มาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชน

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday January 21, 2009 15:31 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้

1. เห็นชอบมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชนที่กระทรวงการคลังเสนอ เป็นระยะเวลา 6 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 หรือภายหลังวันที่มาตรการเดิมสิ้นสุด

2. เห็นชอบกรอบวงเงินที่ใช้สนับสนุนมาตรการที่กระทรวงการคลังเสนอ จำนวน 13,901 ล้านบาท โดยให้สำนักงบประมาณจัดสรรเงิน จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นไปพลางก่อน จนกว่าพระราช บัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 จะมีผลใช้บังคับ

3. ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว ขอเบิกจ่ายเงินงบประมาณเป็นรายเดือนผ่านกระทรวงเจ้าสังกัด โดยให้ กระทรวงเจ้าสังกัดเป็นผู้พิจารณาแนวทางและวิธีการตรวจสอบ รวมทั้งติดตามผลการดำเนินงานเพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการเบิกจ่ายเงินงบ ประมาณ

4. ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในการให้บริการจัดเก็บข้อมูลการให้บริการการเบิกจ่ายงบประมาณ และผลกระทบ พร้อมทั้งรายงานต่อ กระทรวงการคลังเป็นรายเดือน โดยให้นำส่งภายใน 10 วันนับจากวันสิ้นเดือน ทั้งนี้ เพื่อให้กระทรวงการคลังสามารถติดตามผลการดำเนินการและ ประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นจากมาตรการดังกล่าวได้

กระทรวงการคลังรายงานว่า

1. มาตรการของรัฐบาลในการช่วยลดภาระค่าครองชีพที่ผ่านมา (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2551) มี 4 มาตรการที่ เป็นมาตรการที่เกี่ยวกับการเดินทางและบริการด้านสาธารณูปโภค ประกอบด้วย มาตรการลดค่าใช้จ่ายน้ำประปาของครัวเรือน มาตรการลดค่าใช้จ่าย ไฟฟ้าของครัวเรือน มาตรการลดค่าใช้จ่ายเดินทาง รถโดยสารประจำทาง และมาตรการลดค่าใช้จ่ายเดินทางโดยรถไฟชั้น 3 ซึ่งดำเนินการเป็น ระยะเวลา 6 เดือน

1.1 ผลการดำเนินการตั้งแต่เริ่มมาตรการสรุปได้ ดังนี้

1.1.1 มาตรการลดค่าใช้จ่ายน้ำประปาของครัวเรือน ดำเนินการผ่านการประปานครหลวง (กปน.) การประปาส่วน ภูมิภาค (กปภ.) และ อปท. (สำหรับ อปท.เฉพาะบางกลุ่มเริ่มต้นมาตรการวันที่ 1 ตุลาคม 2551) มีประชาชนที่ได้รับประโยชน์จำนวนประมาณ 4 ล้านราย

1.1.2 มาตรการลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าของครัวเรือน ดำเนินการผ่านการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) มีประชาชนที่ได้รับประโยชน์จำนวนประมาณ 11 ล้านราย

1.1.3 มาตรการลดค่าใช้จ่ายเดินทางรถโดยสารประจำทาง ดำเนินการผ่านองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) มี ประชาชนที่ได้รับประโยชน์จำนวนประมาณ 400,000 คนต่อวัน

1.1.4 มาตรการลดค่าใช้จ่ายเดินทางโดยรถไฟชั้น 3 ดำเนินการผ่านการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มีประชาชนที่ได้รับ ประโยชน์จำนวนประมาณ 3.2 ล้านคนต่อเดือน

1.2 การขอรับเงินสนับสนุนจากรัฐบาล

การดำเนินมาตรการเดิมรัฐบาลได้กำหนดวงเงินเพื่อดำเนินมาตรการจำนวน 18,428 ล้านบาท ในช่วงการดำเนินมาตรการที่ ผ่านมาถึง ณ วันที่ 11 มกราคม 2552 สำนักงบประมาณได้จัดสรรงบประมาณชดเชยให้กับรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินมาตรการดังกล่าวแล้วจำนวน 8,702 ล้านบาท

2. จากที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2552 และกระทรวงการคลังได้ศึกษาผลกระทบของการใช้มาตรการตามข้อ 1 แล้วเห็นว่า มีประชาชนจำนวนมากได้รับประโยชน์ จึงเห็นสมควรให้ดำเนินมาตรการดังกล่าวต่อไปภายใต้หลักการเดิมจนสิ้นสุดโครงการและเพื่อให้ มาตรการที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีความเหมาะสมยิ่งขึ้น จึงขอปรับปรุงหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือภาระค่าครองชีพของประชาชน โดยขยายให้ครอบ คลุมประชาชนในพื้นที่ส่วนภูมิภาค มากขึ้นภายหลังจากมาตรการเดิมสิ้นสุดและให้ใช้หลักเกณฑ์ใหม่ของแต่ละมาตรการเป็นระยะเวลา 6 เดือน มีสาระ สำคัญสรุปได้ ดังนี้

2.1 หลักการและเหตุผล

ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้ส่งผลกระทบถึงเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจการลงทุนและ การบริโภคภายในประเทศชะลอตัวและส่งผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่ของประชาชน ดังนั้น เพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจซึ่งมีแนว โน้มที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้น และเพื่อให้มาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชนมุ่งเน้นให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อยและประสบ ปัญหาภาระค่าครองชีพอย่างแท้จริง รวมถึงการสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนมีการใช้บริการสาธารณูปโภคอย่างประหยัดและคุ้มค่า ตลอดจนเป็นภาระต่อ ภาครัฐให้น้อยที่สุด จึงเห็นสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือภาระค่าครองชีพของประชาชนภายหลังจากมาตรการเดิมสิ้นสุดและให้ใช้ หลักเกณฑ์ใหม่ของแต่ละมาตรการเป็นระยะเวลา 6 เดือน

2.2 สาระสำคัญของมาตรการที่ปรับปรุง

2.2.1 มาตรการลดค่าใช้จ่ายน้ำประปาของครัวเรือน

หลักการ                            ผลที่คาดว่าจะได้รับ                      ผลกระทบเชิงตัวเงิน
รัฐจะรับภาระค่าใช้จ่ายการใช้น้ำ          ครอบคลุ่มผู้ใช้น้ำทั้งประเทศศ               จะสามารถช่วยประชาชนให้ประหยัด
สำหรับบผู้ใช้น้ำประเภทที่อยู่อาศัย          ประมาณ 8.27 ล้านราย แบ่งเป็น           ค่าใช้จ่ายน้ำประปาเฉลี่ยประมาณ
และ  ผู้เช่าที่อยู่อาศัยที่มีปริมาณ           ผู้ใช้น้ำที่อยู่ในเขตนครหลวง                197 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือนในเขต
การใช้น้ำระหว่าง 0 ถึง 30             ประมาณ 1.02 ล้านราย และเขต           นครหลวง (รวมเป็นเงินประมาณ 200
ลูกบาศก์เมตรต่อเดือน ซึ่งเป็นปริมาณ       ภูมิภาคประมาณ 7.25 ล้านราย             ล้านบาทต่อเดือน) และประมาณ
การใช้ที่ตอบสนองความจำเป็นพื้นฐาน       (ในพื้นที่ของ กปภ. ประมาณ 1.95          107 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน
ของกลุ่มประชาชนผู้ใช้น้ำที่               ล้านราย พื้นที่ อปท.ที่ดำเนินการ            ในเขตภูมิภาค (รวมเป็นเงิน
รับบริการจาก กปน. กปภ. และ อปท.     ระบบประปาเทศพาณิชย์ที่                  ประมาณ 773 ล้านบาทต่อเดือน)
(ระบบประปาเทศพาณิชย์  ระบบ          คณะรัฐมนตรีอนุมัติแล้วประมาณ
ประปาหมู่บ้าน และระบบประปาที่          0.7 ล้านราย  และขยายให้ครอบ           รวมทั้งสิ้น 5,840 ล้านบาท
ดำเนินการในลักษณะพาณิชย์)             คลุมพื้นที่ของ อปท.ในชนบททั้ง              ในช่วง  6 เดือน

ประเทศอีกประมาณ 4.60 ล้านราย)

2.2.2 มาตรการลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าของครัวเรือน

หลักการ                            ผลที่คาดว่าจะได้รับ                      ผลกระทบเชิงตัวเงิน
รัฐจะรับภาระค่าใช้จ่ายไฟฟ้าสำหรับ        ครอบคลุมผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งประเทศ              จะสามารถช่วยประชาชนให้ประหยัด
ครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วยต่อ     ประมาณ 8.81 ล้านราย แบ่งเป็นผู้ใช้        ค่าใช้จ่ายค่าไฟฟ้าเฉลี่ยต่อครัวเรือนเดือน
                                  ไฟฟ้าในเขตนครหลวงประมาณ 0.75         ประมาณ 170.45 บาทต่อเดือนในเขต
                                  ล้านราย และเขตภูมิภาคประมาณ            นครหลวง (รวมเป็นเงินประมาณ 120
                                  8.06 ล้านราย แบ่งเป็นผู้ใช้ไฟฟ้า           ล้านบาทต่อเดือน) และประมาณ
                                  ประเภทบ้านพักอาศัยประมาณ 8.59          136.66 บาทต่อเดือนในเขตภูมิภาค
                                  ล้านราย และประเภทหอพักและ             (รวมเป็นเงินประมาณ 1,008 ล้านบาท
                                  อพาร์ทเมนต์ประมาณ 0.22 ล้านราย           ต่อเดือน)

รวมทั้งสิ้น 6,811 ล้านบาท ในช่วง

6 เดือน

2.2.3 มาตรการลดค่าใช้จ่ายเดินทางรถโดยสารประจำทาง

หลักการ                            ผลที่คาดว่าจะได้รับ                       ผลกระทบเชิงตัวเงิน
รัฐจะรับภาระค่าใช้จ่ายค่าโดยสารรถ       ครอบคลุมผู้โดยสารรถโดยสารธรรมดา         จะช่วยประชาชนผู้มีรายได้น้อยใน
ประจำทางของ ขสมก. ประเภทรถ        ที่ให้บริการในเขตกรุงเทพมหานครและ         เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
โดยสารธรรมดาที่ให้บริการในเขต         ปริมณฑล จำนวน 410,000 คนต่อวัน          ประมาณ 108.33 ล้านบาทต่อเดือน
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน                                            รวมทั้งสิ้น 650 ล้านบาท ในช่วง
800 คันใน 73 เส้นทาง                                                     6 เดือน

2.2.4 มาตรการลดค่าใช้จ่ายเดินทางโดยรถไฟชั้น 3

หลักการ                             ผลที่คาดว่าจะได้รับ                      ผลกระทบเชิงตัวเงิน
รัฐจะรับภาระค่าใช้จ่ายค่าโดยสาร          ครอบคลุมผู้โดยสารรถไฟชั้น 3  เชิง         จะช่วยประชาชนผู้มีรายได้น้อยทั่ว
รถไฟชั้น 3 เชิงสังคม จำนวน 164         สังคม จำนวน 164 ขบวน และรถไฟชั้น       ประเทศประมาณ 100 ล้านบาทต่อ
ขบวน และรถไฟชั้น 3 เชิงพาณิชย์          3 เชิงพาณิชย์ จำนวน 8 ขบวน ซึ่ง          เดือน
จำนวน 8 ขบวน                       พิจารณาจากจำนวนตั๋วโดยสาร              รวมทั้งสิ้น 600 ล้านบาท ในช่วง
                                   ประมาณ 4 ล้านเที่ยวต่อเดือน              6 เดือน

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 มกราคม 2552 --จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ