8.9 ตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม เป็นต้นไป จนถึงกลางเดือนมกราคม จะเป็นช่วงฤดูมรสุมของภาคใต้ ได้แจ้งกำชับให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และ 14 จังหวัดภาคใต้ เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยที่อาจจะเกิดขึ้น ตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม ปี 2549 และแผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนเขตท้องที่ โดยอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (นายอนุชา โมกขะเวส) ได้ประชุมซักซ้อมแนวทางปฏิบัติให้แก่เจ้าหน้าที่ของศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 4 (ประจวบคีรีขันธ์) เขต 11 (สุราษฎร์ธานี) และเขต 12 (สงขลา) เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2549 โดยนำบทเรียนจากเหตุการณ์อุทกภัย ดินถล่มภาคเหนือ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2549 ที่ผ่านมาปรับใช้ เพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง พร้อมกับน้อมนำแนวพระราชดำริที่พระราชทานเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้ประสบภัย เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องของกรมป้องก้นและบรรเทาสาธารณภัยนำไปปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และจะจัดประชุมผู้ว่าราชการจังหวัดภาคใต้ 14 จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ และเพชรบุรี พร้อมทั้งหัวหน้าหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมการรับสถานการณ์อุทกภัย วาตภัยและดินถล่มที่อาจจะเกิดขึ้น ในวันเสาร์ที่ 21 ตุลาคม 2549 ณ โรงแรมเจบี หาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายบัญญัติ
จันทน์เสนะ) เป็นประธาน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 17 ตุลาคม 2549--จบ--
จันทน์เสนะ) เป็นประธาน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 17 ตุลาคม 2549--จบ--