยรวม (สัดส่วนที่เหมาะสม 70:30)
2.3 การบริหารจัดการของชุมนุมสหกรณ์ฯ ในการรับซื้อและส่งน้ำนมดิบมีต้นทุนสูงขึ้นจากกรณีน้ำมันมีราคาเพิ่มขึ้น ค่าการตลาดของชุมนุมสหกรณ์ ฯ 1.00 บาท/กก. (12.50-11.50 = 1 บาท) จะเป็นค่าขนส่งประมาณ 35-40% ซึ่งทำให้ชุมนุมสหกรณ์ฯ ขาดทุนจากการบริหาร
3. การพิจารณาปรับขึ้นราคารับซื้อน้ำนมดิบ จะมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมนมหลายกรณี เช่น ราคาน้ำนมพร้อมดื่มจะสูงขึ้นงบประมาณในการสนับสนุนนมโรงเรียนจะเพิ่มขึ้นเนื่องจาก อสค. ซึ่งรับผิดชอบในการสนับสนุนนมโรงเรียนจะต้องซื้อน้ำนมดิบจากเกษตรกรเพื่อผลิตนมโรงเรียน โรงงานแปรรูปน้ำนมดิบจะเพิ่มการนำเข้านมผงจากต่างประเทศมากขึ้น (ต้นทุนนมผงละลาย WMP 10.50 บาท/กก.) และโรงงานแปรรูปจะลดการรับซื้อน้ำนมดิบจากเกษตรกร รวมถึงต้นทุนเพิ่มขึ้นในการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์นมทั้งหมดของประเทศ
4. คตส.นรม. ได้รวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ชุมนุมสหกรณ์ ฯ อสค. และผู้เกี่ยวข้องมีข้อพิจารณาเพิ่มเติมในแนวทางการแก้ไขปัญหาของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ดังนี้
4.1 ลดราคาอาหารโคนมโดยให้ อสค. เป็นหน่วยงานในการตรึงราคาอาหารโคนมโดยให้จัดจำหน่ายถูกกว่าราคาในท้องตลาด 10-20% ซึ่งปัจจุบันราคาอาหารโคนมเฉลี่ย 6.00-7.20 บาท (ลดราคาอาหารโคนม 1 บาท จะมีผลทำให้ต้นทุนการผลิตน้ำนมดิบลดลง 0.50 บาท/กก.) ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีรายได้มากขึ้นจากขายน้ำนมดิบ
4.2 พิจารณาจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายพัฒนาโคนมและผลิตภัณฑ์แห่งประเทศไทยตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาโคนมและผลิตภัณฑ์ เพื่อรับผิดชอบควบคุมบริหารจัดการและกำกับดูแลการซื้อขายน้ำนมดิบและราคาขายผลิตภัณฑ์นมให้เป็นระบบทั้งประเทศ
4.3 สนับสนุนงบประมาณ โครงการเลี้ยงโคนมทดแทนของ อสค. โดยใช้งบประมาณจากกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรกรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของประเทศ เพื่อลดต้นทุนการผลิตน้ำนมดิบในการบริหารจัดการฝูงโคนมของเกษตรกรในระยะยาว และจัดทำมาตรฐานฟาร์มเพิ่มองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการระบบ GMP ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม
4.4 ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ส่งเสริมการบริโภคน้ำนมสดและผลิตภัณฑ์ที่ใช้นมดิบเป็นวัตถุดิบในการผลิตเพื่อสร้างปริมาณการบริโภคและการตลาดในประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 สิงหาคม 2549--จบ--
1. เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมทั่วประเทศ มีจำนวน 23,439 ครัวเรือน มีโคนม จำนวน 408,350 ตัว แม่โคนมพร้อมรีดนม จำนวน 210,345 ตัว มีศูนย์โรงนม จำนวน 180 แห่ง ทั่วประเทศ (สหกรณ์จำนวน 117 แห่ง ศูนย์เอกชน จำนวน 63 แห่ง) และโรงงาน จำนวน 75 แห่ง มีขีดความสามารถผลิตน้ำนมรวม 2,779 ตัน/วัน ปัจจุบันผลิตน้ำนมได้ 2,260 ตัน/วัน คิดเป็น 80 % ของกำลังผลิตจริง
2. ปัญหาที่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ขาดทุนจากการเลี้ยงโคนมและมีแนวโน้มจะเลิกประกอบอาชีพเลี้ยงโคนมที่สำคัญ ได้แก่
2.1 ต้นทุนการผลิตน้ำนมดิบที่สูงขึ้น และขายน้ำนมดิบได้ราคาต่ำ ปัจจุบันต้นทุนน้ำนมดิบจากข้อมูลของ อสค. ราคาโดยเฉลี่ย 10.35 บาท/กก. (ค่าอาหาร 60% แรงงาน 20% ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ 20%) แต่ต้นทุนน้ำนมดิบจากชุมนุมสหกรณ์ ฯ ราคาโดยเฉลี่ยประมาณ 11.41 บาท/กก. (ราคาเฉลี่ยแตกต่าง 11.41 — 10.35 = 1.06 บาท) และต้นทุนการเลี้ยงโคนมจะมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นอีกประมาณ 30% เนื่องจากราคาน้ำมัน วัตถุดิบค่าแรง ขณะนี้สหกรณ์ฯ รับซื้อน้ำนมดิบราคา 11.50 บาท/กก. (เกษตรกรขายได้ราคาที่ต่ำกว่า 11.50 บาท/กก. เนื่องจากมาตรฐานของน้ำนมดิบแต่ละราย) และโรงงานแปรรูปน้ำนมดิบรับซื้อ 12.50 บาท/กก.
2.2 การบริหารจัดการการเลี้ยงโคนมของเกษตรกรมีข้อจำกัด ขาดประสิทธิภาพการเลี้ยงโคนมในเชิงธุรกิจ ทำให้การผลิตน้ำนมดิบไม่คุ้มทุนเนื่องจากมีสัดส่วนฝูงโคนมที่ไม่เหมาะสมสมดุลย์เพราะมีแม่โคที่ให้ผลผลิต (โครีดนม) ต่อ โคที่ยังไม่ให้ผลผลิตคิดเป็น ร้อยละ 40:60 ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูโคที่ไม่ให้ผลผลิตอยู่ด้วยเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตน้ำนมดิบโดยรวม (สัดส่วนที่เหมาะสม 70:30)
2.3 การบริหารจัดการของชุมนุมสหกรณ์ฯ ในการรับซื้อและส่งน้ำนมดิบมีต้นทุนสูงขึ้นจากกรณีน้ำมันมีราคาเพิ่มขึ้น ค่าการตลาดของชุมนุมสหกรณ์ ฯ 1.00 บาท/กก. (12.50-11.50 = 1 บาท) จะเป็นค่าขนส่งประมาณ 35-40% ซึ่งทำให้ชุมนุมสหกรณ์ฯ ขาดทุนจากการบริหาร
3. การพิจารณาปรับขึ้นราคารับซื้อน้ำนมดิบ จะมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมนมหลายกรณี เช่น ราคาน้ำนมพร้อมดื่มจะสูงขึ้นงบประมาณในการสนับสนุนนมโรงเรียนจะเพิ่มขึ้นเนื่องจาก อสค. ซึ่งรับผิดชอบในการสนับสนุนนมโรงเรียนจะต้องซื้อน้ำนมดิบจากเกษตรกรเพื่อผลิตนมโรงเรียน โรงงานแปรรูปน้ำนมดิบจะเพิ่มการนำเข้านมผงจากต่างประเทศมากขึ้น (ต้นทุนนมผงละลาย WMP 10.50 บาท/กก.) และโรงงานแปรรูปจะลดการรับซื้อน้ำนมดิบจากเกษตรกร รวมถึงต้นทุนเพิ่มขึ้นในการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์นมทั้งหมดของประเทศ
4. คตส.นรม. ได้รวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ชุมนุมสหกรณ์ ฯ อสค. และผู้เกี่ยวข้องมีข้อพิจารณาเพิ่มเติมในแนวทางการแก้ไขปัญหาของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ดังนี้
4.1 ลดราคาอาหารโคนมโดยให้ อสค. เป็นหน่วยงานในการตรึงราคาอาหารโคนมโดยให้จัดจำหน่ายถูกกว่าราคาในท้องตลาด 10-20% ซึ่งปัจจุบันราคาอาหารโคนมเฉลี่ย 6.00-7.20 บาท (ลดราคาอาหารโคนม 1 บาท จะมีผลทำให้ต้นทุนการผลิตน้ำนมดิบลดลง 0.50 บาท/กก.) ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีรายได้มากขึ้นจากขายน้ำนมดิบ
4.2 พิจารณาจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายพัฒนาโคนมและผลิตภัณฑ์แห่งประเทศไทยตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาโคนมและผลิตภัณฑ์ เพื่อรับผิดชอบควบคุมบริหารจัดการและกำกับดูแลการซื้อขายน้ำนมดิบและราคาขายผลิตภัณฑ์นมให้เป็นระบบทั้งประเทศ
4.3 สนับสนุนงบประมาณ โครงการเลี้ยงโคนมทดแทนของ อสค. โดยใช้งบประมาณจากกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรกรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของประเทศ เพื่อลดต้นทุนการผลิตน้ำนมดิบในการบริหารจัดการฝูงโคนมของเกษตรกรในระยะยาว และจัดทำมาตรฐานฟาร์มเพิ่มองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการระบบ GMP ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม
4.4 ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ส่งเสริมการบริโภคน้ำนมสดและผลิตภัณฑ์ที่ใช้นมดิบเป็นวัตถุดิบในการผลิตเพื่อสร้างปริมาณการบริโภคและการตลาดในประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 สิงหาคม 2549--จบ--