เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานสภาและรองประธาน
สภานิติบัญญัติแห่งชาติและสภาร่างรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
กรรมาธิการและผู้ดำรงตำแหน่งในคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานสภาและรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและสภาร่างรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กรรมาธิการ และผู้ดำรงตำแหน่งในคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการายงานว่า ได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกาเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานสภาและรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและสภาร่างรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ กรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญ กรรมาธิการ และผู้ดำรงตำแหน่งในคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ พ.ศ. .... มีการแก้ไขเพิ่มเติมในสาระ สำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. แก้ไขชื่อร่างพระราชกฤษฎีกาและบันทึกหลักการและเหตุผลประกอบร่างพระราชกฤษฎีกาให้สอดคล้องกัน
2. แก้ไขวันใช้บังคับร่างพระราชกฤษฎีกาให้เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ ใช้บังคับ (ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2549)
3. กำหนดให้ประธานสภาและรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประธานสภาและรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ประธานและรองประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ประธานและรองประธานตุลาการรัฐธรรมนูญ ซึ่งได้รับเงินประจำตำแหน่งหรือเงินเพิ่ม สำหรับตำแหน่งดังกล่าวแล้ว ไม่อาจได้รับเงินประจำตำแหน่งหรือเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ สมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือตุลาการรัฐธรรมนูญ แล้วแต่กรณี อีก ทั้งนี้ เพื่อความชัดเจน และมิให้เกิดความซ้ำซ้อนของการได้รับเงินดังกล่าว
4. สำหรับข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีซึ่งกระทรวงการคลังเห็นชอบให้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญซึ่ง มิได้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญได้รับเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอื่นเช่นเดียวกันกับสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญนั้น โดยที่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าอาจมีผู้ดำรงตำแหน่งอื่นนอกเหนือจากสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ จึงกำหนดให้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญซึ่งมิได้เป็นผู้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา 3 ได้รับ “ค่าตอบแทนการปฏิบัติหน้าที่” เป็นรายเดือนเท่ากับอัตราเงินประจำตำแหน่งรวมกับเงินเพิ่มของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และกำหนดให้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายวันเฉพาะวันที่มาประชุมในอัตราวันละหนึ่งพันบาทเท่ากับกรรมาธิการอื่น ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกระทรวงการคลัง
5. กำหนดให้กรรมาธิการซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือสภาร่างรัฐธรรมนูญแต่งตั้ง รวมทั้งอนุกรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญ อนุกรรมาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อนุกรรมาธิการสภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้รับค่าตอบแทนเป็นเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุมในอัตราเช่นเดียวกับกรรมาธิการและอนุกรรมาธิการวุฒิสภา กรรมาธิการและอนุกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร ตามพระราชกฤษฎีกาเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และกรรมาธิการ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2547
6. ตัดร่างมาตราที่กำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ตามพระราชกฤษฎีกาฯ อาจได้รับประโยชน์ตอบแทนอื่นนอกเหนือจากที่กำหนดในร่างพระราชกฤษฎีกานี้ โดยให้เป็นไปตามที่กระทรวงการคลังกำหนด โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ออก ตามข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เนื่องจากเป็นการกำหนดเนื้อหาเกินขอบเขตที่กฎหมายแม่บท คือ มาตรา 33 ของรัฐธรรมนูญฯ ได้ให้อำนาจไว้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 26 ธันวาคม 2549--จบ--
สภานิติบัญญัติแห่งชาติและสภาร่างรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
กรรมาธิการและผู้ดำรงตำแหน่งในคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานสภาและรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและสภาร่างรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กรรมาธิการ และผู้ดำรงตำแหน่งในคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการายงานว่า ได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกาเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานสภาและรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและสภาร่างรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ กรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญ กรรมาธิการ และผู้ดำรงตำแหน่งในคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ พ.ศ. .... มีการแก้ไขเพิ่มเติมในสาระ สำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. แก้ไขชื่อร่างพระราชกฤษฎีกาและบันทึกหลักการและเหตุผลประกอบร่างพระราชกฤษฎีกาให้สอดคล้องกัน
2. แก้ไขวันใช้บังคับร่างพระราชกฤษฎีกาให้เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ ใช้บังคับ (ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2549)
3. กำหนดให้ประธานสภาและรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประธานสภาและรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ประธานและรองประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ประธานและรองประธานตุลาการรัฐธรรมนูญ ซึ่งได้รับเงินประจำตำแหน่งหรือเงินเพิ่ม สำหรับตำแหน่งดังกล่าวแล้ว ไม่อาจได้รับเงินประจำตำแหน่งหรือเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ สมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือตุลาการรัฐธรรมนูญ แล้วแต่กรณี อีก ทั้งนี้ เพื่อความชัดเจน และมิให้เกิดความซ้ำซ้อนของการได้รับเงินดังกล่าว
4. สำหรับข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีซึ่งกระทรวงการคลังเห็นชอบให้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญซึ่ง มิได้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญได้รับเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอื่นเช่นเดียวกันกับสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญนั้น โดยที่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าอาจมีผู้ดำรงตำแหน่งอื่นนอกเหนือจากสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ จึงกำหนดให้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญซึ่งมิได้เป็นผู้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา 3 ได้รับ “ค่าตอบแทนการปฏิบัติหน้าที่” เป็นรายเดือนเท่ากับอัตราเงินประจำตำแหน่งรวมกับเงินเพิ่มของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และกำหนดให้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายวันเฉพาะวันที่มาประชุมในอัตราวันละหนึ่งพันบาทเท่ากับกรรมาธิการอื่น ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกระทรวงการคลัง
5. กำหนดให้กรรมาธิการซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือสภาร่างรัฐธรรมนูญแต่งตั้ง รวมทั้งอนุกรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญ อนุกรรมาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อนุกรรมาธิการสภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้รับค่าตอบแทนเป็นเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุมในอัตราเช่นเดียวกับกรรมาธิการและอนุกรรมาธิการวุฒิสภา กรรมาธิการและอนุกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร ตามพระราชกฤษฎีกาเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และกรรมาธิการ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2547
6. ตัดร่างมาตราที่กำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ตามพระราชกฤษฎีกาฯ อาจได้รับประโยชน์ตอบแทนอื่นนอกเหนือจากที่กำหนดในร่างพระราชกฤษฎีกานี้ โดยให้เป็นไปตามที่กระทรวงการคลังกำหนด โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ออก ตามข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เนื่องจากเป็นการกำหนดเนื้อหาเกินขอบเขตที่กฎหมายแม่บท คือ มาตรา 33 ของรัฐธรรมนูญฯ ได้ให้อำนาจไว้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 26 ธันวาคม 2549--จบ--