คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปสถานการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูแล้ง ครั้งที่ 2 ณ วันที่ 16 มกราคม 2552 ประกอบด้วย สถานการณ์น้ำ การจัดสรรน้ำและผลการปลูกพืชฤดูแล้ง และการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร สรุปได้ดังนี้
สถานการณ์น้ำ ณ วันที่ 16 มกราคม 2552
1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ มีปริมาณน้ำในอ่างฯทั้งหมด 54,448 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ คิดเป็นร้อยละ 78 ของ ความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด (ปริมาณน้ำใช้การได้ 31,093 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 45 ของความจุอ่างฯ) น้อยกว่าปี 2551 (55,202 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 754 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 1 ของความจุอ่างฯ
ปริมาณน้ำไหลลงอ่างสะสมในช่วงฤดูแล้ง ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2551 ถึงปัจจุบัน จำนวน 6,624 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณ ระบายสะสมในช่วงฤดูแล้งตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2551 ถึงปัจจุบัน จำนวน 7,940 ล้านลูกบาศก์เมตร
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ และป่าสักชลสิทธิ์
อ่างเก็บน้ำ ปริมาตรน้ำ ปริมาตรน้ำ ปริมาตรน้ำไหล ปริมาณน้ำ ในอ่างฯ ใช้การได้ ลงอ่างฯ ระบาย ปริมาตร %ความจุ ปริมาตร %ความจุ วันนี้ สะสม วันนี้ เมื่อวาน สะสม น้ำ อ่างฯ น้ำ อ่างฯ 1 พ.ย.51 1 พ.ย.51 1. ภูมิพล 9,018 67 5,218 39 2.40 1,325 36.00 32.00 1,317 2. สิริกิติ์ 7,469 79 4,619 49 6.50 679 29.69 29.12 1,427 รวมภูมิพล+สิริกิติ์ 16,487 72 9,837 43 8.90 2,004 65.69 61.12 2,744 3. ป่าสักชลสิทธิ์ 778 81 775 81 1.20 467 3.47 3.47 559
เมื่อเปรียบเทียบปริมาตรน้ำปัจจุบันกับปี 2551 เขื่อนภูมิพล น้อยกว่า จำนวน 1,333 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนสิริกิติ์ มากกว่า จำนวน 1,003 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มากกว่า จำนวน 96 ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯ จำนวน 16 อ่าง ได้แก่
ภาค จำนวนอ่างฯ อ่างฯ/ร้อยละของความจุที่ระดับน้ำเก็บกักของอ่างฯ
ทั้งหมด มากกว่า 80%
เหนือ 5 2 แม่งัด(101),กิ่วลม(91) ตะวันออกเฉียงเหนือ 12 7 ห้วยหลวง(89),จุฬาภรณ์(88),ลำตะคอง(88),
ลำพระเพลิง(98),มูลบน(100),ลำแซะ(95),สิรินธร(81)
กลาง 3 2 ป่าสักชลสิทธิ์(81),กระเสียว(100) ตะวันตก 2 1 ศรีนครินทร์(90) ตะวันออก 5 3 คลองสียัด(83),หนองปลาไหล(86),ประแสร์(85) ใต้ 4 1 รัชชประภา(83) รวม 31 16
2. สภาพน้ำท่า
แม่น้ำ ที่ตั้งสถานี อยู่ในเกณฑ์ แนวโน้ม สถานี อำเภอ จังหวัด ปิง P.7A สะพานบ้านห้วยยาง เมือง กำแพงเพชร ปกติ เพิ่มขึ้น P.17 บ้านท่างิ้ว บรรพตพิสัย นครสวรรค์ ปกติ เพิ่มขึ้น วัง W.4A บ้านวังหมัน สามเงา ตาก น้อย ทรงตัว ยม Y.1C สะพานบ้านน้ำโค้ง เมือง แพร่ น้อย เพิ่มขึ้น Y.17 บ้านสามง่าม สามง่าม พิจิตร น้อย เพิ่มขึ้น น่าน N.5A สะพานเอกาทศรถ เมือง พิษณุโลก ปกติ เพิ่มขึ้น N.67 สะพานบ้านเกศไชย ชุมแสง นครสวรรค์ ปกติ ทรงตัว ท่าตะเภา X 158 สะพานบ้านวังครก ท่าแซะ ชุมพร น้อย ทรงตัว ตาปี X 37A บ้านย่านดินแดง พระแสง สุราษฎร์ธานี น้อย ลดลง คลองท่าดี X 203 บ้านนาป่า เมือง นครศรีธรรมราช น้อย ลดลง คลองอู่ตะเภา X 44 บ้านหาดใหญ่ใน เมือง สงขลา น้อย ลดลง ปัตตานี X 40A ท้ายเขื่อนปัตตานี เมือง ยะลา น้อย เพิ่มขึ้น โก-ลก X 119A บ้านปาเสมัส สุไหงโก-ลก นราธิวาส น้อย ลดลง คลองตันหยงมัศ X 73 บ้านตันหยงมัส ระแงะ นราธิวาส ปกติ ลดลง สายบุรี X 184 บ้านซากอ ศรีสาคร นราธิวาส น้อย ลดลง ตะกั่วป่า X 187 บ้านหินดาน ตะกั่วป่า พังงา น้อย ทรงตัว คลองนาท่อม X 170 บ้านคลองลำ ศรีนครินทร์ พัทลุง น้อย ลดลง X 68 บ้านท่าแค เมือง พัทลุง น้อย ลดลง
แม่น้ำเจ้าพระยา (C.2) มีปริมาณน้ำไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ 409 ลบ.ม.ต่อวินาที (ลดลงจากเมื่อวาน) รับน้ำเข้าระบบชล ประทานฝั่งตะวันออก 181ลบ.ม.ต่อวินาที (ลดลงจากเมื่อวาน) รับน้ำเข้าระบบชลประทานฝั่งตะวันตก 182 ลบ.ม.ต่อวินาที (ลดลงจากเมื่อวาน)
ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา (C.13) มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 45 ลบ.ม.ต่อวินาที (เท่ากับเมื่อวาน) อยู่ในเกณฑ์ปกติ
เขื่อนพระรามหก ปิดการระบายน้ำ
การจัดสรรน้ำ และการปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2551/2552
กรมชลประทานวางแผนการใช้น้ำจากโครงการชลประทานขนาดใหญ่ และขนาดกลางทั้งประเทศในช่วงฤดูแล้งปี 2551/2552 (วัน ที่ 1 พฤศจิกายน 2551-30 เมษายน 2552) ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2551 ปริมาตรน้ำต้นทุนสามารถใช้การได้จำนวน 36,128 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยจัดสรรน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค การประปา รักษาระบบนิเวศน์เกษตรกรรม และอุตสาหกรรม ทั้งประเทศจำนวน 22,687 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยจัดสรรน้ำในลุ่มเจ้าพระยา 9,550ล้านลูกบาศก์เมตร (เขื่อนภูมิพลและสิริกิติ์ 8,000 ล้านลูกบาศก์เมตร,เขื่อนป่าสักฯ 550 ล้านลูกบาศก์เมตร และลุ่มน้ำแม่กลอง 1,000 ล้านลูกบาศก์เมตร)
ผลการปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2551/2552 พื้นที่เป้าหมายในเขตชลประทาน 13.18 ล้านไร่ (ข้อมูลวันที่ 9 มกราคม 2552) พื้นที่ปลูก จริง 9.19 ล้านไร่ คิดเป็น 70%
การให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร
สนับสนุนพืชอาหารสัตว์ 888,844 กิโลกรัม และดูแลสุขภาพสัตว์ 39,747 ตัว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 มกราคม 2552 --จบ--