คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงคมนาคมรายงานสรุปสถานการณ์อุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือของกระทรวงคมนาคม ดังนี้
1. สรุปความเสียหายและการซ่อมแซม
1.1 ถนนสายหลักในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง ยังมีสายทางที่ถูกน้ำท่วมในพื้นที่ 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี ปทุมธานี สุพรรณบุรี นนทบุรี สมุทรสาคร นครปฐม และศรีสะเกษ รวม 22 สายทาง การจราจรผ่านไม่ได้ 11 สายทาง สามารถใช้เส้นทางอื่นแทนได้ เมื่อน้ำลดแล้วจะได้เร่งซ่อมแซมให้คืนสู่สภาพเดิมโดยเร็วต่อไป
1.2 ถนนสายรองในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท มีสายทางที่ถูกน้ำท่วมในพื้นที่ 11 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดน่าน พิจิตร พิษณุโลก ลำพูน นครสวรรค์ นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี สุพรรณบุรี และ อ่างทอง การจราจรผ่านไม่ได้ 31 สายทาง เมื่อน้ำลดจะได้รีบซ่อมแซมเบื้องต้นให้สามารถสัญจรไปมาได้ไปพลางก่อน และจะเร่งซ่อมแซมให้คืนสู่สภาพเดิมในภายหลัง
1.3 ทางรถไฟ ทางรถไฟสายเหนือ (สายหลัก) เสียหายเนื่องจากน้ำท่วม ทางขาด ดินคันทางทรุดทำให้รางรถไฟลอย ได้ซ่อมแซมให้การเดินรถผ่านได้ตามปกติแล้ว ซึ่งจะต้องมีการซ่อมแซมให้กลับคืนสู่สภาพเดิมภายหลัง
2. การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัย
2.1 กรมทางหลวง ได้สนับสนุนรถบรรทุกน้ำ 24 คัน รถบรรทุกเพื่อขนย้ายผู้ประสบภัยและขนเครื่องอุปโภคบริโภคไปแจกจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัย สนับสนุนรถขุดตัก รถบรรทุกพร้อมเครน รถเทรเลอร์ Concrete Barrier 130 ท่อน กระสอบทราย และส่งเจ้าหน้าที่ จำนวน 1,175 คน เข้าไปให้ความช่วยเหลือ ผู้ประสบภัย
2.2 กรมทางหลวงชนบท ได้ให้ความช่วยเหลือประชาชนและหน่วยงานต่างๆ โดยเสริมคันดินและกระสอบทราย แจกน้ำดื่ม แจกถุงยังชีพ ขนย้ายผู้ประสบอุทกภัย ส่งเครื่องจักรเข้าช่วยเหลือตามที่จังหวัดมอบหมาย
2.3 กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี นำเรือออกเพื่อนำสิ่งของอุปโภคบริโภค ไปแจกจ่ายแก่ผู้ประสบภัย ทำการกู้เรือที่ล่มในแม่น้ำสายต่างๆ ออกค้นหาผู้ประสบภัยที่สูญหายทางน้ำ กำจัดผักตบชวา วัชพืช เพื่อให้การระบายน้ำในพื้นที่ที่รับผิดชอบเป็นไปอย่างรวดเร็ว
2.4 การรถไฟแห่งประเทศไทย ให้ความสนับสนุนหน่วยงานและมูลนิธิต่าง ๆ ในการขนส่งสิ่งของเครื่องอุปโภค บริโภค เพื่อนำไปแจกจ่ายแก่ผู้ประสบอุทกภัยในจังหวัดที่มีน้ำท่วม โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายช่วยเหลือพนักงานการรถไฟ ฯ ที่มีบ้านพักอยู่สองข้างทางรถไฟซึ่งถูกน้ำท่วม รวม 311 ครอบครัว เป็นเงินรวม 5,860,675 บาท โดยใช้จ่ายจากเงินกองทุนส่วนกลางของการรถไฟ ฯ
3. ปัญหาอุปสรรค
เนื่องจากสถานการณ์อุทกภัยเกิดอย่างรุนแรง โดยเฉพาะเขตภาคกลางและเป็นช่วงสิ้นปีงบประมาณ ทำให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย การซ่อมแซมไม่คล่องตัว ซึ่งได้แก้ปัญหาโดยการใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่ให้คุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้ยังมีเส้นทางอีกหลายเส้นทางที่มีน้ำท่วมขังอยู่ ทำให้ยากในการสำรวจ จัดทำรายละเอียดเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณแต่ก็ได้เร่งรัดการดำเนินการออกแบบประมาณราคาให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน ศกนี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 21 พฤศจิกายน 2549--จบ--
1. สรุปความเสียหายและการซ่อมแซม
1.1 ถนนสายหลักในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง ยังมีสายทางที่ถูกน้ำท่วมในพื้นที่ 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี ปทุมธานี สุพรรณบุรี นนทบุรี สมุทรสาคร นครปฐม และศรีสะเกษ รวม 22 สายทาง การจราจรผ่านไม่ได้ 11 สายทาง สามารถใช้เส้นทางอื่นแทนได้ เมื่อน้ำลดแล้วจะได้เร่งซ่อมแซมให้คืนสู่สภาพเดิมโดยเร็วต่อไป
1.2 ถนนสายรองในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท มีสายทางที่ถูกน้ำท่วมในพื้นที่ 11 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดน่าน พิจิตร พิษณุโลก ลำพูน นครสวรรค์ นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี สุพรรณบุรี และ อ่างทอง การจราจรผ่านไม่ได้ 31 สายทาง เมื่อน้ำลดจะได้รีบซ่อมแซมเบื้องต้นให้สามารถสัญจรไปมาได้ไปพลางก่อน และจะเร่งซ่อมแซมให้คืนสู่สภาพเดิมในภายหลัง
1.3 ทางรถไฟ ทางรถไฟสายเหนือ (สายหลัก) เสียหายเนื่องจากน้ำท่วม ทางขาด ดินคันทางทรุดทำให้รางรถไฟลอย ได้ซ่อมแซมให้การเดินรถผ่านได้ตามปกติแล้ว ซึ่งจะต้องมีการซ่อมแซมให้กลับคืนสู่สภาพเดิมภายหลัง
2. การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัย
2.1 กรมทางหลวง ได้สนับสนุนรถบรรทุกน้ำ 24 คัน รถบรรทุกเพื่อขนย้ายผู้ประสบภัยและขนเครื่องอุปโภคบริโภคไปแจกจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัย สนับสนุนรถขุดตัก รถบรรทุกพร้อมเครน รถเทรเลอร์ Concrete Barrier 130 ท่อน กระสอบทราย และส่งเจ้าหน้าที่ จำนวน 1,175 คน เข้าไปให้ความช่วยเหลือ ผู้ประสบภัย
2.2 กรมทางหลวงชนบท ได้ให้ความช่วยเหลือประชาชนและหน่วยงานต่างๆ โดยเสริมคันดินและกระสอบทราย แจกน้ำดื่ม แจกถุงยังชีพ ขนย้ายผู้ประสบอุทกภัย ส่งเครื่องจักรเข้าช่วยเหลือตามที่จังหวัดมอบหมาย
2.3 กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี นำเรือออกเพื่อนำสิ่งของอุปโภคบริโภค ไปแจกจ่ายแก่ผู้ประสบภัย ทำการกู้เรือที่ล่มในแม่น้ำสายต่างๆ ออกค้นหาผู้ประสบภัยที่สูญหายทางน้ำ กำจัดผักตบชวา วัชพืช เพื่อให้การระบายน้ำในพื้นที่ที่รับผิดชอบเป็นไปอย่างรวดเร็ว
2.4 การรถไฟแห่งประเทศไทย ให้ความสนับสนุนหน่วยงานและมูลนิธิต่าง ๆ ในการขนส่งสิ่งของเครื่องอุปโภค บริโภค เพื่อนำไปแจกจ่ายแก่ผู้ประสบอุทกภัยในจังหวัดที่มีน้ำท่วม โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายช่วยเหลือพนักงานการรถไฟ ฯ ที่มีบ้านพักอยู่สองข้างทางรถไฟซึ่งถูกน้ำท่วม รวม 311 ครอบครัว เป็นเงินรวม 5,860,675 บาท โดยใช้จ่ายจากเงินกองทุนส่วนกลางของการรถไฟ ฯ
3. ปัญหาอุปสรรค
เนื่องจากสถานการณ์อุทกภัยเกิดอย่างรุนแรง โดยเฉพาะเขตภาคกลางและเป็นช่วงสิ้นปีงบประมาณ ทำให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย การซ่อมแซมไม่คล่องตัว ซึ่งได้แก้ปัญหาโดยการใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่ให้คุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้ยังมีเส้นทางอีกหลายเส้นทางที่มีน้ำท่วมขังอยู่ ทำให้ยากในการสำรวจ จัดทำรายละเอียดเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณแต่ก็ได้เร่งรัดการดำเนินการออกแบบประมาณราคาให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน ศกนี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 21 พฤศจิกายน 2549--จบ--