คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงสาธารณสุข สรุปผลการดำเนินงานด้านเซลล์ต้นกำเนิด (Stem Cells) ดังนี้
รายงานผลการดำเนินการด้านเซลล์ต้นกำเนิดของกระทรวงสาธารณสุข
ปัจจุบันการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเซลล์ต้นกำเนิด (Stem Cell) นับเป็นหนึ่งในสาขาที่มีความก้าวหน้าที่สุดทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ Stem Cell มี 2 ประเภทจำแนกตามแหล่งกำเนิด คือ Embryonic Stem Cell ซึ่งเป็นเซลล์ต้นกำเนิดจากตัวอ่อน และ Adult Stem Cell ซึ่งเป็นเซลล์ต้นกำเนิดจากร่างกาย การศึกษาวิจัยทาง ด้าน Embryonic Stem Cell มักจะมีปัญหาด้านจริยธรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง นักวิทยาศาสตร์จึงหันมาให้ความสนใจศึกษา Adult Stem Cell กันมากขึ้นมีผลการศึกษาจำนวนมากบ่งชี้ว่าในร่างกายของคนเรามีเซลล์ต้นกำเนิดหลายชนิดที่สามารถนำมาใช้สร้างเนื้อเยื่อที่สูญเสียไปจากภาวะต่าง ๆ ได้ เช่น การนำ Limbal Stem Cell ไปเพาะเลี้ยง และนำไปปลูกถ่ายเพื่อรักษาตาของผู้ป่วยที่มีการทำลายเซลล์ต้นกำเนิดผิดกระจกตาจนกระจกตาขุ่นและสูญเสียการมองเห็น เช่น Steven-Johnson Syndrome และ Chemical Burns นอกจากนั้นยังมีการนำเซลล์ต้นกำเนิดจากไขกระดูกไปเพาะเลี้ยงให้เจริญไปเป็นเซลล์กระดูก กระดูกอ่อน กล้ามเนื้อลาย กล้ามเนื้อเรียบ กล้ามเนื้อหัวใจ เซลล์ไขมัน เซลล์บุผนังหลอดเลือด เซลล์เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เซลล์ตับ เซลล์ตับอ่อนที่สร้างอินสุลิน หรือแม้กระทั่งเซลล์ของระบบประสาท การศึกษาเหล่านี้นำไปสู่ความหวังที่จะนำเซลล์ต้นกำเนิดมาใช้รักษาโรคโดยเฉพาะโรคในกลุ่ม Degenerative และ Genetic Disease ซึ่งแต่เดิมไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เช่น โรคที่มีการทำลายเซลล์ต้นกำเนิดผิวกระจกตา โรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง โรคเส้นเลือดในสมองตีบ โรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง และอื่น ๆ
กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจัดทำโครงการวิจัยด้านเซลล์ต้นกำเนิดขึ้น เพื่อเพาะเลี้ยงและเก็บรักษาเซลล์ต้นกำเนิด ตลอดจนประสานความร่วมมือระหว่างผู้วิจัยทางด้านชีววิทยาของเซลล์ต้นกำเนิดและกลุ่มแพทย์ที่มีความสนใจในการรักษาผู้ป่วย นำไปสู่การบูรณาการองค์ความรู้จากการวิจัยไปสู่การรักษาพยาบาลและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย สนับสนุนการเป็นผู้นำ Medical Hub ในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอนาคต
ผลการดำเนินการด้านเซลล์ต้นกำเนิดของกระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่ตุลาคม 2548 ถึง มิถุนายน 2549
1. จัดทำข้อตกลงความร่วมมือในการวิจัยพัฒนาการใช้ประโยชน์จากเซลล์ต้นกำเนิด ระหว่าง นพ.ไพจิตร์ วราชิต อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ศ.ดร.อานนท์ บุณยะรัตเวช เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และ ศ. ศรีสิน คูสมิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น ในวันที่ 12 ตุลาคม 2548
2. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การกำหนดแนวทางการศึกษาวิจัยด้านเซลล์ต้นกำเนิด ในวันพุธที่ 25 มกราคม 2549 ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีผู้เข้าร่วมประชุม 107 คน จากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ ที่ประชุมได้มีมติจัดตั้งคณะกรรมการชุดต่างๆ เพื่อดำเนินการด้านเซลล์ต้นกำเนิดในระดับประเทศ
3. จัดตั้งห้องปฏิบัติการเซลล์ต้นกำเนิด ซึ่งมีศักยภาพในการจัดเตรียมเพาะเลี้ยง ตรวจสอบ และจัดเก็บเซลล์ต้นกำเนิดให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งขณะนี้คณะกรรมการพัฒนาห้องปฏิบัติการเซลล์ต้นกำเนิดตามมาตรฐานสากลได้ออกแบบห้องแล้วเสร็จ กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบพัสดุ
4. การวิจัยทางคลินิก เพื่อนำเซลล์ต้นกำเนิดไปใช้ในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคที่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทั้งนี้ ได้ดำเนินการวิจัย 3 เรื่อง ได้แก่
4.1 โครงการศึกษาผลการรักษาผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โดย Stem Cell Therapy ร่วมกับการขยายหลอดเลือดหัวใจ หรือการผ่าตัดเปลี่ยนทางเดินหลอดเลือดหัวใจ เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมการแพทย์ และมหาวิทยาลัยมหิดล ขณะนี้ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการวิจัยในคนแล้วกำลังอยู่ในระหว่างการคัดเลือกผู้ป่วยเข้าทำงานศึกษา
4.2 โครงการวิจัย Stem Cell ต้นแบบกระจกตาจากเลือดและผิวหนังผู้ป่วย เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมการแพทย์และมหาวิทยาลัยมหิดล ขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการจัดทำโครงการ เพื่อเสนอคณะกรรมการวิจัยในคน
4.3 โครงการวิจัยการใช้ Stem Cell ในการรักษาโรคพาร์กินสัน โดยกรมการแพทย์ ขณะนี้ทำ Pilot Study ในการทดสอบน้ำยาเพื่อยืนยันว่าเซลล์ประสาทสามารถสร้างสาร Dopamine ในการรักษาโรคพาร์กินสันได้หรือไม่
เมื่อผลการวิจัยทางคลินิกประสบความสำเร็จ กระทรวงสาธารณสุขจะได้ขยายผลนำองค์ความรู้ที่ได้ไปบูรณาการ ให้เกิดประโยชน์ในการรักษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยในระบบสาธารณสุขของประเทศต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 สิงหาคม 2549--จบ--
รายงานผลการดำเนินการด้านเซลล์ต้นกำเนิดของกระทรวงสาธารณสุข
ปัจจุบันการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเซลล์ต้นกำเนิด (Stem Cell) นับเป็นหนึ่งในสาขาที่มีความก้าวหน้าที่สุดทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ Stem Cell มี 2 ประเภทจำแนกตามแหล่งกำเนิด คือ Embryonic Stem Cell ซึ่งเป็นเซลล์ต้นกำเนิดจากตัวอ่อน และ Adult Stem Cell ซึ่งเป็นเซลล์ต้นกำเนิดจากร่างกาย การศึกษาวิจัยทาง ด้าน Embryonic Stem Cell มักจะมีปัญหาด้านจริยธรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง นักวิทยาศาสตร์จึงหันมาให้ความสนใจศึกษา Adult Stem Cell กันมากขึ้นมีผลการศึกษาจำนวนมากบ่งชี้ว่าในร่างกายของคนเรามีเซลล์ต้นกำเนิดหลายชนิดที่สามารถนำมาใช้สร้างเนื้อเยื่อที่สูญเสียไปจากภาวะต่าง ๆ ได้ เช่น การนำ Limbal Stem Cell ไปเพาะเลี้ยง และนำไปปลูกถ่ายเพื่อรักษาตาของผู้ป่วยที่มีการทำลายเซลล์ต้นกำเนิดผิดกระจกตาจนกระจกตาขุ่นและสูญเสียการมองเห็น เช่น Steven-Johnson Syndrome และ Chemical Burns นอกจากนั้นยังมีการนำเซลล์ต้นกำเนิดจากไขกระดูกไปเพาะเลี้ยงให้เจริญไปเป็นเซลล์กระดูก กระดูกอ่อน กล้ามเนื้อลาย กล้ามเนื้อเรียบ กล้ามเนื้อหัวใจ เซลล์ไขมัน เซลล์บุผนังหลอดเลือด เซลล์เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เซลล์ตับ เซลล์ตับอ่อนที่สร้างอินสุลิน หรือแม้กระทั่งเซลล์ของระบบประสาท การศึกษาเหล่านี้นำไปสู่ความหวังที่จะนำเซลล์ต้นกำเนิดมาใช้รักษาโรคโดยเฉพาะโรคในกลุ่ม Degenerative และ Genetic Disease ซึ่งแต่เดิมไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เช่น โรคที่มีการทำลายเซลล์ต้นกำเนิดผิวกระจกตา โรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง โรคเส้นเลือดในสมองตีบ โรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง และอื่น ๆ
กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจัดทำโครงการวิจัยด้านเซลล์ต้นกำเนิดขึ้น เพื่อเพาะเลี้ยงและเก็บรักษาเซลล์ต้นกำเนิด ตลอดจนประสานความร่วมมือระหว่างผู้วิจัยทางด้านชีววิทยาของเซลล์ต้นกำเนิดและกลุ่มแพทย์ที่มีความสนใจในการรักษาผู้ป่วย นำไปสู่การบูรณาการองค์ความรู้จากการวิจัยไปสู่การรักษาพยาบาลและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย สนับสนุนการเป็นผู้นำ Medical Hub ในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอนาคต
ผลการดำเนินการด้านเซลล์ต้นกำเนิดของกระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่ตุลาคม 2548 ถึง มิถุนายน 2549
1. จัดทำข้อตกลงความร่วมมือในการวิจัยพัฒนาการใช้ประโยชน์จากเซลล์ต้นกำเนิด ระหว่าง นพ.ไพจิตร์ วราชิต อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ศ.ดร.อานนท์ บุณยะรัตเวช เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และ ศ. ศรีสิน คูสมิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น ในวันที่ 12 ตุลาคม 2548
2. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การกำหนดแนวทางการศึกษาวิจัยด้านเซลล์ต้นกำเนิด ในวันพุธที่ 25 มกราคม 2549 ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีผู้เข้าร่วมประชุม 107 คน จากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ ที่ประชุมได้มีมติจัดตั้งคณะกรรมการชุดต่างๆ เพื่อดำเนินการด้านเซลล์ต้นกำเนิดในระดับประเทศ
3. จัดตั้งห้องปฏิบัติการเซลล์ต้นกำเนิด ซึ่งมีศักยภาพในการจัดเตรียมเพาะเลี้ยง ตรวจสอบ และจัดเก็บเซลล์ต้นกำเนิดให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งขณะนี้คณะกรรมการพัฒนาห้องปฏิบัติการเซลล์ต้นกำเนิดตามมาตรฐานสากลได้ออกแบบห้องแล้วเสร็จ กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบพัสดุ
4. การวิจัยทางคลินิก เพื่อนำเซลล์ต้นกำเนิดไปใช้ในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคที่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทั้งนี้ ได้ดำเนินการวิจัย 3 เรื่อง ได้แก่
4.1 โครงการศึกษาผลการรักษาผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โดย Stem Cell Therapy ร่วมกับการขยายหลอดเลือดหัวใจ หรือการผ่าตัดเปลี่ยนทางเดินหลอดเลือดหัวใจ เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมการแพทย์ และมหาวิทยาลัยมหิดล ขณะนี้ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการวิจัยในคนแล้วกำลังอยู่ในระหว่างการคัดเลือกผู้ป่วยเข้าทำงานศึกษา
4.2 โครงการวิจัย Stem Cell ต้นแบบกระจกตาจากเลือดและผิวหนังผู้ป่วย เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมการแพทย์และมหาวิทยาลัยมหิดล ขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการจัดทำโครงการ เพื่อเสนอคณะกรรมการวิจัยในคน
4.3 โครงการวิจัยการใช้ Stem Cell ในการรักษาโรคพาร์กินสัน โดยกรมการแพทย์ ขณะนี้ทำ Pilot Study ในการทดสอบน้ำยาเพื่อยืนยันว่าเซลล์ประสาทสามารถสร้างสาร Dopamine ในการรักษาโรคพาร์กินสันได้หรือไม่
เมื่อผลการวิจัยทางคลินิกประสบความสำเร็จ กระทรวงสาธารณสุขจะได้ขยายผลนำองค์ความรู้ที่ได้ไปบูรณาการ ให้เกิดประโยชน์ในการรักษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยในระบบสาธารณสุขของประเทศต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 สิงหาคม 2549--จบ--