สรุปสถานการณ์ภัยหนาว ภัยแล้ง และการให้ความช่วยเหลือ (ข้อมูล ณ วันที่ 26 มกราคม 2552)

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday January 29, 2009 14:41 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้สรุปสถานการณ์ภัยหนาว และผลการปฏิบัติงาน ช่วยเหลือประชาชน และเนื่องจากในเดือนมีนาคม จะมีอุณหภูมิสูงขึ้นเป็นผลทำให้อากาศร้อนอบอ้าว และร้อนจัดในบางพื้นที่ ประกอบกับจะมีปริมาณฝน ตกน้อย เป็นเหตุทำให้หลายพื้นที่ของประเทศไทยต้องประสบกับความแห้งแล้ง และขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค รวมทั้งน้ำเพื่อการเกษตร โดย เฉพาะพื้นที่บริเวณนอกเขตชลประทาน กระทรวงมหาดไทย สรุปสถานการณ์ภัยแล้ง และการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจนถึงปัจจุบัน (วันที่ 26 มกราคม 2552) ดังนี้

1. สรุปสถานการณ์ภัยหนาวและการให้ความช่วยเหลือ (ข้อมูล ณ วันที่ 26 มกราคม 2552)

1.1 พื้นที่ประสบภัยหนาวที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส และได้ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินแล้ว จำนวน 49 จังหวัด สรุปได้ดังนี้

ที่          ภาค                   พื้นที่ประกาศภัยพิบัติ                                      รวม
1          เหนือ            เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา แพร่ น่าน ลำพูน ลำปาง             17 จังหวัด

แม่ฮ่องสอน เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ อุทัยธานี ตาก

กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ พิษณุโลก สุโขทัย

2          ตะวันออก         กาฬสินธุ์ ขอนแก่น นครพนม สกลนคร มุกดาหาร                  19 จังหวัด
           เฉียงเหนือ        เลย อุดรธานี ร้อยเอ็ด หนองคาย อำนาจเจริญ

หนองบัวลำภู บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ นครราชสีมา สุรินทร์

มหาสารคาม ยโสธร ชัยภูมิ อุบลราชธานี

3          กลาง            สระบุรี ลพบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สุพรรณบุรี                9 จังหวัด

นครปฐม ชัยนาท ราชบุรี กาญจนบุรี

4          ตะวันออก         จันทบุรี สระแก้ว นครนายก ฉะเชิงเทรา                       4 จังหวัด
           รวม                                                                 49 จังหวัด

1.2 จังหวัดที่ประสบภัยหนาวในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะ กิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาวระดับจังหวัดปี 2551-2552 ณ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และมี 51 จังหวัด รายงานว่า ได้มอบ ผ้าห่มกันหนาวให้แก่ประชาชนที่ขาดแคลนใน 588 อำเภอ 4,365 ตำบล 50,700 หมู่บ้าน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณ ภัย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) สมาคม มูลนิธิ ไปแล้ว รวม 1,201,612 ชิ้น (ผ้าห่มนวม 1,063,334 ผืน เสื้อกันหนาว 114,778 ตัว หมวกไหมพรม 4,567 ชิ้น อื่น ๆ 18,933 ชิ้น)

ที่  ภาค       จังหวัดที่แจกจ่ายเครื่องกันหนาว                จำนวนราษฎรเดือดร้อน                จำนวนเครื่องกันหนาว
                                                        จากภัยหนาว                     ที่แจกจ่ายแล้ว (ชิ้น)
                                                    คน         ครัวเรือน
1  เหนือ      เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา แพร่       2,092,286         725,966                        495,174

น่าน ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน

เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ อุทัยธานี ตาก

กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์

พิษณุโลก สุโขทัย

2  ตะวันออก   กาฬสินธุ์ ขอนแก่น นครพนม สกลนคร     4,185,871       1,675,475                        628,053
เฉียงเหนือ  มุกดาหาร เลย อุดรธานี ร้อยเอ็ด

หนองคาย อำนาจเจริญ หนองบัวลำภู

บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ นครราชสีมา สุรินทร์

มหาสารคาม ยโสธร ชัยภูมิ อุบลราชธานี

3  กลาง      สระบุรี ลพบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี     492,803         312,015                         44,806

สุพรรณบุรี อ่างทอง นครปฐม ชัยนาท

ราชบุรี กาญจนบุรี

4  ตะวันออก   จันทบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา            411,734         139,967                        33,579

นครนายก ปราจีนบุรี

รวม          51 จังหวัด 588 อำเภอ              7,182,694       2,853,423                     1,201,612

4,365 ตำบล 50,700 หมู่บ้าน

1.3 การให้ความช่วยเหลือของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

1) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้โอนเงินงบประมาณไปตั้งจ่ายที่คลังจังหวัดเพื่อจัดซื้อเครื่องกันหนาวให้ทัน การแจก จ่ายในฤดูหนาวตามความเหมาะสมและจำเป็น จำนวน 47 จังหวัด และศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต ที่รับผิดชอบจังหวัดที่ประสบภัยหนาว เป็นเงินงบประมาณ 44,200,000 บาท

2) จังหวัดมีเงินทดรองราชการตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุก เฉิน พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และหลักเกณฑ์และวิธีดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2551 ในอำนาจของผู้ว่า ราชการจังหวัดสำหรับจัดซื้อผ้าห่มและเครื่องกันหนาวที่จำเป็นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัย เมื่ออุณหภูมิต่ำกว่า15 องศาเซลเซียสติดต่อ กัน 3 วัน ในวงเงินจังหวัดหนึ่งไม่เกินงบประมาณปีละ 1,000,000 บาท (ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2551) แต่ทั้งนี้หากเงินฉุกเฉินดังกล่าวไม่เพียงพอ จังหวัดสามารถขอยกเว้นหลักเกณฑ์ เพื่อขอขยายวงเงินทดรองราชการได้อีกตามความเหมาะสมและจำเป็นในวงเงินไม่เกิน 50 ล้านบาท ซึ่งมี จังหวัดได้ขอขยายวงเงินแล้วรวม 41 จังหวัด เป็นเงินรวม 1,186.53 ล้านบาท

3) กระทรวงการคลัง ได้อนุมัติเมื่อวันที่ 9 ,12 และ 23 มกราคม 2552 ให้ 38 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก พะเยา ตาก ลำปาง สกลนคร ขอนแก่น แพร่ น่าน เชียงราย นครพนม ศรีสะเกษ เชียงใหม่ อุดรธานี เลย นครราชสีมา สระบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี นครนายก เพชรบุรี สุรินทร์ บุรีรัมย์ ชัยภูมิ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร กำแพงเพชร พิจิตร อุทัยธานี เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ อุบลราชธานี ยโสธร อำนาจเจริญ หนองคาย ชัยนาท และจังหวัดลพบุรี ที่ขอขยายวงเงิน โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถใช้จ่ายเงินทดรอง ราชการในอำนาจ (งบ 50 ล้านบาท) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อเครื่องกันหนาวในพื้นที่ที่ได้ประกาศให้เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัย หนาว) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ได้เท่าที่จ่ายจริงคนละไม่เกิน 240 บาท ภายในวงเงินรวมทั้งสิ้น 716,505,272 บาท

4) บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ได้ให้การสนับสนุนผ้าห่มกันหนาว จำนวน 200,000 ผืน มูลค่ากว่า 30 ล้าน บาท แจกจ่ายช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาวในพื้นที่ 15 จังหวัด

5) หอการค้าไทย-จีน และสมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย ได้มอบผ้าห่มช่วยเหลือภัยหนาว จำนวน 20,000 ผืน ผ่านรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงมหาดไทย และได้นำไปมอบให้แก่ประชาชนใน 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ พิจิตร สุโขทัย และจังหวัดพิษณุโลก (จังหวัดละ 5,000 ผืน) แล้ว เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2552

1.4 การดำเนินการของกระทรวงมหาดไทย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้มีวิทยุตามข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง มหาดไทย ให้จังหวัดที่ประสบภัยหนาวถือปฏิบัติ ดังนี้

1) ให้จังหวัดประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว และเด็กเล็ก

2) กำชับให้เจ้าหน้าที่ในระดับอำเภอและท้องถิ่น ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ยากไร้ที่ขาดแคลนเครื่องกันหนาวโดยด่วน และเชิญ ชวนภาคเอกชนร่วมบริจาคเครื่องกันหนาว

3) ให้ระมัดระวังการก่อไฟผิงเพื่อบรรเทาความหนาวเย็น เมื่อเลิกใช้ให้ดับไฟให้สนิททุกครั้งเพราะอาจทำให้เกิดอัคคีภัย

4) ให้ประสานสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจัดชุดแพทย์เคลื่อนที่ออกให้บริการรักษาพยาบาลให้แก่ประชาชน ที่เจ็บป่วยเนื่องจาก สภาวะอากาศหนาวเย็น

5) หากมีสื่อมวลชนรายงานข่าว ว่ามีประชาชนเสียชีวิตจากภัยหนาวในพื้นที่ ให้รายงานข้อเท็จจริงให้กรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยทราบทันที ทางโทรสาร หมายเลข 0-2241-7450-6

6) ให้จังหวัดชี้แจงข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจแก่สื่อมวลชนและประชาชน ในพื้นที่ถึงแนวทางการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย หนาว โดยเฉพาะกรณีการเสียชีวิต ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546

2. สรุปสถานการณ์ภัยแล้งและการให้ความช่วยเหลือ (ระหว่างวันที่ 18 ธันวาคม 2551 — 26 มกราคม 2552)

2.1 พื้นที่ประสบภัย 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตราด ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี เพชรบุรี กำแพงเพชร ตาก พิจิตร น่าน ลำปาง สระแก้ว ชัยภูมิ และจังหวัดแพร่ รวม 45 อำเภอ 272 ตำบล 1,522 หมู่บ้าน

ที่                            พื้นที่ประสบภัย                                             ราษฎรประสบภัย
    ภาค      จังหวัด     อำเภอ     ตำบล     หมู่บ้าน         รายชื่อจังหวัด               คน          ครัวเรือน
1   เหนือ         6        33      186     1,253     กำแพงเพชร ตาก พิจิตร      451,476          132,252

ลำปาง แพร่ น่าน 2 ตะวันออก

    เฉียงเหนือ     1         1       11         -     ชัยภูมิ                     58,889           14,336
3   กลาง         3         8       63       148     ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี       102,816           24,308

เพชรบุรี

4   ตะวันออก      2         3       12       121     ตราด  สระแก้ว             45,988           12,383
รวมทั้งประเทศ     12        45      272     1,522                             659,169          183,279

2.2 ความเสียหาย

  • ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 659,169 คน 183,279 ครัวเรือน
  • พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะเสียหาย แยกเป็น พืชไร่ 8,163 ไร่ นาข้าว 63,921 ไร่ ประมาณการความเสียหาย
18,908,850 บาท
  • มีจังหวัดที่ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินแล้ว 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี กำแพงเพชร
น่าน ลำปาง พิจิตร และจังหวัดแพร่

2.3 การให้ความช่วยเหลือ

  • ใช้รถบรรทุกน้ำ 30 คัน เพื่อการแจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค 4,660,000 ลิตร

3. การให้ความช่วยเหลือ

  • สิ่งของพระราชทาน มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ นำโดยนายดิสธร วัชโรทัย ประธานกรรมการบริหาร นาย

ประสงค์ พิทูรกิจจา เลขาธิการมูลนิธิฯ พร้อมด้วยคณะ เดินทางไปมอบสิ่งของพระราชทานเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ราษฎรที่ประสบภัยหนาวใน

พื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี ตาก ลำปาง น่าน อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ กาฬสินธุ์ และจังหวัดมหาสารคาม ในระหว่างวันที่ 12-22 มกราคม 2552

รวมทั้งสิ้น 10,000 ครอบครัว

4. การคาดหมายลักษณะอากาศระหว่างวันที่ 25-31 มกราคม 2552

4.1 กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายลักษณะอากาศว่า ในช่วงวันที่ 25-26 มกราคม 2552 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรง จากประเทศจีนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้ ส่งผลให้มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะ เช่นนี้ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกมีอุณหภูมิลดลงอีก 1-3 องศา ส่วนภาคใต้มีปริมาณฝนเพิ่มมากขึ้น และคลื่นลมในอ่าวไทยตอน ล่างตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป มีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 27-31 มกราคม บริเวณความกด อากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงขึ้น 2-4 องศา โดยจะมีหมอกเพิ่มมากขึ้น ส่วนปริมาณฝนใน ภาคใต้จะลดลง และคลื่นลมในอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง ดังนั้นในช่วงวันที่ 27-31 มกราคม ขอให้ผู้ขับขี่ยานพาหนะระมัดระวังอันตรายในการสัญจร ผ่านบริเวณที่มีหมอกหนาไว้ด้วย สำหรับในช่วงวันที่ 25-26 มกราคม ขอให้ชาวเรือในอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไประมัดระวัง อันตรายจากการเดินเรือ

4.2 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้ง เตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ไว้ให้พร้อมเพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันต่อเหตุการณ์เมื่อเกิดสาธารณภัยขึ้น

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 28 มกราคม 2552 --จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ