คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และมอบหมายกระทรวงมหาดไทยเร่งรัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ให้ดำเนินงานตามโครงการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค รวมทั้งมอบหมายให้สำนักงบประมาณพิจารณาเร่งรัดจัดสรรงบประมาณให้แก่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามโครงการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคเพื่อที่จะได้โอนงบประมาณให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับความเห็นชอบโครงการจากคณะกรรมการอำนวยการโครงการจัดหาแหล่งน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคทั่วประเทศแล้วต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) รายงานว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2538 และ วันที่ 6 กันยายน 2548 ได้ดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำจัดหาน้ำอุปโภคบริโภคภายใต้ชื่อ “โครงการน้ำกินน้ำใช้ทั่วไทย” เพื่อให้การจัดหาน้ำอุปโภคบริโภคและเร่งดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายและมติคณะรัฐมนตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรมโดย เร่งด่วน มีการสร้างรูปแบบใหม่ในการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างมีดุลยภาพ ในเรื่องที่เป็น การแก้ไขปัญหาเร่งด่วนและเป็นความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการแก้ปัญหาขาดแลนน้ำอุปโภคบริโภคทุกขั้นตอนและเป็นการเพิ่มศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สามารถรองรับภารกิจถ่ายโอนในเรื่องอื่น ๆ ต่อไป และยังมีการปรับเปลี่ยนบทบาทหน่วยงานส่วนกลาง (กรมทรัพยากรน้ำและกรมทรัพยากรน้ำบาดาล) ที่รับผิดชอบในการแก้ปัญหาน้ำอุปโภคบริโภคจากการดำเนินการเอง เป็นหน่วยงานสนับสนุน กำกับแผนแม่บทและกำกับดูแลการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สอดคล้อง กับนโยบายการถ่ายโอนภารกิจโดยมีรายละเอียดการดำเนินงานดังนี้
1. แผนการดำเนินงาน แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 (ระหว่าง 1 ต.ค. 2548 —31 พ.ค. 2549) จังหวัดที่มีศักยภาพและความพร้อมในการปรับปรุงและก่อสร้างประปา เป็นจังหวัดที่ขาดแคลนน้ำมาก แต่สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว 14 จังหวัด ได้แก่ พิจิตร สุโขทัย สิงห์บุรี อ่างทอง สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ตราด ขอนแก่น นครพนม มุกดาหาร หนองบัวลำภู ระนอง ภูเก็ต และพัทลุง และจังหวัดใหญ่ที่มีปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค 2 จังหวัดใหญ่ ได้แก่ เชียงใหม่ และนครราชสีมา
ระยะที่ 2 ก่อสร้างและปรับปรุง ซ่อมแซม ระบบประปาหมู่บ้านในส่วนที่เหลือให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ภายในปี พ.ศ. 2551
ระยะที่ 3 พัฒนาแหล่งน้ำดิบ เพื่อความมั่นคงของระบบประปาหมู่บ้านที่มีอยู่ทั้งหมดให้สามารถเป็นแหล่งน้ำดิบเพื่อนำมาใช้ในระบบประปาต่อไป
2. ขั้นตอนการดำเนินงาน
งบประมาณที่ใช้ดำเนินการตามแผนการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค ระยะที่ 1 (ตุลาคม 2548-พฤษภาคม 2549) จำนวน 4,977 หมู่บ้าน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 9,437,310,036 บาท
3. แผนการบริหารจัดการ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้อำนวยการโดยแต่งตั้ง “คณะกรรมการอำนวยการโครงการจัดหาแหล่งน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคทั่วประเทศ” เพื่อกำกับดูแลให้เป็นไปตามหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้ รวมทั้งวิเคราะห์หาแนวทางและมาตรการในการจัดหาและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างมีประสิทธิภาพทั่วถึงทุกภูมิภาคของประเทศ ให้เกิดบูรณาการทั้ง 3 ระยะของโครงการ
3.1 จัดสรรงบประมาณให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นค่าปรับปรุงซ่อมแซมก่อสร้างระบบประปา จำนวน 9,348,420,036 บาท โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ และจัดสรรงบประมาณ ค่าบริหารจัดการโครงการให้กรมทรัพยากรน้ำเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ และจัดสรรงบประมาณค่าบริหารจัดการโครการให้กรมทรัพยากรน้ำเป็นผู้ออกแบบ ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมและติดตามประเมินผลจำนวน 88,890,000 บาท รวมเป็นเงิน ทั้งสิ้น 9,437,310,036 บาท
3.2 โอนเงินส่วนที่จัดสรรให้ อปท. รับผิดชอบดำเนินการโดยผ่านระบบธนาคารเช่นเดียวกับโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง และโครงการงบพัฒนาหมู่บ้านและชุมชน (SML) ให้ อปท. เปิดบัญชีและเบิกจ่ายตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการอำนวยการกำกับและติดตามผลกำหนดไว้
3.3 ทส. ร่วมกับ อปท. และตัวแทนชุมชน จัดทำข้อตกลงเรื่องแบบก่อสร้างและปรับปรุงระบบปะปาหมู่บ้าน โดยให้มีคณะกรรมการตรวจสอบรายละเอียดทางด้านเทคนิคเพื่อให้ความเห็นชอบโครงการ ก่อนที่จะโอนเงินส่วนที่จะจัดสรรเป็นค่าก่อสร้างและค่าปรับปรุงระบบประปาหมุ่บ้านให้แก่ อปท.
3.4 ให้ อปท. ร่วมกับตัวแทนชุมชนดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง ในงานที่ท้องถิ่นสามารถดำเนินการได้เอง สำหรับงานที่ต้องใช้เทคนิควิชาการระดับสูง เช่น การขุดเจาะบ่อบาดาลที่มีความลึกมาก การทดสอบปริมาณและคุณภาพน้ำ เป็นต้น ให้สามารถเลือกใช้บริการจากรมทรัพยากรน้ำและกรมทรัพยากรน้ำบาดาล
4. การปรับแผนการดำเนินงานและงบประมาณ
จากการดำเนินการของกระทรวงฯ ที่ได้ร่วมกับประชาชนในหมู่บ้านและ อปท. ในการพิจารณาความเหมาะสมโครงการต่าง ๆ ปรากฏว่า มีหมู่บ้านที่มีปัญหาที่ต้องก่อสร้าง/ปรับปรุงระบบประปามากกว่าแผนงานเดิม ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับแผนงานเดิมที่วางไว้สอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริงในพื้นที่กระทรวงฯ จึงได้ปรับแผนงานที่ได้ดำเนินงานใน 4,977 หมู่บ้านเป็นดำเนินงานใน 5,436 หมู่บ้าน (เพิ่มขึ้น 459 หมู่บ้าน) ทั้งนี้ โดยใช้วงเงินงบประมาณเท่าเดิมตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี จำนวน 9,437,310,036 บาท
5. ผลการดำเนินการของโครงการ ฯ ระยะที่ 1 ใน 16 จังหวัดนำร่อง
5.1 งบดำเนินการ จำนวน 88,890,000 บาท ได้จัดสรรให้กรมทรัพยากรน้ำเป็นค่าใช้จ่ายใน การออกแบบ ฝึกอบรมและติดตามประเมินผลไปเรียบร้อยแล้ว
5.2 งบประมาณที่ใช้ในการก่อสร้าง/ปรับปรุงระบบประปา จำนวน 9,348,420,036 บาท มีผลการดำเนินงานดังนี้
5.2.1 ทส. โดยคณะกรรมการอำนวยการจัดหาแหล่งน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคทั่วประเทศ ได้อนุมัติโครงการฯ ไปให้ อปท. แล้ว จำนวน 5,431 หมู่บ้าน งบประมาณรวมทั้งสิ้น 9,345,833,949 บาท
5.2.2 ทส. ได้อนุมัติให้โอนเงินให้กับ อปท. แล้ว จำนวน 3,254 โครงการ เป็นเงินงบประมาณ 3,061,369,949 บาท
5.2.3 ทส. ได้ทำเรื่องขอตกลงรายละเอียดกับสำนักงบประมาณเกี่ยวกับโครงการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค จากงบประมาณ 9,437,310,036 บาท ที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหลักการไปแล้ว เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2548 เพื่อให้ ทส. ดำเนินการก่อสร้าง/ปรับปรุงระบบประปา จำนวน 4,977 หมู่บ้าน แต่เพื่อให้ สอดคล้องกับข้อเท็จจริง ทส. จึงได้ขออนุมัติปรับเปลี่ยนเป้าหมายการดำเนินการจากเดิม 4,977 หมู่บ้าน เป็น 5,436 หมู่บ้าน ภายในวงเงินที่ได้รับอนุมัติหลักการจากคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการโครงการ ฯ ต่อไป ทั้งนี้ ทส. สามารถโอนจัดสรรงบประมาณให้กับหมู่บ้านต่าง ๆ ได้ทันทีเมื่อได้รับงบประมาณ
5.2.4 ปัจจุบันได้มีโครงการ/งบประมาณที่จังหวัดได้ส่งคำขอมาให้ ทส. เพิ่มเติม จำนวน 232 โครงการ ซึ่งคณะกรรมการอำนวยการ ฯ จะได้ดำเนินการพิจารณาอนุมัติภายในวงเงินงบประมาณ 9,437,310,036 บาท ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 21 มีนาคม 2549--จบ--
ทั้งนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) รายงานว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2538 และ วันที่ 6 กันยายน 2548 ได้ดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำจัดหาน้ำอุปโภคบริโภคภายใต้ชื่อ “โครงการน้ำกินน้ำใช้ทั่วไทย” เพื่อให้การจัดหาน้ำอุปโภคบริโภคและเร่งดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายและมติคณะรัฐมนตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรมโดย เร่งด่วน มีการสร้างรูปแบบใหม่ในการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างมีดุลยภาพ ในเรื่องที่เป็น การแก้ไขปัญหาเร่งด่วนและเป็นความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการแก้ปัญหาขาดแลนน้ำอุปโภคบริโภคทุกขั้นตอนและเป็นการเพิ่มศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สามารถรองรับภารกิจถ่ายโอนในเรื่องอื่น ๆ ต่อไป และยังมีการปรับเปลี่ยนบทบาทหน่วยงานส่วนกลาง (กรมทรัพยากรน้ำและกรมทรัพยากรน้ำบาดาล) ที่รับผิดชอบในการแก้ปัญหาน้ำอุปโภคบริโภคจากการดำเนินการเอง เป็นหน่วยงานสนับสนุน กำกับแผนแม่บทและกำกับดูแลการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สอดคล้อง กับนโยบายการถ่ายโอนภารกิจโดยมีรายละเอียดการดำเนินงานดังนี้
1. แผนการดำเนินงาน แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 (ระหว่าง 1 ต.ค. 2548 —31 พ.ค. 2549) จังหวัดที่มีศักยภาพและความพร้อมในการปรับปรุงและก่อสร้างประปา เป็นจังหวัดที่ขาดแคลนน้ำมาก แต่สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว 14 จังหวัด ได้แก่ พิจิตร สุโขทัย สิงห์บุรี อ่างทอง สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ตราด ขอนแก่น นครพนม มุกดาหาร หนองบัวลำภู ระนอง ภูเก็ต และพัทลุง และจังหวัดใหญ่ที่มีปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค 2 จังหวัดใหญ่ ได้แก่ เชียงใหม่ และนครราชสีมา
ระยะที่ 2 ก่อสร้างและปรับปรุง ซ่อมแซม ระบบประปาหมู่บ้านในส่วนที่เหลือให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ภายในปี พ.ศ. 2551
ระยะที่ 3 พัฒนาแหล่งน้ำดิบ เพื่อความมั่นคงของระบบประปาหมู่บ้านที่มีอยู่ทั้งหมดให้สามารถเป็นแหล่งน้ำดิบเพื่อนำมาใช้ในระบบประปาต่อไป
2. ขั้นตอนการดำเนินงาน
งบประมาณที่ใช้ดำเนินการตามแผนการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค ระยะที่ 1 (ตุลาคม 2548-พฤษภาคม 2549) จำนวน 4,977 หมู่บ้าน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 9,437,310,036 บาท
3. แผนการบริหารจัดการ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้อำนวยการโดยแต่งตั้ง “คณะกรรมการอำนวยการโครงการจัดหาแหล่งน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคทั่วประเทศ” เพื่อกำกับดูแลให้เป็นไปตามหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้ รวมทั้งวิเคราะห์หาแนวทางและมาตรการในการจัดหาและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างมีประสิทธิภาพทั่วถึงทุกภูมิภาคของประเทศ ให้เกิดบูรณาการทั้ง 3 ระยะของโครงการ
3.1 จัดสรรงบประมาณให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นค่าปรับปรุงซ่อมแซมก่อสร้างระบบประปา จำนวน 9,348,420,036 บาท โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ และจัดสรรงบประมาณ ค่าบริหารจัดการโครงการให้กรมทรัพยากรน้ำเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ และจัดสรรงบประมาณค่าบริหารจัดการโครการให้กรมทรัพยากรน้ำเป็นผู้ออกแบบ ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมและติดตามประเมินผลจำนวน 88,890,000 บาท รวมเป็นเงิน ทั้งสิ้น 9,437,310,036 บาท
3.2 โอนเงินส่วนที่จัดสรรให้ อปท. รับผิดชอบดำเนินการโดยผ่านระบบธนาคารเช่นเดียวกับโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง และโครงการงบพัฒนาหมู่บ้านและชุมชน (SML) ให้ อปท. เปิดบัญชีและเบิกจ่ายตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการอำนวยการกำกับและติดตามผลกำหนดไว้
3.3 ทส. ร่วมกับ อปท. และตัวแทนชุมชน จัดทำข้อตกลงเรื่องแบบก่อสร้างและปรับปรุงระบบปะปาหมู่บ้าน โดยให้มีคณะกรรมการตรวจสอบรายละเอียดทางด้านเทคนิคเพื่อให้ความเห็นชอบโครงการ ก่อนที่จะโอนเงินส่วนที่จะจัดสรรเป็นค่าก่อสร้างและค่าปรับปรุงระบบประปาหมุ่บ้านให้แก่ อปท.
3.4 ให้ อปท. ร่วมกับตัวแทนชุมชนดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง ในงานที่ท้องถิ่นสามารถดำเนินการได้เอง สำหรับงานที่ต้องใช้เทคนิควิชาการระดับสูง เช่น การขุดเจาะบ่อบาดาลที่มีความลึกมาก การทดสอบปริมาณและคุณภาพน้ำ เป็นต้น ให้สามารถเลือกใช้บริการจากรมทรัพยากรน้ำและกรมทรัพยากรน้ำบาดาล
4. การปรับแผนการดำเนินงานและงบประมาณ
จากการดำเนินการของกระทรวงฯ ที่ได้ร่วมกับประชาชนในหมู่บ้านและ อปท. ในการพิจารณาความเหมาะสมโครงการต่าง ๆ ปรากฏว่า มีหมู่บ้านที่มีปัญหาที่ต้องก่อสร้าง/ปรับปรุงระบบประปามากกว่าแผนงานเดิม ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับแผนงานเดิมที่วางไว้สอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริงในพื้นที่กระทรวงฯ จึงได้ปรับแผนงานที่ได้ดำเนินงานใน 4,977 หมู่บ้านเป็นดำเนินงานใน 5,436 หมู่บ้าน (เพิ่มขึ้น 459 หมู่บ้าน) ทั้งนี้ โดยใช้วงเงินงบประมาณเท่าเดิมตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี จำนวน 9,437,310,036 บาท
5. ผลการดำเนินการของโครงการ ฯ ระยะที่ 1 ใน 16 จังหวัดนำร่อง
5.1 งบดำเนินการ จำนวน 88,890,000 บาท ได้จัดสรรให้กรมทรัพยากรน้ำเป็นค่าใช้จ่ายใน การออกแบบ ฝึกอบรมและติดตามประเมินผลไปเรียบร้อยแล้ว
5.2 งบประมาณที่ใช้ในการก่อสร้าง/ปรับปรุงระบบประปา จำนวน 9,348,420,036 บาท มีผลการดำเนินงานดังนี้
5.2.1 ทส. โดยคณะกรรมการอำนวยการจัดหาแหล่งน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคทั่วประเทศ ได้อนุมัติโครงการฯ ไปให้ อปท. แล้ว จำนวน 5,431 หมู่บ้าน งบประมาณรวมทั้งสิ้น 9,345,833,949 บาท
5.2.2 ทส. ได้อนุมัติให้โอนเงินให้กับ อปท. แล้ว จำนวน 3,254 โครงการ เป็นเงินงบประมาณ 3,061,369,949 บาท
5.2.3 ทส. ได้ทำเรื่องขอตกลงรายละเอียดกับสำนักงบประมาณเกี่ยวกับโครงการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค จากงบประมาณ 9,437,310,036 บาท ที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหลักการไปแล้ว เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2548 เพื่อให้ ทส. ดำเนินการก่อสร้าง/ปรับปรุงระบบประปา จำนวน 4,977 หมู่บ้าน แต่เพื่อให้ สอดคล้องกับข้อเท็จจริง ทส. จึงได้ขออนุมัติปรับเปลี่ยนเป้าหมายการดำเนินการจากเดิม 4,977 หมู่บ้าน เป็น 5,436 หมู่บ้าน ภายในวงเงินที่ได้รับอนุมัติหลักการจากคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการโครงการ ฯ ต่อไป ทั้งนี้ ทส. สามารถโอนจัดสรรงบประมาณให้กับหมู่บ้านต่าง ๆ ได้ทันทีเมื่อได้รับงบประมาณ
5.2.4 ปัจจุบันได้มีโครงการ/งบประมาณที่จังหวัดได้ส่งคำขอมาให้ ทส. เพิ่มเติม จำนวน 232 โครงการ ซึ่งคณะกรรมการอำนวยการ ฯ จะได้ดำเนินการพิจารณาอนุมัติภายในวงเงินงบประมาณ 9,437,310,036 บาท ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 21 มีนาคม 2549--จบ--