คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงสาธารณสุขรายงานสถานการณ์โรคไข้หวัดนกในคน ดังนี้
1. ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่หรือปอดบวมอยู่ในข่ายเฝ้าระวัง คือ
1.1 วันที่ 1 มกราคม — 8 ธันวาคม 2548 มีผู้อยู่ในข่ายเฝ้าระวังโรครวม 2,792 ราย จาก 76 จังหวัด
1.2 วันที่ 8 ธันวาคม 2548 มีรายงานผู้ป่วยอยู่ในข่ายเฝ้าระวังโรค 17 รายจากจังหวัดสุพรรณบุรี 3 ราย จังหวัดฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สงขลา จังหวัดละ 2 ราย กรุงเทพมหานคร พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครนายก เชียงใหม่ สุโขทัย และกาญจนบุรี จังหวัดละ 1 ราย
1.3 พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อไข้หวัดนกรายใหม่เพิ่มอีก 1 ราย เป็นผู้ป่วยเด็กชายอายุ 5 ปี อาศัยอยู่ในตำบลบึงศาล จังหวัดนครนายก เริ่มมีอาการไข้สูง ปวดท้อง อาเจียนเมื่อประมาณวันที่ 25 พฤศจิกายน 2548 ไปรับการรักษาที่คลินิกเอกชนที่หนึ่งเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2548 อาการไม่ดีขึ้น และเปลี่ยนไปรักษาที่คลินิกเอกชนที่สองตั้งแต่วันที่ 1 — 3 ธันวาคม 2548 ด้วยอาการมีไข้สูง 39 — 40 องศา ติดต่อเป็นเวลาสามวัน แพทย์วินิจฉัยว่า คออักเสบ ได้รับการรักษาด้วยการฉีดยาและให้น้ำเกลือ อาการดีขึ้นเล็กน้อยแต่ทรุดลงในวันที่ 5 ธันวาคม 2548 มารดาจึงนำไปรักษาที่ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพฯ อำเภอองครักษ์ (สังกัดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) แพทย์ได้ฉายรังสีปอด พบว่ามีปอดอักเสบ (Patchy infiltration) ที่ปอดข้างขวากลาง ได้รับไว้รักษา แต่ญาติไม่ได้แจ้งประวัติว่ามีไก่ตายภายในบริเวณบ้าน แพทย์จึงให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ผู้ป่วยมีอาการหอบมากขึ้น และเช้าวันที่ 7 ธันวาคม 2548 จากการฉายภาพรังสีปอด พบมีการอักเสบทั้งสองข้าง ระบบหายใจล้มเหลว ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจและได้ประวัติเพิ่มเติมว่า มีไก่ตายในบ้าน แพทย์จึงสงสัยว่า อาจป่วยเป็นโรคไข้หวัดนกจึงได้ให้ยาต้านไวรัสเมื่อเวลา 05.00 น. แต่ผู้ป่วยได้เสียชีวิตในเวลา 15.38 น. ของวันเดียวกันนั้น
จากการสอบสวนโรคพบว่า ผู้ป่วยรายนี้น่าจะได้เชื้อไข้หวัดนกจากการสัมผัสมูลไก่ที่ปนเปื้อนในโรงเลี้ยงไก่ การที่ญาติไม่แจ้งข้อมูลเรื่องไก่ตาย และเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของรัฐช้า ทำให้การรักษาพยาบาลด้วยยาต้านไวรัสไม่สามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยได้
ต่อมาผู้ว่าราชการจังหวัด นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดและปศุสัตว์จังหวัดได้ประชุมหารือร่วมกัน ได้สั่งการให้ทำลายไก่จำนวนประมาณ 1,800 ตัว ในสามหมู่บ้านที่ใกล้เคียงกับตำบลที่ผู้ป่วยอาศัย และจัดเจ้าหน้าที่ให้การศึกษาแก่ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว ให้มีความเข้าใจการเฝ้าระวังโรคทั้งในสัตว์และคนเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งได้มีหนังสือขอความร่วมมือคลินิกเอกชนทุกแห่งเฝ้าระวังผู้ป่วยโรคไข้หวัดนก โดยให้ส่งต่อผู้ป่วยไปโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขโดยเร็วที่สุดกรณีหากพบผู้ป่วยที่มีอาการไข้สูงมากกว่า 38 องศาเซลเซียส มีอาการไอหรือเจ็บคอ หรือหอบ หายใจลำบาก หรือปวดกล้ามเนื้อร่วมกับมีประวัติ 1 ใน 3 ของ (1) อาศัยอยู่ในบ้านหรือหมู่บ้านที่มีสัตว์ปีกป่วยตายภายใน 14 วัน (2) สัมผัสอุจจาระหรือตัวสัตว์ปีกที่ตายในรอบ 7 วัน ก่อนป่วย (3) สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยปอดบวมรายอื่นในรอบวัน 10 วัน ก่อนป่วย
สำหรับการติดตามอาการผู้สัมผัสใกล้ชิดในชุมชนรวม 14 คน ขณะนี้ทุกคนมีสุขภาพปกติ และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดได้จัดเจ้าหน้าที่ตรวจสุขภาพทุกวันพร้อมทั้งให้ยาต้านไวรัสวันละ 1 เม็ดติดต่อกัน 10 วัน รวมทั้งได้ดำเนินการติดตามอาการของเจ้าหน้าที่ทุกระดับในโรงพยาบาลที่สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยอีกจำนวน 23 คน
2. วันที่ 1 มกราคม — 8 ธันวาคม 2548 มีผู้ป่วยเป็นโรคไข้หวัดนกในคน รวม 5 ราย คือ
2.1 เสียชีวิต จำนวน 2 ราย คือเพศชาย มีอาชีพรับจ้าง อาศัยอยู่ในอำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี และเป็นเด็กชาย อายุ 5 ปี ที่จังหวัดนครนายก
2.2 ได้รับการรักษาหาย จำนวน 3 ราย
3. ความก้าวหน้าของการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนก
3.1 ในวันที่ 2 ธันวาคม 2548 กระทรวงสาธารณสุขโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายพินิจ จารุสมบัติ) เป็นประธานได้ประชุมร่วมกับผู้บริหารกระทรวงได้พิจารณาเรื่อง ความก้าวหน้าในการเตรียมพร้อมด้านวัคซีนโรคไข้หวัดนกและโรคไข้หวัดใหญ่ สรุปดังนี้
- แนวโน้มการเกิดระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งมีการคาดการณ์ว่ามีโอกาสที่จะเกิดขึ้นสูง และการป้องกันและควบคุมโรคที่สามารถดำเนินการได้ในเบื้องต้น คือยาต้านไวรัส และใช้มาตรการด้านสาธารณสุข เช่น การกำจัดการเดินทาง และการป้องกันควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพสูงสุด คือ การใช้วัคซีนป้องกันโรค
- กระทรวงสาธารณสุขได้แต่งตั้งคณะทำงานเตรียมความพร้อมด้านวัคซีน โดยอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นประธานเรียบร้อยแล้ว
- การเตรียมความพร้อมด้านวัคซีน ซึ่งแบ่งเป็น 3 ระดับ
1. การวิจัยและพัฒนาในห้องปฏิบัติการ (Laboratory — Scale R & D) ซึ่งขณะนี้กำลังดำเนินการพัฒนากระบวนการผลิตและควบคุมคุณภาพวัคซีนทั้งที่ผลิตไข่ไก่ฟักและการผลิตเซลล์เพื่อใช้ในโรงงานวัคซีนกึ่งอุตสาหกรรม
2. ระดับการผลิตกึ่งอุตสาหกรรม (Pilot Production Scale) ซึ่งขณะนี้ได้มีการว่าจ้างหน่วยงานของประเทศญี่ปุ่นสำหรับผลิตวัคซีนไข้หวัดนก H5N1 สำหรับการทดลองในคนและสำรองในภาวะฉุกเฉิน ซึ่งกำลังเจรจากับต่างประเทศเพื่อความร่วมมือในการทดลองวัคซีนทางคลินิก รวมทั้งการเจรจาเงื่อนไขในการ่วมทุนสร้างโรงงาน การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กำลังดำเนินการจัดตั้งโรงงานวัคซีนระดับกึ่งอุตสาหกรรมโดยใช้วัคซีนไข้หวัดนกเป็นตัวตั้งต้น และด้วยเหตุผลเพื่อความมั่นคงในการเตรียมความพร้อมรับการระบาดของโรคได้มีการมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบจัดทำแผนการพัฒนาให้ชัดเจน มีกิจกรรมกลุ่มเป้าหมายค่าใช้จ่ายต่อหน่วย และผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
3. ระดับการผลิตอุตสาหกรรม (Industrial Scale Production) ในการเตรียมการแก้ปัญหาในระยะสั้น ได้เตรียมการนำ Bulk Vaccine ที่ผลิตในต่างประเทศมาบรรจุในประเทศไทย เพื่อสนับสนุนให้ประเทศไทยสามารถพึ่งตนเองได้ สำหรับในระยะยาวหากมีโรงงานผลิตวัคซีนได้แล้ว มอบให้กรมควบคุมโรคพัฒนาแผนการให้วัคซีนในกลุ่มเสี่ยง ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ บนแนวคิดประเทศไทยต้องพึ่งตนเองได้ และสามารถผลิตยาตัวอื่นได้ด้วย
3.2 สืบเนื่องจากมีผู้ป่วยเสียชีวิตเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2548 กระทรวงสาธารณสุขได้มีหนังสือสั่งการแจ้งสถานบริการพยาบาลทุกแห่ง ทั้งภาครัฐและเอกชน (รวมทั้งคลินิก) ให้เข้มงวดการซักประวัติผู้ป่วยทุกรายที่เข้ามารับการรักษาพยาบาลด้วยอาการไข้ และมีปัญหาทางด้านระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตพื้นที่เสี่ยง หรือมีที่อยู่อาศัยอยู่ในชุมชนที่มีการเลี้ยงสัตว์ปีก เช่น ไก่ เป็ดไล่ทุ่ง เป็นต้น หากสงสัยผู้ป่วยปิดบังหรือไม่แจ้งประวัติที่ชัดเจน ให้เฝ้าระวังเป็นกรณีพิเศษเพื่อจะได้ให้การรักษาพยาบาลได้อย่างทันท่วงที
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 13 ธันวาคม 2548--จบ--
1. ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่หรือปอดบวมอยู่ในข่ายเฝ้าระวัง คือ
1.1 วันที่ 1 มกราคม — 8 ธันวาคม 2548 มีผู้อยู่ในข่ายเฝ้าระวังโรครวม 2,792 ราย จาก 76 จังหวัด
1.2 วันที่ 8 ธันวาคม 2548 มีรายงานผู้ป่วยอยู่ในข่ายเฝ้าระวังโรค 17 รายจากจังหวัดสุพรรณบุรี 3 ราย จังหวัดฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สงขลา จังหวัดละ 2 ราย กรุงเทพมหานคร พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครนายก เชียงใหม่ สุโขทัย และกาญจนบุรี จังหวัดละ 1 ราย
1.3 พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อไข้หวัดนกรายใหม่เพิ่มอีก 1 ราย เป็นผู้ป่วยเด็กชายอายุ 5 ปี อาศัยอยู่ในตำบลบึงศาล จังหวัดนครนายก เริ่มมีอาการไข้สูง ปวดท้อง อาเจียนเมื่อประมาณวันที่ 25 พฤศจิกายน 2548 ไปรับการรักษาที่คลินิกเอกชนที่หนึ่งเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2548 อาการไม่ดีขึ้น และเปลี่ยนไปรักษาที่คลินิกเอกชนที่สองตั้งแต่วันที่ 1 — 3 ธันวาคม 2548 ด้วยอาการมีไข้สูง 39 — 40 องศา ติดต่อเป็นเวลาสามวัน แพทย์วินิจฉัยว่า คออักเสบ ได้รับการรักษาด้วยการฉีดยาและให้น้ำเกลือ อาการดีขึ้นเล็กน้อยแต่ทรุดลงในวันที่ 5 ธันวาคม 2548 มารดาจึงนำไปรักษาที่ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพฯ อำเภอองครักษ์ (สังกัดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) แพทย์ได้ฉายรังสีปอด พบว่ามีปอดอักเสบ (Patchy infiltration) ที่ปอดข้างขวากลาง ได้รับไว้รักษา แต่ญาติไม่ได้แจ้งประวัติว่ามีไก่ตายภายในบริเวณบ้าน แพทย์จึงให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ผู้ป่วยมีอาการหอบมากขึ้น และเช้าวันที่ 7 ธันวาคม 2548 จากการฉายภาพรังสีปอด พบมีการอักเสบทั้งสองข้าง ระบบหายใจล้มเหลว ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจและได้ประวัติเพิ่มเติมว่า มีไก่ตายในบ้าน แพทย์จึงสงสัยว่า อาจป่วยเป็นโรคไข้หวัดนกจึงได้ให้ยาต้านไวรัสเมื่อเวลา 05.00 น. แต่ผู้ป่วยได้เสียชีวิตในเวลา 15.38 น. ของวันเดียวกันนั้น
จากการสอบสวนโรคพบว่า ผู้ป่วยรายนี้น่าจะได้เชื้อไข้หวัดนกจากการสัมผัสมูลไก่ที่ปนเปื้อนในโรงเลี้ยงไก่ การที่ญาติไม่แจ้งข้อมูลเรื่องไก่ตาย และเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของรัฐช้า ทำให้การรักษาพยาบาลด้วยยาต้านไวรัสไม่สามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยได้
ต่อมาผู้ว่าราชการจังหวัด นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดและปศุสัตว์จังหวัดได้ประชุมหารือร่วมกัน ได้สั่งการให้ทำลายไก่จำนวนประมาณ 1,800 ตัว ในสามหมู่บ้านที่ใกล้เคียงกับตำบลที่ผู้ป่วยอาศัย และจัดเจ้าหน้าที่ให้การศึกษาแก่ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว ให้มีความเข้าใจการเฝ้าระวังโรคทั้งในสัตว์และคนเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งได้มีหนังสือขอความร่วมมือคลินิกเอกชนทุกแห่งเฝ้าระวังผู้ป่วยโรคไข้หวัดนก โดยให้ส่งต่อผู้ป่วยไปโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขโดยเร็วที่สุดกรณีหากพบผู้ป่วยที่มีอาการไข้สูงมากกว่า 38 องศาเซลเซียส มีอาการไอหรือเจ็บคอ หรือหอบ หายใจลำบาก หรือปวดกล้ามเนื้อร่วมกับมีประวัติ 1 ใน 3 ของ (1) อาศัยอยู่ในบ้านหรือหมู่บ้านที่มีสัตว์ปีกป่วยตายภายใน 14 วัน (2) สัมผัสอุจจาระหรือตัวสัตว์ปีกที่ตายในรอบ 7 วัน ก่อนป่วย (3) สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยปอดบวมรายอื่นในรอบวัน 10 วัน ก่อนป่วย
สำหรับการติดตามอาการผู้สัมผัสใกล้ชิดในชุมชนรวม 14 คน ขณะนี้ทุกคนมีสุขภาพปกติ และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดได้จัดเจ้าหน้าที่ตรวจสุขภาพทุกวันพร้อมทั้งให้ยาต้านไวรัสวันละ 1 เม็ดติดต่อกัน 10 วัน รวมทั้งได้ดำเนินการติดตามอาการของเจ้าหน้าที่ทุกระดับในโรงพยาบาลที่สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยอีกจำนวน 23 คน
2. วันที่ 1 มกราคม — 8 ธันวาคม 2548 มีผู้ป่วยเป็นโรคไข้หวัดนกในคน รวม 5 ราย คือ
2.1 เสียชีวิต จำนวน 2 ราย คือเพศชาย มีอาชีพรับจ้าง อาศัยอยู่ในอำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี และเป็นเด็กชาย อายุ 5 ปี ที่จังหวัดนครนายก
2.2 ได้รับการรักษาหาย จำนวน 3 ราย
3. ความก้าวหน้าของการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนก
3.1 ในวันที่ 2 ธันวาคม 2548 กระทรวงสาธารณสุขโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายพินิจ จารุสมบัติ) เป็นประธานได้ประชุมร่วมกับผู้บริหารกระทรวงได้พิจารณาเรื่อง ความก้าวหน้าในการเตรียมพร้อมด้านวัคซีนโรคไข้หวัดนกและโรคไข้หวัดใหญ่ สรุปดังนี้
- แนวโน้มการเกิดระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งมีการคาดการณ์ว่ามีโอกาสที่จะเกิดขึ้นสูง และการป้องกันและควบคุมโรคที่สามารถดำเนินการได้ในเบื้องต้น คือยาต้านไวรัส และใช้มาตรการด้านสาธารณสุข เช่น การกำจัดการเดินทาง และการป้องกันควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพสูงสุด คือ การใช้วัคซีนป้องกันโรค
- กระทรวงสาธารณสุขได้แต่งตั้งคณะทำงานเตรียมความพร้อมด้านวัคซีน โดยอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นประธานเรียบร้อยแล้ว
- การเตรียมความพร้อมด้านวัคซีน ซึ่งแบ่งเป็น 3 ระดับ
1. การวิจัยและพัฒนาในห้องปฏิบัติการ (Laboratory — Scale R & D) ซึ่งขณะนี้กำลังดำเนินการพัฒนากระบวนการผลิตและควบคุมคุณภาพวัคซีนทั้งที่ผลิตไข่ไก่ฟักและการผลิตเซลล์เพื่อใช้ในโรงงานวัคซีนกึ่งอุตสาหกรรม
2. ระดับการผลิตกึ่งอุตสาหกรรม (Pilot Production Scale) ซึ่งขณะนี้ได้มีการว่าจ้างหน่วยงานของประเทศญี่ปุ่นสำหรับผลิตวัคซีนไข้หวัดนก H5N1 สำหรับการทดลองในคนและสำรองในภาวะฉุกเฉิน ซึ่งกำลังเจรจากับต่างประเทศเพื่อความร่วมมือในการทดลองวัคซีนทางคลินิก รวมทั้งการเจรจาเงื่อนไขในการ่วมทุนสร้างโรงงาน การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กำลังดำเนินการจัดตั้งโรงงานวัคซีนระดับกึ่งอุตสาหกรรมโดยใช้วัคซีนไข้หวัดนกเป็นตัวตั้งต้น และด้วยเหตุผลเพื่อความมั่นคงในการเตรียมความพร้อมรับการระบาดของโรคได้มีการมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบจัดทำแผนการพัฒนาให้ชัดเจน มีกิจกรรมกลุ่มเป้าหมายค่าใช้จ่ายต่อหน่วย และผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
3. ระดับการผลิตอุตสาหกรรม (Industrial Scale Production) ในการเตรียมการแก้ปัญหาในระยะสั้น ได้เตรียมการนำ Bulk Vaccine ที่ผลิตในต่างประเทศมาบรรจุในประเทศไทย เพื่อสนับสนุนให้ประเทศไทยสามารถพึ่งตนเองได้ สำหรับในระยะยาวหากมีโรงงานผลิตวัคซีนได้แล้ว มอบให้กรมควบคุมโรคพัฒนาแผนการให้วัคซีนในกลุ่มเสี่ยง ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ บนแนวคิดประเทศไทยต้องพึ่งตนเองได้ และสามารถผลิตยาตัวอื่นได้ด้วย
3.2 สืบเนื่องจากมีผู้ป่วยเสียชีวิตเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2548 กระทรวงสาธารณสุขได้มีหนังสือสั่งการแจ้งสถานบริการพยาบาลทุกแห่ง ทั้งภาครัฐและเอกชน (รวมทั้งคลินิก) ให้เข้มงวดการซักประวัติผู้ป่วยทุกรายที่เข้ามารับการรักษาพยาบาลด้วยอาการไข้ และมีปัญหาทางด้านระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตพื้นที่เสี่ยง หรือมีที่อยู่อาศัยอยู่ในชุมชนที่มีการเลี้ยงสัตว์ปีก เช่น ไก่ เป็ดไล่ทุ่ง เป็นต้น หากสงสัยผู้ป่วยปิดบังหรือไม่แจ้งประวัติที่ชัดเจน ให้เฝ้าระวังเป็นกรณีพิเศษเพื่อจะได้ให้การรักษาพยาบาลได้อย่างทันท่วงที
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 13 ธันวาคม 2548--จบ--