คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้มีอำนาจออกบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2542 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้ว ดำเนินการต่อไปได้
ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้มีอำนาจออกบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2542 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... มีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดให้พนักงานราชการซึ่งมีวาระการจ้างไม่น้อยกว่า 1 ปี เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ
2. ให้ปลัดกระทรวงสำหรับพนักงานราชการในสำนักงานปลัดกระทรวงอธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมสำหรับพนักงานราชการในส่วนราชการนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดสำหรับพนักงานราชการในราชการส่วน ภูมิภาคที่สังกัดจังหวัดนั้นหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว เป็นผู้มีอำนาจออกบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ทั้งนี้ สำนักนายกรัฐมนตรี (สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี) ชี้แจงว่า พนักงานราชการเป็นบุคลากรภาครัฐประเภทหนึ่ง ซึ่งปฏิบัติงานควบคู่ไปกับข้าราชการได้ทั้งในภารกิจหลัก ภารกิจรอง หรือภารกิจสนับสนุนของส่วนราชการ แต่ตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2542 ยังมิได้กำหนดให้พนักงานราชการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ประกอบกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการฯ ก็มิได้กำหนดเรื่องบัตรประจำตัวพนักงานราชการไว้เป็นการเฉพาะ จึงควรกำหนดให้พนักงานราชการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และมีบัตรประจำตัวได้ทำนองเดียวกับพนักงานของรัฐในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และพนักงานของมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ซึ่งกำหนดให้เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามพระราชกฤษฎีกากำหนด เจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้มีอำนาจออกบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2542 (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2545 และในการออกบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐสำหรับพนักงานราชการได้กำหนดระยะเวลาการจ้างไม่น้อยกว่า 1 ปี โดยให้มีระยะเวลาสิ้นสุดอายุบัตรสอดคล้องกับระยะเวลาการจ้าง ซึ่งคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ (คพร.) พิจารณาเห็นชอบด้วยแล้ว จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 24 มกราคม 2549--จบ--
ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้มีอำนาจออกบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2542 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... มีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดให้พนักงานราชการซึ่งมีวาระการจ้างไม่น้อยกว่า 1 ปี เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ
2. ให้ปลัดกระทรวงสำหรับพนักงานราชการในสำนักงานปลัดกระทรวงอธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมสำหรับพนักงานราชการในส่วนราชการนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดสำหรับพนักงานราชการในราชการส่วน ภูมิภาคที่สังกัดจังหวัดนั้นหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว เป็นผู้มีอำนาจออกบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ทั้งนี้ สำนักนายกรัฐมนตรี (สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี) ชี้แจงว่า พนักงานราชการเป็นบุคลากรภาครัฐประเภทหนึ่ง ซึ่งปฏิบัติงานควบคู่ไปกับข้าราชการได้ทั้งในภารกิจหลัก ภารกิจรอง หรือภารกิจสนับสนุนของส่วนราชการ แต่ตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2542 ยังมิได้กำหนดให้พนักงานราชการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ประกอบกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการฯ ก็มิได้กำหนดเรื่องบัตรประจำตัวพนักงานราชการไว้เป็นการเฉพาะ จึงควรกำหนดให้พนักงานราชการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และมีบัตรประจำตัวได้ทำนองเดียวกับพนักงานของรัฐในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และพนักงานของมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ซึ่งกำหนดให้เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามพระราชกฤษฎีกากำหนด เจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้มีอำนาจออกบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2542 (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2545 และในการออกบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐสำหรับพนักงานราชการได้กำหนดระยะเวลาการจ้างไม่น้อยกว่า 1 ปี โดยให้มีระยะเวลาสิ้นสุดอายุบัตรสอดคล้องกับระยะเวลาการจ้าง ซึ่งคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ (คพร.) พิจารณาเห็นชอบด้วยแล้ว จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 24 มกราคม 2549--จบ--