สรุปสถานการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูฝน ครั้งที่ 29 ช่วงวันที่ 2 — 7 ธันวาคม 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday December 11, 2008 12:44 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปสถานการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูฝน ครั้งที่ 29 ช่วงวันที่ 2 — 7 ธันวาคม 2551 ประกอบด้วย สถานการณ์อุทกภัย สถานการณ์น้ำ ผลกระทบด้านการเกษตร และการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร สรุปได้ดังนี้

สถานการณ์อุทกภัย

ปัจจุบันมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่

1. จังหวัดพัทลุง จากฝนตกหนักต่อเนื่อง เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ 11 อำเภอ ปัจจุบันยังคงมีพื้นที่ประสบภัยจำนวน 5 อำเภอ 22 ตำบล ได้แก่ อำเภอเมือง (5 ตำบล) อำเภอควนขนุน (7 ตำบล) อำเภอปากพะยูน (4 ตำบล) อำเภอบางแก้ว (3 ตำบล) และ อำเภอเขาชัยสน (2 ตำบล)

2. จังหวัดปัตตานี เกิดฝนตกต่อเนื่อง ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ 12 อำเภอ ปัจจุบันยังคง มีพื้นที่น้ำท่วมใน 4 อำเภอ 41 ตำบล ได้แก่ อำเภอเมือง (10 ตำบล) อำเภอยะหริ่ง (14 ตำบล) อำเภอปะนาแระ (10 ตำบล) อำเภอหนองจิก (7 ตำบล)

3. จังหวัดสงขลา จากฝนที่ตกหนักต่อเนื่อง ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ปัจจุบันสถานการณ์ได้คลี่คลายแล้วบาง ส่วน แต่ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มต่ำริมทะเลสาบสงขลาจำนวน 3 อำเภอ 16 ตำบล ได้แก่ อำเภอระโนด (11 ตำบล) อำเภอกระแสสินธุ์ (4 ตำบล) และอำเภอสทิงพระ (1 ตำบล)

4. จังหวัดยะลา เนื่องจากฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 2 อำเภอ 19 ตำบล ได้แก่ อำเภอรา มัน (14 ตำบล) อำเภอเมือง (5 ตำบล)

5. จังหวัดนราธิวาส เกิดฝนตกต่อเนื่องทำให้น้ำในแม่น้ำโก-ลก เพิ่มสูงขึ้นเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มริมน้ำ จำนวน 13 อำเภอ ปัจจุบันยังคงมีพื้นที่ น้ำท่วมจำนวน 9 อำเภอ 39 ตำบลได้แก่ อำเภอเจาะไอร้อง (3 ตำบล) อำเภอบาเจาะ (6 ตำบล) อำเภอสุไหงปาดี (5 ตำบล) อำเภอเมือง (4 ตำบล) อำเภอสุไหงโก-ลก (2 ตำบล) อำเภอยี่งอ (6 ตำบล) อำเภอระแงะ (2 ตำบล) อำเภอสุคิริน (5 ตำบล) อำเภอแว้ง (6 ตำบล)

สถานการณ์น้ำ ณ วันที่ 7 ธันวาคม 2551

1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ (7 ธันวาคม 2551) มีปริมาณน้ำในอ่างฯทั้งหมด 57,401 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ คิดเป็นร้อยละ 84 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด (ปริมาณน้ำใช้การได้ 34,087 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 50 ของความจุอ่างฯ) น้อยกว่าปี 2550 (58,747 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 1,346 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 3 ของความจุอ่างฯ ทั้งนี้ ปริมาณน้ำไหลลง อ่างฯ เฉลี่ยทั้งปี 38,221 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ วันนี้ 52.0 ล้านลูกบาศก์เมตร (ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ สะสมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 ถึงวันนี้ จำนวน 45,004 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 118 ของค่าเฉลี่ยทั้งปี)

          สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ และป่าสักชลสิทธิ์                                      หน่วย : ล้าน ลบ.ม.
อ่างเก็บน้ำ          ปริมาตรน้ำในอ่างฯ         ปริมาตรน้ำใช้การได้             ไหลลงอ่างฯ               ปริมาณน้ำรับได้อีก
               ปริมาตรน้ำ  %ความจุอ่างฯ    ปริมาตรน้ำ  %ความจุอ่างฯ   เฉลี่ยทั้งปี     วันนี้   สะสม 1 ม.ค.
1. ภูมิพล           9,963          74       6,163          46     5,602    8.90         5,786          3,499
2. สิริกิติ์           8,251          87       5,401          57     5,391    7.90         7,416          1,259
3. ป่าสักชลสิทธิ์        911          95         908          95     2,200    1.50         3,067             49

เมื่อเปรียบเทียบปริมาตรน้ำปัจจุบันกับปี 2550 เขื่อนภูมิพล น้อยกว่า จำนวน 1,472 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนสิริกิติ์ มากกว่า จำนวน 1,063 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มากกว่า จำนวน 82 ล้านลูกบาศก์เมตร

                              สภาพน้ำของอ่างเก็บน้ำภาคใต้                    หน่วย : ล้าน ลบ.ม.
อ่างเก็บน้ำ             ปริมาตรน้ำในอ่างฯ        ปริมาตรน้ำใช้การได้               ไหลลงอ่างฯ            ปริมาณน้ำรับได้อีก

ปริมาตรน้ำ %ความจุอ่างฯ ปริมาตรน้ำ %ความจุอ่างฯ เฉลี่ยทั้งปี วันนี้ สะสม 1 ม.ค.

1. แก่งกระจาน          445          63        378          53       929  1.00            748             265
2. ปราณบุรี             262          76        202          58       436  0.40            355              85
3. รัชชประภา         4,726          84      3,374          60     2,598  0.40          2,231             913
4. บางลาง             925          64        665          46     1,545  9.30          1,616             529

อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯ จำนวน 22 อ่าง ได้แก่

ภาค                     จำนวนอ่างฯ                อ่างฯ/ร้อยละของความจุที่ระดับน้ำเก็บกักของอ่างฯ

ทั้งหมด มากกว่า 80%

เหนือ                    5             3          สิริกิติ์(87),แม่งัด(104),กิ่วลม(93)
ตะวันออกเฉียงเหนือ        12            10          ห้วยหลวง(106),น้ำอูน(92),จุฬาภรณ์(100),อุบลรัตน์(95),

ลำปาว(90),ลำตะคอง(98), ลำพระเพลิง(100),มูลบน(101),

ลำแซะ(96),สิรินธร(89)

กลาง                    3             3          ป่าสักชลสิทธิ์(95),ทับเสลา(101),กระเสียว(101)
ตะวันตก                  2             1          ศรีนครินทร์(91)
ตะวันออก                 5             4          ขุนด่านปราการชล(93),คลองสียัด(95),หนองปลาไหล(98),ประแสร์(92)
ใต้                      4             1          รัชชประภา(84)
รวม                    31            22

2. สภาพน้ำท่า

แม่น้ำ                                ที่ตั้งสถานี                                     อยู่ในเกณฑ์   แนวโน้ม
                        สถานี                    อำเภอ            จังหวัด
ปิง          P.7A        สะพานบ้านห้วยยาง          เมือง             กำแพงเพชร         ปกติ      ลดลง
            P.17        บ้านท่างิ้ว                 บรรพตพิสัย         นครสวรรค์          ปกติ      เพิ่มขึ้น
วัง          W.4A        บ้านวังหมัน                สามเงา           ตาก               ปกติ      ลดลง
ยม          Y.1C        สะพานบ้านน้ำโค้ง           เมือง             แพร่               ปกติ      ลดลง
            Y.17        บ้านสามง่าม               สามง่าม           พิจิตร              น้อย      ลดลง
น่าน         N.5A        สะพานเอกาทศรถ           เมือง             พิษณุโลก            ปกติ      ลดลง
            N.67        สะพานบ้านเกศไชย          ชุมแสง            นครสวรรค์          ปกติ      ลดลง
ชี           E.91        บ้านหนองขนอน             โกสุมพิสัย          มหาสารคาม         มาก      ลดลง
ท่าตะเภา     X 158       สะพานบ้านวังครก           ท่าแซะ            ชุมพร              น้อย      ลดลง
ตาปี         X 37A       บ้านย่านดินแดง             พระแสง           สุราษฎร์ธานี         ปกติ      ลดลง
คลองอู่ตะเภา  X 44        บ้านหาดใหญ่ใน             เมือง             สงขลา             น้อย      ลดลง
ปัตตานี       X 40A       บ้านท่าสาป                เมือง             ยะลา              ปกติ      ลดลง
โก-ลก       X 119A      บ้านปาเสมัส               สุไหงโก-ลก        นราธิวาส           มาก      ลดลง
ค.ตันหยงมัส   X.73        บ้านตันหยงมัส              ระแงะ            นราธิวาส           มาก      เพิ่มขึ้น
สายบุรี       X.184       บ้านซากอ                 ศรีสาคร           นราธิวาส           น้อย      เพิ่มขึ้น
ตะกั่วป่า      X 187       บ้านหินดาน                ตะกั่วป่า           พังงา              น้อย      ทรงตัว
ค.ปะเหลียน   X.236       บ้านย่านตาขาว             ย่านตาขาว         ตรัง               น้อย      ลดลง
ตรัง         X.56        บ้านประดู่                 ห้วยยอด           ตรัง               มาก      ลดลง
ค.ดุสน       X 239       บ้านฉลุงเหนือ              ละงู              สตูล               ปกติ      เพิ่มขึ้น

แม่น้ำเจ้าพระยา รับน้ำเข้าระบบส่งน้ำทุ่งฝั่งตะวันออก 178 ลบ.ม.ต่อวินาที (ลดลงจากเมื่อวาน) รับน้ำเข้าระบบส่งน้ำทุ่งฝั่งตะวันตก 233 ลบ.ม.ต่อวินาที (เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน)

เขื่อนพระรามหก ปิดการระบายน้ำ

ผลกระทบด้านการเกษตร

อุทกภัยช่วงวันที่ 1 พฤศจิกายน — 4 ธันวาคม 2551 พื้นที่ประสบภัย 40 จังหวัด แยกเป็น

ด้านพืช 37 จังหวัด เกษตรกร 220,306 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 988,743 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 654,424 ไร่ พืชไร่ 88,474 ไร่ พืชสวน 245,845 ไร่

ด้านปศุสัตว์ 10 จังหวัด เกษตรกร 54,628 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 1,131,925 ตัว แบ่งเป็น โค-กระบือ 165,364 ตัว สุกร- แพะ-แกะ 90,970 ตัว สัตว์ปีก 875,591 ตัว แปลงหญ้า 4,024 ไร่

ด้านประมง 16 จังหวัด เกษตรกร 11,836 ราย คาดว่าจะเสียหายเป็น บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ 15,136 บ่อ คิดเป็นพื้นที่ 11,836 ไร่ และ กระชังเลี้ยงสัตว์น้ำ 1,424 กระชัง คิดเป็นพื้นที่ 23,339 ตารางเมตร

การให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรในช่วงฤดูฝน (ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม — 14 พฤศจิกายน 2551)

1. การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำ

กรมชลประทานได้เตรียมความพร้อมเครื่องสูบน้ำเพื่อช่วยเหลืออุทกภัยตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ จำนวน 1,200 เครื่อง ปัจจุบัน ได้ส่งเครื่องสูบน้ำช่วยเหลือไปแล้ว 27 จังหวัด จำนวน 413 เครื่อง เครื่องผลักดันน้ำ 42 เครื่อง ตามจังหวัดต่างๆ ดังนี้

ภาค                จังหวัด    เครื่องสูบน้ำ (เครื่อง)    เครื่องผลักดันน้ำ(เครื่อง)    จังหวัด
เหนือ                   6                  40                       -    พิจิตร(4) กำแพงเพชร(3) พิษณุโลก(6)

เชียงราย(5) น่าน(14) ตาก(8)

ตะวันออกเฉียงเหนือ        8                 167                      11    นครราชสีมา(60,ผลักดันน้ำ(11) สกลนคร(5)

หนองคาย(18) ขอนแก่น(14) ชัยภูมิ(4)

มหาสารคาม(50) กาฬสินธุ์(13) นครพนม(3)

กลาง                   8                 150                      31    ชัยนาท(1) อุทัยธานี(3) ลพบุรี(41)

สิงห์บุรี( 31) พระนครศรีอยุธยา(1) อ่างทอง

(47) นครปฐม(ผลักดันน้ำ 20) สุพรรณบุรี

(26,ผลักดันน้ำ 11)

ตะวันออก                1                   9                       -    ปราจีนบุรี(9)
ใต้                     4                  47                       -    ประจวบคีรีขันธ์(2) สุราษฎร์ธานี(8)

นครศรีธรรมราช(14) นราธิวาส 23 เครื่อง

รวม                   27                 413                      42

2. การสนับสนุนเสบียงสัตว์และดูแลสุขภาพสัตว์

กรมปศุสัตว์สนับสนุนเสบียงสัตว์จำนวน 1,030.57 ตัน และดูแลสุขภาพสัตว์ 146,484 ตัว

3. สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ผัก

กรมส่งเสริมการเกษตร แจกต้นกล้าพืชผักให้เกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแล้ว จำนวน 250,000 ต้น รวม ทั้งได้จัดตั้งครัวสายใยรักแห่งครอบครัว เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยในจังหวัดลพบุรีและปราจีนบุรี

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี วันที่ 9 ธันวาคม 2551--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ