คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงสาธารณสุข รายงานการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในคนและผลการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนก ดังนี้
1. สถานการณ์โรคในประเทศไทย พ.ศ. 2549
1.1 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549 ถึงวันที่ 13 สิงหาคม 2549มีรายงานผู้อยู่ในข่ายเฝ้าระวัง สะสม 3,631 ราย จาก 70 จังหวัด และในวันที่ 13 สิงหาคม ได้รับรายงาน รวม 84 ราย จาก 18 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิจิตร 10 ราย จังหวัดสุโขทัย 27 ราย จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเลย และจังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดละ 7 ราย จังหวัดสุพรรณบุรี 6 ราย จังหวัดอุทัยธานี 4 ราย จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดละ 3 ราย กรุงเทพมหานคร 2 ราย จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำปาง จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดกำแพงเพชรและ จังหวัดสกลนคร จังหวัดละ 1 ราย
1.2 ผู้ป่วยยืนยันไข้หวัดนกในพ.ศ. 2549 จำนวน 2 ราย เสียชีวิตทั้ง 2 ราย ดังนี้
- รายที่ 1 จังหวัดพิจิตร อำเภอทับคล้อ เป็นชาย อายุ 17 ปี เริ่มป่วยวันที่ 15 กรกฎาคม 2549 เสียชีวิตวันที่ 24 กรกฎาคม 2549
- รายที่ 2 จังหวัดอุทัยธานี อำเภอสว่างอารมณ์ เป็นชาย อายุ 27 ปี เริ่มป่วยวันที่ 24 กรกฎาคม 2549 เสียชีวิตวันที่ 3 สิงหาคม 2549
1.3 ผู้ป่วย 2 รายที่เข้ารับการรักษา ณ สถาบันบำราศนราดูร รายแรกเป็นเพศหญิง อายุ 66 ปี เป็นโรคเบาหวาน ที่บ้านมีไก่ตายตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคม 2549 แต่ผู้ป่วยไม่ได้สัมผัสไก่ รายที่สอง เป็นเพศชาย อายุ 24 ปี มีที่อยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการ ไม่มีประวัติสัมผัสไก่ป่วยหรือเสียชีวิตผิดปกติ ขณะนี้ผู้ป่วยทั้งสองรายอาการดีขึ้น ไม่มีไข้แล้วผลการตรวจตัวอย่างจากโพรงจมูกด้วยชุดทดสอบเบื้องต้นให้ผลลบ เอ็กซ์เรย์ปอดผลเป็นปกติและกำลังดำเนินการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหาสารพันธุกรรมของไข้หวัดนก
2. ความก้าวหน้าของการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนก
2.1 กระทรวงสาธารณสุข ได้ประชุมศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนกของกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ที่ผ่านมา โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้เข้าร่วมประชุมพร้อมทั้งมอบนโยบายและมาตรการการป้องกันโรคไข้หวัดนก ซึ่งจากการประชุมได้สรุปบทเรียนจากกรณีมีผู้ป่วยโรคไข้หวัดนกรายใหม่ 2 รายและเสียชีวิต และให้คณะทำงานแต่ละคณะสรุปการดำเนินงานของแต่ละคณะ ดังนี้
2.1.1 มาตรการด้านการป้องกันการเจ็บป่วย
- การพัฒนายุทธศาสตร์การสื่อสารความเสี่ยง (Risk Communication) เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันโรคอย่างต่อเนื่องและนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ให้คณะทำงานด้านประชาสัมพันธ์ จัดกิจกรรมให้อาสาสมัครสาธารณสุขร่วมรณรงค์ กระตุ้นให้ประชาชนตระหนักในภัยของโรคไข้หวัดนก ให้ความร่วมมือให้การเฝ้าระวังพื้นที่ของตนเอง รวมทั้งจัดรณรงค์เรื่องสุขบัญญัติเน้นการล้างมือที่ถูกวิธีผ่านแกนนำนักเรียน
- เพิ่มมาตรการเฝ้าระวังโรคในพื้นที่ระบาดทับซ้อนของโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก (เชื้อ H5) และไข้หวัดใหญ่ในคน (เชื้อ H1) โดยมอบให้คณะทำงานด้านการเฝ้าระวังและสอบสวนโรค คณะทำงานด้านการแพทย์ และคณะทำงานประสานวิชาการ พิจารณาหารือร่วมกับคณะที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การควบคุมโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ (Strategic Advisory Committee) ต่อไป
- การป้องกันผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยาแอสไพริน มอบให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาดำเนินการขอความร่วมมือร้านขายยาทั่วประเทศในการให้ความรู้ และซักถามอาการผู้ซื้อยาลดไข้รับประทานเอง และให้งดจ่ายยาแอสไพรินให้แก่เด็กในระยะนี้ พร้อมทั้งมอบหมายให้ทบทวนข้อบ่งใช้ยาแอสไพรินลดไข้ในเด็ก
- การป้องกันการนำสัตว์ปีกที่ป่วยจำหน่ายในตลาดสด โดยมอบให้สำนักคณะกรรมการอาหารและยา พัฒนาความร่วมมือกับกรมปศุสัตว์
2.1.2 มาตรการด้านการตรวจวินิจฉัยและรักษา
- การพัฒนาประสิทธิภาพการเก็บตัวอย่างการส่งตรวจให้คณะทำงานด้านห้องปฏิบัติการ คณะทำงานด้านเฝ้าระวังสอบสวนโรคและคณะทำงานด้านการแพทย์หาข้อยุติวิธีการเก็บตัวอย่างระหว่าง Nasopharyngeal Swab และ Throat Swab เพื่อมิให้เกิดความสับสนแก่ผู้ปฏิบัติ และให้ทำหนังสือแจ้งให้เจ้าหน้าที่ผู้ผ่านการอบรม เป็นผู้เก็บตัวอย่างส่งตรวจ ให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จัดอบรมวิธีการเก็บตัวอย่างส่งตรวจเพิ่มเติมแก่บุคลากรผู้ทำหน้าที่เก็บตัวอย่างส่งตรวจที่ยังไม่เคยผ่านการอบรม และให้ขึ้นทะเบียนรายชื่อไว้ รวมทั้งการทำสื่อสาธิต วิธีเก็บตัวอย่าง
- พัฒนาแนวทางการให้ยาต้านไวรัส ( Oseltamivir ) กรณีผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการไม่ชัดเจน แต่อาการทางคลินิกเข้าข่ายโรคไข้หวัดนก และมีประวัติการสัมผัสสัตว์ปีกหรือผู้ป่วยไข้หวัดนก และให้คณะทำงานด้านการแพทย์พิจารณาปรับแนวทางปฏิบัติ (Clinical practise Guideline) เพื่อประกอบการตัดสินใจให้ยาต้านไวรัสได้เร็วขึ้น
- การพัฒนาห้องแยกผู้ป่วยโรคติดเชื้อแก่โรงพยาบาลชุมชน 100 แห่ง เพื่อให้โรงพยาบาลชุมชนมีศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อที่ควรมีห้องแยกผู้ป่วยติดเชื้ออย่างน้อยโรงพยาบาลละ 1 ห้อง ตามที่นายกรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแล้วนั้น ให้เร่งดำเนินการประสานสำนักงบประมาณ เพื่อให้สามารถปรับปรุงห้องแยกในโรงพยาบาลชุมชนให้เสร็จโดยเร็ว
2.1.3 มาตรการด้านการศึกษาวิจัย ให้กรมควบคุมโรคร่วมกับศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐด้านสาธารณสุข (TUC) ศึกษาวิจัยหาสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยตายด้วยโรคปอดบวม (Pneumonia Dead) เพื่อปรับใช้เป็นแนวทางการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกและไข้หวัดใหญ่
2.2 เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2549 กระทรวงสาธารณสุขได้เชิญคลินิกเอกชนและร้านขายยา องค์การบริหารส่วนตำบลและสาธารณสุขอำเภอ ในจังหวัดนนทบุรี ประชุมขอความร่วมมือเรื่องการห้ามจำหน่ายยาแอสไพรินให้แก่เด็ก และกรณีในคลินิกเอกชน หากพบผู้ป่วยมีอาการไข้สูง และสงสัยจะป่วยด้วยโรคไข้หวัดนกให้ส่งต่อโรงพยาบาลรัฐทันที
3. สถานการณ์การระบาดโรคไข้หวัดในต่างประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549 ถึงปัจจุบัน พบผู้ป่วย 89 ราย ตาย 59 ราย รายละเอียดดังนี้
3.1 สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจัน ป่วย 8 ราย ตาย 5 ราย
3.2 ราชอาณาจักรกัมพูชา ป่วย 2 ราย ตาย 2 ราย
3.3 สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน ป่วย 11 ราย ตาย 7 ราย
3.4 สาธารณรัฐจิบูตี ป่วย 1 ราย
3.5 สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ ป่วย 14 ราย ตาย 6 ราย
3.6 สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ป่วย 39 ราย ตาย 33 ราย
3.7 สาธารณรัฐอิรัก ป่วย 2 ราย ตาย 2 ราย
3.8 สาธารณรัฐตุรกี ป่วย 12 ราย ตาย 4 ราย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 สิงหาคม 2549--จบ--
1. สถานการณ์โรคในประเทศไทย พ.ศ. 2549
1.1 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549 ถึงวันที่ 13 สิงหาคม 2549มีรายงานผู้อยู่ในข่ายเฝ้าระวัง สะสม 3,631 ราย จาก 70 จังหวัด และในวันที่ 13 สิงหาคม ได้รับรายงาน รวม 84 ราย จาก 18 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิจิตร 10 ราย จังหวัดสุโขทัย 27 ราย จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเลย และจังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดละ 7 ราย จังหวัดสุพรรณบุรี 6 ราย จังหวัดอุทัยธานี 4 ราย จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดละ 3 ราย กรุงเทพมหานคร 2 ราย จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำปาง จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดกำแพงเพชรและ จังหวัดสกลนคร จังหวัดละ 1 ราย
1.2 ผู้ป่วยยืนยันไข้หวัดนกในพ.ศ. 2549 จำนวน 2 ราย เสียชีวิตทั้ง 2 ราย ดังนี้
- รายที่ 1 จังหวัดพิจิตร อำเภอทับคล้อ เป็นชาย อายุ 17 ปี เริ่มป่วยวันที่ 15 กรกฎาคม 2549 เสียชีวิตวันที่ 24 กรกฎาคม 2549
- รายที่ 2 จังหวัดอุทัยธานี อำเภอสว่างอารมณ์ เป็นชาย อายุ 27 ปี เริ่มป่วยวันที่ 24 กรกฎาคม 2549 เสียชีวิตวันที่ 3 สิงหาคม 2549
1.3 ผู้ป่วย 2 รายที่เข้ารับการรักษา ณ สถาบันบำราศนราดูร รายแรกเป็นเพศหญิง อายุ 66 ปี เป็นโรคเบาหวาน ที่บ้านมีไก่ตายตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคม 2549 แต่ผู้ป่วยไม่ได้สัมผัสไก่ รายที่สอง เป็นเพศชาย อายุ 24 ปี มีที่อยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการ ไม่มีประวัติสัมผัสไก่ป่วยหรือเสียชีวิตผิดปกติ ขณะนี้ผู้ป่วยทั้งสองรายอาการดีขึ้น ไม่มีไข้แล้วผลการตรวจตัวอย่างจากโพรงจมูกด้วยชุดทดสอบเบื้องต้นให้ผลลบ เอ็กซ์เรย์ปอดผลเป็นปกติและกำลังดำเนินการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหาสารพันธุกรรมของไข้หวัดนก
2. ความก้าวหน้าของการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนก
2.1 กระทรวงสาธารณสุข ได้ประชุมศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนกของกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ที่ผ่านมา โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้เข้าร่วมประชุมพร้อมทั้งมอบนโยบายและมาตรการการป้องกันโรคไข้หวัดนก ซึ่งจากการประชุมได้สรุปบทเรียนจากกรณีมีผู้ป่วยโรคไข้หวัดนกรายใหม่ 2 รายและเสียชีวิต และให้คณะทำงานแต่ละคณะสรุปการดำเนินงานของแต่ละคณะ ดังนี้
2.1.1 มาตรการด้านการป้องกันการเจ็บป่วย
- การพัฒนายุทธศาสตร์การสื่อสารความเสี่ยง (Risk Communication) เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันโรคอย่างต่อเนื่องและนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ให้คณะทำงานด้านประชาสัมพันธ์ จัดกิจกรรมให้อาสาสมัครสาธารณสุขร่วมรณรงค์ กระตุ้นให้ประชาชนตระหนักในภัยของโรคไข้หวัดนก ให้ความร่วมมือให้การเฝ้าระวังพื้นที่ของตนเอง รวมทั้งจัดรณรงค์เรื่องสุขบัญญัติเน้นการล้างมือที่ถูกวิธีผ่านแกนนำนักเรียน
- เพิ่มมาตรการเฝ้าระวังโรคในพื้นที่ระบาดทับซ้อนของโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก (เชื้อ H5) และไข้หวัดใหญ่ในคน (เชื้อ H1) โดยมอบให้คณะทำงานด้านการเฝ้าระวังและสอบสวนโรค คณะทำงานด้านการแพทย์ และคณะทำงานประสานวิชาการ พิจารณาหารือร่วมกับคณะที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การควบคุมโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ (Strategic Advisory Committee) ต่อไป
- การป้องกันผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยาแอสไพริน มอบให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาดำเนินการขอความร่วมมือร้านขายยาทั่วประเทศในการให้ความรู้ และซักถามอาการผู้ซื้อยาลดไข้รับประทานเอง และให้งดจ่ายยาแอสไพรินให้แก่เด็กในระยะนี้ พร้อมทั้งมอบหมายให้ทบทวนข้อบ่งใช้ยาแอสไพรินลดไข้ในเด็ก
- การป้องกันการนำสัตว์ปีกที่ป่วยจำหน่ายในตลาดสด โดยมอบให้สำนักคณะกรรมการอาหารและยา พัฒนาความร่วมมือกับกรมปศุสัตว์
2.1.2 มาตรการด้านการตรวจวินิจฉัยและรักษา
- การพัฒนาประสิทธิภาพการเก็บตัวอย่างการส่งตรวจให้คณะทำงานด้านห้องปฏิบัติการ คณะทำงานด้านเฝ้าระวังสอบสวนโรคและคณะทำงานด้านการแพทย์หาข้อยุติวิธีการเก็บตัวอย่างระหว่าง Nasopharyngeal Swab และ Throat Swab เพื่อมิให้เกิดความสับสนแก่ผู้ปฏิบัติ และให้ทำหนังสือแจ้งให้เจ้าหน้าที่ผู้ผ่านการอบรม เป็นผู้เก็บตัวอย่างส่งตรวจ ให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จัดอบรมวิธีการเก็บตัวอย่างส่งตรวจเพิ่มเติมแก่บุคลากรผู้ทำหน้าที่เก็บตัวอย่างส่งตรวจที่ยังไม่เคยผ่านการอบรม และให้ขึ้นทะเบียนรายชื่อไว้ รวมทั้งการทำสื่อสาธิต วิธีเก็บตัวอย่าง
- พัฒนาแนวทางการให้ยาต้านไวรัส ( Oseltamivir ) กรณีผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการไม่ชัดเจน แต่อาการทางคลินิกเข้าข่ายโรคไข้หวัดนก และมีประวัติการสัมผัสสัตว์ปีกหรือผู้ป่วยไข้หวัดนก และให้คณะทำงานด้านการแพทย์พิจารณาปรับแนวทางปฏิบัติ (Clinical practise Guideline) เพื่อประกอบการตัดสินใจให้ยาต้านไวรัสได้เร็วขึ้น
- การพัฒนาห้องแยกผู้ป่วยโรคติดเชื้อแก่โรงพยาบาลชุมชน 100 แห่ง เพื่อให้โรงพยาบาลชุมชนมีศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อที่ควรมีห้องแยกผู้ป่วยติดเชื้ออย่างน้อยโรงพยาบาลละ 1 ห้อง ตามที่นายกรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแล้วนั้น ให้เร่งดำเนินการประสานสำนักงบประมาณ เพื่อให้สามารถปรับปรุงห้องแยกในโรงพยาบาลชุมชนให้เสร็จโดยเร็ว
2.1.3 มาตรการด้านการศึกษาวิจัย ให้กรมควบคุมโรคร่วมกับศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐด้านสาธารณสุข (TUC) ศึกษาวิจัยหาสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยตายด้วยโรคปอดบวม (Pneumonia Dead) เพื่อปรับใช้เป็นแนวทางการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกและไข้หวัดใหญ่
2.2 เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2549 กระทรวงสาธารณสุขได้เชิญคลินิกเอกชนและร้านขายยา องค์การบริหารส่วนตำบลและสาธารณสุขอำเภอ ในจังหวัดนนทบุรี ประชุมขอความร่วมมือเรื่องการห้ามจำหน่ายยาแอสไพรินให้แก่เด็ก และกรณีในคลินิกเอกชน หากพบผู้ป่วยมีอาการไข้สูง และสงสัยจะป่วยด้วยโรคไข้หวัดนกให้ส่งต่อโรงพยาบาลรัฐทันที
3. สถานการณ์การระบาดโรคไข้หวัดในต่างประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549 ถึงปัจจุบัน พบผู้ป่วย 89 ราย ตาย 59 ราย รายละเอียดดังนี้
3.1 สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจัน ป่วย 8 ราย ตาย 5 ราย
3.2 ราชอาณาจักรกัมพูชา ป่วย 2 ราย ตาย 2 ราย
3.3 สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน ป่วย 11 ราย ตาย 7 ราย
3.4 สาธารณรัฐจิบูตี ป่วย 1 ราย
3.5 สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ ป่วย 14 ราย ตาย 6 ราย
3.6 สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ป่วย 39 ราย ตาย 33 ราย
3.7 สาธารณรัฐอิรัก ป่วย 2 ราย ตาย 2 ราย
3.8 สาธารณรัฐตุรกี ป่วย 12 ราย ตาย 4 ราย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 สิงหาคม 2549--จบ--