สรุปสถานการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูแล้ง ครั้งที่

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday January 7, 2009 15:08 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปสถานการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูแล้ง ครั้งที่ 1 ณ วันที่ 5 มกราคม 2552 ประกอบด้วย สถานการณ์ภัยธรรมชาติ สถานการณ์น้ำ และการเตรียมรับสถานการณ์ ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูแล้งปี 2552 สรุปได้ดังนี้

สถานการณ์ภัยธรรมชาติ

สถานการณ์อุทกภัย จากอิทธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรง ทำให้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 28 ธ.ค. 2551 ถึง 4 ม.ค. 2552 และเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ภาคใต้ 3 จังหวัด ดังนี้

(1) จังหวัดนราธิวาส พื้นที่ประสบภัย 4 อำเภอ 14 ตำบล และ 1 เทศบาลได้แก่ อำเภอรือเสาะ(3 ตำบล) อำเภอตากใบ(3 ตำบล) อำเภอเจาะไอ(2 ตำบล) อำเภอยี่งอ(6 ตำบล) และเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่น้ำท่วมบริเวณที่ลุ่มตลอดแนวฝั่งแม่น้ำ โก-ลก ตั้งแต่อำเภอแว้ง อำเภอสุไหงโก-ลก และนอกคันกั้นน้ำในเขตอำเภอตากใบ โดยกรมชลประทานได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเพื่อช่วยเหลือพื้นที่ ประสบอุทกภัย จำนวน 32 เครื่อง

(2) จังหวัดพัทลุง พื้นที่ประสบภัย 6 อำเภอ 20 ตำบล ได้แก่ อำเภอเขาชัยสน (3 ตำบล) อำเภอกงหรา (2 ตำบล) อำเภอศรี นครินทร์ (4 ตำบล) อำเภอตะโหมด (3 ตำบล) อำเภอเมือง (6 ตำบล) และอำเภอบางแก้ว (2 ตำบล)

(3) จังหวัดยะลา พื้นที่ประสบภัย 3 อำเภอ 20 ตำบล ได้แก่ อำเภอกรงปินัง(4 ตำบล) อำเภอยะหา(4 ตำบล) และอำเภอรามัน (12 ตำบล)

สำหรับผลกระทบด้านการเกษตรอยู่ระหว่างสำรวจส่วนสถานการณ์ภัยธรรมชาติอื่นๆ เช่น ภัยแล้ง วาตภัย ยังไม่ได้รับรายงานการเกิดภัย

สถานการณ์น้ำ ณ วันที่ 4 มกราคม 2552

1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ (4 มกราคม 2552) มีปริมาณน้ำในอ่างฯทั้งหมด 55,310 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ คิด เป็นร้อยละ 81 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด (ปริมาณน้ำใช้การได้ 31,997 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 47 ของความจุอ่างฯ) น้อยกว่าปี 2551 (56,533 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 1,223 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 2 ของความจุอ่างฯ

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างสะสมในช่วงฤดูแล้ง ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2551 ถึงปัจจุบัน จำนวน 6,251 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำ ระบายวันนี้ 118 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณระบายสะสมในช่วงฤดูแล้งตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2551 ถึงปัจจุบัน จำนวน 6,495 ล้านลูกบาศก์ เมตร

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ และป่าสักชลสิทธิ์

หน่วย : ล้าน ลบ.ม.

อ่างเก็บน้ำ         ปริมาตรน้ำ                ปริมาตรน้ำ           ปริมาตรน้ำไหล                 ปริมาณน้ำ
                  ในอ่างฯ                 ใช้การได้              ลงอ่างฯ                      ระบาย
             ปริมาตรน้ำ %ความจุอ่างฯ   ปริมาตรน้ำ %ความจุอ่างฯ    วันนี้          สะสม     วันนี้     เมื่อวาน        สะสม
                                                                   1 พ.ย.51                       1 พ.ย.51
1. ภูมิพล         9,390         70      5,590         42   8.90         1,298   30.00      31.00         933
2. สิริกิติ์         7,732         81      4,882         51   5.80           604   26.07      26.89       1,098
3. ป่าสักชลสิทธิ์      829         86        826         86   2.20           457    1.63       2.62         519

เมื่อเปรียบเทียบปริมาตรน้ำปัจจุบันกับปี 2551 เขื่อนภูมิพล น้อยกว่า จำนวน 1,364 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนสิริกิติ์ มากกว่า จำนวน 1,021 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มากกว่า จำนวน 117 ล้านลูกบาศก์เมตร

อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯ จำนวน 19 อ่าง ได้แก่

ภาค                        จำนวนอ่างฯ                     อ่างฯ/ร้อยละของความจุที่ระดับน้ำเก็บกักของอ่างฯ
                    ทั้งหมด          มากกว่า 80%
เหนือ                    5                   3            สิริกิติ์(81),แม่งัด(103),กิ่วลม(89)
ตะวันออก                12                   9            ห้วยหลวง(98),น้ำอูน(83),จุฬาภรณ์(91),
เฉียงเหนือ                                                 อุบลรัตน์(83) ลำตะคอง(93)ลำพระเพลิง(99),

มูลบน(100),ลำแซะ(96),สิรินธร(85)

กลาง                    3                   2            ป่าสักชลสิทธิ์(86),กระเสียว(101)
ตะวันตก                  2                   1            ศรีนครินทร์(90)
ตะวันออก                 5                   3            คลองสียัด(88),หนองปลาไหล(90),ประแสร์(88)
ใต้                      4                   1            รัชชประภา(84)
รวม                    31                  19

2. สภาพน้ำท่า

แม่น้ำ                                        ที่ตั้งสถานี                       อยู่ในเกณฑ์          แนวโน้ม
                       สถานี                  อำเภอ        จังหวัด
ปิง           P.7A      สะพานบ้านห้วยยาง        เมือง         กำแพงเพชร       ปกติ               เพิ่มขึ้น
             P.17      บ้านท่างิ้ว               บรรพตพิสัย     นครสวรรค์        ปกติ               เพิ่มขึ้น
วัง           W.4A      บ้านวังหมัน              สามเงา       ตาก             ปกติ               ลดลง
ยม           Y.1C      สะพานบ้านน้ำโค้ง         เมือง         แพร่                  ไม่ได้รับรายงาน
             Y.17      บ้านสามง่าม             สามง่าม       พิจิตร            น้อย               ลดลง
น่าน          N.5A      สะพานเอกาทศรถ         เมือง         พิษณุโลก          ปกติ               เพิ่มขึ้น
             N.67      สะพานบ้านเกศไชย        ชุมแสง        นครสวรรค์        ปกติ               ลดลง
ท่าตะเภา      X 158     สะพานบ้านวังครก         ท่าแซะ        ชุมพร            น้อย               ลดลง
ตาปี          X 37A     บ้านย่านดินแดง           พระแสง       สุราษฎร์ธานี       ปกติ               เพิ่มขึ้น
คลองท่าดี      X 55      บ้านท่าใหญ่              ลานสกา       นครศรีธรรมราช    มาก               ลดลง
คลองอู่ตะเภา   X 44      บ้านหาดใหญ่ใน           เมือง         สงขลา           ปกติ               เพิ่มขึ้น
ปัตตานี        X 40A     บ้านท่าสาป              เมือง         ยะลา            ปกติ               เพิ่มขึ้น
โก-ลก        X 119A    บ้านปาเสมัส             สุไหงโก-ลก    นราธิวาส         ท่วม               เพิ่มขึ้น
คลองตันหยงมัศ  X 73      บ้านตันหยงมัส            ระแงะ        นราธิวาส         ท่วม               เพิ่มขึ้น
สายบุรี        X 184     บ้านซากอ               ศรีสาคร       นราธิวาส         ปกติ               เพิ่มขึ้น
ตะกั่วป่า       X 187     บ้านหินดาน              ตะกั่วป่า       พังงา            น้อย               ลดลง
คลองนาท่อม    X 170     บ้านคลองลำ             ศรีนครินทร์     พัทลุง            มาก               ลดลง
             X 68      บ้านท่าแค              เมือง          พัทลุง            น้อย               ลดลง

แม่น้ำเจ้าพระยา (C.2) มีปริมาณน้ำไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ 405 ลบ.ม.ต่อวินาที (ลดลงจากเมื่อวาน) รับน้ำเข้าระบบชล ประทานฝั่งตะวันออก 173 ลบ.ม.ต่อวินาที (ลดลงจากเมื่อวาน) รับน้ำเข้าระบบชลประทานฝั่งตะวันตก 194 ลบ.ม.ต่อวินาที (เท่ากับเมื่อวาน)

ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา (C.13) มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 55 ลบ.ม.ต่อวินาที (ลดลงจากเมื่อวาน) อยู่ในเกณฑ์ปกติ

เขื่อนพระรามหก ปิดการระบายน้ำ

การเตรียมรับสถานการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูแล้งปี 2552

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้จัดทำแผนเตรียมรับสถานการณ์ในช่วงฤดูแล้งปี 2552 เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานป้องกัน และบรรเทาความเดือดร้อน รวมถึงการให้ความช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัยของหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกำหนด แนวทางการดำเนินงานของแผนเตรียมรับสถานการณ์ เป็น 3 ช่วง คือ ก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัย และหลังเกิดภัย ดังนี้

1. การเตรียมรับสถานการณ์

(1) กำหนดมาตรการและเป้าหมายการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง จำนวน 14.41 ล้านไร่ แยกเป็น ข้าวนาปรัง จำนวน 11.61 ล้านไร่(ในเขตชลประทาน 8.79 ล้านไร่ นอกเขตชลประทาน 2.82 ล้านไร่)และพืชไร่-ผัก จำนวน 2.80 ล้านไร่ (ในเขตชลประทาน 0.76 ล้าน ไร่ นอกเขตชลประทาน 2.04 ล้านไร่)

(2) กำหนดแผนการจัดสรรน้ำให้สอดคล้องและเพียงพอกับการกำหนดพื้นที่เพาะปลูกในช่วงฤดูแล้ง จำนวน 18,649 ล้าน ลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 51 ของปริมาณน้ำใช้งานได้ทั้งหมด

(3) การเตรียมความพร้อมเครื่องสูบน้ำ จำนวน 1,200 เครื่อง รถบรรทุกน้ำ 295 คัน (เฉพาะภาคตะวันออกเพื่อช่วยเหลือ พื้นที่ไม้ผล จำนวน 55 คัน)

(4) แผนการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง 8 ศูนย์ ครอบคลุมพื้นที่ 25 ลุ่มน้ำ

(5) การประชาสัมพันธ์แนะนำการทำการเกษตร ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และให้มีการปรับปรุงคุณภาพผลผลิตตามแนวทางการ เกษตรที่ดีเหมาะสม (GAP) การปรับปรุงบำรุงดิน รวมถึงการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช

(6) การสำรองปัจจัยที่จำเป็นในการประกอบเกษตรกรรม ทั้งด้านพืช เสบียงอาหารสัตว์ และเวชภัณฑ์

(7) การส่งเสริมการปรับปรุงบำรุงดินด้วยปุ๋ยพืชสด พื้นที่ 820,000 ไร่ ในพื้นที่ 76 จังหวัด และการขุดสระน้ำในไร่นา นอก เขตชลประทาน (ขนาด 1,260 ลบ.ม.) ในพื้นที่ 68 จังหวัด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกักเก็บน้ำไว้ใช้ในพื้นที่ทำการเกษตร จำนวน 19,518 บ่อ

(8) การช่วยเหลือด้านหนี้สินแก่สมาชิกสถาบันเกษตรกรที่ประสบภัย และฝึกอบรมแบบเข้มข้น แนะนำอาชีพใหม่ พัฒนาอาชีพ เก่า เพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพเพียงอย่างเดียว

2. การช่วยเหลือขณะเกิดภัย การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำและรถบรรทุกน้ำ การปฏิบัติการฝนหลวง การสนับสนุนอาหารสัตว์และการ ดูแลสุขภาพสัตว์ ดำเนินการสำรวจความเสียหายและให้ความช่วยเหลือในระยะฉุกเฉินภายใต้ประกาศภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน โดยใช้เงินทดรองราชการใน อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัด งบจังหวัด CEO และเงินทดรองราชการในอำนาจปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามลำดับ

3. การช่วยเหลือหลังเกิดภัย เร่งรัดการสำรวจความเสียหายของพื้นที่ประสบภัย ผ่านคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือระดับอำเภอ และจังหวัด เพื่อเสนอของบกลางช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อน

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 มกราคม 2552 --จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ