คณะรัฐมนตรีอนุมัติแนวทางการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับ ไปดำเนินการตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ ดังนี้
1. การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุน
1.1 ปรับระบบการบริหารกองทุนทุกขั้นตอนโดยให้ดำเนินการเป็นรายกรณีตามลำดับก่อน — หลัง ให้ยกเลิกการดำเนินการตามขั้น ตอนต่างๆ ที่ต้องจัดผู้กู้เป็นกลุ่ม
1.2 ให้กระทรวงศึกษาธิการและกองทุนฯ ปรับปรุงแก้ไข กฎระเบียบการดำเนินการ โดยให้ข้อมูลที่ชัดเจนแก่นักศึกษา การตรวจ สอบเอกสาร และการชำระหนี้ ตลอดจนติดตามการปฏิบัติงานของสถานศึกษาให้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องและรวดเร็ว
2. การขยายฐานเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
2.1 ให้ กยศ. ปรับวงเงินให้กู้ ในปีงบประมาณ 2552 (ภาคการศึกษา 2/51 และภาคการศึกษา 1/52) ในวงเงิน 36,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ให้นำเงินที่ผู้กู้ชำระคืนเงินกู้มาสมทบ จำนวน 11,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้มีจำนวนผู้กู้รวม 981,520 โดยจำแนกดังต่อไปนี้
ระดับการศึกษา รายเก่า ชั้นปีที่ 1 รวม ชั้นปีอื่น รายเก่า รายใหม่ ม.ปลาย 80,708 - 80,000 26,000 186,708 ปวช. 70,992 - 65,000 46,000 181,992 ปวท./ปวส. 54,823 29,000 40,000 13,000 136,823 อนุปริญญา/ปริญญาตรี 317,997 75,000 50,000 33,000 475,997 รวม 524,520 104,000 235,000 118,000 981,520
2.2 การกำหนดเป้าหมายการกู้ ในปี 2552 เป็นการใช้มาตรการการเงินสนับสนุนให้ผู้เรียนสายสามัญกับสายอาชีพอยู่ในสัดส่วน 50:50 ซึ่งจะดำเนินการอย่างต่อเนื่องในปีต่อไป
2.3 สนับสนุนให้นักศึกษาระดับ ปวส./ปวท. และปริญญาตรี เข้าศึกษาในสาขาวิชาขาดแคลนและมีความจำเป็นต่อการพัฒนา ประเทศ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด
2.4 สนับสนุนให้นักศึกษาที่ไม่มีโอกาสกู้เงิน กยศ. ในปีแรกของการศึกษามีโอกาสกู้เงิน กยศ. ในปีต่อไปจนสำเร็จการศึกษา ทุกระดับการศึกษา
3. การเพิ่มโอกาสการชำระเงินกู้คืนของผู้สำเร็จการศึกษา
3.1 ให้ กยศ. เพิ่มทางเลือกในการชำระคืนเงินกู้จาก 15 ปี เป็น 20 ปี
3.2 กระทรวงศึกษาธิการร่วมมือกับ กยศ. จัดให้มีการพัฒนาทักษะและการส่งเสริมอาชีพสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาที่ไม่มีงานทำร่วม กับสถานประกอบการ
3.3 กระทรวงศึกษาธิการ และ กยศ. ร่วมกันจัดกิจกรรมรณรงค์สร้างจิตสำนึกและความรับผิดชอบในการคืนเงินกองทุนเพื่อสร้าง โอกาสการศึกษาให้กับรุ่นน้อง
4. การเพิ่มช่องทางการบริหารเงินกองทุน
ให้ กยศ. เพิ่มผู้บริหารจัดการเงินกู้สำหรับนักศึกษามุสลิมเป็นการเฉพาะให้สอดคล้องกับหลักศาสนา
กระทรวงศึกษาธิการได้พิจารณาแล้วเห็นว่า แนวทางการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาดังกล่าว จะทำให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาสามารถเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อการศึกษากว้างขวางขึ้น มีโอกาสศึกษาในสาขาวิชาที่เป็นความต้องการของประเทศและมี โอกาสได้งานทำมากขึ้น ตลอดจนสามารถนำเงินมาชำระหนี้เงินกู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2551
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 28 มกราคม 2552 --จบ--