แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ทำเนียบรัฐบาล
ตึกสันติไมตรี
นายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีนัดพิเศษ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ดังนี้
ตามที่นายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีนัดพิเศษ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน เมื่อวันเสาร์ที่ 28 มกราคม 2549 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยได้เชิญ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ (ศตจ.) ปลัดกระทรวง อธิบดี เข้าร่วมประชุมด้วย เพื่อรับฟังความคิดเห็นและหาข้อสรุปกรอบแนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจน โดยใช้ อ.อาจสามารถ จ.ร้อยเอ็ด เป็นกรณีศึกษา นั้น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรี นัดพิเศษ ดังกล่าว ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. การแก้ไขปัญหาความยากจน นายกรัฐมนตรีได้มอบแนวทางการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาความ ยากจน ดังนี้
1.1 หลักปฏิบัติที่สำคัญให้ยึด “รักประชาชน” และ “มีความสุขที่ได้ช่วยเหลือคนจน” โดยเปลี่ยนภาระให้เป็นพลัง
1.2 กลไกการทำงาน ให้ ศตจ. เป็นศูนย์ประสานงานกลางหรือข้อต่อเพื่อรวบรวมพลังจากทุกภาคีในส่วนกลางสนับสนุนกระจายลงสู่ระดับพื้นที่ โดยมีนายอำเภอเป็นหัวหน้าทีม ขับเคลื่อนกลไกการแก้ไขปัญหาของทุกส่วนราชการโดยมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาที่ระดับครัวเรือนและชุมชน เน้นแก้เป็นรายครัวเรือน โดยระดมความร่วมมือในการทำงานของส่วนราชการ การเมืองท้องถิ่น ชุมชน และภาคเอกชน เพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาให้กับครัวเรือนที่ยากจนจริง ๆ
1.3 แนวทางการแก้ไขปัญหา ต้องพิจารณามิติต่าง ๆ รอบด้านทั้งเศรษฐกิจและสังคม โดยคำนึงถึงความสมดุลระหว่างอุปสงค์ (ปัญหาของคนจนที่มาจดทะเบียน เช่น ที่ดิน ซึ่งมีทั้งเรื่องที่ดินทำกินและที่ดินสำหรับอยู่อาศัย ปัญหาสุขอนามัยทั้งเจ็บป่วยและพิการ และปัญหาซ้ำซ้อนด้านสังคมและครอบครัว ได้แก่ สถาบันครอบครัว ภาระพึ่งพิงที่คนแก่ต้องเลี้ยงดูลูกหลาน เป็นต้น) กับอุปทานในการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานภาครัฐ (เช่น ด้านอาชีพ ซึ่งอาจดำเนินการในลักษณะการฝึกอาชีพเสริมเติมปัญญาเพื่อยกระดับฝีมือแรงงาน หรืออาจเป็นการสร้างช่องโอกาสในการประกอบอาชีพโดยสนับสนุนแกนนำและเครือข่ายในการพัฒนาฝีมือและถ่ายทอดความรู้ในชุมชน การเติมด้านการตลาด เป็นต้น)
2. ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความยากจน ของศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ (ศตจ.) เน้นแนวทางการดำเนินงานใหม่ดังนี้
2.1 ให้ความสำคัญกับภาคประชาชนให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจ
2.2 เน้นแก้ไขปัญหาในระดับชุมชนมากขึ้น โดยให้ชุมชนทำแผนพัฒนาและเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชนตามเขตการปกครองและภูมินิเวศน์ กล่าวคือสนับสนุนให้ชุมชนร่วมกันจัดทำแผนชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงตามเขตการปกครอง และให้มีโครงการ/แผนชุมชนร่วมกับชุมชนอื่น ๆ ตามภูมินิเวศน์ เช่น โครงการปลูกป่าเทือกเขาภูพานเลี้ยงปลาเผาะใน 6 จังหวัดลุ่มน้ำโขง พัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เป็นต้น
2.3 สนับสนุนให้อำเภอมีความพร้อมเป็นศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาความยากจนและเป็นศูนย์การปกครอง
3. การจัดการศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน จำแนกเป็น 2 มิติ คือ (1) การศึกษาเพื่อแก้ความยากจน ซึ่งการศึกษานำไปสู่การสร้างอาชีพ และ (2) การขาดโอกาสทางการศึกษา ในพื้นที่ห่างไกล โอกาสไม่เท่าเทียมกัน ต้องส่งเสริมให้มีโอกาสเท่าเทียมกันมากขึ้น ซึ่งในการจัดการศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนนั้น กระทรวงศึกษาธิการได้ใช้ครัวเรือน/ชุมชนเป็นฐาน โดยสถานศึกษาจะมีข้อมูลนักเรียนเป็นรายพื้นที่ รายครัวเรือน และรายบุคคล นอกจากนี้ยังส่งเสริมโอกาสการทำงานระหว่างเรียน มีรูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนในพื้นที่พิเศษ และมีการพัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ความยากจนอย่างยั่งยืน สรุปเป็นยุทธศาสตร์การดำเนินงานดังนี้
3.1 ปรับรูปแบบ หลักสูตร วิธีการเพื่อแก้ปัญหาความยากจนและเพื่อดูแลกลุ่มเป้าหมายที่ยากจนเป็นกรณีพิเศษ
3.2 พัฒนาหลักสูตรให้มีความยืดหยุ่น คำนึงถึงปัญหาของกลุ่มเป้าหมายและพื้นที่ สอดคล้องผสมผสานระหว่างสายสามัญและสายอาชีพ รวมทั้งการบูรณาการและปลูกฝังค่านิยมภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3.3 ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาไปสู่อาชีพที่ยั่งยืน เสริมโอกาสเพื่อต่อยอดและเทียบโอนประสบการณ์ไปสู่การเพิ่มวุฒิ
3.4 สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่ยากจน ต้องมีระบบที่จะเข้าถึง ได้รับการส่งเสริมให้มีรายได้ระหว่างเรียน ตลอดจนการดูแลคุณภาพชีวิตควบคู่ไปด้วย และ
3.5 ทำงานเป็นเครือข่ายกับหน่วยงานอื่น เพื่อจัดการศึกษาและแก้ปัญหาความยากจน
4. การแก้ไขปัญหาความยากจน : เส้นทางการพัฒนาสู่ความพอเพียง : กรณีศึกษา อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด
4.1 หลักการแก้ไขปัญหาความยากจน
1) สร้างความสมดุลในการแก้ไขปัญหาทางด้านเศรษฐกิจควบคู่ไปกับด้านสังคม
2) มุ่งการพัฒนาสู่ระดับความพอเพียงในครัวเรือนและชุมชนเป็นลำดับแรก โดยดูอุปสงค์และอุปทานในหมู่บ้านเป็นหลัก
3) ใช้ยุทธวิธีการพัฒนาคู่ขนาน (Dual track) : โดยพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน ชลประทาน กรรมสิทธิ์ที่ดิน เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน คู่ขนานไปกับการพัฒนาฐานความรู้ การพัฒนาอาชีพ การสร้างความมั่นคงด้านอาหาร เพื่อสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก โดยใช้ขบวนการเรียนรู้เป็นเครื่องมือหลัก
4) เน้นการทำงานบนหลักเมตตาธรรม และปรับทัศนคติในการทำงาน ไม่นำกฎ ระเบียบราชการเป็นข้อจำกัด ยึดเป้าหมายคนยากจนเป็นศูนย์กลาง
4.2 การบริหารจัดการ
1) ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ (ศตจ.) ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการเชื่อมโยงขบวนการแก้ไขปัญหาความยากจน โดยเป็นหน่วยงานในการจัดลำดับความสำคัญของโครงการ งบประมาณ และจัดแบ่งระดับความรับผิดชอบระหว่างหน่วยงานในส่วนกลางและหน่วยงานในระดับพื้นที่จังหวัดและอำเภอ
2) อำเภอเป็นจุดบูรณาการของการจัดการแก้ไขปัญหาความยากจน โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้สนับสนุน
4.3 กระบวนการวิเคราะห์ปัญหา เนื่องจากลักษณะของปัญหาความยากจนจะแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ดังนั้นกระบวนการวิเคราะห์ปัญหามีขั้นตอนที่สำคัญในการดำเนินการดังนี้
1) การวิเคราะห์รายบุคคลและครัวเรือน : การวิเคราะห์ปัญหาด้านหนี้สิน รายได้/รายจ่าย โอกาสในการประกอบอาชีพ ภาระด้านสังคมคนพิการ/ผู้สูงอายุ ที่อยู่อาศัย
2) การวิเคราะห์ชุมชน : ปัญหาระดับชุมชน เช่น การรวมกลุ่มประกอบอาชีพ ระบบเครือญาติที่อ่อนแอ ปัญหาอาชญากรรม/ยาเสพติด สถาบันศาสนา ปัญหาวัยรุ่นและเยาวชน รวมทั้งวิเคราะห์บทบาทการดำเนินงาน/ภารกิจของ อบต./อปท.
3) การวิเคราะห์พื้นที่และโครงสร้างพื้นฐาน : น้ำท่วม น้ำแล้ง การชลประทาน ถนน/คมนาคม กรรมสิทธิ์ที่ดิน การศึกษา สาธารณสุข สวัสดิการสังคม
4.4 การแก้ไขปัญหาความยากจน แบ่งเป็น 3 รูปแบบ
1) โครงการด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหลัก : ด้านชลประทาน ด้านการจัดสรรกรรมสิทธิ์ที่ดิน รวมทั้งการบริการขั้นพื้นฐานของรัฐ เช่น ด้านการบริการสาธารณสุข ด้านการศึกษา ซึ่งเป็นลักษณะโครงการขนาดใหญ่ /เกินขอบเขตของจังหวัดที่จะดำเนินการได้ ต้องจัดทำเป็นแผนงาน/โครงการ ขอรับการสนับสนุนจาก ศตจ. และหน่วยงานในส่วนกลาง
2) โครงการพัฒนาและการแก้ไขปัญหาในระดับอำเภอ : เป็นโครงการที่สามารถบูรณาการในระดับที่อำเภอ สามารถดำเนินการได้ด้วยหน่วยงานในระดับอำเภอ ซึ่งจะต้องบูรณาการเครื่องมือต่าง ๆ ทั้งด้านการเงิน เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน SML ด้านการเพิ่มรายได้ เช่น โครงการทางด้านการเกษตร ปศุสัตว์การพัฒนาอาชีพ OTOP และโครงการทางด้านการเพิ่มทักษะอาชีพ หรือ ความรู้ และถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมทั้งโครงการด้านสังคม ในด้านการบริการสาธารณสุข ด้านการสงเคราะห์คนชรา เป็นต้น
3) โครงการในลักษณะภาคีร่วมพัฒนา : ซึ่งเป็นโครงการที่เชื่อมโยงกับ อบต.ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ประปาหมู่บ้าน ถนนในท้องถิ่น รวมทั้งโครงการที่ร่วมกับชุมชน และกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ในชุมชน ตลอดจนโครงการที่หน่วยงานของรัฐร่วมพัฒนากับภาคเอกชน ในการนำอาชีพเข้าสู่ชุมชน และการที่ภาคเอกชนมีบทบาทในการช่วยเหลือพัฒนาสังคม เช่น ที่อยู่อาศัย การสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาส
5. ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ประชุม
5.1 โครงสร้างการทำงาน การแก้ไขปัญหาความยากจนระบบทีมมีความสำคัญมาก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สำคัญที่สุดแต่โครงสร้างการทำงานอยู่ในระดับจังหวัด และทำงานเป็นภาพรวมยังไม่เอื้อต่อการแก้ปัญหาเฉพาะของพื้นที่และการแก้ปัญหาเกษตรกรเป็นรายบุคคลได้ รวมทั้งยังไม่สามารถระดมความร่วมมือจากชุมชนได้ ดังนั้น ศตจ. ต้องเป็นกลไกเชื่อมโยงให้ทำงานเป็นทีมและมีเครือข่ายการทำงานร่วมกัน
5.2 หัวใจสำคัญของการแก้ไขปัญหาความยากจน คือ “การเรียนรู้ร่วมกัน” ทั้งของครอบครัว ชุมชน เครือข่ายภาคี ภาคราชการ ภาคเอกชน โดยอาศัยฐานที่สำคัญ คือ ระบบข้อมูล : ข้อมูลพื้นฐานที่มีอยู่สามารถใช้ร่วมกันได้โดยในระยะยาวควรมาพัฒนาระบบข้อมูลร่วมกัน ความรู้จากการปฏิบัติจริงอย่างเช่นกรณีศึกษาอำเภออาจสามารถควรนำมาจัดการให้เป็นระบบความรู้ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้สะดวก รวมทั้งระบบคุณธรรมความดีที่เป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนา ซึ่งต้องมีระบบการจัดการที่บูรณาการทั้งข้อมูล กระบวนการ เป้าหมาย เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน
5.3 การขยายการจ้างงาน อาจจะทำได้ 2 แนวทาง คือ การขยายการผลิตไปสู่ท้องถิ่นหรือย้ายงานลงไปหาคนในท้องถิ่น กับการอพยพแรงงานไปทำงานในพื้นที่ที่ต้องการแรงงานหรือย้ายคนไปหาแหล่งผลิต ทั้งนี้ควรย้ายไปทั้งครอบครัว นอกจากนี้การส่งเสริมอาชีพในหมู่บ้าน ต้องเน้นทั้งงานด้านการเกษตร งานรับจ้าง และงานธุรกิจบริการ
5.4 การช่วยเหลือคนพิการ ทั้งด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพ การรักษาพยาบาล และการฝึกอาชีพ หน่วยงานต่าง ๆ จะต้องมีระบบการส่งต่อ/เชื่อมประสานการทำงาน เพื่อพัฒนาศักยภาพคนพิการให้อยู่ในสังคมอย่างมีคุณค่า
5.5 ท้องถิ่น (อบต.) พร้อมที่จะร่วมมือกับรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาความยากจน โดย อบต.อุดหนุนงบประมาณเพื่อแก้ปัญหาความยากจน โดยปี 2549 เน้นเรื่องการซ่อมแซมที่อยู่อาศัยให้กับคนจน
5.6 ระบบผู้ตรวจราชการสามารถใช้เป็นกลไกการขับเคลื่อนได้ จึงควรมีการมอบหมายพื้นที่รับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาความยากจนตามภารกิจกระทรวง/หน่วยงานให้ชัดเจน และให้มี focal point ในระดับกระทรวงเพื่อประสานงานซึ่งกันและกัน
6. ข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี
6.1 ให้กระทรวงต่าง ๆ จัดทำแนวทางสนับสนุนการแก้ไขปัญหาความยากจน นำเสนอต่อ พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ (ศตจ.) และหน่วยงานใดต้องการปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจที่รับผิดชอบสามารถนำเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา
6.2 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานให้ทุนสนับสนุนการศึกษา (กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และนายอำเภอ)ให้ความสำคัญกับเด็กในครอบครัวที่ยากจนจริง ๆ โดยเฉพาะครอบครัวที่มีภาระเลี้ยงดูสูง เช่น ครอบครัวยากจนที่มีคนพิการ ผู้สูงอายุ เป็นการแบ่งเบาภาระ พบเด็กวัยเรียนที่ไม่ได้เรียนต้องรับเข้าโรงเรียน เด็กวัยเรียนที่ไม่ได้เรียนเพราะมีภาระการดูแลครอบครัวต้องให้ทุนการศึกษา นอกจากนี้โรงเรียนใดที่มีการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ในโรงเรียน ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้และเป็นแกนกลางในการถ่ายทอดความรู้ได้ให้ประสานกระทรวงเกษตรฯ เพื่อสนับสนุนงบประมาณดำเนินการได้
6.3 มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยจัดทำสมาร์ทการ์ดครัวเรือนยากจน เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลในการให้ความช่วยเหลือ และพิจารณาปรับปรุงระเบียบเพื่อมอบหมายอำนาจให้นายอำเภอสามารถใช้เครื่องมือทุกหน่วยงานเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน
6.4 ให้กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ วิจัยสาเหตุของการพิการและปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เพราะเป็นปัญหาที่ทำให้ศักยภาพของไทยลดลง และคิดค้นเครื่องมือดี ๆ ที่สามารถทำให้คนพิการช่วยตัวเองให้มากที่สุด รวมทั้งปัญหาสังคมอื่น ๆ ที่เกิดจากความพิการ เช่น กรณีหญิงพิการทางสมองซึ่งถูกข่มขืน รวมทั้งให้กระทรวงสาธารณสุขดูแลเรื่องจิตแพทย์และอนามัยในโรงเรียนและชุมชน เช่น สุขาในโรงเรียนและสุขาในชุมชน โดยเป็นการควบคุมคุณภาพ
6.5 ให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรมอาชีพ การเติมปัญญาให้กับคนจน ให้มีการจ่ายเบี้ยเลี้ยงเพื่อชดเชยรายได้ในการหาเลี้ยงครอบครัวระหว่างรับการอบรม รวมทั้งขอให้หน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ ได้รวบรวมองค์ความรู้และการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ ทำเป็น CD แจกนายอำเภอในวันที่มาอบรมและเผยแพร่ไปสู่ประชาชน
6.6 ขอให้กระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมมือกันให้คำแนะนำและส่งเสริมว่า พื้นที่ไหนควรจะทำอะไร รวมทั้งเรื่องการแปรรูปสินค้าเกษตร โดยมองภาพรวมทั้งชุมชน
6.7 มอบกระทรวงการคลังพิจารณาแนวทางการลดหย่อนภาษีเงินได้แก่ผู้ที่บริจาคเงินเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแก่อำเภอต่าง ๆ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2549--จบ--
ตามที่นายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีนัดพิเศษ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน เมื่อวันเสาร์ที่ 28 มกราคม 2549 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยได้เชิญ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ (ศตจ.) ปลัดกระทรวง อธิบดี เข้าร่วมประชุมด้วย เพื่อรับฟังความคิดเห็นและหาข้อสรุปกรอบแนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจน โดยใช้ อ.อาจสามารถ จ.ร้อยเอ็ด เป็นกรณีศึกษา นั้น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรี นัดพิเศษ ดังกล่าว ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. การแก้ไขปัญหาความยากจน นายกรัฐมนตรีได้มอบแนวทางการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาความ ยากจน ดังนี้
1.1 หลักปฏิบัติที่สำคัญให้ยึด “รักประชาชน” และ “มีความสุขที่ได้ช่วยเหลือคนจน” โดยเปลี่ยนภาระให้เป็นพลัง
1.2 กลไกการทำงาน ให้ ศตจ. เป็นศูนย์ประสานงานกลางหรือข้อต่อเพื่อรวบรวมพลังจากทุกภาคีในส่วนกลางสนับสนุนกระจายลงสู่ระดับพื้นที่ โดยมีนายอำเภอเป็นหัวหน้าทีม ขับเคลื่อนกลไกการแก้ไขปัญหาของทุกส่วนราชการโดยมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาที่ระดับครัวเรือนและชุมชน เน้นแก้เป็นรายครัวเรือน โดยระดมความร่วมมือในการทำงานของส่วนราชการ การเมืองท้องถิ่น ชุมชน และภาคเอกชน เพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาให้กับครัวเรือนที่ยากจนจริง ๆ
1.3 แนวทางการแก้ไขปัญหา ต้องพิจารณามิติต่าง ๆ รอบด้านทั้งเศรษฐกิจและสังคม โดยคำนึงถึงความสมดุลระหว่างอุปสงค์ (ปัญหาของคนจนที่มาจดทะเบียน เช่น ที่ดิน ซึ่งมีทั้งเรื่องที่ดินทำกินและที่ดินสำหรับอยู่อาศัย ปัญหาสุขอนามัยทั้งเจ็บป่วยและพิการ และปัญหาซ้ำซ้อนด้านสังคมและครอบครัว ได้แก่ สถาบันครอบครัว ภาระพึ่งพิงที่คนแก่ต้องเลี้ยงดูลูกหลาน เป็นต้น) กับอุปทานในการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานภาครัฐ (เช่น ด้านอาชีพ ซึ่งอาจดำเนินการในลักษณะการฝึกอาชีพเสริมเติมปัญญาเพื่อยกระดับฝีมือแรงงาน หรืออาจเป็นการสร้างช่องโอกาสในการประกอบอาชีพโดยสนับสนุนแกนนำและเครือข่ายในการพัฒนาฝีมือและถ่ายทอดความรู้ในชุมชน การเติมด้านการตลาด เป็นต้น)
2. ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความยากจน ของศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ (ศตจ.) เน้นแนวทางการดำเนินงานใหม่ดังนี้
2.1 ให้ความสำคัญกับภาคประชาชนให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจ
2.2 เน้นแก้ไขปัญหาในระดับชุมชนมากขึ้น โดยให้ชุมชนทำแผนพัฒนาและเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชนตามเขตการปกครองและภูมินิเวศน์ กล่าวคือสนับสนุนให้ชุมชนร่วมกันจัดทำแผนชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงตามเขตการปกครอง และให้มีโครงการ/แผนชุมชนร่วมกับชุมชนอื่น ๆ ตามภูมินิเวศน์ เช่น โครงการปลูกป่าเทือกเขาภูพานเลี้ยงปลาเผาะใน 6 จังหวัดลุ่มน้ำโขง พัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เป็นต้น
2.3 สนับสนุนให้อำเภอมีความพร้อมเป็นศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาความยากจนและเป็นศูนย์การปกครอง
3. การจัดการศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน จำแนกเป็น 2 มิติ คือ (1) การศึกษาเพื่อแก้ความยากจน ซึ่งการศึกษานำไปสู่การสร้างอาชีพ และ (2) การขาดโอกาสทางการศึกษา ในพื้นที่ห่างไกล โอกาสไม่เท่าเทียมกัน ต้องส่งเสริมให้มีโอกาสเท่าเทียมกันมากขึ้น ซึ่งในการจัดการศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนนั้น กระทรวงศึกษาธิการได้ใช้ครัวเรือน/ชุมชนเป็นฐาน โดยสถานศึกษาจะมีข้อมูลนักเรียนเป็นรายพื้นที่ รายครัวเรือน และรายบุคคล นอกจากนี้ยังส่งเสริมโอกาสการทำงานระหว่างเรียน มีรูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนในพื้นที่พิเศษ และมีการพัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ความยากจนอย่างยั่งยืน สรุปเป็นยุทธศาสตร์การดำเนินงานดังนี้
3.1 ปรับรูปแบบ หลักสูตร วิธีการเพื่อแก้ปัญหาความยากจนและเพื่อดูแลกลุ่มเป้าหมายที่ยากจนเป็นกรณีพิเศษ
3.2 พัฒนาหลักสูตรให้มีความยืดหยุ่น คำนึงถึงปัญหาของกลุ่มเป้าหมายและพื้นที่ สอดคล้องผสมผสานระหว่างสายสามัญและสายอาชีพ รวมทั้งการบูรณาการและปลูกฝังค่านิยมภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3.3 ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาไปสู่อาชีพที่ยั่งยืน เสริมโอกาสเพื่อต่อยอดและเทียบโอนประสบการณ์ไปสู่การเพิ่มวุฒิ
3.4 สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่ยากจน ต้องมีระบบที่จะเข้าถึง ได้รับการส่งเสริมให้มีรายได้ระหว่างเรียน ตลอดจนการดูแลคุณภาพชีวิตควบคู่ไปด้วย และ
3.5 ทำงานเป็นเครือข่ายกับหน่วยงานอื่น เพื่อจัดการศึกษาและแก้ปัญหาความยากจน
4. การแก้ไขปัญหาความยากจน : เส้นทางการพัฒนาสู่ความพอเพียง : กรณีศึกษา อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด
4.1 หลักการแก้ไขปัญหาความยากจน
1) สร้างความสมดุลในการแก้ไขปัญหาทางด้านเศรษฐกิจควบคู่ไปกับด้านสังคม
2) มุ่งการพัฒนาสู่ระดับความพอเพียงในครัวเรือนและชุมชนเป็นลำดับแรก โดยดูอุปสงค์และอุปทานในหมู่บ้านเป็นหลัก
3) ใช้ยุทธวิธีการพัฒนาคู่ขนาน (Dual track) : โดยพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน ชลประทาน กรรมสิทธิ์ที่ดิน เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน คู่ขนานไปกับการพัฒนาฐานความรู้ การพัฒนาอาชีพ การสร้างความมั่นคงด้านอาหาร เพื่อสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก โดยใช้ขบวนการเรียนรู้เป็นเครื่องมือหลัก
4) เน้นการทำงานบนหลักเมตตาธรรม และปรับทัศนคติในการทำงาน ไม่นำกฎ ระเบียบราชการเป็นข้อจำกัด ยึดเป้าหมายคนยากจนเป็นศูนย์กลาง
4.2 การบริหารจัดการ
1) ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ (ศตจ.) ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการเชื่อมโยงขบวนการแก้ไขปัญหาความยากจน โดยเป็นหน่วยงานในการจัดลำดับความสำคัญของโครงการ งบประมาณ และจัดแบ่งระดับความรับผิดชอบระหว่างหน่วยงานในส่วนกลางและหน่วยงานในระดับพื้นที่จังหวัดและอำเภอ
2) อำเภอเป็นจุดบูรณาการของการจัดการแก้ไขปัญหาความยากจน โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้สนับสนุน
4.3 กระบวนการวิเคราะห์ปัญหา เนื่องจากลักษณะของปัญหาความยากจนจะแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ดังนั้นกระบวนการวิเคราะห์ปัญหามีขั้นตอนที่สำคัญในการดำเนินการดังนี้
1) การวิเคราะห์รายบุคคลและครัวเรือน : การวิเคราะห์ปัญหาด้านหนี้สิน รายได้/รายจ่าย โอกาสในการประกอบอาชีพ ภาระด้านสังคมคนพิการ/ผู้สูงอายุ ที่อยู่อาศัย
2) การวิเคราะห์ชุมชน : ปัญหาระดับชุมชน เช่น การรวมกลุ่มประกอบอาชีพ ระบบเครือญาติที่อ่อนแอ ปัญหาอาชญากรรม/ยาเสพติด สถาบันศาสนา ปัญหาวัยรุ่นและเยาวชน รวมทั้งวิเคราะห์บทบาทการดำเนินงาน/ภารกิจของ อบต./อปท.
3) การวิเคราะห์พื้นที่และโครงสร้างพื้นฐาน : น้ำท่วม น้ำแล้ง การชลประทาน ถนน/คมนาคม กรรมสิทธิ์ที่ดิน การศึกษา สาธารณสุข สวัสดิการสังคม
4.4 การแก้ไขปัญหาความยากจน แบ่งเป็น 3 รูปแบบ
1) โครงการด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหลัก : ด้านชลประทาน ด้านการจัดสรรกรรมสิทธิ์ที่ดิน รวมทั้งการบริการขั้นพื้นฐานของรัฐ เช่น ด้านการบริการสาธารณสุข ด้านการศึกษา ซึ่งเป็นลักษณะโครงการขนาดใหญ่ /เกินขอบเขตของจังหวัดที่จะดำเนินการได้ ต้องจัดทำเป็นแผนงาน/โครงการ ขอรับการสนับสนุนจาก ศตจ. และหน่วยงานในส่วนกลาง
2) โครงการพัฒนาและการแก้ไขปัญหาในระดับอำเภอ : เป็นโครงการที่สามารถบูรณาการในระดับที่อำเภอ สามารถดำเนินการได้ด้วยหน่วยงานในระดับอำเภอ ซึ่งจะต้องบูรณาการเครื่องมือต่าง ๆ ทั้งด้านการเงิน เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน SML ด้านการเพิ่มรายได้ เช่น โครงการทางด้านการเกษตร ปศุสัตว์การพัฒนาอาชีพ OTOP และโครงการทางด้านการเพิ่มทักษะอาชีพ หรือ ความรู้ และถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมทั้งโครงการด้านสังคม ในด้านการบริการสาธารณสุข ด้านการสงเคราะห์คนชรา เป็นต้น
3) โครงการในลักษณะภาคีร่วมพัฒนา : ซึ่งเป็นโครงการที่เชื่อมโยงกับ อบต.ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ประปาหมู่บ้าน ถนนในท้องถิ่น รวมทั้งโครงการที่ร่วมกับชุมชน และกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ในชุมชน ตลอดจนโครงการที่หน่วยงานของรัฐร่วมพัฒนากับภาคเอกชน ในการนำอาชีพเข้าสู่ชุมชน และการที่ภาคเอกชนมีบทบาทในการช่วยเหลือพัฒนาสังคม เช่น ที่อยู่อาศัย การสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาส
5. ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ประชุม
5.1 โครงสร้างการทำงาน การแก้ไขปัญหาความยากจนระบบทีมมีความสำคัญมาก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สำคัญที่สุดแต่โครงสร้างการทำงานอยู่ในระดับจังหวัด และทำงานเป็นภาพรวมยังไม่เอื้อต่อการแก้ปัญหาเฉพาะของพื้นที่และการแก้ปัญหาเกษตรกรเป็นรายบุคคลได้ รวมทั้งยังไม่สามารถระดมความร่วมมือจากชุมชนได้ ดังนั้น ศตจ. ต้องเป็นกลไกเชื่อมโยงให้ทำงานเป็นทีมและมีเครือข่ายการทำงานร่วมกัน
5.2 หัวใจสำคัญของการแก้ไขปัญหาความยากจน คือ “การเรียนรู้ร่วมกัน” ทั้งของครอบครัว ชุมชน เครือข่ายภาคี ภาคราชการ ภาคเอกชน โดยอาศัยฐานที่สำคัญ คือ ระบบข้อมูล : ข้อมูลพื้นฐานที่มีอยู่สามารถใช้ร่วมกันได้โดยในระยะยาวควรมาพัฒนาระบบข้อมูลร่วมกัน ความรู้จากการปฏิบัติจริงอย่างเช่นกรณีศึกษาอำเภออาจสามารถควรนำมาจัดการให้เป็นระบบความรู้ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้สะดวก รวมทั้งระบบคุณธรรมความดีที่เป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนา ซึ่งต้องมีระบบการจัดการที่บูรณาการทั้งข้อมูล กระบวนการ เป้าหมาย เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน
5.3 การขยายการจ้างงาน อาจจะทำได้ 2 แนวทาง คือ การขยายการผลิตไปสู่ท้องถิ่นหรือย้ายงานลงไปหาคนในท้องถิ่น กับการอพยพแรงงานไปทำงานในพื้นที่ที่ต้องการแรงงานหรือย้ายคนไปหาแหล่งผลิต ทั้งนี้ควรย้ายไปทั้งครอบครัว นอกจากนี้การส่งเสริมอาชีพในหมู่บ้าน ต้องเน้นทั้งงานด้านการเกษตร งานรับจ้าง และงานธุรกิจบริการ
5.4 การช่วยเหลือคนพิการ ทั้งด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพ การรักษาพยาบาล และการฝึกอาชีพ หน่วยงานต่าง ๆ จะต้องมีระบบการส่งต่อ/เชื่อมประสานการทำงาน เพื่อพัฒนาศักยภาพคนพิการให้อยู่ในสังคมอย่างมีคุณค่า
5.5 ท้องถิ่น (อบต.) พร้อมที่จะร่วมมือกับรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาความยากจน โดย อบต.อุดหนุนงบประมาณเพื่อแก้ปัญหาความยากจน โดยปี 2549 เน้นเรื่องการซ่อมแซมที่อยู่อาศัยให้กับคนจน
5.6 ระบบผู้ตรวจราชการสามารถใช้เป็นกลไกการขับเคลื่อนได้ จึงควรมีการมอบหมายพื้นที่รับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาความยากจนตามภารกิจกระทรวง/หน่วยงานให้ชัดเจน และให้มี focal point ในระดับกระทรวงเพื่อประสานงานซึ่งกันและกัน
6. ข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี
6.1 ให้กระทรวงต่าง ๆ จัดทำแนวทางสนับสนุนการแก้ไขปัญหาความยากจน นำเสนอต่อ พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ (ศตจ.) และหน่วยงานใดต้องการปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจที่รับผิดชอบสามารถนำเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา
6.2 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานให้ทุนสนับสนุนการศึกษา (กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และนายอำเภอ)ให้ความสำคัญกับเด็กในครอบครัวที่ยากจนจริง ๆ โดยเฉพาะครอบครัวที่มีภาระเลี้ยงดูสูง เช่น ครอบครัวยากจนที่มีคนพิการ ผู้สูงอายุ เป็นการแบ่งเบาภาระ พบเด็กวัยเรียนที่ไม่ได้เรียนต้องรับเข้าโรงเรียน เด็กวัยเรียนที่ไม่ได้เรียนเพราะมีภาระการดูแลครอบครัวต้องให้ทุนการศึกษา นอกจากนี้โรงเรียนใดที่มีการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ในโรงเรียน ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้และเป็นแกนกลางในการถ่ายทอดความรู้ได้ให้ประสานกระทรวงเกษตรฯ เพื่อสนับสนุนงบประมาณดำเนินการได้
6.3 มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยจัดทำสมาร์ทการ์ดครัวเรือนยากจน เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลในการให้ความช่วยเหลือ และพิจารณาปรับปรุงระเบียบเพื่อมอบหมายอำนาจให้นายอำเภอสามารถใช้เครื่องมือทุกหน่วยงานเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน
6.4 ให้กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ วิจัยสาเหตุของการพิการและปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เพราะเป็นปัญหาที่ทำให้ศักยภาพของไทยลดลง และคิดค้นเครื่องมือดี ๆ ที่สามารถทำให้คนพิการช่วยตัวเองให้มากที่สุด รวมทั้งปัญหาสังคมอื่น ๆ ที่เกิดจากความพิการ เช่น กรณีหญิงพิการทางสมองซึ่งถูกข่มขืน รวมทั้งให้กระทรวงสาธารณสุขดูแลเรื่องจิตแพทย์และอนามัยในโรงเรียนและชุมชน เช่น สุขาในโรงเรียนและสุขาในชุมชน โดยเป็นการควบคุมคุณภาพ
6.5 ให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรมอาชีพ การเติมปัญญาให้กับคนจน ให้มีการจ่ายเบี้ยเลี้ยงเพื่อชดเชยรายได้ในการหาเลี้ยงครอบครัวระหว่างรับการอบรม รวมทั้งขอให้หน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ ได้รวบรวมองค์ความรู้และการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ ทำเป็น CD แจกนายอำเภอในวันที่มาอบรมและเผยแพร่ไปสู่ประชาชน
6.6 ขอให้กระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมมือกันให้คำแนะนำและส่งเสริมว่า พื้นที่ไหนควรจะทำอะไร รวมทั้งเรื่องการแปรรูปสินค้าเกษตร โดยมองภาพรวมทั้งชุมชน
6.7 มอบกระทรวงการคลังพิจารณาแนวทางการลดหย่อนภาษีเงินได้แก่ผู้ที่บริจาคเงินเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแก่อำเภอต่าง ๆ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2549--จบ--