สรุปสถานการณ์ภัยหนาว คลื่นซัดชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออก และการเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ปี 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday January 21, 2009 16:35 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ติดตามสถานการณ์ภัยหนาว และคลื่นซัดชายฝั่ง ภาคใต้ฝั่งตะวันออกที่เกิดขึ้น (ข้อมูล ณ วันที่ 19 มกราคม 2552) สรุปสถานการณ์สาธารณภัยดังกล่าว และผลการปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชน ดังนี้

1. สรุปสถานการณ์ภัยหนาวและการให้ความช่วยเหลือ (ข้อมูล ณ วันที่ 19 มกราคม 2552)

1.1 พื้นที่ประสบภัยหนาวที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส และได้ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินแล้ว จำนวน 49 จังหวัด สรุปได้ดังนี้

ที่   ภาค            พื้นที่ประกาศภัยพิบัติ                                         รวม
1   เหนือ           จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา แพร่ น่าน                17 จังหวัด

ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์

อุทัยธานี ตาก กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์

พิษณุโลก และจังหวัดสุโขทัย

2   ตะวันออก        จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น นครพนม สกลนคร                  19 จังหวัด
เฉียงเหนือ       มุกดาหาร เลย อุดรธานี ร้อยเอ็ด หนองคาย

อำนาจเจริญ หนองบัวลำภู บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ

นครราชสีมา สุรินทร์ มหาสารคาม ยโสธร ชัยภูมิ

และจังหวัดอุบลราชธานี

3   กลาง           จังหวัดสระบุรี ลพบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี                 9 จังหวัด

สุพรรณบุรี นครปฐม ชัยนาท ราชบุรี

และจังหวัดกาญจนบุรี

4   ตะวันออก        จังหวัดจันทบุรี สระแก้ว นครนายก                          4 จังหวัด

และจังหวัดฉะเชิงเทรา

                   รวม                                               49 จังหวัด

1.2 จังหวัดที่ประสบภัยหนาวในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะ กิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาวระดับจังหวัดปี 2551-2552 ณ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และมี 50 จังหวัด รายงานว่า ได้มอบ ผ้าห่มกันหนาวให้แก่ประชาชนที่ขาดแคลนใน 548 อำเภอ 3,839 ตำบล 44,956 หมู่บ้าน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณ ภัย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) สมาคม มูลนิธิ ไปแล้ว รวม 780,394 ชิ้น (ผ้าห่มนวม 661,371 ผืน เสื้อ กันหนาว 98,233 ตัว หมวกไหมพรม 4,567 ชิ้น อื่น ๆ 16,223 ชิ้น)

ที่   ภาค       จังหวัดที่แจกจ่ายเครื่องกันหนาว                  จำนวนราษฎรเดือดร้อน                   จำนวนเครื่อง
                                                           จากภัยหนาว                        กันหนาว

ที่แจกจ่ายแล้ว (ชิ้น)

                                                       คน           ครัวเรือน
1   เหนือ      จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา        2,075,792           723,468                      357,113

แพร่ น่าน ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน

เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ อุทัยธานี ตาก

กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์

พิษณุโลก และจังหวัดสุโขทัย

2   ตะวันออก   จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น นครพนม         3,672,029         1,415,778                     369,553
เฉียงเหนือ  สกลนคร มุกดาหาร เลย อุดรธานี

ร้อยเอ็ด หนองคาย อำนาจเจริญ

หนองบัวลำภู บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ

นครราชสีมา สุรินทร์ มหาสารคาม

ยโสธร ชัยภูมิ และจังหวัดอุบลราชธานี

3   กลาง      จังหวัดสระบุรี ลพบุรี ประจวบคีรีขันธ์         343,717           175,651                      34,440

เพชรบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง นครปฐม

ชัยนาท ราชบุรี และจังหวัดกาญจนบุรี

4   ตะวันออก   จังหวัดจันทบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา         407,716           138,628                      19,288

และจังหวัดนครนายก

    รวม       50 จังหวัด 548 อำเภอ                6,499,254         2,453,525                     780,394

3,839 ตำบล 44,956 หมู่บ้าน

1.3 การให้ความช่วยเหลือของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

1) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้โอนเงินงบประมาณไปตั้งจ่ายที่คลังจังหวัดเพื่อจัดซื้อเครื่องกันหนาวให้ทันการแจก จ่ายในฤดูหนาวตามความเหมาะสมและจำเป็น รวมจำนวน 47 จังหวัด ๆ ละ 200,000 บาท เป็นเงินงบประมาณรวมทั้งสิ้น 9,400,000 บาท นอก จากนี้ยังได้เตรียมงบประมาณ 52,927,500 บาท ใช้จัดหาเครื่องกันหนาวสนับสนุนให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตต่าง ๆ ที่รับผิดชอบ จังหวัดที่ประสบภัยหนาว และสำรองไว้ในคลังส่วนกลางเพื่อเตรียมการสนับสนุนให้กับสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเพิ่มเติม หากมี ความจำเป็นภายหลัง

2) จังหวัดมีเงินทดรองราชการตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุก เฉิน พ.ศ. 2551 ในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดสำหรับจัดซื้อผ้าห่มและเครื่องกันหนาวที่จำเป็นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัย เมื่อ อุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียสติดต่อกัน 3 วัน ในวงเงินจังหวัดหนึ่งไม่เกินงบประมาณปีละ 1,000,000 บาท (ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2551) แต่ทั้ง นี้หากเงินฉุกเฉินดังกล่าวไม่เพียงพอ จังหวัดสามารถขอยกเว้นหลักเกณฑ์ เพื่อขอขยายวงเงินทดรองราชการได้อีกตามความเหมาะสมและจำเป็นในวง เงินไม่เกิน 50 ล้านบาท ซึ่งมีจังหวัดได้ขอขยายวงเงินแล้วรวม 38 จังหวัด เป็นเงินรวม 1,076.26 ล้านบาท

3) กระทรวงการคลัง ได้อนุมัติเมื่อวันที่ 9 และวันที่ 12 มกราคม 2552 ให้ 15 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก พะเยา ตาก ลำปาง สกลนคร ขอนแก่น แพร่ น่าน เชียงราย นครพนม ศรีสะเกษ เชียงใหม่ อุดรธานี เลย และจังหวัดนครราชสีมา ที่ขอยกเว้นการปฏิบัติ นอกเหนือหลักเกณฑ์และวิธีดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2551 ข้อ 5.1.18 โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถใช้ จ่ายเงินทดรองราชการในอำนาจ (งบ 50 ล้านบาท) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อเครื่องกันหนาวสงเคราะห์ราษฎรในพื้นที่ที่ได้ประกาศ ให้เป็น พื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยหนาว) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ได้เท่าที่จ่ายจริงคนละไม่เกิน 240 บาท ภายในวงเงินรวมทั้งสิ้น 265,820,200 บาท

4) บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ได้ให้การสนับสนุนผ้าห่มกันหนาว จำนวน 200,000 ผืน มูลค่ากว่า 30 ล้าน บาท แจกจ่ายช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาวในพื้นที่ 15 จังหวัด

2. สรุปสถานการณ์คลื่นซัดชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออก และการให้ความช่วยเหลือ (ข้อมูล ณ วันที่ 19 มกราคม 2552)

2.1 สาเหตุการเกิด

ในห้วงระหว่างวันที่ 11-15 มกราคม 2552 บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทย และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่ พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงทำให้คลื่นลมในอ่าวไทยสูง 2-4 เมตร ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกให้ระมัดระวัง อันตราย จากคลื่นลมแรงที่พัดเข้าหาฝั่งในระยะดังกล่าว

2.2 สถานการณ์ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 19 มกราคม 2552)

ได้รับรายงานการเกิดพายุคลื่นซัดชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออก ตั้งแต่วันที่ 11-16 มกราคม 2552 ใน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัด ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และจังหวัดสงขลา รวม 9 อำเภอ 19 ตำบล 53 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 5,129 คน 1,583 ครัวเรือน บ้านพังเสียหาย 5 หลัง ถนน 2 สาย และกำแพงกันคลื่นเสียหาย 2 แห่ง

2.3 การให้ความช่วยเหลือ

จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อปพร. มูลนิธิ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ จัดเจ้าหน้าที่ขนย้ายสิ่งของ และนำ กระสอบทรายทำแนวกันคลื่น ตลอดจนเข้าตรวจสอบความเสียหาย และเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อเตรียมความพร้อมให้ความช่วยเหลือได้ทันที

3. การให้ความช่วยเหลือ

  • สิ่งของพระราชทาน มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ นำโดยนายดิสธร วัชโรทัย ประธานกรรมการบริหาร นาย

ประสงค์ พิทูรกิจจา เลขาธิการมูลนิธิฯ พร้อมด้วยคณะ เดินทางไปมอบสิ่งของพระราชทานเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ราษฎรที่ประสบอุทกภัยและภัย

หนาวในพื้นที่จังหวัดพัทลุง ยะลา กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ตาก ลำปาง น่าน อุตรดิตถ์ และจังหวัดเพชรบูรณ์ ในระหว่างวันที่ 7-19 มกราคม 2552

รวมทั้งสิ้น 12,000 ครอบครัว

4. การเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ปี 2552

4.1 กรมอุตุนิยมวิทยา ได้คาดหมายลักษณะอากาศในช่วงเดือนมีนาคม ว่าจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น เป็นผลทำให้อากาศร้อนอบอ้าว และร้อน จัดในบางพื้นที่ ประกอบกับจะมีปริมาณฝนตกน้อย เป็นเหตุทำให้หลายพื้นที่ของประเทศไทยต้องประสบกับความแห้งแล้ง และขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค รวมทั้งน้ำเพื่อการเกษตร โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณนอกเขตชลประทาน

4.2 การดำเนินการของกระทรวงมหาดไทย

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้กำหนดมาตรการและแจ้งให้จังหวัดทุกจังหวัดดำเนินการป้องกันและบรรเทาความเดือด ร้อนจากปัญหาภัยแล้ง ปี 2552 ดังนี้

1) ให้ทุกจังหวัดเตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งปี 2552 ที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ โดยจัดตั้งศูนย์อำนวยการ เฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งระดับจังหวัด/อำเภอ/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พร้อมกับแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รับผิดชอบประจำศูนย์ฯและแบ่งหน้าที่ การปฏิบัติอย่างชัดเจน และเป็นระบบ สำรวจและจัดทำบัญชีหมู่บ้าน/ชุมชนที่มีความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค จัดทำแผนเฉพาะกิจป้องกัน และแก้ไขปัญหาภัยแล้ง จัดเตรียมความพร้อมด้านกำลังคน วัสดุอุปกรณ์และรถยนต์บรรทุกน้ำ และให้จังหวัดพิจารณาช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้ประสบภัย โดยใช้จ่ายเงินทดรองราชการตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ พ.ศ. 2546 (งบ 50 ล้านบาท) และในกรณีที่มีสถานการณ์ภัยแล้งเกิดขึ้นให้รายงาน ผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาและการให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยให้ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง กระทรวง มหาดไทย (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) ทราบเป็นประจำทุกสัปดาห์จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย

2) แจ้งแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งปี 2551/52 ตลอดจนมาตรการการจัดสรรน้ำของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ทุกจังหวัด ทราบ ซึ่งมีแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งปี 2551/52 ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 14.41 ล้านไร่ แยกเป็นข้าวนาปรัง 11.61 ล้านไร่ (ในเขต ชลประทาน 8.79 ล้านไร่ นอกเขตชลประทาน 2.82 ล้านไร่) พืชไร่-ผัก 2.80 ล้านไร่ (ในเขตชลประทาน 0.76 ล้านไร่ นอกเขตชลประทาน 2.04 ล้านไร่) ทั้งนี้ การจัดสรรน้ำเพื่อใช้ ในกิจกรรมต่างๆจัดลำดับความสำคัญ ดังนี้ 1) เพื่อการอุปโภคบริโภคและการประปา 2) เพื่อการรักษา ระบบนิเวศน์ เช่น ผลักดันน้ำเค็ม 3) เพื่อการเกษตรกรรม 4) เพื่อการอุตสาหกรรมโดยให้จังหวัดชี้แจงประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมวลชนต่างๆให้ ประชาชนในจังหวัด/อำเภอ/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบได้ทราบ และขอความร่วมมือเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรมและบุคคลทั่วไปที่ เกี่ยวข้องได้วางแผนกิจกรรมการใช้น้ำต่างๆให้เหมาะสมตามนโยบายที่กำหนดต่อไป

5. การคาดหมายลักษณะอากาศระหว่างวันที่ 18-24 มกราคม 2552

5.1 กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายลักษณะอากาศว่า ในช่วงวันที่ 18-22 มกราคม 2552 บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุม ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลงเป็นลำดับ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศอุ่นขึ้น โดยอุณหภูมิจะสูงขึ้น 3-5 องศา กับมีหมอกในตอนเช้า และมี หมอกหนาในหลายพื้นที่ ส่วนคลื่นลมในอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ต่อจากนั้นในช่วงวันที่ 23-24 มกราคม 2552 บริเวณความกด อากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนอีกครั้งหนึ่ง ทำให้บริเวณดังกล่าวอากาศเย็นลง และมีลม แรง ส่วนคลื่นลมในอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ดังนั้นในช่วงวันที่ 18-22 มกราคม ขอให้ประชาชนเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอก ไว้ด้วย และตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม เป็นต้นไป ขอให้ชาวเรือในอ่าวไทยระมัดระวังอันตรายจากการเดินเรือ

5.2 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งเตือนเกี่ยวกับสภาวะอากาศให้จังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออก เฉียงเหนือ เตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอันเกิดจากสภาวะหนาวถึงหนาวจัด และมีลมแรง อาจสร้างความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สิน ผลผลิต ทางการเกษตร และสัตว์เลี้ยงของประชาชนที่อาศัยอยู่ตอนบนของประเทศ และให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต จัดเจ้าหน้าที่ติดตาม สถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ไว้ให้พร้อมเพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันต่อเหตุการณ์เมื่อ เกิดสาธารณภัยขึ้น

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 มกราคม 2552 --จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ