คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์รายงานการค้าระหว่างประเทศของไทยในระยะ 3 เดือนแรกของปี 2549 (มกราคม-มีนาคม) สรุปได้ดังนี้
1. การส่งออก
การส่งออกเดือนมีนาคม มีมูลค่า 11,099.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.9 การส่งออกยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง โดยสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.9 ขณะที่สินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมการเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.9 ตามลำดับ
สินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมการเกษตร สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางพารา มันลำปะหลัง และสินค้าอาหาร (กุ้งแช่แข็งและแปรรูป อาหารกระป๋องและแปรรูป ผัก ผลไม้สด กระป๋องและแปรรูป ไก่แปรรูป) สินค้าที่ส่งออกลดลงได้แก่ ข้าว น้ำตาล ส่งออกลดลงทั้งปริมาณและมูลค่า เนื่องจากราคาข้าวในประเทศสูงและต้องแข่งขันด้านราคากับคู่แข่งสำคัญคือ เวียดนามและอินเดีย ส่วนน้ำตาลมีผลผลิตในประเทศลดลง ขณะที่ราคาส่งออกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น
สินค้าอุตสาหกรรม การส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สินค้าที่ขยายตัวในอัตราสูง คือ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้า สิ่งทอ อัญมณี เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง เฟอร์นิเจอร์ วัสดุก่อสร้าง สิ่งพิมพ์และกระดาษ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เภสัช และของเล่น สำหรับสินค้าที่ส่งออกลดลงได้แก่ เครื่องเดินทาง เครื่องหนังและรองเท้า เนื่องจากปัญหาขาดแคลนแรงงานในประเทศและการแข่งขันกับจีน เวียดนามและอินโดนีเซีย
การส่งออกในระยะ 3 เดือนแรกของปี 2549 (ม.ค.-มี.ค.) มีมูลค่า 29,561 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.3 เป็นการขยายตัวของการส่งออกสินค้าเกษตรกรรม / อุตสาหกรรมการเกษตร ร้อยละ 14.7 และสินค้าอุตสาหกรรมร้อยละ 16.0
สินค้าสำคัญที่ส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางพารา มันสำปะหลัง และสินค้าอาหาร (กุ้งแช่แข็งและแปรรูป อาหารกระป๋องและแปรรูป อาหารกระป๋องและแปรรูป ผัก ผลไม้สด กระป๋องและแปรรูป ไก่แปรรูป) เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้า สิ่งทอ อัญมณี เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้เครื่องประดับตกแต่ง สิ่งพิมพ์และกระดาษ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เภสัชและของเล่น
สินค้าสำคัญที่ส่งออกลดลง ได้แก่ ข้าว น้ำตาล เครื่องเดินทาง เครื่องหนังและรองเท้า วัสดุก่อสร้าง
ตลาดส่งออกสำคัญ การส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทั้งในตลาดหลักและตลาดใหม่ โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 และ 27.2 ตามลำดับ ตลาดใหม่ที่ขยายตัวในอัตราสูง ได้แก่ ลาตินอเมริกา (ร้อยละ 42.9) ตะวันออกกลาง (ร้อยละ 42.3) ยุโรปตะวันออก (ร้อยละ 40.1) อินโดจีนและพม่า (ร้อยละ 37.2) จีน (ร้อยละ 33.7) เกาหลีใต้ (ร้อยละ 26.3) ฮ่องกง (ร้อยละ 26.7) และออสเตรเลีย (ร้อยละ 23.3)
ตลาดหลักขยายตัวในทุกตลาดเช่นเดียวกันคือ สหรัฐฯ ร้อยละ 17.7 สหภาพยุโรป ร้อยละ 10.3 อาเซียน (5) ร้อยละ 9.3 และญี่ปุ่นร้อยละ 6.8
2. การนำเข้า
การนำเข้าในเดือนมีนาคม 2549 มีมูลค่า 10,775.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.32 และเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.93
สินค้าที่มีมูลค่าการนำเข้าสูง ในเดือนมีนาคม 2549 ได้แก่ สินค้าเชื้อเพลิง ทุน และวัตถุดิบ/กึ่งสำเร็จรูป ซึ่งมีสัดส่วนการนำเข้ารวมร้อยละ 87.9 สินค้านำเข้าที่สำคัญมีดังนี้
- สินค้าเชื้อเพลิง นำเข้ามูลค่า 1,939 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.46 หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18.0 ของมูลค่านำเข้ารวมในเดือนมีนาคม 2549 โดยเป็นการนำเข้าน้ำมันดิบมูลค่า 1,469 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.38 (สัดส่วนร้อยละ 13.6 ของมูลค่านำเข้ารวม)
- เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ นำเข้ามูลค่า 971 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 6.63 (สัดส่วนร้อยละ 9.0 ของมูลค่านำเข้ารวม)
- เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ นำเข้ามูลค่า 842 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.93 (สัดส่วนร้อยละ 7.8 ของมูลค่านำเข้ารวม)
- เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ นำเข้ามูลค่า 644 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.93 (สัดส่วนร้อยละ 6.2 ของมูลค่านำเข้ารวม)
- เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ นำเข้ามูลค่า 521 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 36.84 (สัดส่วนร้อยละ 4.8 ของมูลค่านำเข้ารวม)
- ทองคำ นำเข้ามูลค่า 164 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับเดือนเดียวของปีก่อนลดลง ร้อยละ 37.24 (สัดส่วนร้อยละ 1.5 ของมูลค่านำเข้ารวม)
- อุปกรณ์ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ นำเข้ามูลค่า 921 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.68 (สัดส่วนร้อยละ 8.5 ของมูลค่านำเข้ารวม)
- เคมีภัณฑ์ นำเข้ามูลค่า 806 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับเดือนเดียวของปีก่อนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.44 (สัดส่วนร้อยละ 7.5 ของมูลค่านำเข้ารวม)
การนำเข้าในระยะ 3 เดือนแรกของปี 2549 (มกราคม — มีนาคม) มีมูลค่า 29,965 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.73 โดยสินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ วัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สินค้าทุน และสินค้าเชื้อเพลิง
3. ดุลการค้า
ดุลการค้าในเดือนมีนาคม 2549 ไทยเกินดุลการค้า 324.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2548 ซึ่งไทยขาดดุลการค้า 286.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2549 (มกราคม — มีนาคม) ขาดดุลการค้า 404.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2548 ที่ขาดดุล 2,876.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ การขาดดุลการค้าในไตรมาสแรกของปีนี้ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 86 คิดเป็นมูลค่า 2,471.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
4. สรุปแนวโน้มการส่งออกและนำเข้าและดุลการค้าของปี 2549
แนวโน้มการส่งออกปี 2549 กระทรวงพาณิชย์ได้มีการประชุมหารือกับผู้ส่งออกสินค้าสำคัญเป็นประจำ ซึ่งครั้งล่าสุดเมื่อต้นเดือนเมษายนนี้ ผลของการหารือมีความเชื่อมั่นว่า ในปี 2549 จะสามารถส่งออกได้ตามเป้าหมาย แม้ว่าราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจะมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งการแข็งค่าขึ้นของเงินบาท โดยในปี 2549 ค่าเงินบาทเฉลี่ยอาจจะอยู่ที่ประมาณ 38-39 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปี 2548 ค่าเงินบาทจะอยู่ที่ 40.2 บาทต่อเหรียญสหรัญฯ
แนวโน้มการนำเข้าและดุลการค้าปี 2549 กระทรวงพาณิชย์มีการดูแลการนำเข้าให้อยู่ในระดับที่ เหมาะสม โดยความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนและกรมการค้าต่างประเทศในการแจ้งแผนการนำเข้าปี 2549 เป็นรายเดือนรวม 6 กลุ่มสินค้า ได้แก่ น้ำมันดิบ เหล็ก ทองคำ คอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ และมาตรการติดตามการนำเข้าสินค้าตามโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ทำให้ภาคเอกชนปรับลดการสะสมสต๊อกสินค้า โดยชะลอการนำเข้าสินค้าที่ไม่จำเป็น และเพิ่มการนำเข้าสินค้าทุนและวัตถุดิบ /กึ่งสำเร็จรูป โดยเฉพาะในกลุ่มการผลิตเพื่อส่งออก ซึ่งมีการใช้อัตรากำลังการผลิตอุตสาหกรรมเกือบเต็มที่ เช่น ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และปิโตรเคมี
การแข็งค่าขึ้นของเงินบาทในระยะสั้นอาจจะส่งผลกระทบต่อการแข่งขันด้านราคาของสินค้าที่ไทยส่งออกในตลาดโลก อย่างไรก็ตาม ประเทศคู่แข่งขันของไทยในภูมิภาคเอเชียต่างก็มีค่าเงินแข็งขึ้น เช่นเดียวกัน ทำให้สินค้าไทยได้รับผลกระทบไม่มากนั้น ในขณะเดียวกัน โครงสร้างการนำเข้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าทุนและวัตถุดิบ ดังนั้นผู้ผลิตสินค้าส่งออกที่ต้องพึ่งพาวัตถุดิบและสินค้าทุนจากต่างประเทศจะมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง แม้ว่าค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นจะทำให้มีการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น แต่สินค้ากลุ่มนี้มีสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกัยมูลค่าการนำเข้ารวมของไทย จึงไม่มีผลกระทบต่อดุลการค้าในภาพรวม อย่างไรก็ตามเสถียรภาพของค่าเงินบาทจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้ผลิตและผู้ส่งออกสามารถวางแผนการผลิตและการตลาดล่วงหน้าเพื่อให้ส่งออกได้ตามเป้าหมาย
ทั้งนี้ ในระยะยาวปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดโลกเพิ่มขึ้น จะขึ้นอยู่กับการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้า (Value creation) การพัฒนาระบบ Logistics ด้านการตลาดและการทำให้มูลค่าเพิ่มของสินค้าที่ส่งออกตกอยู่กับผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยให้มากที่สุด (Value chain) มากกว่าการเน้นการแข่งขันในด้านราคาเป็นหลัก
แนวโน้มราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและราคาส่งออกสินค้าของประเทศต่าง ๆ ที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันดิบรวมทั้งประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้มีการปรับตัวและวางแผนการนำเข้าน้ำมันดิบ รวมทั้งส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่สูงขึ้นมีผลกระทบต่อการส่งออกและดุลการค้าของไทยไม่มากนัก
นอกจากนี้ ได้มีการคาดหมายว่าในปี 2549 และในปีหน้า เศรษฐกิจการค้าโลกโดยเฉพาะประเทศอุตสาหกรรมที่สำคัญจะขยายตัว รวมทั้งจะมีการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลก (IMF,ADB: มี.ค. 49) ซึ่งจะส่งผลดีต่อการส่งออกและดุลการค้าของไทย ทั้งนี้ จากสถานการณ์ดุลการค้าในช่วงไตรมาสแรกของปี 2549 ที่ขาดดุลลดลงมาก ประกอบกับการส่งออกซึ่งจะขยายตัวในอัตราที่สูงในช่วง 6 เดือนหลังของทุกปี และมาตรการดูแล การนำเข้าอย่างใกล้ชิด จึงคาดว่าในปี 2549 จะขาดดุลการค้าลดลงจากปี 2548 ค่อนข้างมากหรืออาจจะเกินดุลได้อีกครั้งหนึ่ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 2 พฤษภาคม 2549--จบ--
1. การส่งออก
การส่งออกเดือนมีนาคม มีมูลค่า 11,099.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.9 การส่งออกยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง โดยสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.9 ขณะที่สินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมการเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.9 ตามลำดับ
สินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมการเกษตร สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางพารา มันลำปะหลัง และสินค้าอาหาร (กุ้งแช่แข็งและแปรรูป อาหารกระป๋องและแปรรูป ผัก ผลไม้สด กระป๋องและแปรรูป ไก่แปรรูป) สินค้าที่ส่งออกลดลงได้แก่ ข้าว น้ำตาล ส่งออกลดลงทั้งปริมาณและมูลค่า เนื่องจากราคาข้าวในประเทศสูงและต้องแข่งขันด้านราคากับคู่แข่งสำคัญคือ เวียดนามและอินเดีย ส่วนน้ำตาลมีผลผลิตในประเทศลดลง ขณะที่ราคาส่งออกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น
สินค้าอุตสาหกรรม การส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สินค้าที่ขยายตัวในอัตราสูง คือ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้า สิ่งทอ อัญมณี เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง เฟอร์นิเจอร์ วัสดุก่อสร้าง สิ่งพิมพ์และกระดาษ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เภสัช และของเล่น สำหรับสินค้าที่ส่งออกลดลงได้แก่ เครื่องเดินทาง เครื่องหนังและรองเท้า เนื่องจากปัญหาขาดแคลนแรงงานในประเทศและการแข่งขันกับจีน เวียดนามและอินโดนีเซีย
การส่งออกในระยะ 3 เดือนแรกของปี 2549 (ม.ค.-มี.ค.) มีมูลค่า 29,561 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.3 เป็นการขยายตัวของการส่งออกสินค้าเกษตรกรรม / อุตสาหกรรมการเกษตร ร้อยละ 14.7 และสินค้าอุตสาหกรรมร้อยละ 16.0
สินค้าสำคัญที่ส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางพารา มันสำปะหลัง และสินค้าอาหาร (กุ้งแช่แข็งและแปรรูป อาหารกระป๋องและแปรรูป อาหารกระป๋องและแปรรูป ผัก ผลไม้สด กระป๋องและแปรรูป ไก่แปรรูป) เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้า สิ่งทอ อัญมณี เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้เครื่องประดับตกแต่ง สิ่งพิมพ์และกระดาษ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เภสัชและของเล่น
สินค้าสำคัญที่ส่งออกลดลง ได้แก่ ข้าว น้ำตาล เครื่องเดินทาง เครื่องหนังและรองเท้า วัสดุก่อสร้าง
ตลาดส่งออกสำคัญ การส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทั้งในตลาดหลักและตลาดใหม่ โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 และ 27.2 ตามลำดับ ตลาดใหม่ที่ขยายตัวในอัตราสูง ได้แก่ ลาตินอเมริกา (ร้อยละ 42.9) ตะวันออกกลาง (ร้อยละ 42.3) ยุโรปตะวันออก (ร้อยละ 40.1) อินโดจีนและพม่า (ร้อยละ 37.2) จีน (ร้อยละ 33.7) เกาหลีใต้ (ร้อยละ 26.3) ฮ่องกง (ร้อยละ 26.7) และออสเตรเลีย (ร้อยละ 23.3)
ตลาดหลักขยายตัวในทุกตลาดเช่นเดียวกันคือ สหรัฐฯ ร้อยละ 17.7 สหภาพยุโรป ร้อยละ 10.3 อาเซียน (5) ร้อยละ 9.3 และญี่ปุ่นร้อยละ 6.8
2. การนำเข้า
การนำเข้าในเดือนมีนาคม 2549 มีมูลค่า 10,775.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.32 และเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.93
สินค้าที่มีมูลค่าการนำเข้าสูง ในเดือนมีนาคม 2549 ได้แก่ สินค้าเชื้อเพลิง ทุน และวัตถุดิบ/กึ่งสำเร็จรูป ซึ่งมีสัดส่วนการนำเข้ารวมร้อยละ 87.9 สินค้านำเข้าที่สำคัญมีดังนี้
- สินค้าเชื้อเพลิง นำเข้ามูลค่า 1,939 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.46 หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18.0 ของมูลค่านำเข้ารวมในเดือนมีนาคม 2549 โดยเป็นการนำเข้าน้ำมันดิบมูลค่า 1,469 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.38 (สัดส่วนร้อยละ 13.6 ของมูลค่านำเข้ารวม)
- เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ นำเข้ามูลค่า 971 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 6.63 (สัดส่วนร้อยละ 9.0 ของมูลค่านำเข้ารวม)
- เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ นำเข้ามูลค่า 842 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.93 (สัดส่วนร้อยละ 7.8 ของมูลค่านำเข้ารวม)
- เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ นำเข้ามูลค่า 644 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.93 (สัดส่วนร้อยละ 6.2 ของมูลค่านำเข้ารวม)
- เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ นำเข้ามูลค่า 521 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 36.84 (สัดส่วนร้อยละ 4.8 ของมูลค่านำเข้ารวม)
- ทองคำ นำเข้ามูลค่า 164 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับเดือนเดียวของปีก่อนลดลง ร้อยละ 37.24 (สัดส่วนร้อยละ 1.5 ของมูลค่านำเข้ารวม)
- อุปกรณ์ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ นำเข้ามูลค่า 921 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.68 (สัดส่วนร้อยละ 8.5 ของมูลค่านำเข้ารวม)
- เคมีภัณฑ์ นำเข้ามูลค่า 806 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับเดือนเดียวของปีก่อนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.44 (สัดส่วนร้อยละ 7.5 ของมูลค่านำเข้ารวม)
การนำเข้าในระยะ 3 เดือนแรกของปี 2549 (มกราคม — มีนาคม) มีมูลค่า 29,965 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.73 โดยสินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ วัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สินค้าทุน และสินค้าเชื้อเพลิง
3. ดุลการค้า
ดุลการค้าในเดือนมีนาคม 2549 ไทยเกินดุลการค้า 324.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2548 ซึ่งไทยขาดดุลการค้า 286.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2549 (มกราคม — มีนาคม) ขาดดุลการค้า 404.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2548 ที่ขาดดุล 2,876.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ การขาดดุลการค้าในไตรมาสแรกของปีนี้ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 86 คิดเป็นมูลค่า 2,471.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
4. สรุปแนวโน้มการส่งออกและนำเข้าและดุลการค้าของปี 2549
แนวโน้มการส่งออกปี 2549 กระทรวงพาณิชย์ได้มีการประชุมหารือกับผู้ส่งออกสินค้าสำคัญเป็นประจำ ซึ่งครั้งล่าสุดเมื่อต้นเดือนเมษายนนี้ ผลของการหารือมีความเชื่อมั่นว่า ในปี 2549 จะสามารถส่งออกได้ตามเป้าหมาย แม้ว่าราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจะมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งการแข็งค่าขึ้นของเงินบาท โดยในปี 2549 ค่าเงินบาทเฉลี่ยอาจจะอยู่ที่ประมาณ 38-39 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปี 2548 ค่าเงินบาทจะอยู่ที่ 40.2 บาทต่อเหรียญสหรัญฯ
แนวโน้มการนำเข้าและดุลการค้าปี 2549 กระทรวงพาณิชย์มีการดูแลการนำเข้าให้อยู่ในระดับที่ เหมาะสม โดยความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนและกรมการค้าต่างประเทศในการแจ้งแผนการนำเข้าปี 2549 เป็นรายเดือนรวม 6 กลุ่มสินค้า ได้แก่ น้ำมันดิบ เหล็ก ทองคำ คอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ และมาตรการติดตามการนำเข้าสินค้าตามโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ทำให้ภาคเอกชนปรับลดการสะสมสต๊อกสินค้า โดยชะลอการนำเข้าสินค้าที่ไม่จำเป็น และเพิ่มการนำเข้าสินค้าทุนและวัตถุดิบ /กึ่งสำเร็จรูป โดยเฉพาะในกลุ่มการผลิตเพื่อส่งออก ซึ่งมีการใช้อัตรากำลังการผลิตอุตสาหกรรมเกือบเต็มที่ เช่น ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และปิโตรเคมี
การแข็งค่าขึ้นของเงินบาทในระยะสั้นอาจจะส่งผลกระทบต่อการแข่งขันด้านราคาของสินค้าที่ไทยส่งออกในตลาดโลก อย่างไรก็ตาม ประเทศคู่แข่งขันของไทยในภูมิภาคเอเชียต่างก็มีค่าเงินแข็งขึ้น เช่นเดียวกัน ทำให้สินค้าไทยได้รับผลกระทบไม่มากนั้น ในขณะเดียวกัน โครงสร้างการนำเข้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าทุนและวัตถุดิบ ดังนั้นผู้ผลิตสินค้าส่งออกที่ต้องพึ่งพาวัตถุดิบและสินค้าทุนจากต่างประเทศจะมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง แม้ว่าค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นจะทำให้มีการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น แต่สินค้ากลุ่มนี้มีสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกัยมูลค่าการนำเข้ารวมของไทย จึงไม่มีผลกระทบต่อดุลการค้าในภาพรวม อย่างไรก็ตามเสถียรภาพของค่าเงินบาทจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้ผลิตและผู้ส่งออกสามารถวางแผนการผลิตและการตลาดล่วงหน้าเพื่อให้ส่งออกได้ตามเป้าหมาย
ทั้งนี้ ในระยะยาวปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดโลกเพิ่มขึ้น จะขึ้นอยู่กับการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้า (Value creation) การพัฒนาระบบ Logistics ด้านการตลาดและการทำให้มูลค่าเพิ่มของสินค้าที่ส่งออกตกอยู่กับผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยให้มากที่สุด (Value chain) มากกว่าการเน้นการแข่งขันในด้านราคาเป็นหลัก
แนวโน้มราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและราคาส่งออกสินค้าของประเทศต่าง ๆ ที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันดิบรวมทั้งประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้มีการปรับตัวและวางแผนการนำเข้าน้ำมันดิบ รวมทั้งส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่สูงขึ้นมีผลกระทบต่อการส่งออกและดุลการค้าของไทยไม่มากนัก
นอกจากนี้ ได้มีการคาดหมายว่าในปี 2549 และในปีหน้า เศรษฐกิจการค้าโลกโดยเฉพาะประเทศอุตสาหกรรมที่สำคัญจะขยายตัว รวมทั้งจะมีการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลก (IMF,ADB: มี.ค. 49) ซึ่งจะส่งผลดีต่อการส่งออกและดุลการค้าของไทย ทั้งนี้ จากสถานการณ์ดุลการค้าในช่วงไตรมาสแรกของปี 2549 ที่ขาดดุลลดลงมาก ประกอบกับการส่งออกซึ่งจะขยายตัวในอัตราที่สูงในช่วง 6 เดือนหลังของทุกปี และมาตรการดูแล การนำเข้าอย่างใกล้ชิด จึงคาดว่าในปี 2549 จะขาดดุลการค้าลดลงจากปี 2548 ค่อนข้างมากหรืออาจจะเกินดุลได้อีกครั้งหนึ่ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 2 พฤษภาคม 2549--จบ--