คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงศึกษาธิการรายงานผลการดำเนินการโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการจ้างนักเรียน นักศึกษาทำงานเพื่อมีรายได้เสริมระหว่างเรียน สรุปได้ดังนี้
การดำเนินงาน
กระทรวงศึกษาธิการได้รับเงินสนับสนุนจากเงินรายได้พิเศษของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จำนวน 200 ล้านบาท เรียบร้อยแล้ว และได้กำหนดเป้าหมายการจ้างนักเรียนโดยรวมสูงกว่าที่ตั้งไว้เดิม 115,958 คน เป็นจำนวน 118,431 คน ซึ่งแบ่งเป็นเป้าหมายการจ้างงานในส่วนราชการส่วนกลาง จำนวน 4,711 คน เป้าหมายการจ้างงาน ในภูมิภาคทั่วประเทศ รวมจำนวน 113,720 คน ซึ่งการดำเนินการหลักมีดังนี้
ส่วนกลาง เปิดศูนย์บริการ “งานดีที่น้องทำได้” โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานร่วมในพิธี เพื่อดำเนินการ ประชาสัมพันธ์ตำแหน่งงานและรับสมัครนักเรียน นักศึกษาทำงานโดยภาคเอกชนได้จำนวน รวม 27,579 ใบสมัครและภาคราชการมีการบูรณาการทำงานร่วมกันโดยส่วนราชการกระทรวงต่าง ๆ รวม 20 กระทรวง องค์กรอิสระอีก 9 แห่ง ได้ให้ตำแหน่งงาน รวม จำนวน 4,366 อัตรา
ส่วนภูมิภาค ส่วนราชการและสถานศึกษา สถาบันการศึกษาดำเนินการจัดทำโครงการฯ โดยเฉพาะในช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อน ทั้งในสถานศึกษาและส่วนราชการเรียบร้อยแล้ว
1. ผลการดำเนินงานติดตามรายงานผลการจ้างนักเรียน นักศึกษาทำงานของส่วนราชการกระทรวงศึกษาธิการทั่วประเทศ
1.1 ส่วนราชการ
ส่วนราชการและสถานศึกษาในภูมิภาคและกรุงเทพมหานครสังกัดองค์กรหลักต่าง ๆ อยู่ในระหว่างการรายงานข้อมูล ซึ่งข้อมูลเบื้องต้น ณ วันที่ 15 มิถุนายน 2549 มีข้อมูลการจ้างทำงาน รวม 65,295 คน
1.2 ภาคเอกชน
จากการประสานข้อมูลการจ้างงานภาคเอกชนที่มาร่วมออกบูธในส่วนกลางมีการจ้างนักเรียน นักศึกษา ข้อมูลเบื้องต้น มีจำนวน 6,530 คน ซึ่งมีบริษัทหลัก ได้แก่ บริษัท ซีพี เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด(มหาชน) บริษัท บางจากกรีนเนท จำกัด บริษัท สยามพารากอน จำกัด บริษัท เอส.แอนด์.พี.ซินดิเคท จำกัด บริษัทเอเชียไวร์เลส คอมมิวนิเคชั่น จำกัด สภาธุรกิจตลาดหุ้นไทยและธนาคารอาคารสงเคราะห์และการจ้างงานเอกชนในส่วนภูมิภาค โดยการประสานงานของกระทรวงแรงงาน มีการจ้างงานเบื้องต้น จำนวน 21,000 คน เป็นต้น
2. ผลการดำเนินงานโครงการเสริมโดยกระทรวงต่าง ๆ
กระทรวงที่จัดโครงการเสริมและสนับสนุนงบประมาณดำเนินการ รวม 4,820 คน ได้แก่
1) กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง 2) กรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3) กระทรวงพลังงาน 4) กระทรวงการต่างประเทศ
3. การบูรณาการทำงานของส่วนราชการในจังหวัด
จากการสุ่มจังหวัดเพื่อติดตามและประเมินผลพบว่า 1) ผู้ว่าราชการจังหวัดให้ความร่วมมือสนับสนุนโครงการฯ โดยให้ส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาล และภาคเอกชนจ้างงานนักเรียน นักศึกษา 2) สำนักงานจัดหางานจังหวัดให้ความร่วมมือโดยประสานการจ้างงานของส่วนราชการ ภาคเอกชน และสถานประกอบการ รวมทั้งการจัดหางานในต่างจังหวัด
4. ประโยชน์ที่ได้รับความพึงพอใจและเจตคติ
จากการติดตามประเมินผลโครงการเบื้องต้น พบว่า นักเรียน นักศึกษา ที่ทำงานได้รับประโยชน์ มีความพึงพอใจและเจตคติที่เกี่ยวข้อง โดยสรุป คือ 1) นักเรียน นักศึกษา ได้รับความรู้ประสบการณ์เพิ่มขึ้นจากสาขาที่เรียนนำไปเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพในอนาคต โดยเฉพาะระดับมัธยมศึกษาเป็นแนวทางในการเลือกสาขาเรียนต่อในระดับสูงขึ้น 2) ได้รับคุณค่าของการทำงานมากกว่าการได้รับค่าตอบแทน เกิดจิตสำนึกและเจตคติที่ดีต่องานที่ได้ปฏิบัติ เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์และบางรายสามารถเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ 3) นักเรียน นักศึกษานำรายได้ไปใช้จ่ายส่วนตัวในเรื่องการเรียน และบางรายนำไปช่วยแบ่งเบาภาระผู้ปกครอง เช่น ใช้จ่ายเป็นค่าเล่าเรียนของน้อง ค่าเช่าบ้าน เป็นต้น 4) นักเรียน นักศึกษา และผู้เกี่ยวข้องเห็นควรให้มีโครงการต่อเนื่องในปีต่อ ๆ ไป 5) สำหรับส่วนราชการได้ประโยชน์จากการจ้างนักเรียน นักศึกษา ทำให้งานที่รับผิดชอบในระดับหนึ่งสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
ในการดำเนินงานโครงการดังกล่าว ได้รับความร่วมมือจากส่วนราชการทุกกระทรวงโดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงแรงงาน ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนเป็นอย่างดียิ่ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 4 กรกฎาคม 2549--จบ--
การดำเนินงาน
กระทรวงศึกษาธิการได้รับเงินสนับสนุนจากเงินรายได้พิเศษของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จำนวน 200 ล้านบาท เรียบร้อยแล้ว และได้กำหนดเป้าหมายการจ้างนักเรียนโดยรวมสูงกว่าที่ตั้งไว้เดิม 115,958 คน เป็นจำนวน 118,431 คน ซึ่งแบ่งเป็นเป้าหมายการจ้างงานในส่วนราชการส่วนกลาง จำนวน 4,711 คน เป้าหมายการจ้างงาน ในภูมิภาคทั่วประเทศ รวมจำนวน 113,720 คน ซึ่งการดำเนินการหลักมีดังนี้
ส่วนกลาง เปิดศูนย์บริการ “งานดีที่น้องทำได้” โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานร่วมในพิธี เพื่อดำเนินการ ประชาสัมพันธ์ตำแหน่งงานและรับสมัครนักเรียน นักศึกษาทำงานโดยภาคเอกชนได้จำนวน รวม 27,579 ใบสมัครและภาคราชการมีการบูรณาการทำงานร่วมกันโดยส่วนราชการกระทรวงต่าง ๆ รวม 20 กระทรวง องค์กรอิสระอีก 9 แห่ง ได้ให้ตำแหน่งงาน รวม จำนวน 4,366 อัตรา
ส่วนภูมิภาค ส่วนราชการและสถานศึกษา สถาบันการศึกษาดำเนินการจัดทำโครงการฯ โดยเฉพาะในช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อน ทั้งในสถานศึกษาและส่วนราชการเรียบร้อยแล้ว
1. ผลการดำเนินงานติดตามรายงานผลการจ้างนักเรียน นักศึกษาทำงานของส่วนราชการกระทรวงศึกษาธิการทั่วประเทศ
1.1 ส่วนราชการ
ส่วนราชการและสถานศึกษาในภูมิภาคและกรุงเทพมหานครสังกัดองค์กรหลักต่าง ๆ อยู่ในระหว่างการรายงานข้อมูล ซึ่งข้อมูลเบื้องต้น ณ วันที่ 15 มิถุนายน 2549 มีข้อมูลการจ้างทำงาน รวม 65,295 คน
1.2 ภาคเอกชน
จากการประสานข้อมูลการจ้างงานภาคเอกชนที่มาร่วมออกบูธในส่วนกลางมีการจ้างนักเรียน นักศึกษา ข้อมูลเบื้องต้น มีจำนวน 6,530 คน ซึ่งมีบริษัทหลัก ได้แก่ บริษัท ซีพี เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด(มหาชน) บริษัท บางจากกรีนเนท จำกัด บริษัท สยามพารากอน จำกัด บริษัท เอส.แอนด์.พี.ซินดิเคท จำกัด บริษัทเอเชียไวร์เลส คอมมิวนิเคชั่น จำกัด สภาธุรกิจตลาดหุ้นไทยและธนาคารอาคารสงเคราะห์และการจ้างงานเอกชนในส่วนภูมิภาค โดยการประสานงานของกระทรวงแรงงาน มีการจ้างงานเบื้องต้น จำนวน 21,000 คน เป็นต้น
2. ผลการดำเนินงานโครงการเสริมโดยกระทรวงต่าง ๆ
กระทรวงที่จัดโครงการเสริมและสนับสนุนงบประมาณดำเนินการ รวม 4,820 คน ได้แก่
1) กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง 2) กรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3) กระทรวงพลังงาน 4) กระทรวงการต่างประเทศ
3. การบูรณาการทำงานของส่วนราชการในจังหวัด
จากการสุ่มจังหวัดเพื่อติดตามและประเมินผลพบว่า 1) ผู้ว่าราชการจังหวัดให้ความร่วมมือสนับสนุนโครงการฯ โดยให้ส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาล และภาคเอกชนจ้างงานนักเรียน นักศึกษา 2) สำนักงานจัดหางานจังหวัดให้ความร่วมมือโดยประสานการจ้างงานของส่วนราชการ ภาคเอกชน และสถานประกอบการ รวมทั้งการจัดหางานในต่างจังหวัด
4. ประโยชน์ที่ได้รับความพึงพอใจและเจตคติ
จากการติดตามประเมินผลโครงการเบื้องต้น พบว่า นักเรียน นักศึกษา ที่ทำงานได้รับประโยชน์ มีความพึงพอใจและเจตคติที่เกี่ยวข้อง โดยสรุป คือ 1) นักเรียน นักศึกษา ได้รับความรู้ประสบการณ์เพิ่มขึ้นจากสาขาที่เรียนนำไปเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพในอนาคต โดยเฉพาะระดับมัธยมศึกษาเป็นแนวทางในการเลือกสาขาเรียนต่อในระดับสูงขึ้น 2) ได้รับคุณค่าของการทำงานมากกว่าการได้รับค่าตอบแทน เกิดจิตสำนึกและเจตคติที่ดีต่องานที่ได้ปฏิบัติ เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์และบางรายสามารถเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ 3) นักเรียน นักศึกษานำรายได้ไปใช้จ่ายส่วนตัวในเรื่องการเรียน และบางรายนำไปช่วยแบ่งเบาภาระผู้ปกครอง เช่น ใช้จ่ายเป็นค่าเล่าเรียนของน้อง ค่าเช่าบ้าน เป็นต้น 4) นักเรียน นักศึกษา และผู้เกี่ยวข้องเห็นควรให้มีโครงการต่อเนื่องในปีต่อ ๆ ไป 5) สำหรับส่วนราชการได้ประโยชน์จากการจ้างนักเรียน นักศึกษา ทำให้งานที่รับผิดชอบในระดับหนึ่งสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
ในการดำเนินงานโครงการดังกล่าว ได้รับความร่วมมือจากส่วนราชการทุกกระทรวงโดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงแรงงาน ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนเป็นอย่างดียิ่ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 4 กรกฎาคม 2549--จบ--