คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานการพบเชื้อไข้หวัดนกในจังหวัดพิจิตร ดังนี้ กรมปศุสัตว์ได้รับรายงานจากสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพิจิตร เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2549 จากผลการรณรงค์ค้นหาโรคไข้หวัดนกแบบบูรณาการ (x-ray ) ครั้งที่ 2/2549 ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน ถึง 31 กรกฎาคม 2549 พบโรคไข้หวัดนกชนิด H5 ในไก่พื้นเมือง /ไก่ชน ของนายชุมพร คุ้มโศรท บ้านเลขที่ 95 หมู่ที่ 11 ตำบลเนินมะกอก อำเภอบางมูลนาก โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพิจิตรได้รับแจ้งพบไก่พื้นเมืองและไก่ชน ของนายชุมพร คุ้มโศรท บ้านเลขที่ 95 หมู่ 11 ตำบลเนินมะกอก อำเภอบางมูลนาก เริ่มป่วยตายเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2549 ถึงวันที่ 18 กรกฎาคม 2549 มีไก่ป่วยตายรวม จำนวน 31 ตัว จากไก่ทั้งหมด 295 ตัว เจ้าหน้าที่สัตวแพทย์จากสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดได้เข้าดำเนินการเก็บตัวอย่างสัตว์ปีก (Cloacal Swab) ส่งตรวจที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคเหนือ (ตอนล่าง) จังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2549 ทั้งนี้ จำนวนไก่ที่เหลือ 264 ตัว สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพิจิตรได้ทำลาย โดยการฝังพร้อม ฆ่าเชื้อโรคด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2549
2. ได้รับรายงานผลการตรวจจาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคเหนือ (ตอนล่าง) จังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2549 จากการตรวจตัวอย่าง (Cloacal Swab) ไก่พื้นเมือง/ไก่ชน ของนายชุมพรฯ โดยวิธี RT-PCR ยืนยันว่าเป็นเชื้อไข้หวัดนกชนิด H5 และกำลังตรวจหาว่าเป็น N ชนิดใด ทั้งนี้สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพิจิตร แจ้งข้อมูลการพบเชื้อไข้หวัดนกในสัตว์ปีกต่อสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร เพื่อเฝ้าระวังในคนแล้ว
3. การดำเนินการควบคุมโรค ของสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพิจิตร
3.1 กรมปศุสัตว์ให้สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสอบสวนหาสาเหตุและระบาดวิทยาของการเกิดโรคในพื้นที่พบโรคดังกล่าว
3.2 กรมปศุสัตว์ได้ประสานให้ทางจังหวัดพิจิตรออกประกาศเขตโรคระบาดชนิดโรคไข้หวัดนก (Avian Influenza) ในสัตว์ปีกประเภทนก ไก่ เป็ด ห่าน ของอำเภอบางมูลนาก เพื่อควบคุมการแพร่กระจายของโรคไข้หวัดนกไปยังพื้นที่อื่น
3.3 ให้มีการควบคุมสัตว์ปีกในรัศมี 10 กิโลเมตร โดยการเฝ้าระวังทางอาการและห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์ปีก (สั่งกักสัตว์ปีก) เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 30 วัน นับจากวันทำลายสัตว์ปีกตัวสุดท้าย และพ่นยาฆ่าเชื้อโรคในบริเวณรอบพื้นที่สถานที่เลี้ยงสัตว์ปีก ติดต่อกันอย่างน้อย 3 วัน
3.4 ให้สำรวจการเลี้ยงสัตว์ปีกและสั่งกักสัตว์ปีก พร้อมเฝ้าระวังทางอาการในรัศมี 10 กิโลเมตร รอบจุดเกิดโรค โดยมีเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีก จำนวน 1,091 ราย สัตว์ปีก 110,322 ตัว แยกเป็นไก่พื้นเมือง 48,614 ตัว เป็ด 61,708 ตัว
3.5 ให้มีการเฝ้าระวังทางห้องปฏิบัติการ โดยการเก็บตัวอย่างสัตว์ปีก (Cloacal Swab) สัตว์ปีกในรัศมี 5 กิโลเมตร รอบจุดเกิดโรค โดยมีเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีก จำนวน 329 ราย สัตว์ปีก 48,420 ตัว แยกเป็น ไก่พื้นเมือง 12,263 ตัว เป็ด 36,157 ตัว
3.6 ห้ามนำสัตว์ปีกเข้าเลี้ยงใหม่ในพื้นที่รัศมี 10 กิโลเมตร รอบจุดเกิดโรคเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 90 วัน
4. สำหรับจังหวัดพิจิตร เคยมีรายงานการพบเชื้อไข้หวัดนก ดังนี้
4.1 ปี 2547 พบ 41 จุด ใน 10 อำเภอ ได้แก่อำเภอเมืองพิจิตร กิ่งอำเภอดงเจริญ กิ่งอำเภอสากเหล็ก อำเภอตะพานหิน อำเภอทับคล้อ อำเภอบางมูลนาก อำเภอโพทะเล อำเภอวชิรบารมี อำเภอสามง่าม และอำเภอวังทรายพูน
4.2 ปี 2548 พบ 3 จุด ใน 2 อำเภอ ได้แก่อำเภอเมือง และกิ่งอำเภอสากเหล็ก
4.3 จุดสุดท้าย ที่พบโรคไข้หวัดนก ได้แก่ หมู่ 3 ตำบลย่านยาว อำเภอเมืองพิจิตร ซึ่งพบในเป็ดไข่ไล่ทุ่ง จำนวน 1,422 ตัว เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2548
5. กรมปศุสัตว์จะได้รายงานการพบเชื้อไข้หวัดนกให้ O.I.E. EU FAO ประเทศคู่ค้า รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบโดยด่วน พร้อมให้สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ ส่งตัวอย่างเชื้อไข้หวัดนกในพื้นที่ไปยัง Weybridge ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็น World Reference Lab ของโรคไข้หวัดนกตามข้อตกลงระหว่างประเทศต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้สั่งการให้แต่ละจังหวัดเพิ่มความเข้มงวดในการเฝ้าระวังและควบคุมโรค ทั้งการรณรงค์ค้นหาโรคไข้หวัดนก (x-ray) ในสัตว์ปีก การควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีก และซากสัตว์ปีก โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่จังหวัดชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน การพ่นยาฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เลี้ยงสัตว์ปีก และประสานงานกระทรวงมหาดไทยให้งดกิจกรรมซ้อม หรือชนไก่ของจังหวัดพิจิตรไว้เป็นการชั่วคราว รวมทั้งห้ามนำไก่ชนจากจังหวัดพิจิตรไปซ้อมหรือชนภายในจังหวัดหรือนอกจังหวัดพิจิตร และให้เข้มงวดมิให้มีการเลี้ยงเป็ดในลักษณะไล่ทุ่ง สถานการณ์โดยทั่วไป กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สามารถควบคุมโรคไว้ได้ โดยไม่แพร่กระจายออกไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 กรกฎาคม 2549--จบ--
1. สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพิจิตรได้รับแจ้งพบไก่พื้นเมืองและไก่ชน ของนายชุมพร คุ้มโศรท บ้านเลขที่ 95 หมู่ 11 ตำบลเนินมะกอก อำเภอบางมูลนาก เริ่มป่วยตายเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2549 ถึงวันที่ 18 กรกฎาคม 2549 มีไก่ป่วยตายรวม จำนวน 31 ตัว จากไก่ทั้งหมด 295 ตัว เจ้าหน้าที่สัตวแพทย์จากสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดได้เข้าดำเนินการเก็บตัวอย่างสัตว์ปีก (Cloacal Swab) ส่งตรวจที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคเหนือ (ตอนล่าง) จังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2549 ทั้งนี้ จำนวนไก่ที่เหลือ 264 ตัว สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพิจิตรได้ทำลาย โดยการฝังพร้อม ฆ่าเชื้อโรคด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2549
2. ได้รับรายงานผลการตรวจจาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคเหนือ (ตอนล่าง) จังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2549 จากการตรวจตัวอย่าง (Cloacal Swab) ไก่พื้นเมือง/ไก่ชน ของนายชุมพรฯ โดยวิธี RT-PCR ยืนยันว่าเป็นเชื้อไข้หวัดนกชนิด H5 และกำลังตรวจหาว่าเป็น N ชนิดใด ทั้งนี้สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพิจิตร แจ้งข้อมูลการพบเชื้อไข้หวัดนกในสัตว์ปีกต่อสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร เพื่อเฝ้าระวังในคนแล้ว
3. การดำเนินการควบคุมโรค ของสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพิจิตร
3.1 กรมปศุสัตว์ให้สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสอบสวนหาสาเหตุและระบาดวิทยาของการเกิดโรคในพื้นที่พบโรคดังกล่าว
3.2 กรมปศุสัตว์ได้ประสานให้ทางจังหวัดพิจิตรออกประกาศเขตโรคระบาดชนิดโรคไข้หวัดนก (Avian Influenza) ในสัตว์ปีกประเภทนก ไก่ เป็ด ห่าน ของอำเภอบางมูลนาก เพื่อควบคุมการแพร่กระจายของโรคไข้หวัดนกไปยังพื้นที่อื่น
3.3 ให้มีการควบคุมสัตว์ปีกในรัศมี 10 กิโลเมตร โดยการเฝ้าระวังทางอาการและห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์ปีก (สั่งกักสัตว์ปีก) เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 30 วัน นับจากวันทำลายสัตว์ปีกตัวสุดท้าย และพ่นยาฆ่าเชื้อโรคในบริเวณรอบพื้นที่สถานที่เลี้ยงสัตว์ปีก ติดต่อกันอย่างน้อย 3 วัน
3.4 ให้สำรวจการเลี้ยงสัตว์ปีกและสั่งกักสัตว์ปีก พร้อมเฝ้าระวังทางอาการในรัศมี 10 กิโลเมตร รอบจุดเกิดโรค โดยมีเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีก จำนวน 1,091 ราย สัตว์ปีก 110,322 ตัว แยกเป็นไก่พื้นเมือง 48,614 ตัว เป็ด 61,708 ตัว
3.5 ให้มีการเฝ้าระวังทางห้องปฏิบัติการ โดยการเก็บตัวอย่างสัตว์ปีก (Cloacal Swab) สัตว์ปีกในรัศมี 5 กิโลเมตร รอบจุดเกิดโรค โดยมีเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีก จำนวน 329 ราย สัตว์ปีก 48,420 ตัว แยกเป็น ไก่พื้นเมือง 12,263 ตัว เป็ด 36,157 ตัว
3.6 ห้ามนำสัตว์ปีกเข้าเลี้ยงใหม่ในพื้นที่รัศมี 10 กิโลเมตร รอบจุดเกิดโรคเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 90 วัน
4. สำหรับจังหวัดพิจิตร เคยมีรายงานการพบเชื้อไข้หวัดนก ดังนี้
4.1 ปี 2547 พบ 41 จุด ใน 10 อำเภอ ได้แก่อำเภอเมืองพิจิตร กิ่งอำเภอดงเจริญ กิ่งอำเภอสากเหล็ก อำเภอตะพานหิน อำเภอทับคล้อ อำเภอบางมูลนาก อำเภอโพทะเล อำเภอวชิรบารมี อำเภอสามง่าม และอำเภอวังทรายพูน
4.2 ปี 2548 พบ 3 จุด ใน 2 อำเภอ ได้แก่อำเภอเมือง และกิ่งอำเภอสากเหล็ก
4.3 จุดสุดท้าย ที่พบโรคไข้หวัดนก ได้แก่ หมู่ 3 ตำบลย่านยาว อำเภอเมืองพิจิตร ซึ่งพบในเป็ดไข่ไล่ทุ่ง จำนวน 1,422 ตัว เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2548
5. กรมปศุสัตว์จะได้รายงานการพบเชื้อไข้หวัดนกให้ O.I.E. EU FAO ประเทศคู่ค้า รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบโดยด่วน พร้อมให้สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ ส่งตัวอย่างเชื้อไข้หวัดนกในพื้นที่ไปยัง Weybridge ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็น World Reference Lab ของโรคไข้หวัดนกตามข้อตกลงระหว่างประเทศต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้สั่งการให้แต่ละจังหวัดเพิ่มความเข้มงวดในการเฝ้าระวังและควบคุมโรค ทั้งการรณรงค์ค้นหาโรคไข้หวัดนก (x-ray) ในสัตว์ปีก การควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีก และซากสัตว์ปีก โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่จังหวัดชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน การพ่นยาฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เลี้ยงสัตว์ปีก และประสานงานกระทรวงมหาดไทยให้งดกิจกรรมซ้อม หรือชนไก่ของจังหวัดพิจิตรไว้เป็นการชั่วคราว รวมทั้งห้ามนำไก่ชนจากจังหวัดพิจิตรไปซ้อมหรือชนภายในจังหวัดหรือนอกจังหวัดพิจิตร และให้เข้มงวดมิให้มีการเลี้ยงเป็ดในลักษณะไล่ทุ่ง สถานการณ์โดยทั่วไป กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สามารถควบคุมโรคไว้ได้ โดยไม่แพร่กระจายออกไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 กรกฎาคม 2549--จบ--