สรุปสถานการณ์ภัยหนาว อุทกภัยภาคใต้ และมาตรการป้องกันอุบัติภัยในช่วงเทศกาลตรุษจีน

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday January 14, 2009 17:11 —มติคณะรัฐมนตรี

กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ติดตามสถานการณ์ภัยหนาวและอุทกภัยภาคใต้ที่เกิดขึ้น (ข้อมูล ณ วันที่ 12 มกราคม 2552) จึงขอสรุปสถานการณ์สาธารณภัยดังกล่าว และผลการปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชน นำเรียนคณะรัฐมนตรีเพื่อโปรดทราบเพิ่ม เติม และเนื่องจากในระหว่างวันที่ 24-26 มกราคม 2552 เป็นช่วงเทศกาลตรุษจีน กระทรวงมหาดไทย จึงได้กำหนดมาตรการป้องกันอุบัติภัยในช่วง เทศกาลดังกล่าว ดังนี้

1. สรุปสถานการณ์ภัยหนาวและการให้ความช่วยเหลือ (ข้อมูล ณ วันที่ 12 มกราคม 2552)

1.1 พื้นที่ประสบภัยหนาวที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส และได้ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินแล้ว จำนวน 41 จังหวัด สรุปได้ดังนี้

ที่      ภาค              พื้นที่ประกาศภัยพิบัติ                                    รวม
1      เหนือ             จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา แพร่               15 จังหวัด

น่าน ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน

เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ อุทัยธานี ตาก

กำแพงเพชร พิจิตร และจังหวัดพิษณุโลก

2      ตะวันออก          จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น นครพนม                    18 จังหวัด
       เฉียงเหนือ         สกลนคร มุกดาหาร เลย อุดรธานี ร้อยเอ็ด

หนองคาย อำนาจเจริญ หนองบัวลำภู

บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ นครราชสีมา สุรินทร์

มหาสารคาม ชัยภูมิ และจังหวัดอุบลราชธานี

3      กลาง             จังหวัดสระบุรี ลพบุรี ประจวบคีรีขันธ์                   6 จังหวัด

เพชรบุรี สุพรรณบุรี และจังหวัดราชบุรี

4      ตะวันออก          จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดสระแก้ว                     2 จังหวัด
       รวม                                                           41 จังหวัด

1.2 จังหวัดที่ประสบภัยหนาวในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาวระดับจังหวัดปี 2551-2552 ณ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และมี 42 จังหวัด รายงานว่า ได้มอบผ้า ห่มกันหนาวให้แก่ประชาชนที่ขาดแคลนใน 474 อำเภอ 3,095 ตำบล 37,611 หมู่บ้าน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) สมาคม มูลนิธิ ไปแล้ว รวม 609,961 ชิ้น (ผ้าห่มนวม 513,198 ผืน เสื้อกัน หนาว 78,884 ตัว หมวกไหมพรม 4,567 ชิ้น อื่น ๆ 13,312 ชิ้น)

ที่      ภาค         จังหวัดที่แจกจ่ายเครื่องกันหนาว                  จำนวนราษฎรเดือดร้อน          จำนวนเครื่องกันหนาว
                                                               จากภัยหนาว                ที่แจกจ่ายแล้ว (ชิ้น)

คน ครัวเรือน

1      เหนือ        จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา          1,425,888     491,622                    293,380

แพร่ น่าน ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน

เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ ตาก อุทัยธานี

กำแพงเพชร พิจิตร และจังหวัดพิษณุโลก

2      ตะวันออก     จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น นครพนม           3,001,657     968,104                    303,403
เฉียงเหนือ    สกลนคร มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร

เลย ร้อยเอ็ด หนองคาย หนองบัวลำภู

บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ อุดรธานี

อุบลราชธานี สุรินทร์ ชัยภูมิ

และจังหวัดนครราชสีมา

3      กลาง        จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  เพชรบุรี ราชบุรี        173,661      72,398                    13,178

สุพรรณบุรี สระบุรี และจังหวัดลพบุรี

4      ตะวันออก     จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดสระแก้ว              57,275      21,472          อยู่ระหว่างดำเนินการ
       รวม         42 จังหวัด 474 อำเภอ 3,095            4,658,481   1,553,596                   609,961

ตำบล 37,611 หมู่บ้าน

2. การให้ความช่วยเหลือ

2.1 การให้ความช่วยเหลือของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

1) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้โอนเงินงบประมาณไปตั้งจ่ายที่คลังจังหวัดเพื่อจัดซื้อเครื่องกันหนาวให้ทันการแจก จ่ายในฤดูหนาวตามความเหมาะสมและจำเป็น รวมจำนวน 47 จังหวัด ๆ ละ 200,000 บาท เป็นเงินงบประมาณรวมทั้งสิ้น 9,400,000 บาท นอก จากนี้ยังได้เตรียมงบประมาณ 52,927,500 บาท ใช้จัดหาเครื่องกันหนาวสนับสนุนให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตต่าง ๆ ที่รับผิดชอบ จังหวัดที่ประสบ ภัยหนาว และสำรองไว้ในคลังส่วนกลางเพื่อเตรียมการสนับสนุนให้กับสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเพิ่มเติม หากมี ความจำเป็นภายหลัง

2) จังหวัดมีเงินทดรองราชการตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุก เฉิน พ.ศ. 2551 ในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดสำหรับจัดซื้อผ้าห่มและเครื่องกันหนาวที่จำเป็นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัย เมื่อ อุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียสติดต่อกัน 3 วัน ในวงเงินจังหวัดหนึ่งไม่เกินงบประมาณปีละ 1,000,000 บาท (ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2551) แต่ทั้ง นี้หากเงินฉุกเฉินดังกล่าวไม่เพียงพอ จังหวัดสามารถแจ้งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขอยกเว้นหลักเกณฑ์ ข้อ 5.1.18 สามารถใช้จ่ายเงิน ทดรองราชการได้อีกตามความเหมาะสมและจำเป็นในวงเงินไม่เกิน 50 ล้านบาท

3) กระทรวงการคลัง ได้อนุมัติเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2552 ให้ 14 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก พะเยา ตาก ลำปาง สกลนคร ขอนแก่น แพร่ น่าน เชียงราย นครพนม ศรีสะเกษ เชียงใหม่ อุดรธานี และจังหวัดเลย ที่ขอยกเว้นการปฏิบัตินอกเหนือหลักเกณฑ์และวิธี ดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2551 ข้อ 5.1.18 โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถใช้จ่ายเงินทดรองราชการใน อำนาจ (งบ 50 ล้านบาท) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อเครื่องกันหนาวสงเคราะห์ราษฎรในพื้นที่ที่ได้ประกาศ ให้เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุก เฉิน (ภัยหนาว) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ได้เท่าที่จ่ายจริงคนละไม่เกิน 240 บาท ภายในวงเงินรวมทั้งสิ้น 229,620,000 บาท

4) บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ได้ให้การสนับสนุนผ้าห่มกันหนาว จำนวน 200,000 ผืน มูลค่ากว่า 30 ล้าน บาท แจกจ่ายช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาวในพื้นที่ 15 จังหวัด

3. สรุปสถานการณ์อุทกภัยภาคใต้และการให้ความช่วยเหลือ (ข้อมูล ณ วันที่ 12 มกราคม 2552)

3.1 ในห้วงระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม 2551 จนถึงปัจจุบัน มีฝนตกหนักมากต่อเนื่องในพื้นที่ภาคใต้ ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำ ป่าไหลหลากใน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพัทลุง ยะลา และจังหวัดนราธิวาส รวม 28 อำเภอ 126 ตำบล 569 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือด ร้อน 18,581 ครัวเรือน 69,226 คน ซึ่งปัจจุบันสถานการณ์ได้คลี่คลายเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว

3.2 การตรวจติดตามสถานการณ์อุทกภัย เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2552 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายถาวร เสน เนียม) และคณะ พร้อมด้วยรองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (นายศรีสมบัติ พรประสิทธิ์) ได้เดินทางไปตรวจราชการและติดตามการช่วย เหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดพัทลุง และมอบสิ่งของเพื่อช่วยเหลือให้แก่ราษฎรผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่อำเภอตะโหมด จำนวน 800 ชุด พื้นที่ อำเภอบางแก้ว จำนวน 500 ชุด และพื้นที่อำเภอ เขาชัยสน จำนวน 500 ชุด

4. การให้ความช่วยเหลือ

  • สิ่งของพระราชทาน

1) มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ นำโดยนายดิสธร วัชโรทัย ประธานกรรมการบริหาร นายประสงค์ พิทูร กิจจา เลขาธิการมูลนิธิฯ พร้อมด้วยคณะ เดินทางไปมอบสิ่งของพระราชทานเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ราษฎรที่ประสบอุทกภัยและภัยหนาวในพื้นที่ จังหวัดพัทลุง ยะลา และจังหวัดกาญจนบุรี ในระหว่างวันที่ 7-12 มกราคม 2552 รวมทั้งสิ้น 5,500 ครอบครัว

2) สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย โดยพลโทนายแพทย์อำนาจ บาลี ผู้อำนวยการสำนักงาน บรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย มอบผ้าห่มโพลีเอสเตอร์กันหนาว เพื่อมอบให้แก่ประชาชนที่ประสบภัยหนาวในพื้นที่จังหวัด กาญจนบุรี เลย และจังหวัดนครพนม ในระหว่างวันที่ 7-9 มกราคม 2552 รวมทั้งสิ้น 1,300 ผืน

5. การคาดหมายลักษณะอากาศระหว่างวันที่ 12-17 มกราคม 2552

5.1 กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายลักษณะอากาศว่า ในช่วงวันที่ 12-15 มกราคม 2552 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงระลอก ใหม่จากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยอีก ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยมีอากาศหนาวเย็นลง อุณหภูมิลดลง และคลื่นลมในอ่าว ไทย มีกำลังแรงต่อเนื่องออกไปอีก ในช่วงวันที่ 16-17 มกราคม 2552 บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทย จะมีกำลังอ่อนลง ทำให้มี อากาศอุ่นขึ้น โดยจะมีหมอกหนาในบางพื้นที่

5.2 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งเตือนเกี่ยวกับสภาวะอากาศให้จังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ เตรียมการป้องกันและแก้ไข ปัญหาอุทกภัย วาตภัย ดินถล่ม และคลื่นลมแรง อันเกิดจากสภาวะฝนตกหนักและคลื่นลมแรง อาจสร้างความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของ ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยและชาวเรือ และให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อ เนื่องตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ไว้ให้พร้อมเพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันต่อเหตุการณ์เมื่อเกิดสาธารณภัยขึ้น

6. มาตรการป้องกันอุบัติภัยในช่วงเทศกาลตรุษจีน

ในช่วงระหว่างวันที่ 24-26 มกราคม 2552 เป็นช่วงเทศกาลตรุษจีน ประชาชนชาวไทยเชื้อสายจีน จะมีการสักการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และบรรพบุรุษ โดยจุดธูปเทียนเซ่นไหว้ เผากระดาษเงินกระดาษทอง จุดประทัด ฯลฯ ตามศาลเจ้าและอาคารพาณิชย์ที่ทำการค้าและบ้านเรือนที่อยู่ อาศัย ซึ่งอาจเกิดอัคคีภัยขึ้นได้ นอกจากนั้นเทศกาลตรุษจีนจะเป็นช่วงวันหยุด โดยจะมีการท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อน ที่ผ่านมามักเกิดอุบัติเหตุจราจรเป็น ประจำ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จึงได้สั่งการให้ทุกจังหวัดและกรุงเทพมหานคร เตรียมการป้องกันและเฝ้าระวังการเกิดอัคคีภัย และการ เกิดอุบัติเหตุจากการจราจร ที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษจีน โดยให้ดำเนินการดังนี้

6.1 ประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่ทุกแห่ง ตรวจสอบและจัดทำแผนเผชิญเหตุด้านการป้องกันและระงับอัคคีภัย ใน สถานประกอบการ สถานบริการ พื้นที่ในชุมชนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย

6.2 กำชับเจ้าหน้าที่ หน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเอกชน เพิ่มมาตรการในการป้องกันและระงับอัคคีภัยในช่วง เทศกาล

6.3 ให้ผู้อำนวยการหรือเจ้าพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร และ กฎหมายว่าด้วยสถานบริการ ตรวจตรา เฝ้าระวัง อาคารบ้านเรือน พื้นที่ชุมชน สถานประกอบการ และสถานบริการ ที่มีสภาพที่เสี่ยงต่อการเกิด อัคคีภัยได้โดยง่าย ตามอำนาจหน้าที่อย่างเคร่งครัด

6.4 ให้ผู้อำนวยการท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ เตรียมความพร้อมด้าน บุคลากร อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมทั้งจัดเจ้าหน้าที่และวางระบบสื่อสารเตรียมความพร้อมตลอด 24 ชั่วโมง

6.5 กำชับเจ้าหน้าที่ให้ดำเนินการตามมาตรการความปลอดภัยทางถนน และเข้มงวดกวดขันให้ถือปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ การป้องกันอุบัติเหตุจราจรอย่างเคร่งครัด

6.6 จัดชุดเจ้าหน้าที่และสั่งใช้สมาชิกอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) จัดหน่วยเคลื่อนที่เร็วพร้อมอุปกรณ์ดับเพลิงและกู้ ภัย ให้สามารถปฏิบัติงานได้ในทันทีที่เกิดภัย รวมทั้งขอความร่วมมือเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อดำเนินการ

(1) เฝ้าระวังสถานที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย และอุบัติภัยอื่นๆ

(2) จัดระเบียบการจราจรและรักษาความสงบเรียบร้อย โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการจัดงานเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีน

(3) ในกรณีที่เกิดอัคคีภัยหรืออุบัติภัยที่ทำให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมากให้ดำเนินการตามแผนเผชิญเหตุที่กำหนด และรายงานให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทราบทันทีทางโทรศัพท์/โทรสารหมายเลข 0-2241-7450-5 หรือโทรศัพท์สายด่วนนิรภัย 1784 เพื่อดำเนินการช่วยเหลือ โดยด่วนต่อไป

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 มกราคม 2552 --จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ