คณะรัฐมนตรีพิจารณาการหารือรายละเอียด โครงการนำร่องเพื่อสร้างต้นแบบภาคธุรกิจช่วยเหลือคนจน จังหวัดสุพรรณบุรี ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2549 (เรื่อง ขออนุมัติจัดสรรเงินจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร เพื่อดำเนินการตามโครงการนำร่อง เพื่อสร้างต้นแบบภาคธุรกิจช่วยเหลือคนจน จังหวัดสุพรรณบุรี) ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ แล้วมีมติอนุมัติในหลักการโครงการนำร่องเพื่อสร้างต้นแบบภาคธุรกิจช่วยเหลือคนจน จังหวัดสุพรรณบุรี โดยให้กระทรวงมหาดไทยรับข้อสังเกตของที่ประชุมไปพิจารณาด้วย โดยเฉพาะรายละเอียดการจัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกัน
ทั้งนี้กระทรวงมหาดไทยรายงานว่า ในการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2549 ได้ประสานงานกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี และตัวแทนของบริษัทธุรกิจภาคเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อหารือและพิจารณาในรายละเอียดของโครงการดังกล่าวแล้ว ผลการหารือสรุปได้ดังนี้
1. กรณีหลักประกันในเรื่องผลผลิต ราคา และรายได้ของเกษตรกรตามโครงการเห็นว่า ควรที่จะต้องมีการทำบันทึกข้อตกลงร่วมกัน (MOU) ระหว่างจังหวัดสุพรรณบุรี บริษัทเอกชน และผู้แทนของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ โดยกำหนดเงื่อนไขไว้เป็นหลักประกันให้ครบถ้วน
2. กรณีการบริหารจัดการอาคารรวบรวมและคัดแยกผลผลิตตามโครงการส่งเสริมการปลูกพืชสวนครบวงจร เห็นว่า
2.1 ควรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ที่จะมีการก่อสร้างอาคารดังกล่าวเป็นผู้ขอกู้เงินไปดำเนินการก่อสร้างตามระเบียบของทางราชการ โดยก่อสร้างในที่สาธารณประโยชน์ในบริเวณท้องที่ที่จะดำเนินงานตามโครงการ
2.2 บริษัทเอกชนจะจัดเจ้าหน้าที่ไปบริหารจัดการอาคารดังกล่าว พร้อมทั้งรับผิดชอบค่าใช้จ่ายค่าสาธารณูปโภค ของอาคารทั้งหมด ในระยะเวลา 10 ปี หลังจากนั้น ควรมอบหมายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้รับผิดชอบต่อไป
2.3 บริษัทเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งเข้าไปบริหารจัดการอาคารฯ จะต้องจัดทำแผนการชำระเงินกู้ โดยพิจารณาตามจำนวนผลผลิตที่เกษตรกรนำมาขาย โดยจ่ายเพิ่มสมทบไว้ตามจำนวนผลผลิต โดยจำนวนเงิน ที่มีการจ่ายเพิ่มสมทบไว้นี้จะเป็นเงินที่นำไปชำระเงินกู้ให้แก่กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ตามเงื่อนไขของกองทุนฯ
2.4 การพิจารณาพื้นที่ที่จะดำเนินโครงการเพิ่มเติม เนื่องจากในการเสนอขออนุมัติเงินในครั้งนี้ เพื่อนำไปใช้จ่ายในการดำเนินงานตามโครงการนำร่องเพื่อศึกษาแนวทางสรุปบทเรียนและความสำเร็จ ตลอดจนให้เห็นถึงปัญหา อุปสรรค เพื่อนำแนวทางวิธีการไปขยายผลในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป จึงยังไม่ควรกำหนดพื้นที่ที่จะดำเนินโครงการนำร่องเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามกระทรวงมหาดไทยจะนำรูปแบบและแนวทางที่ประสบผลสำเร็จจากโครงการนำร่องฯ ของจังหวัดสุพรรณบุรีไปขยายผลในโอกาสต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 14 มีนาคม 2549--จบ--
ทั้งนี้กระทรวงมหาดไทยรายงานว่า ในการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2549 ได้ประสานงานกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี และตัวแทนของบริษัทธุรกิจภาคเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อหารือและพิจารณาในรายละเอียดของโครงการดังกล่าวแล้ว ผลการหารือสรุปได้ดังนี้
1. กรณีหลักประกันในเรื่องผลผลิต ราคา และรายได้ของเกษตรกรตามโครงการเห็นว่า ควรที่จะต้องมีการทำบันทึกข้อตกลงร่วมกัน (MOU) ระหว่างจังหวัดสุพรรณบุรี บริษัทเอกชน และผู้แทนของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ โดยกำหนดเงื่อนไขไว้เป็นหลักประกันให้ครบถ้วน
2. กรณีการบริหารจัดการอาคารรวบรวมและคัดแยกผลผลิตตามโครงการส่งเสริมการปลูกพืชสวนครบวงจร เห็นว่า
2.1 ควรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ที่จะมีการก่อสร้างอาคารดังกล่าวเป็นผู้ขอกู้เงินไปดำเนินการก่อสร้างตามระเบียบของทางราชการ โดยก่อสร้างในที่สาธารณประโยชน์ในบริเวณท้องที่ที่จะดำเนินงานตามโครงการ
2.2 บริษัทเอกชนจะจัดเจ้าหน้าที่ไปบริหารจัดการอาคารดังกล่าว พร้อมทั้งรับผิดชอบค่าใช้จ่ายค่าสาธารณูปโภค ของอาคารทั้งหมด ในระยะเวลา 10 ปี หลังจากนั้น ควรมอบหมายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้รับผิดชอบต่อไป
2.3 บริษัทเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งเข้าไปบริหารจัดการอาคารฯ จะต้องจัดทำแผนการชำระเงินกู้ โดยพิจารณาตามจำนวนผลผลิตที่เกษตรกรนำมาขาย โดยจ่ายเพิ่มสมทบไว้ตามจำนวนผลผลิต โดยจำนวนเงิน ที่มีการจ่ายเพิ่มสมทบไว้นี้จะเป็นเงินที่นำไปชำระเงินกู้ให้แก่กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ตามเงื่อนไขของกองทุนฯ
2.4 การพิจารณาพื้นที่ที่จะดำเนินโครงการเพิ่มเติม เนื่องจากในการเสนอขออนุมัติเงินในครั้งนี้ เพื่อนำไปใช้จ่ายในการดำเนินงานตามโครงการนำร่องเพื่อศึกษาแนวทางสรุปบทเรียนและความสำเร็จ ตลอดจนให้เห็นถึงปัญหา อุปสรรค เพื่อนำแนวทางวิธีการไปขยายผลในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป จึงยังไม่ควรกำหนดพื้นที่ที่จะดำเนินโครงการนำร่องเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามกระทรวงมหาดไทยจะนำรูปแบบและแนวทางที่ประสบผลสำเร็จจากโครงการนำร่องฯ ของจังหวัดสุพรรณบุรีไปขยายผลในโอกาสต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 14 มีนาคม 2549--จบ--