คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาโดยให้รับข้อสังเกตของกระทรวงอุตสาหกรรมไปดำเนินการด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดมาตรฐานให้นายจ้างดำเนินการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ
ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานชี้แจงว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เป็นกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานที่มีบทบัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง โดยกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการจ้าง การใช้แรงงานและการจัดสถานที่และอุปกรณ์ในการทำงาน เพื่อให้ผู้ทำงานมีสุขภาพอนามัยที่ดี มีความปลอดภัยในชีวิตและร่างกาย และได้รับค่าตอบแทนตามสมควร ทั้งนี้ มาตรา 103 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ ได้ให้อำนาจแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานในการออกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานให้นายจ้างดำเนินการในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ประกอบกับปัจจุบันสถานประกอบกิจการได้มีการนำเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย จำเป็นต้องกำหนดให้มีการคุ้มครองลูกจ้างเพื่อมิให้เกิดอันตรายจากการทำงานดังกล่าว แม้ว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 จะมีบทเฉพาะกาลให้ประกาศหรือคำสั่งที่ออกตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515 ยังคงใช้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะมีกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับแล้วก็ตาม แต่การนำประกาศกระทรวงมหาดไทยหรือประกาศกระทรวงแรงงานที่ออกตามประกาศของคณะปฏิวัติฯ มาใช้บังคับ ทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายอยู่ตลอดมา สมควรออกกฎหมายเพื่อให้ความคุ้มครองความปลอดภัยในการทำงานแก่ลูกจ้าง
โดยร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. ... ได้มีการรวมกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยจำนวน 3 ฉบับรวมเข้าด้วยกันเป็นฉบับเดียวกัน เพื่อให้เกิดความสะดวกต่อนายจ้างซึ่งต้องปฏิบัติตาม ซึ่งได้แก่
1. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ลงวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2519
2. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น ลงวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2530
3. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับหม้อน้ำ ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2534
ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. ... จะเป็นประโยชน์ต่อนายจ้างที่จะเป็นการลดความสูญเสียเงิน ทรัพย์สิน และแรงงานที่มีทักษะและประสบการณ์ในการทำงานและเป็นประโยชน์ต่อลูกจ้างที่เป็นการถนอมแรงงานและพัฒนาคุณภาพชีวิตของลูกจ้าง ช่วยให้ลูกจ้างทำงานด้วยความปลอดภัยและมีสุขภาพอนามัยที่ดี รวมทั้งจะส่งผลดีต่อประเทศที่จะลดการสูญเสียทรัพยากรบุคคลที่อยู่ในวัยทำงาน ประหยัดงบประมาณในการดูแลรักษาพยาบาล ฟื้นฟูสมรรถภาพของลูกจ้างที่ประสบอันตรายจากการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่นและหม้อน้ำ และเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย ที่จะสามารถแข่งขันกับต่างชาติได้ดีในยุคโลกาภิวัตน์ รวมทั้งการที่ประเทศไทยมีมาตรฐานแรงงานเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน เกี่ยวกับงานก่อสร้างที่สอดคล้องกับมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ ซึ่งจะเป็นมาตรการในการป้องกันการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศได้อีกทางหนึ่ง จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 มิถุนายน 2549--จบ--
ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดมาตรฐานให้นายจ้างดำเนินการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ
ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานชี้แจงว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เป็นกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานที่มีบทบัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง โดยกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการจ้าง การใช้แรงงานและการจัดสถานที่และอุปกรณ์ในการทำงาน เพื่อให้ผู้ทำงานมีสุขภาพอนามัยที่ดี มีความปลอดภัยในชีวิตและร่างกาย และได้รับค่าตอบแทนตามสมควร ทั้งนี้ มาตรา 103 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ ได้ให้อำนาจแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานในการออกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานให้นายจ้างดำเนินการในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ประกอบกับปัจจุบันสถานประกอบกิจการได้มีการนำเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย จำเป็นต้องกำหนดให้มีการคุ้มครองลูกจ้างเพื่อมิให้เกิดอันตรายจากการทำงานดังกล่าว แม้ว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 จะมีบทเฉพาะกาลให้ประกาศหรือคำสั่งที่ออกตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515 ยังคงใช้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะมีกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับแล้วก็ตาม แต่การนำประกาศกระทรวงมหาดไทยหรือประกาศกระทรวงแรงงานที่ออกตามประกาศของคณะปฏิวัติฯ มาใช้บังคับ ทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายอยู่ตลอดมา สมควรออกกฎหมายเพื่อให้ความคุ้มครองความปลอดภัยในการทำงานแก่ลูกจ้าง
โดยร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. ... ได้มีการรวมกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยจำนวน 3 ฉบับรวมเข้าด้วยกันเป็นฉบับเดียวกัน เพื่อให้เกิดความสะดวกต่อนายจ้างซึ่งต้องปฏิบัติตาม ซึ่งได้แก่
1. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ลงวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2519
2. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น ลงวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2530
3. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับหม้อน้ำ ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2534
ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. ... จะเป็นประโยชน์ต่อนายจ้างที่จะเป็นการลดความสูญเสียเงิน ทรัพย์สิน และแรงงานที่มีทักษะและประสบการณ์ในการทำงานและเป็นประโยชน์ต่อลูกจ้างที่เป็นการถนอมแรงงานและพัฒนาคุณภาพชีวิตของลูกจ้าง ช่วยให้ลูกจ้างทำงานด้วยความปลอดภัยและมีสุขภาพอนามัยที่ดี รวมทั้งจะส่งผลดีต่อประเทศที่จะลดการสูญเสียทรัพยากรบุคคลที่อยู่ในวัยทำงาน ประหยัดงบประมาณในการดูแลรักษาพยาบาล ฟื้นฟูสมรรถภาพของลูกจ้างที่ประสบอันตรายจากการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่นและหม้อน้ำ และเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย ที่จะสามารถแข่งขันกับต่างชาติได้ดีในยุคโลกาภิวัตน์ รวมทั้งการที่ประเทศไทยมีมาตรฐานแรงงานเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน เกี่ยวกับงานก่อสร้างที่สอดคล้องกับมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ ซึ่งจะเป็นมาตรการในการป้องกันการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศได้อีกทางหนึ่ง จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 มิถุนายน 2549--จบ--