คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สรุปสถานการณ์ภัยแล้งและการให้ความช่วยเหลือที่ได้ดำเนินการแล้ว จนถึงวันที่ 21 เมษายน 2549 ) ดังนี้
1. สถานการณ์ภัยแล้งปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 21 เมษายน 2549) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้รับรายงานจากจังหวัดว่าได้เกิดสถานการณ์ภัยแล้ง (ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2548 ถึงวันที่ 21 เมษายน 2549) ดังนี้ พื้นที่ประสบภัย รวม 61 จังหวัด 462 อำเภอ 46 กิ่งฯ 3,039 ตำบล 22,528 หมู่บ้าน แยกเป็น ราษฎรเดือดร้อน 2,374,422 ครัวเรือน 9,587,852 คน
พื้นที่การเกษตรที่ประสบภัยแล้ง
ประเภทพืช พื้นที่การเกษตรที่ประสบ พื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะ
ความเสียหายแล้ว (ไร่) ประสบความเสียหาย (ไร่)
นาข้าว 959,145 817,551
พืชไร่ 268,471 540,354
พืชสวน 37,574 257,127
รวมพืชเกษตร **1,265,190 ***1,615,032
มูลค่าความเสียหาย (บาท) 168,158,831 บาท 165,748,013 บาท
หมายเหตุ ** ข้อมูลพื้นที่การเกษตรที่ได้รับความเสียหายแล้วเป็นข้อมูลที่รวมพื้นที่ประสบภัยจากสภาวะฝนทิ้งช่วงระหว่างตุลาคม — พฤศจิกายน 2548 ของ จ.นครราชสีมา 274,207 ไร่ จ.ขอนแก่น 271,163 ไร่ จ.ศรีสะเกษ 165,224 ไร่ จ.สุรินทร์ 185,271 ไร่ด้วย
*** พื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะเสียหายลดลง 1,355,166 ไร่ (จากเดิม 2,970,198 ไร่ คงเหลือ 1,615,032 ไร่ เนื่องจากมีการเก็บเกี่ยวข้าวนาปรังและพืชไร่แล้วเป็นบางส่วน)
การให้ความช่วยเหลือของจังหวัด/อำเภอ/กิ่งอำเภอ
1) การจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตร
(1) ใช้รถบรรทุกน้ำ 89 คัน 2,408 เที่ยว
(2) ปริมาณน้ำที่แจกจ่ายน้ำ 10,966,800 ลิตร
(3) ใช้เครื่องสูบน้ำ 688 เครื่อง
(4) สร้างทำนบ/ฝาย 12,108 แห่ง
(5) ขุดลอกแหล่งน้ำ 333 แห่ง
2) การแจกจ่ายน้ำอุปโภค/บริโภค
(1) ใช้รถบรรทุกน้ำ 1,199 คัน 50,184 เที่ยว
(2) ปริมาณน้ำที่แจกจ่าย 579,482,864 ลิตร
3) งบประมาณดำเนินการใช้จ่ายไปแล้ว รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 437,070,334 บาท
(1) งบฉุกเฉินทดรองราชการของจังหวัด (งบ 50 ล้านบาท) 390,078,282 บาท
(2) งบฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 37,570,822 บาท
(3) งบประมาณอื่น ๆ เช่น งบจังหวัด CEO 8,825,396 บาท
2. การเกิดพายุฤดูร้อนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ( วันที่ 11-20 เมษายน 2549 ) ในระหว่างวันที่ 11 - 20 เมษายน 2549 ได้เกิดพายุฤดูร้อน ลมกระโชกแรงและมีพายุฝน/ลูกเห็บตกบางแห่ง สรุปได้ ดังนี้
2.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 14 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น สกลนคร อุบลราชธานี หนองคาย เชียงราย ตาก แพร่ ชัยนาท สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ฉะเชิงเทรา ตราด และนราธิวาส รวม 30 อำเภอ 45 ตำบล 85 หมู่บ้าน
2.2 ความเสียหาย
(1) ราษฎรเดือดร้อน 1,002 ครัวเรือน 3,841 คน เสียชีวิต 3 คน (จ.อุบลราชธานี 2 คน จ.นราธิวาส 1 คน)
(2) บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 10 หลัง บางส่วน 937 หลัง วัด 3 แห่ง สถานที่ราชการ 3 แห่ง
(3) มูลค่าความเสียหายเบื้องต้น 10,650,500 บาท
2.3 การให้ความช่วยเหลือ จังหวัดที่ประสบภัยได้ให้ความช่วยเหลือจากงบฉุกเฉิน (50 ล้านบาท) ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด นอกจากนี้เหล่ากาชาดจังหวัดและมูลนิธิได้ร่วมให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 เมษายน 2549--จบ--
1. สถานการณ์ภัยแล้งปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 21 เมษายน 2549) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้รับรายงานจากจังหวัดว่าได้เกิดสถานการณ์ภัยแล้ง (ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2548 ถึงวันที่ 21 เมษายน 2549) ดังนี้ พื้นที่ประสบภัย รวม 61 จังหวัด 462 อำเภอ 46 กิ่งฯ 3,039 ตำบล 22,528 หมู่บ้าน แยกเป็น ราษฎรเดือดร้อน 2,374,422 ครัวเรือน 9,587,852 คน
พื้นที่การเกษตรที่ประสบภัยแล้ง
ประเภทพืช พื้นที่การเกษตรที่ประสบ พื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะ
ความเสียหายแล้ว (ไร่) ประสบความเสียหาย (ไร่)
นาข้าว 959,145 817,551
พืชไร่ 268,471 540,354
พืชสวน 37,574 257,127
รวมพืชเกษตร **1,265,190 ***1,615,032
มูลค่าความเสียหาย (บาท) 168,158,831 บาท 165,748,013 บาท
หมายเหตุ ** ข้อมูลพื้นที่การเกษตรที่ได้รับความเสียหายแล้วเป็นข้อมูลที่รวมพื้นที่ประสบภัยจากสภาวะฝนทิ้งช่วงระหว่างตุลาคม — พฤศจิกายน 2548 ของ จ.นครราชสีมา 274,207 ไร่ จ.ขอนแก่น 271,163 ไร่ จ.ศรีสะเกษ 165,224 ไร่ จ.สุรินทร์ 185,271 ไร่ด้วย
*** พื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะเสียหายลดลง 1,355,166 ไร่ (จากเดิม 2,970,198 ไร่ คงเหลือ 1,615,032 ไร่ เนื่องจากมีการเก็บเกี่ยวข้าวนาปรังและพืชไร่แล้วเป็นบางส่วน)
การให้ความช่วยเหลือของจังหวัด/อำเภอ/กิ่งอำเภอ
1) การจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตร
(1) ใช้รถบรรทุกน้ำ 89 คัน 2,408 เที่ยว
(2) ปริมาณน้ำที่แจกจ่ายน้ำ 10,966,800 ลิตร
(3) ใช้เครื่องสูบน้ำ 688 เครื่อง
(4) สร้างทำนบ/ฝาย 12,108 แห่ง
(5) ขุดลอกแหล่งน้ำ 333 แห่ง
2) การแจกจ่ายน้ำอุปโภค/บริโภค
(1) ใช้รถบรรทุกน้ำ 1,199 คัน 50,184 เที่ยว
(2) ปริมาณน้ำที่แจกจ่าย 579,482,864 ลิตร
3) งบประมาณดำเนินการใช้จ่ายไปแล้ว รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 437,070,334 บาท
(1) งบฉุกเฉินทดรองราชการของจังหวัด (งบ 50 ล้านบาท) 390,078,282 บาท
(2) งบฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 37,570,822 บาท
(3) งบประมาณอื่น ๆ เช่น งบจังหวัด CEO 8,825,396 บาท
2. การเกิดพายุฤดูร้อนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ( วันที่ 11-20 เมษายน 2549 ) ในระหว่างวันที่ 11 - 20 เมษายน 2549 ได้เกิดพายุฤดูร้อน ลมกระโชกแรงและมีพายุฝน/ลูกเห็บตกบางแห่ง สรุปได้ ดังนี้
2.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 14 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น สกลนคร อุบลราชธานี หนองคาย เชียงราย ตาก แพร่ ชัยนาท สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ฉะเชิงเทรา ตราด และนราธิวาส รวม 30 อำเภอ 45 ตำบล 85 หมู่บ้าน
2.2 ความเสียหาย
(1) ราษฎรเดือดร้อน 1,002 ครัวเรือน 3,841 คน เสียชีวิต 3 คน (จ.อุบลราชธานี 2 คน จ.นราธิวาส 1 คน)
(2) บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 10 หลัง บางส่วน 937 หลัง วัด 3 แห่ง สถานที่ราชการ 3 แห่ง
(3) มูลค่าความเสียหายเบื้องต้น 10,650,500 บาท
2.3 การให้ความช่วยเหลือ จังหวัดที่ประสบภัยได้ให้ความช่วยเหลือจากงบฉุกเฉิน (50 ล้านบาท) ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด นอกจากนี้เหล่ากาชาดจังหวัดและมูลนิธิได้ร่วมให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 เมษายน 2549--จบ--