คณะรัฐมนตรีรับทราบงบประมาณทำการประจำปี 2549 ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ที่ปรับปรุงใหม่ และเห็นชอบให้ รฟท. กู้เงินระยะยาวเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ชำระหนี้เงินกู้ และลงทุนเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการจำนวน 5,565 ล้านบาท โดยให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกัน ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้รับข้อสังเกตของสำนัก งบประมาณไปประกอบการพิจารณาด้วย
ทั้งนี้กระทรวงคมนาคมรายงานว่า จากผลการดำเนินงานจริงในระยะ 4 เดือน (ตุลาคม 2548-มกราคม 2549) ที่ผ่านมา รฟท. ได้รับผลกระทบด้านราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและการปรับอัตราค่าจ้างพนักงานรัฐวิสาหกิจและเงินยังชีพอดีตผู้ปฏิบัติงานที่รับบำนาญ ทำให้ รฟท. คาดว่าจะมีผลการดำเนินงานขาดทุนเพิ่มขึ้น 1,702 ล้านบาท และทำให้เงินสดขาดมือเพิ่มขึ้น 968 ล้านบาท จากที่ประมาณการไว้เดิม การขาดทุนจากการดำเนินงานและการขาดเงินสดหมุนเวียนดังกล่าว รฟท. ประสบเป็นประจำทุกปี มีสาเหตุหลักมาจาก รฟท. ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานในขณะที่ไม่สามารถปรับค่าโดยสารให้สอดคล้องกับต้นทุนที่แท้จริง รวมทั้งไม่สามารถยกเลิกขบวนรถโดยสารขบวนที่ขาดทุนได้ เนื่องจากเป็นการบริการเชิงสังคม และยังต้องลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการให้บริการ และมีภาระในการชำระหนี้เงินกู้ ซึ่ง รฟท. ได้พยายามช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุด โดยการปรับลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานหลัก เช่น ควบคุมค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานควบคุมค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมรถจักรและล้อเลื่อน ควบคุมการเบิกจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและปรับลดการลงทุนในส่วนที่ได้รับอนุมัติให้ดำเนินการ นอกจากนั้น รฟท. ยังประสบกับปัญหาที่ไม่ได้รับจัดสรรเงินงบประมาณรายจ่ายตามที่ขอรับจัดสรร และได้รับชดเชยผลขาดทุนประจำปีไม่ครบถ้วนและล่าช้ากว่าปีที่เกิดผลขาดทุน จึงทำให้เป็นภาระมากยิ่งขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 สิงหาคม 2549--จบ--
ทั้งนี้กระทรวงคมนาคมรายงานว่า จากผลการดำเนินงานจริงในระยะ 4 เดือน (ตุลาคม 2548-มกราคม 2549) ที่ผ่านมา รฟท. ได้รับผลกระทบด้านราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและการปรับอัตราค่าจ้างพนักงานรัฐวิสาหกิจและเงินยังชีพอดีตผู้ปฏิบัติงานที่รับบำนาญ ทำให้ รฟท. คาดว่าจะมีผลการดำเนินงานขาดทุนเพิ่มขึ้น 1,702 ล้านบาท และทำให้เงินสดขาดมือเพิ่มขึ้น 968 ล้านบาท จากที่ประมาณการไว้เดิม การขาดทุนจากการดำเนินงานและการขาดเงินสดหมุนเวียนดังกล่าว รฟท. ประสบเป็นประจำทุกปี มีสาเหตุหลักมาจาก รฟท. ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานในขณะที่ไม่สามารถปรับค่าโดยสารให้สอดคล้องกับต้นทุนที่แท้จริง รวมทั้งไม่สามารถยกเลิกขบวนรถโดยสารขบวนที่ขาดทุนได้ เนื่องจากเป็นการบริการเชิงสังคม และยังต้องลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการให้บริการ และมีภาระในการชำระหนี้เงินกู้ ซึ่ง รฟท. ได้พยายามช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุด โดยการปรับลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานหลัก เช่น ควบคุมค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานควบคุมค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมรถจักรและล้อเลื่อน ควบคุมการเบิกจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและปรับลดการลงทุนในส่วนที่ได้รับอนุมัติให้ดำเนินการ นอกจากนั้น รฟท. ยังประสบกับปัญหาที่ไม่ได้รับจัดสรรเงินงบประมาณรายจ่ายตามที่ขอรับจัดสรร และได้รับชดเชยผลขาดทุนประจำปีไม่ครบถ้วนและล่าช้ากว่าปีที่เกิดผลขาดทุน จึงทำให้เป็นภาระมากยิ่งขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 สิงหาคม 2549--จบ--