คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 (ฝ่ายการ ท่องเที่ยว กีฬา พุทธศาสนา แรงงานและการพัฒนาสังคม) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) เป็นประธานฯ ที่เห็นชอบหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการประกอบกิจการหอพัก พ.ศ. ... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว โดยให้แก้ไขข้อความในแบบบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ถูกต้อง และแก้ไขประเด็นอายุของผู้พักในข้อ 3 วรรคสอง ของพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. 2507 จาก “ยี่สิบสามปี” เป็น “ยี่สิบห้าปี” ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ แล้วดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ชี้แจงว่า ได้พิจารณาร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการประกอบกิจการหอพัก พ.ศ. ... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว แต่ไม่เห็นด้วยกับร่างกฎกระทรวงในร่างข้อ 3 ซึ่งกำหนดอายุในบทนิยามคำว่า “ผู้พัก” ตามมาตรา 3 ของพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. 2507 ซึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ผู้ซึ่งมีอายุเกิน 23 ปีบริบูรณ์ จึงไม่ลงนามในร่างกฎกระทรวงดังกล่าวโดยมีเหตุผลดังนี้
1. พระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. 2507 มีเจตนารมณ์ในการคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็กและเยาวชนที่อยู่ระหว่างการศึกษาและพักอยู่ในหอพักของเอกชน และในปัจจุบันมีพระราชบัญญัติส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2521 เป็นกฎหมายหลักที่ใช้ดำเนินการเพื่อส่งเสริมและพัฒนาเยาวชน ซึ่งมาตรา 3 ได้ให้ความหมายของ “เยาวชน” ว่า หมายความถึง “บุคคลซึ่งมีอายุไม่เกิน 25 ปี” โดยกระทรวงฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมและพัฒนาเยาวชนได้ยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติในมิติทางสังคมของประเทศมาโดยตลอดว่า “เยาวชน” คือบุคคลที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี
2. การแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนของชาติ ตลอดจนนโยบายด้านสังคมจะไม่บริบูรณ์อย่างเป็นระบบ หากการปฏิบัติเรื่องอายุของเยาวชนไม่เป็นไปตามกรอบทิศทางเดียวกัน และหากพิจารณาผลกระทบต่อผู้ประกอบการที่ประสงค์ดำเนินกิจการหอพัก ในการกำหนดอายุผู้พัก 25 ปี นั้น ก็ไม่ก่อให้เกิดภาระหรือข้อปฏิบัติเพิ่มขึ้นแต่ประการใด อีกทั้งการใช้อายุ 25 ปี แทน 23 ปี อันเป็นการขยายฐานเพื่อให้ความคุ้มครองสวัสดิภาพและสุขลักษณะให้แก่เยาวชนที่มีอายุ 25 ปี ได้อย่างเสมอภาคเมื่ออยู่ในระหว่างการศึกษาระดับปริญญาตรี จึงควรกำหนดในกฎกระทรวงนี้ในเรื่องอายุของผู้พักเป็น 25 ปี ตามร่างเดิมที่กระทรวงฯ เสนอ โดยจะขอรับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 มกราคม 2549--จบ--
ทั้งนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ชี้แจงว่า ได้พิจารณาร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการประกอบกิจการหอพัก พ.ศ. ... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว แต่ไม่เห็นด้วยกับร่างกฎกระทรวงในร่างข้อ 3 ซึ่งกำหนดอายุในบทนิยามคำว่า “ผู้พัก” ตามมาตรา 3 ของพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. 2507 ซึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ผู้ซึ่งมีอายุเกิน 23 ปีบริบูรณ์ จึงไม่ลงนามในร่างกฎกระทรวงดังกล่าวโดยมีเหตุผลดังนี้
1. พระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. 2507 มีเจตนารมณ์ในการคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็กและเยาวชนที่อยู่ระหว่างการศึกษาและพักอยู่ในหอพักของเอกชน และในปัจจุบันมีพระราชบัญญัติส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2521 เป็นกฎหมายหลักที่ใช้ดำเนินการเพื่อส่งเสริมและพัฒนาเยาวชน ซึ่งมาตรา 3 ได้ให้ความหมายของ “เยาวชน” ว่า หมายความถึง “บุคคลซึ่งมีอายุไม่เกิน 25 ปี” โดยกระทรวงฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมและพัฒนาเยาวชนได้ยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติในมิติทางสังคมของประเทศมาโดยตลอดว่า “เยาวชน” คือบุคคลที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี
2. การแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนของชาติ ตลอดจนนโยบายด้านสังคมจะไม่บริบูรณ์อย่างเป็นระบบ หากการปฏิบัติเรื่องอายุของเยาวชนไม่เป็นไปตามกรอบทิศทางเดียวกัน และหากพิจารณาผลกระทบต่อผู้ประกอบการที่ประสงค์ดำเนินกิจการหอพัก ในการกำหนดอายุผู้พัก 25 ปี นั้น ก็ไม่ก่อให้เกิดภาระหรือข้อปฏิบัติเพิ่มขึ้นแต่ประการใด อีกทั้งการใช้อายุ 25 ปี แทน 23 ปี อันเป็นการขยายฐานเพื่อให้ความคุ้มครองสวัสดิภาพและสุขลักษณะให้แก่เยาวชนที่มีอายุ 25 ปี ได้อย่างเสมอภาคเมื่ออยู่ในระหว่างการศึกษาระดับปริญญาตรี จึงควรกำหนดในกฎกระทรวงนี้ในเรื่องอายุของผู้พักเป็น 25 ปี ตามร่างเดิมที่กระทรวงฯ เสนอ โดยจะขอรับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 มกราคม 2549--จบ--