คณะรัฐมนตรีพิจารณาโครงการฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่เสี่ยงภัยลุ่มน้ำก้อ-น้ำชุน จังหวัดเพชรบูรณ์ และพื้นที่ป่าแม่สรอย อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เสนอแล้วมีมติดังนี้
1. เห็นชอบหลักการของโครงการฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่เสี่ยงภัยลุ่มน้ำก้อ-น้ำชุน จังหวัดเพชรบูรณ์ และพื้นที่ป่าแม่สรอย อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่
2. เห็นชอบให้สำนักงบประมาณพิจารณาสนับสนุนงบประมาณ งบเพิ่มเติมประจำปี 2548 (งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น) วงเงิน 113,750,000 บาท สำหรับการดำเนินการในข้อ 1 เนื่องจากเป็นภารกิจเร่งด่วนต้องดำเนินการภายในปีงบประมาณ 2548
3. อนุมัติยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม หมวด 2 ส่วนที่ 2 การซื้อการจ้าง ข้อ 18-22 เพื่อให้สถาบันการศึกษา หน่วยงาน ชุมชนในท้องถิ่น หรือราษฎรได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการในลักษณะการรับจ้างเหมาได้ โดยวิธีตกลงราคารายละไม่เกิน 200 ไร่ โดยไม่ถือเป็นการแบ่งจ้างด้วยการลดวงเงินที่จะซื้อหรือจะจ้างในครั้งเดียวกัน
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรายงานว่า จากการที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2546 ในพื้นที่เสี่ยงภัยลุ่มน้ำก้อและลุ่มน้ำชุน จังหวัดเพชรบูรณ์ และในท้องที่อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ได้รับงบประมาณดำเนินการฟื้นฟูป่าเพียงประมาณร้อยละ 15 ของพื้นที่เสี่ยงภัยดังกล่าว กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงขอเสนอโครงการฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่เสี่ยงภัยลุ่มน้ำก้อ-น้ำชุน จังหวัดเพชรบูรณ์ และพื้นที่ป่าแม่สรอย อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ โดยมีเป้าหมายเพื่อลดความรุนแรงของภัยพิบัติธรรมชาติอย่างเร่งด่วน เร่งรัดการฟื้นฟูความสมบูรณ์ของพื้นที่ป่าไม้ในบริเวณดังกล่าวในปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 จำนวน 45,000 ไร่ ภายใต้การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติแบบบูรณาการของหน่วยงานของรัฐ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน พัฒนาคุณภาพชีวิตควบคู่ไปกับการรักษาระบบนิเวศและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
โครงการดังกล่าวสรุปได้ ดังนี้
1. หลักการและสาระสำคัญของโครงการ
1.1 กำหนดผู้เข้าร่วมโครงการ โดยขอความร่วมมือสถาบันการศึกษาในท้องถิ่นหรือหน่วยงานอื่นที่มีศักยภาพเข้าร่วมปลูกป่า ส่วนที่เหลือพิจารณาหัวหน้าหน่วยงานภาคสนามในสังกัดอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกรมป่าไม้เข้าดำเนินการ
1.2 กำหนดพิกัดแปลงปลูกป่าอย่างชัดเจน โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และการสำรวจภาคสนาม
1.3 กำหนดกลไกตรวจสอบและรับรองผลการปลูกป่าเพื่อควบคุมผลการดำเนินงานและการเบิกจ่ายเงิน
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อปรับปรุงฟื้นฟูระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมของพื้นที่เสี่ยงภัยให้พัฒนาสู่สมดุลอย่างยั่งยืน ซึ่งจะช่วยลดความรุนแรงของภัยธรรมชาติอันเนื่องมาจากอุทกภัยและดินถล่ม โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยเฉพาะเยาวชนในสถาบันการศึกษา
2.2 เพื่อสร้างความตระหนักและความรู้สึกในความรับผิดชอบ (Accountability) ของข้าราชการในการผลักดันพันธกิจและนโยบายการฟื้นฟูคืนความสมบูรณ์สู่ธรรมชาติให้บังเกิดผลอย่างจริงจัง เป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ
2.3 เพื่อให้เกิดการยอมรับและเกิดความโปร่งใสในการปฏิบัติงานของภาครัฐในการปลูกฟื้นฟูป่า
3. พื้นที่เป้าหมาย
3.1 พื้นที่ป่าเสื่อมโทรมในพื้นที่โครงการฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่เสี่ยงภัยลุ่มน้ำก้อ-น้ำชุน จังหวัดเพชรบูรณ์ ดำเนินการโดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จำนวน 40,000 ไร่
3.2 พื้นที่ป่าเสื่อมโทรมในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่สรอย อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ดำเนินการโดยกรมป่าไม้ จำนวน 5,000 ไร่
4. ขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติ
4.1 การกำหนดผู้รับผิดชอบแปลงปลูกป่า
1) ผู้เข้าร่วมโครงการจากหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ สถาบันการศึกษา หน่วยงานอื่นในพื้นที่ เช่น มหาวิทยาลัยแม่โจ้แพร่เฉลิมพระเกียรติ วิทยาลัยเทคนิค กรมราชทัณฑ์ องค์การบริหารส่วนตำบล เป็นต้น
2) หัวหน้าหน่วยปฏิบัติงานภาคสนามในสังกัดกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกรมป่าไม้
4.2 การกำหนดพื้นที่และพิกัดแปลงปลูกป่า สำรวจพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมและจัดทำแผนที่พร้อมพิกัด วิเคราะห์และหมายแนวขอบเขตแปลงปลูกป่าแปลงละ 200 ไร่ โดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียมและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ รวมทั้งกำหนดรหัสแปลงปลูกป่า
4.3 การปลูกป่า
1) ข้อกำหนดการปลูกป่า
จัดหาชนิดพันธุ์ไม้ท้องถิ่นที่เหมาะสมกับพื้นที่ โดยกำหนดจำนวนกล้าไม้สำหรับปลูกไร่ละไม่น้อยกว่า 200 ต้น ดำเนินการปลูกป่าตามหลักวิชาการโดยให้มีอัตราการรอดตายไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และให้ทำการสร้างฝายแบบผสมผสาน (Check Dam) ขวางกั้นลำห้วยเพื่อลดความรุนแรงของกระแสน้ำและสร้างความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่
2) วิธีการปลูกป่า
วิธีที่ 1 ผู้ร่วมโครงการจากหน่วยงานอื่นดำเนินการปลูกป่า ภายใต้การแนะนำ ควบคุม กำกับดูแลของเจ้าหน้าที่ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช หรือกรมป่าไม้
วิธีที่ 2 พื้นที่ป่าเสื่อมโทรมที่เหลือจากการปลูกป่าของผู้เข้าร่วมโครงการตามวิธีที่ 1 ให้หัวหน่วยงานภาคสนามของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกรมป่าไม้ดำเนินการปลูกป่าโดยแบ่งเป็นแปลงปลูกป่าแปลงละไม่น้อยกว่า 200 ไร่
4.4 การจัดทำแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายเงิน ระบุผู้รับผิดชอบซึ่งเป็นเจ้าของแปลงปลูกหรือผู้ดำเนินการปลูกป่าแต่ละแปลงส่งให้หน่วยปฏิบัติงานและหน่วยเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อประกอบการเบิกจ่ายต่อไป
5. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
5.1 สามารถปรับปรุง ฟื้นฟูระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมของพื้นที่เสี่ยงภัยให้พัฒนาไปสู่สมดุลซึ่งจะช่วยลดความรุนแรงของภัยธรรมชาติอันเนื่องมาจากอุทกภัยและดินถล่ม
5.2 เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงานและประชาชนหรือชุมชน โดยเฉพาะเยาวชนในสถาบันการศึกษาใน ท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมรับผิดชอบในการฟื้นฟูสภาพป่า เป็นการสร้างความตระหนักและความรู้สึกในความรับผิดชอบ อันเป็นผลให้เกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน
5.3 ทำให้ราษฎรในพื้นที่เสี่ยงภัยทั้งสองพื้นที่สามารถดำรงชีวิตตามปกติสุข มีความมั่นใจและมี ความปลอดภัยจากภัยธรรมชาติ
5.4 เป็นการสร้างงานและกระจายรายได้ให้ราษฎรและชุมชน โดยจะมีการจ้างแรงงานไม่น้อยกว่า 4,000 คนต่อวัน รวมทั้งก่อให้เกิดการยอมรับในการปฏิบัติงานที่โปร่งใสและตรวจสอบได้ของหน่วยงานราชการในการปลูกฟื้นฟูป่า
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 มิถุนายน 2548--จบ--
1. เห็นชอบหลักการของโครงการฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่เสี่ยงภัยลุ่มน้ำก้อ-น้ำชุน จังหวัดเพชรบูรณ์ และพื้นที่ป่าแม่สรอย อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่
2. เห็นชอบให้สำนักงบประมาณพิจารณาสนับสนุนงบประมาณ งบเพิ่มเติมประจำปี 2548 (งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น) วงเงิน 113,750,000 บาท สำหรับการดำเนินการในข้อ 1 เนื่องจากเป็นภารกิจเร่งด่วนต้องดำเนินการภายในปีงบประมาณ 2548
3. อนุมัติยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม หมวด 2 ส่วนที่ 2 การซื้อการจ้าง ข้อ 18-22 เพื่อให้สถาบันการศึกษา หน่วยงาน ชุมชนในท้องถิ่น หรือราษฎรได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการในลักษณะการรับจ้างเหมาได้ โดยวิธีตกลงราคารายละไม่เกิน 200 ไร่ โดยไม่ถือเป็นการแบ่งจ้างด้วยการลดวงเงินที่จะซื้อหรือจะจ้างในครั้งเดียวกัน
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรายงานว่า จากการที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2546 ในพื้นที่เสี่ยงภัยลุ่มน้ำก้อและลุ่มน้ำชุน จังหวัดเพชรบูรณ์ และในท้องที่อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ได้รับงบประมาณดำเนินการฟื้นฟูป่าเพียงประมาณร้อยละ 15 ของพื้นที่เสี่ยงภัยดังกล่าว กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงขอเสนอโครงการฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่เสี่ยงภัยลุ่มน้ำก้อ-น้ำชุน จังหวัดเพชรบูรณ์ และพื้นที่ป่าแม่สรอย อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ โดยมีเป้าหมายเพื่อลดความรุนแรงของภัยพิบัติธรรมชาติอย่างเร่งด่วน เร่งรัดการฟื้นฟูความสมบูรณ์ของพื้นที่ป่าไม้ในบริเวณดังกล่าวในปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 จำนวน 45,000 ไร่ ภายใต้การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติแบบบูรณาการของหน่วยงานของรัฐ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน พัฒนาคุณภาพชีวิตควบคู่ไปกับการรักษาระบบนิเวศและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
โครงการดังกล่าวสรุปได้ ดังนี้
1. หลักการและสาระสำคัญของโครงการ
1.1 กำหนดผู้เข้าร่วมโครงการ โดยขอความร่วมมือสถาบันการศึกษาในท้องถิ่นหรือหน่วยงานอื่นที่มีศักยภาพเข้าร่วมปลูกป่า ส่วนที่เหลือพิจารณาหัวหน้าหน่วยงานภาคสนามในสังกัดอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกรมป่าไม้เข้าดำเนินการ
1.2 กำหนดพิกัดแปลงปลูกป่าอย่างชัดเจน โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และการสำรวจภาคสนาม
1.3 กำหนดกลไกตรวจสอบและรับรองผลการปลูกป่าเพื่อควบคุมผลการดำเนินงานและการเบิกจ่ายเงิน
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อปรับปรุงฟื้นฟูระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมของพื้นที่เสี่ยงภัยให้พัฒนาสู่สมดุลอย่างยั่งยืน ซึ่งจะช่วยลดความรุนแรงของภัยธรรมชาติอันเนื่องมาจากอุทกภัยและดินถล่ม โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยเฉพาะเยาวชนในสถาบันการศึกษา
2.2 เพื่อสร้างความตระหนักและความรู้สึกในความรับผิดชอบ (Accountability) ของข้าราชการในการผลักดันพันธกิจและนโยบายการฟื้นฟูคืนความสมบูรณ์สู่ธรรมชาติให้บังเกิดผลอย่างจริงจัง เป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ
2.3 เพื่อให้เกิดการยอมรับและเกิดความโปร่งใสในการปฏิบัติงานของภาครัฐในการปลูกฟื้นฟูป่า
3. พื้นที่เป้าหมาย
3.1 พื้นที่ป่าเสื่อมโทรมในพื้นที่โครงการฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่เสี่ยงภัยลุ่มน้ำก้อ-น้ำชุน จังหวัดเพชรบูรณ์ ดำเนินการโดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จำนวน 40,000 ไร่
3.2 พื้นที่ป่าเสื่อมโทรมในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่สรอย อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ดำเนินการโดยกรมป่าไม้ จำนวน 5,000 ไร่
4. ขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติ
4.1 การกำหนดผู้รับผิดชอบแปลงปลูกป่า
1) ผู้เข้าร่วมโครงการจากหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ สถาบันการศึกษา หน่วยงานอื่นในพื้นที่ เช่น มหาวิทยาลัยแม่โจ้แพร่เฉลิมพระเกียรติ วิทยาลัยเทคนิค กรมราชทัณฑ์ องค์การบริหารส่วนตำบล เป็นต้น
2) หัวหน้าหน่วยปฏิบัติงานภาคสนามในสังกัดกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกรมป่าไม้
4.2 การกำหนดพื้นที่และพิกัดแปลงปลูกป่า สำรวจพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมและจัดทำแผนที่พร้อมพิกัด วิเคราะห์และหมายแนวขอบเขตแปลงปลูกป่าแปลงละ 200 ไร่ โดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียมและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ รวมทั้งกำหนดรหัสแปลงปลูกป่า
4.3 การปลูกป่า
1) ข้อกำหนดการปลูกป่า
จัดหาชนิดพันธุ์ไม้ท้องถิ่นที่เหมาะสมกับพื้นที่ โดยกำหนดจำนวนกล้าไม้สำหรับปลูกไร่ละไม่น้อยกว่า 200 ต้น ดำเนินการปลูกป่าตามหลักวิชาการโดยให้มีอัตราการรอดตายไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และให้ทำการสร้างฝายแบบผสมผสาน (Check Dam) ขวางกั้นลำห้วยเพื่อลดความรุนแรงของกระแสน้ำและสร้างความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่
2) วิธีการปลูกป่า
วิธีที่ 1 ผู้ร่วมโครงการจากหน่วยงานอื่นดำเนินการปลูกป่า ภายใต้การแนะนำ ควบคุม กำกับดูแลของเจ้าหน้าที่ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช หรือกรมป่าไม้
วิธีที่ 2 พื้นที่ป่าเสื่อมโทรมที่เหลือจากการปลูกป่าของผู้เข้าร่วมโครงการตามวิธีที่ 1 ให้หัวหน่วยงานภาคสนามของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกรมป่าไม้ดำเนินการปลูกป่าโดยแบ่งเป็นแปลงปลูกป่าแปลงละไม่น้อยกว่า 200 ไร่
4.4 การจัดทำแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายเงิน ระบุผู้รับผิดชอบซึ่งเป็นเจ้าของแปลงปลูกหรือผู้ดำเนินการปลูกป่าแต่ละแปลงส่งให้หน่วยปฏิบัติงานและหน่วยเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อประกอบการเบิกจ่ายต่อไป
5. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
5.1 สามารถปรับปรุง ฟื้นฟูระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมของพื้นที่เสี่ยงภัยให้พัฒนาไปสู่สมดุลซึ่งจะช่วยลดความรุนแรงของภัยธรรมชาติอันเนื่องมาจากอุทกภัยและดินถล่ม
5.2 เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงานและประชาชนหรือชุมชน โดยเฉพาะเยาวชนในสถาบันการศึกษาใน ท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมรับผิดชอบในการฟื้นฟูสภาพป่า เป็นการสร้างความตระหนักและความรู้สึกในความรับผิดชอบ อันเป็นผลให้เกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน
5.3 ทำให้ราษฎรในพื้นที่เสี่ยงภัยทั้งสองพื้นที่สามารถดำรงชีวิตตามปกติสุข มีความมั่นใจและมี ความปลอดภัยจากภัยธรรมชาติ
5.4 เป็นการสร้างงานและกระจายรายได้ให้ราษฎรและชุมชน โดยจะมีการจ้างแรงงานไม่น้อยกว่า 4,000 คนต่อวัน รวมทั้งก่อให้เกิดการยอมรับในการปฏิบัติงานที่โปร่งใสและตรวจสอบได้ของหน่วยงานราชการในการปลูกฟื้นฟูป่า
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 มิถุนายน 2548--จบ--