คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ประเทศไทยร่วมลงนามร่างปฏิญญากัวลาลัมเปอร์ว่าด้วยการประชุมสุดยอดอาเซียน+3 (Kuala Lumpur Declaration on the ASEAN+3 Summit) และร่างปฏิญญากัวลาลัมเปอร์ว่าด้วยการประชุมสุดยอดเอเซียตะวันออก (Kuala Lumpur Declaration on the East Asia Summit) ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ และหากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขเอกสารดังกล่าวที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก แต่หากมีการแก้ไขในสาระสำคัญ ขอให้นายกรัฐมนตรีใช้ดุลยพินิจแทนคณะรัฐมนตรี
กระทรวงการต่างประเทศชี้แจงว่า อนุสนธิหนังสือกระทรวงการต่างประเทศที่อ้างถึงเสนอเอกสารสำคัญที่จะมีการลงนามหรือรับรองในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 11 และการประชุมสุดยอดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ระหว่างวันที่ 12 — 14 ธันวาคม 2548 ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา นั้น กระทรวงการต่างประเทศได้เสนอเอกสารสำคัญเพิ่มเติมจำนวน 2 ฉบับ ซึ่งนายกรัฐมนตรีมีกำหนดจะลงนามในช่วงการประชุมสุดยอดดังกล่าว ได้แก่
1. ร่างปฏิญญากัวลาลัมเปอร์ว่าด้วยการประชุมสุดยอดอาเซียน+3 (Kuala Lumpur Declaration on the ASEAN+3 Summit) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงเจตนารมณ์ของผู้นำที่จะให้มีการประชุมสุดยอดอาเซียน+3 อันประกอบด้วยประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี เป็นประจำทุกปีต่อไป เพื่อชี้นำและสนับสนุนการจัดตั้งประชาคมเอเชียตะวันออก โดยมอบหมายให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องจัดเตรียมร่างแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความร่วมมือเอเชียตะวันออก ฉบับที่ 2 เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือที่มีอยู่และกำหนดทิศทางความร่วมมือในอนาคต รวมทั้งการพัฒนาประชาคมเอเชียตะวันออก นอกจากนี้ จะสนับสนุนความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี เร่งรัดการดำเนินมาตรการความร่วมมือต่าง ๆ ในกรอบอาเซียน+3 การรวมตัวของอาเซียน ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชนในระดับต่าง ๆ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีระหว่างกัน ทั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาความร่วมมือในกรอบอาเซียน+3 ให้นำไปสู่การจัดตั้งประชาคมเอเชียตะวันออกต่อไป
2. ร่างปฏิญญากัวลาลัมเปอร์ว่าด้วยการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (Kuala Lumpur Declaration on the East Asia Summit) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงเจตนารมณ์ของผู้นำประเทศที่เข้าร่วม อันได้แก่ประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ที่ตกลงให้การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกเป็นเวทีสำหรับการหารือในประเด็นยุทธศาสตร์ในภาพกว้าง รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง การพัฒนาเศรษฐกิจ ความมั่นคงด้านพลังงาน วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม สาธารณสุข และการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ โดยจะเป็นส่วนหนึ่งของ “regional architecture ” ที่สนับสนุนกรอบความร่วมมือในระดับภูมิภาคอื่น ๆ และจะช่วยส่งเสริมการจัดตั้งประชาคมอาเซียน การประชุมนี้จะเป็นการประชุมที่เปิดกว้างและโปร่งใส โดยจะมีประเทศที่เข้าร่วมการประชุมฯ ได้แก่ประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศอื่น ๆ ที่มีคุณสมบัติครบตามหลักเกณฑ์ที่อาเซียนกำหนด และจะมีขึ้นเป็นประจำในประเทศที่ดำรงตำแหน่งประธานของอาเซียน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 29 พฤศจิกายน 2548--จบ--
กระทรวงการต่างประเทศชี้แจงว่า อนุสนธิหนังสือกระทรวงการต่างประเทศที่อ้างถึงเสนอเอกสารสำคัญที่จะมีการลงนามหรือรับรองในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 11 และการประชุมสุดยอดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ระหว่างวันที่ 12 — 14 ธันวาคม 2548 ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา นั้น กระทรวงการต่างประเทศได้เสนอเอกสารสำคัญเพิ่มเติมจำนวน 2 ฉบับ ซึ่งนายกรัฐมนตรีมีกำหนดจะลงนามในช่วงการประชุมสุดยอดดังกล่าว ได้แก่
1. ร่างปฏิญญากัวลาลัมเปอร์ว่าด้วยการประชุมสุดยอดอาเซียน+3 (Kuala Lumpur Declaration on the ASEAN+3 Summit) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงเจตนารมณ์ของผู้นำที่จะให้มีการประชุมสุดยอดอาเซียน+3 อันประกอบด้วยประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี เป็นประจำทุกปีต่อไป เพื่อชี้นำและสนับสนุนการจัดตั้งประชาคมเอเชียตะวันออก โดยมอบหมายให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องจัดเตรียมร่างแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความร่วมมือเอเชียตะวันออก ฉบับที่ 2 เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือที่มีอยู่และกำหนดทิศทางความร่วมมือในอนาคต รวมทั้งการพัฒนาประชาคมเอเชียตะวันออก นอกจากนี้ จะสนับสนุนความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี เร่งรัดการดำเนินมาตรการความร่วมมือต่าง ๆ ในกรอบอาเซียน+3 การรวมตัวของอาเซียน ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชนในระดับต่าง ๆ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีระหว่างกัน ทั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาความร่วมมือในกรอบอาเซียน+3 ให้นำไปสู่การจัดตั้งประชาคมเอเชียตะวันออกต่อไป
2. ร่างปฏิญญากัวลาลัมเปอร์ว่าด้วยการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (Kuala Lumpur Declaration on the East Asia Summit) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงเจตนารมณ์ของผู้นำประเทศที่เข้าร่วม อันได้แก่ประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ที่ตกลงให้การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกเป็นเวทีสำหรับการหารือในประเด็นยุทธศาสตร์ในภาพกว้าง รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง การพัฒนาเศรษฐกิจ ความมั่นคงด้านพลังงาน วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม สาธารณสุข และการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ โดยจะเป็นส่วนหนึ่งของ “regional architecture ” ที่สนับสนุนกรอบความร่วมมือในระดับภูมิภาคอื่น ๆ และจะช่วยส่งเสริมการจัดตั้งประชาคมอาเซียน การประชุมนี้จะเป็นการประชุมที่เปิดกว้างและโปร่งใส โดยจะมีประเทศที่เข้าร่วมการประชุมฯ ได้แก่ประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศอื่น ๆ ที่มีคุณสมบัติครบตามหลักเกณฑ์ที่อาเซียนกำหนด และจะมีขึ้นเป็นประจำในประเทศที่ดำรงตำแหน่งประธานของอาเซียน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 29 พฤศจิกายน 2548--จบ--