คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานสถานการณ์อุทกภัยในภาคเหนือ สรุปได้ดังนี้ ตามที่ได้เกิดฝนตกหนักในภาคเหนือ ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ต่ำริมแม่น้ำในหลายจังหวัด และมีดินถล่มบริเวณสันเขาลงมาทับบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่การเกษตรในอำเภอลับแล และท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ มีพื้นที่ประสบภัยรวม 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ ตาก อุตรดิตถ์ สุโขทัย ลำปาง น่าน พิจิตร และสุพรรณบุรี ซึ่งขณะนี้สถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ อุตรดิตถ์ ลำปาง น่าน พิจิตร และสุพรรณบุรี ยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วม 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย และตาก สรุปสถานการณ์อุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือได้ดังนี้
1. กรมชลประทานได้ประสานกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยให้ปิดการระบายน้ำท้ายเขื่อนสิริกิติ์ ตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2549 สำหรับปริมาณน้ำจากลำน้ำน่านได้ไหลมาถึงแม่น้ำเจ้าพระยา และรวมกับปริมาณน้ำจากลำน้ำปิง (เกิดจากฝนตกที่บริเวณตอนล่างของจังหวัดตากในช่วงวันที่ 23-24 พ.ค. 49) มีปริมาณน้ำสูงสุดเมื่อเวลา 06.00 น. ของวันที่ 28 พ.ค. 49 ปริมาณน้ำ 1,364 ลบ.ม./วินาที ปัจจุบัน(29 พ.ค. 49) ปริมาณน้ำทรงตัวอยู่ซึ่งจะไม่มีผลกระทบ ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง
2. จากสภาวะน้ำท่วมในจังหวัดแพร่ อุตรดิตถ์ และสุโขทัย ปริมาณน้ำไหลลงสู่แม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน ปริมาณน้ำจากจังหวัดสุโขทัยจะไหลมาถึงอำเภอกงไกรลาส ซึ่งเป็นที่ลุ่มต่ำคาดว่าน้ำจะเอ่อท่วมตลิ่งของลำน้ำยมเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำ และไหลต่อเนื่องไปอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก (ไม่มีการเพาะปลูก)
กรมชลประทาน ได้ส่งเครื่องจักรเครื่องมือ เพื่อให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ได้แก่ เครื่องสูบน้ำ 101 เครื่อง รถบรรทุกน้ำ 10 คัน รถบรรทุก 15 คัน รถแบกโฮ 2 คัน รถแทรกเตอร์ 2 คัน รถเกรด 1 คัน และรถเครน 1 คัน รายละเอียดดังนี้
รายการ อุตรดิตถ์ สุโขทัย แพร่ ตาก ลำปาง น่าน รวม
เครื่องสูบน้ำ(เครื่อง) 13 15 17 17 25 14 101
รถบรรทุก (คัน) 1 3 3 2 4 2 15
รถบรรทุกน้ำ (คัน) 2 1 2 3 2 10
รถแบกโฮ (คัน) 1 1 2
รถแทรกเตอร์ (คัน) 1 1 2
รถเกรด (คัน) 1 1
รถเครน (คัน) 1 1
กรมปศุสัตว์ โดยสำนักสุขศาสตร์และสุขอนามัยที่ 6 ได้จัดชุดปฏิบัติการคลินิกสัตว์เคลื่อนที่ช่วยเหลือราษฎรจังหวัดอุตรดิตถ์ร่วมกับชุดปฏิบัติการปศุสัตว์จังหวัดอุตรดิตถ์ตั้งแต่วันที่ 23-29 พฤษภาคม 2549 โดยทำการรักษาสัตว์ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ ดังนี้
ดูแลสุขภาพสัตว์ จำนวน 5,002 ตัว และสนับสนุนพืชอาหารสัตว์ 32,300 กิโลกรัม แร่ธาตุและเวชภัณฑ์ 917 ซอง
ผลกระทบด้านชลประทาน
1. อ่างเก็บน้ำขนาดเล็กที่ได้รับความเสียหายจากสถานการณ์อุทกภัย ดังนี้อ่างห้วยน้ำแรม ต.เด่นชัย จ.แพร่ ความจุ 0.3 ล้าน ลบ.ม. เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 49 น้ำล้นสันทำนบกัดเซาะด้านท้าย ลึก 0.20-0.30 ม. ปัจจุบันได้ทำการระบายมีน้ำเหลืออยู่ในอ่าง 0.20 ล้าน ลบ.ม.
2. อ่างเก็บน้ำชะลาดระฆัง ต.โป่งแดง อ.เมือง จ.ตาก ความจุอ่าง 0.945 ล้าน ลบ.ม. (โครงการขนาดเล็ก) ทำนบดินสูง 14.50 ม. ยาว 550 ม. ความจุ 0.9 ล้าน ลบ.ม. ในวันที่ 23 พ.ค. 49 มีน้ำลอดใต้ทำนบดิน 3 แห่ง กว้างประมาณ 3.00-4.00 ม. ระดับน้ำลดลงอย่างรวดเร็ว และทำนบดินได้ทรุดตัว ปริมาณน้ำในอ่างได้ไหลลงลำน้ำเดิมไม่ก่อให้เกิดผลเสียหายทางด้านท้ายอ่าง โครงการชลประทานตากได้แจ้ง อบต.โป่งแดงและนายอำเภอเมืองตากทราบ(จุดที่ตั้งอ่างห่างจากหมู่บ้านประมาณ 6 กม.)
3. อ่างเก็บน้ำแม่มอก อ.เถิน จ.ลำปาง มีน้ำไหลเข้าเต็มอ่าง และทำให้เกิดน้ำล้นทางระบายน้ำล้น ในวันที่ 25 พ.ค. 49 ระดับน้ำล้นทางระบายน้ำล้น สูง 0.70 ม. ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมทางด้านท้ายอ่าง ในเขตพื้นที่ อ.ทุ่งเสลี่ยม อ.สวรรคโลก อ.ศรีสำโรง และอ.เมือง บางส่วน
ผลกระทบด้านการเกษตร
พื้นที่การเกษตรประสบภัย ระหว่างวันที่ 18-28 พฤษภาคม 2549
- ด้านพืช 7 จังหวัด เกษตรกร 36,230 ราย พื้นที่การเกษตรประสบภัย 463,977.50 ไร่ คาดว่าจะเสียหาย 407,029.50 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 245,728 ไร่ พืชไร่ 85,022 ไร่ พืชผัก 4,552.50 ไร่ ไม้ผลไม้ยืนต้น 71,727 ไร่
- ด้านปศุสัตว์ 4 จังหวัด เกษตรกร 30,469 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 1,040,522 ตัว แยกเป็น โค-กระบือ 93,178 ตัว สุกร 36,937 ตัว แพะ 929 ตัว แกะ 40 ตัว เป็ด 6,828 ตัว และไก่ 902,610 ตัว
- ด้านประมง 5 จังหวัด เกษตรกร 2,183 ราย ความเสียหาย 2,790 บ่อ คิดเป็นพื้นที่ 2,330 ไร่ กระชังเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 530 กระชัง คิดเป็นพื้นที่ 7,950 ตารางเมตร
สถานการณ์น้ำท่วม
จังหวัดสุโขทัย ปัจจุบันมีพื้นที่ประสบภัย 3 อำเภอ ได้แก่
อำเภอสวรรคโลก น้ำได้เอ่อล้นเข้าท่วมทุกตำบล รวม 13 ตำบล น้ำท่วมสูงประมาณ 0.20 เมตร
อำเภอศรีสำโรง ในเขตตำบลวังใหญ่ และตำบลวังเกาะ น้ำท่วมสูงประมาณ 0.20 เมตร
อำเภอเมือง น้ำท่วมที่ลุ่มการเกษตร 8 ตำบล น้ำท่วมสูงประมาณ 0.50 เมตร สำหรับในเขตเทศบาลเมืองสุโขทัยยังไม่มีน้ำท่วมขัง
จังหวัดตาก ปัจจุบันมีพื้นที่ประสบภัย 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสามเงา และบ้านตาก ปริมาณน้ำในแม่น้ำวังจากจังหวัดลำปางได้ไหลลงมาสู่จังหวัดตาก ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำวังบริเวณจังหวัดตากสูงขึ้นและเอ่อล้นตลิ่ง น้ำท่วมสูงประมาณ 0.20 เมตร ปัจจุบัน(29 พ.ค. 49) ปริมาณน้ำในลำน้ำวังเริ่มลดลงแล้ว หากไม่มีฝนตกเพิ่มคาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 1-2 วัน
สถานการณ์น้ำท่า
ตามพยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาวันที่ 29 พฤษภาคม 2549 คาดว่าจะมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งกรมชลประทานให้เฝ้าระวัง และแจ้งเตือนปริมาณน้ำในลุ่มน้ำซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาก ดังนี้
ลุ่มน้ำ อำเภอ จังหวัด
น่าน บางมูลนาก พิจิตร
ชุมแสง นครสวรรค์
ยม ศรีสำโรง เมือง สุโขทัย
บางระกำ พิษณุโลก
ปิง บรรพตพิสัย นครสวรรค์
แม่กลอง เมือง กาญจนบุรี
ภาคใต้ฝั่งตะวันออก พะโต๊ะ ชุมพร
ตาปี พระแสง สุราษฎร์ธานี
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสำรวจความเสียหาย และให้ความช่วยเหลือในระยะฉุกเฉินตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ รวมถึงดำเนินการจัดทำแผนฟื้นฟูอาชีพการเกษตร และจัดทำโครงการฟื้นฟูพื้นที่การเกษตร เพื่อให้สามารถดำเนินการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรภายหลังน้ำลดได้ทันที
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 30 พฤษภาคม 2549--จบ--
1. กรมชลประทานได้ประสานกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยให้ปิดการระบายน้ำท้ายเขื่อนสิริกิติ์ ตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2549 สำหรับปริมาณน้ำจากลำน้ำน่านได้ไหลมาถึงแม่น้ำเจ้าพระยา และรวมกับปริมาณน้ำจากลำน้ำปิง (เกิดจากฝนตกที่บริเวณตอนล่างของจังหวัดตากในช่วงวันที่ 23-24 พ.ค. 49) มีปริมาณน้ำสูงสุดเมื่อเวลา 06.00 น. ของวันที่ 28 พ.ค. 49 ปริมาณน้ำ 1,364 ลบ.ม./วินาที ปัจจุบัน(29 พ.ค. 49) ปริมาณน้ำทรงตัวอยู่ซึ่งจะไม่มีผลกระทบ ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง
2. จากสภาวะน้ำท่วมในจังหวัดแพร่ อุตรดิตถ์ และสุโขทัย ปริมาณน้ำไหลลงสู่แม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน ปริมาณน้ำจากจังหวัดสุโขทัยจะไหลมาถึงอำเภอกงไกรลาส ซึ่งเป็นที่ลุ่มต่ำคาดว่าน้ำจะเอ่อท่วมตลิ่งของลำน้ำยมเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำ และไหลต่อเนื่องไปอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก (ไม่มีการเพาะปลูก)
กรมชลประทาน ได้ส่งเครื่องจักรเครื่องมือ เพื่อให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ได้แก่ เครื่องสูบน้ำ 101 เครื่อง รถบรรทุกน้ำ 10 คัน รถบรรทุก 15 คัน รถแบกโฮ 2 คัน รถแทรกเตอร์ 2 คัน รถเกรด 1 คัน และรถเครน 1 คัน รายละเอียดดังนี้
รายการ อุตรดิตถ์ สุโขทัย แพร่ ตาก ลำปาง น่าน รวม
เครื่องสูบน้ำ(เครื่อง) 13 15 17 17 25 14 101
รถบรรทุก (คัน) 1 3 3 2 4 2 15
รถบรรทุกน้ำ (คัน) 2 1 2 3 2 10
รถแบกโฮ (คัน) 1 1 2
รถแทรกเตอร์ (คัน) 1 1 2
รถเกรด (คัน) 1 1
รถเครน (คัน) 1 1
กรมปศุสัตว์ โดยสำนักสุขศาสตร์และสุขอนามัยที่ 6 ได้จัดชุดปฏิบัติการคลินิกสัตว์เคลื่อนที่ช่วยเหลือราษฎรจังหวัดอุตรดิตถ์ร่วมกับชุดปฏิบัติการปศุสัตว์จังหวัดอุตรดิตถ์ตั้งแต่วันที่ 23-29 พฤษภาคม 2549 โดยทำการรักษาสัตว์ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ ดังนี้
ดูแลสุขภาพสัตว์ จำนวน 5,002 ตัว และสนับสนุนพืชอาหารสัตว์ 32,300 กิโลกรัม แร่ธาตุและเวชภัณฑ์ 917 ซอง
ผลกระทบด้านชลประทาน
1. อ่างเก็บน้ำขนาดเล็กที่ได้รับความเสียหายจากสถานการณ์อุทกภัย ดังนี้อ่างห้วยน้ำแรม ต.เด่นชัย จ.แพร่ ความจุ 0.3 ล้าน ลบ.ม. เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 49 น้ำล้นสันทำนบกัดเซาะด้านท้าย ลึก 0.20-0.30 ม. ปัจจุบันได้ทำการระบายมีน้ำเหลืออยู่ในอ่าง 0.20 ล้าน ลบ.ม.
2. อ่างเก็บน้ำชะลาดระฆัง ต.โป่งแดง อ.เมือง จ.ตาก ความจุอ่าง 0.945 ล้าน ลบ.ม. (โครงการขนาดเล็ก) ทำนบดินสูง 14.50 ม. ยาว 550 ม. ความจุ 0.9 ล้าน ลบ.ม. ในวันที่ 23 พ.ค. 49 มีน้ำลอดใต้ทำนบดิน 3 แห่ง กว้างประมาณ 3.00-4.00 ม. ระดับน้ำลดลงอย่างรวดเร็ว และทำนบดินได้ทรุดตัว ปริมาณน้ำในอ่างได้ไหลลงลำน้ำเดิมไม่ก่อให้เกิดผลเสียหายทางด้านท้ายอ่าง โครงการชลประทานตากได้แจ้ง อบต.โป่งแดงและนายอำเภอเมืองตากทราบ(จุดที่ตั้งอ่างห่างจากหมู่บ้านประมาณ 6 กม.)
3. อ่างเก็บน้ำแม่มอก อ.เถิน จ.ลำปาง มีน้ำไหลเข้าเต็มอ่าง และทำให้เกิดน้ำล้นทางระบายน้ำล้น ในวันที่ 25 พ.ค. 49 ระดับน้ำล้นทางระบายน้ำล้น สูง 0.70 ม. ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมทางด้านท้ายอ่าง ในเขตพื้นที่ อ.ทุ่งเสลี่ยม อ.สวรรคโลก อ.ศรีสำโรง และอ.เมือง บางส่วน
ผลกระทบด้านการเกษตร
พื้นที่การเกษตรประสบภัย ระหว่างวันที่ 18-28 พฤษภาคม 2549
- ด้านพืช 7 จังหวัด เกษตรกร 36,230 ราย พื้นที่การเกษตรประสบภัย 463,977.50 ไร่ คาดว่าจะเสียหาย 407,029.50 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 245,728 ไร่ พืชไร่ 85,022 ไร่ พืชผัก 4,552.50 ไร่ ไม้ผลไม้ยืนต้น 71,727 ไร่
- ด้านปศุสัตว์ 4 จังหวัด เกษตรกร 30,469 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 1,040,522 ตัว แยกเป็น โค-กระบือ 93,178 ตัว สุกร 36,937 ตัว แพะ 929 ตัว แกะ 40 ตัว เป็ด 6,828 ตัว และไก่ 902,610 ตัว
- ด้านประมง 5 จังหวัด เกษตรกร 2,183 ราย ความเสียหาย 2,790 บ่อ คิดเป็นพื้นที่ 2,330 ไร่ กระชังเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 530 กระชัง คิดเป็นพื้นที่ 7,950 ตารางเมตร
สถานการณ์น้ำท่วม
จังหวัดสุโขทัย ปัจจุบันมีพื้นที่ประสบภัย 3 อำเภอ ได้แก่
อำเภอสวรรคโลก น้ำได้เอ่อล้นเข้าท่วมทุกตำบล รวม 13 ตำบล น้ำท่วมสูงประมาณ 0.20 เมตร
อำเภอศรีสำโรง ในเขตตำบลวังใหญ่ และตำบลวังเกาะ น้ำท่วมสูงประมาณ 0.20 เมตร
อำเภอเมือง น้ำท่วมที่ลุ่มการเกษตร 8 ตำบล น้ำท่วมสูงประมาณ 0.50 เมตร สำหรับในเขตเทศบาลเมืองสุโขทัยยังไม่มีน้ำท่วมขัง
จังหวัดตาก ปัจจุบันมีพื้นที่ประสบภัย 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสามเงา และบ้านตาก ปริมาณน้ำในแม่น้ำวังจากจังหวัดลำปางได้ไหลลงมาสู่จังหวัดตาก ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำวังบริเวณจังหวัดตากสูงขึ้นและเอ่อล้นตลิ่ง น้ำท่วมสูงประมาณ 0.20 เมตร ปัจจุบัน(29 พ.ค. 49) ปริมาณน้ำในลำน้ำวังเริ่มลดลงแล้ว หากไม่มีฝนตกเพิ่มคาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 1-2 วัน
สถานการณ์น้ำท่า
ตามพยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาวันที่ 29 พฤษภาคม 2549 คาดว่าจะมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งกรมชลประทานให้เฝ้าระวัง และแจ้งเตือนปริมาณน้ำในลุ่มน้ำซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาก ดังนี้
ลุ่มน้ำ อำเภอ จังหวัด
น่าน บางมูลนาก พิจิตร
ชุมแสง นครสวรรค์
ยม ศรีสำโรง เมือง สุโขทัย
บางระกำ พิษณุโลก
ปิง บรรพตพิสัย นครสวรรค์
แม่กลอง เมือง กาญจนบุรี
ภาคใต้ฝั่งตะวันออก พะโต๊ะ ชุมพร
ตาปี พระแสง สุราษฎร์ธานี
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสำรวจความเสียหาย และให้ความช่วยเหลือในระยะฉุกเฉินตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ รวมถึงดำเนินการจัดทำแผนฟื้นฟูอาชีพการเกษตร และจัดทำโครงการฟื้นฟูพื้นที่การเกษตร เพื่อให้สามารถดำเนินการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรภายหลังน้ำลดได้ทันที
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 30 พฤษภาคม 2549--จบ--