คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สรุปสถานการณ์อุทกภัยและภัยหนาว ที่เกิดขึ้น และผลการปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชน ดังนี้
1. สรุปสถานการณ์อุทกภัยภาคใต้และการให้ความช่วยเหลือ (ข้อมูล ณ วันที่ 5 มกราคม 2552)
ในห้วงระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม 2551 จนถึงปัจจุบัน มีฝนตกหนักมากต่อเนื่องในพื้นที่ภาคใต้ ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่า ไหลหลากใน 3 จังหวัด 18 อำเภอ 78 ตำบล 399 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดพัทลุง ยะลา และจังหวัดนราธิวาส ดังนี้
1.1 จังหวัดพัทลุง 5 อำเภอ 18 ตำบล 123 หมู่บ้าน ดังนี้
1) อำเภอเขาชัยสน 3 ตำบล 11 หมู่บ้าน ได้แก่ ต.เขาชัยสน (ม.1,2,8,9) ต.โคกม่วง (ม.1,2,8,10) และ ต.จอง ถนน (ม.2,4,7) ราษฎรเดือดร้อน 1,150 ครัวเรือน 3,500 คน
2) อำเภอกงหรา 2 ตำบล 11 หมู่บ้าน ได้แก่ ต.คลองเฉลิม (ม.2,3,5,7) และ ต.ชะรัด(ม.1,2,3,4,5,8,9) ราษฎร เดือดร้อน 350 ครัวเรือน 1,590 คน
3) อำเภอศรีนครินทร์ 4 ตำบล 43 หมู่บ้าน ความเสียหายอยู่ระหว่างการสำรวจ
4) อำเภอตะโหมด 3 ตำบล 33 หมู่บ้าน ความเสียหายอยู่ระหว่างการสำรวจ
5) อำเภอเมือง 6 ตำบล 25 หมู่บ้าน ได้แก่ ต.ปรางหมู่ (ม.1-5,8) ต.โคกชะงาย (ม.1,2,4,8,9) ต.เขาเจียก (ม.3,10,11) ต.นาโหนด (ม.2,3,8) ต.ท่ามิหรำ (ม.3,6,8) และ ต.ชัยบุรี (ม.6-10) ความเสียหายอยู่ระหว่างการสำรวจ
การให้ความช่วยเหลือ
จังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าให้ความช่วยเหลือใน เบื้องต้นแล้ว พร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่เตรียมพร้อมช่วยเหลือราษฎรตลอด 24 ชั่วโมง
1.2 จังหวัดยะลา 3 อำภอ 20 ตำบล 61 หมู่บ้าน ดังนี้
1) อำเภอกรงปินัง 4 ตำบล 11 หมู่บ้าน ได้แก่ ต.ปุโรง (ม. 4) ต.กรงปินัง (ม.1-5) ต.สะเอะ (ม.1,6) และ ต. ห้วยกระทิง (ม.1,3,4) ราษฎรเดือดร้อน 204 ครัวเรือน 728 คน
2) อำเภอยะหา 4 ตำบล 13 หมู่บ้าน ได้แก่ ต.ยะหา (ม.1) ต.ปะแต (ม.1,2,6,7) ต.บะโร๊ะ (ม.1,5) และ ต.ละแอ (ม.1-6) ราษฎรเดือดร้อน 342 ครัวเรือน 1,340 คน
3) อำเภอรามัน 12 ตำบล 39 หมู่บ้าน ได้แก่ ต.กายูบอเกาะ (ม.2,6) ต.จะกว๊ะ (ม.1,3,4,5) ต.ตะโละหะลอ (ม.3-5) ต.เกาะรอ (ม.1-7) ต.อาช่อง (ม.1) ต.ท่าธง (ม.1,3) ต.วังพญา (ม.2,6) ต.เนินงาม (ม.1-7) ต.บาโงย (ม.1-4) ต. โกตาบารู (ม.4) ต.ยะต๊ะ (ม.1-5) และ ต.กาลอ (ม.3) ราษฎรเดือดร้อน 89 ครัวเรือน 410 คน
การให้ความช่วยเหลือ
จังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าให้ความช่วยเหลือใน เบื้องต้นแล้ว พร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่เตรียมพร้อมช่วยเหลือราษฎรตลอด 24 ชั่วโมง
1.3 จังหวัดนราธิวาส 10 อำเภอ 40 ตำบล 215 หมู่บ้าน
ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 23,958 คน 8,244 ครัวเรือน อพยพราษฎรไปพื้นที่ปลอดภัยแล้ว จำนวน 563 คน 168 ครัว เรือน ถนนเสียหาย จำนวน 58 สาย ท่อระบายน้ำ 6 จุด เส้นทางรถไฟระหว่างตันหยังมัส-มะรือโบตก ชำรุดระยะทาง 80 เมตร
2. สรุปสถานการณ์ภัยหนาวและการให้ความช่วยเหลือ (ข้อมูล ณ วันที่ 5 มกราคม 2552)
2.1 พื้นที่ประสบภัยหนาวที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส และได้ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินแล้ว จำนวน 36 จังหวัด สรุปได้ดังนี้
ที่ ภาค พื้นที่ประกาศภัยพิบัติ รวม 1 เหนือ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา แพร่ น่าน ลำพูน 15 จังหวัด
ลำปาง แม่ฮ่องสอน เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ ตาก อุทัยธานี
กำแพงเพชร พิจิตร และจังหวัดพิษณุโลก
2 ตะวันออก จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น นครพนม สกลนคร 17 จังหวัด เฉียงเหนือ มุกดาหาร เลย ร้อยเอ็ด หนองคาย หนองบัวลำภู
บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ อุดรธานี มหาสารคาม
สุรินทร์ ชัยภูมิ และจังหวัดนครราชสีมา
3 กลาง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สระบุรี และจังหวัดลพบุรี 3 จังหวัด 4 ตะวันออก จังหวัดจันทบุรี 1 จังหวัด รวม 36 จังหวัด
2.2 จังหวัดที่ประสบภัยหนาวในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะ กิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาวระดับจังหวัดปี 2551-2552 ณ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และมี 42 จังหวัด รายงานว่าได้มอบผ้า ห่มกันหนาวให้แก่ประชาชนที่ขาดแคลนใน 474 อำเภอ 3,073 ตำบล 32,808 หมู่บ้าน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) สมาคม มูลนิธิ ไปแล้วรวม 552,422 ชิ้น (ผ้าห่มนวม 472,559 ผืน เสื้อกัน หนาว 70,134 ตัว หมวกไหมพรม 3,317 ชิ้น อื่น ๆ 6,412 ชิ้น)
ที่ ภาค จังหวัดที่แจกจ่ายเครื่องกันหนาว จำนวนราษฎรเดือดร้อน จำนวนเครื่องกันหนาว จากภัยหนาว ที่แจกจ่ายแล้ว (ชิ้น)
คน ครัวเรือน
1 เหนือ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา แพร่ 1,420,791 487,423 283,196
น่าน ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน เพชรบูรณ์
อุตรดิตถ์ ตาก อุทัยธานี กำแพงเพชร พิจิตร
และจังหวัดพิษณุโลก
2 ตะวันออก จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น นครพนม สกลนคร 2,972,436 951,842 256,048
เฉียงเหนือ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร เลย ร้อยเอ็ด
หนองคาย หนองบัวลำภู บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ
อำนาจเจริญ อุดรธานี อุบลราชธานี สุรินทร์
ชัยภูมิ และจังหวัดนครราชสีมา
3 กลาง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี 173,661 72,398 13,178
สระบุรี และจังหวัดลพบุรี
4 ตะวันออก จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดสระแก้ว 57,275 21,472 อยู่ระหว่างดำเนินการ รวม 42 จังหวัด 474 อำเภอ 3,073 4,624,163 1,533,135 552,422
ตำบล 32,808 หมู่บ้าน
3. การให้ความช่วยเหลือ
3.1 การให้ความช่วยเหลือของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้โอนเงินงบประมาณไปตั้งจ่ายที่คลังจังหวัดเพื่อจัดซื้อเครื่องกันหนาวให้ทันการแจก จ่ายในฤดูหนาวตามความเหมาะสมและจำเป็น รวมจำนวน 47 จังหวัด ๆ ละ 200,000 บาท เป็นเงินงบประมาณรวมทั้งสิ้น 9,400,000 บาท นอก จากนี้ยังได้เตรียมงบประมาณ 52,927,500 บาท ใช้จัดหาเครื่องกันหนาวสนับสนุนให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตต่าง ๆ ที่รับผิดชอบ จังหวัดที่ประสบ ภัยหนาว และสำรองไว้ในคลังส่วนกลางเพื่อเตรียมการสนับสนุนให้กับสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเพิ่มเติม หากมี ความจำเป็นภายหลัง
2) จังหวัดมีเงินทดรองราชการตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุก เฉิน พ.ศ. 2551 ในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดสำหรับจัดซื้อผ้าห่มและเครื่องกันหนาวที่จำเป็นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัย เมื่อ อุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส ติดต่อกัน 3 วัน ในวงเงินจังหวัดหนึ่งไม่เกินงบประมาณปีละ 1,000,000 บาท (ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2551) แต่ ทั้งนี้ หากเงินฉุกเฉินดังกล่าวไม่เพียงพอ จังหวัดสามารถแจ้งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขอยกเว้นหลักเกณฑ์ ข้อ 5.1.18 สามารถใช้จ่ายเงิน ทดรองราชการได้อีกตามความเหมาะสมและจำเป็นในวงเงินไม่เกิน 50 ล้านบาท
3) บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ได้ให้การสนับสนุนผ้าห่มกันหนาว จำนวน 200,000 ผืน มูลค่ากว่า 30 ล้าน บาท แจกจ่ายช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาวในพื้นที่ 15 จังหวัด
4. การคาดหมายลักษณะอากาศระหว่างวันที่ 4-10 มกราคม 2552
4.1 กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายลักษณะอากาศว่าบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีน ใต้ ประกอบกับคลื่นกระแสลมตะวันตกจะเคลื่อนผ่านภาคเหนือ ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็นลง โดยอุณหภูมิจะลดลงอีกเล็กน้อย และมีลมแรง ส่วนภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง คลื่นลมในอ่าวไทยสูง 2-3 เมตร ต่อจากนั้นในช่วงวันที่ 5-7 มกราคม 2552 บริเวณความกดอากาศสูง ที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1-3 องศา โดยจะมีหมอกหนาในบางพื้นที่ แต่ยังคงหนาวเย็นต่อไป อีก ส่วนภาคใต้จะมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่ง ๆ ถึงกระจาย สำหรับคลื่นลมในอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 8-10 มกราคม 2552 บริเวณความกดอากาศสูง กำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนอีกระลอกหนึ่งจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศหนาว เย็นลงโดยทั่วไปและมีลมแรง ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณภาคใต้ตอนล่างตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไประวังอันตรายจากสภาวะฝนตกหนักที่ อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลากได้ส่วนชาวเรือในอ่าวไทยควรระวังอันตรายในการเดินเรือ และเรือเล็กตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานีลงไป ควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้
4.2 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งเตือนเกี่ยวกับสภาวะอากาศ ให้จังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ เตรียมการป้องกันและแก้ไข ปัญหาอุทกภัย วาตภัย ดินถล่ม และคลื่นลมแรง อันเกิดจากสภาวะ ฝนตกหนักและคลื่นลมแรง อาจสร้างความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของ ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยและชาวเรือ และให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตจัดเจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ไว้ให้พร้อมเพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันต่อเหตุการณ์เมื่อเกิดสาธารณภัยขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 มกราคม 2552 --จบ--