คณะรัฐมนตรีพิจารณาการขออนุมัติงบประมาณงบกลางปี 2548 โครงการเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหาลุ่มน้ำโขงตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ แล้วมีมติอนุมัติในหลักการงบประมาณงบกลางปี 2548 ให้กรมชลประทานดำเนินการโครงการเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหาลุ่มน้ำโขง จำนวน 2 โครงการ ประกอบด้วย 1. โครงการก่อสร้างทำนบชั่วคราว จำนวน 154 แห่ง 2. โครงการแก้มลิง จำนวน 15 แห่ง ทั้งนี้ โดยให้เจียดจ่ายจากงบปกติก่อนหากไม่มีหรือมีไม่เพียงพอ จึงให้ใช้จากงบกลางฯ ดังกล่าว โดยให้ขอตกลงรายละเอียดกับสำนักงบประมาณต่อไป
ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ชี้แจงว่า ลุ่มน้ำโขงเป็นหนึ่งใน 25 ลุ่มน้ำ ในประเทศไทย มีพื้นที่รับน้ำอยู่ทางภาคเหนือบางส่วนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ 46,931.54 ตารางกิโลเมตร มีลำน้ำสาขาที่สำคัญ จำนวน 20 ลำน้ำ ซึ่งที่ผ่านมามีปัญหาที่เกิดขึ้น ดังนี้
1. ฤดูฝนมีปัญหาน้ำหลากท่วมของแม่น้ำโขง เนื่องจากมีปริมาณฝนเฉลี่ยในพื้นที่ริมน้ำโขงอยู่ในเกณฑ์สูงมากกว่าพื้นที่อื่น ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกิดน้ำหลากจากลำน้ำต่าง ๆ ในพื้นที่เป็นปริมาณมากเกิดขึ้นพร้อมกัน ทำให้เกิดปัญหาอุทกภัยจากน้ำท่วมที่เกิดจากแม่น้ำโขง และน้ำท่วมที่เกิดจากน้ำท่าในลำน้ำสาขา ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเกษตรกรและประชาชนที่มีพื้นที่การเกษตรและบ้านเรือนริมตลิ่งลำน้ำเป็นอย่างมาก เกิดขึ้นซ้ำซากทุกปี
2. ฤดูแล้งแม่น้ำโขง และลำน้ำสาขาต่าง ๆ เช่น แม่น้ำสงคราม แม่น้ำก่ำ จะมีระดับน้ำลดลงต่ำมากทำให้มีปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำในฤดูแล้งเสมอ
ซึ่งในปลายฤดูฝนปี 2547 มีฝนตกน้อยเกิดปัญหาวิกฤตภัยแล้งในเดือนมกราคม-เมษายน 2548 ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีมาตรการเฉพาะหน้าเพื่อช่วยเหลือราษฎร เช่น บริการสูบน้ำ รถบรรทุกน้ำ ทำฝนเทียม เจาะบ่อบาดาล ฯลฯ เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งปี 2548 แต่ในฤดูฝนปี 2548 มีปัญหาทั้งอุทกภัยและฝนตกน้อย คือ บางพื้นที่ยังมีปัญหาฝนตกน้อยมาก เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำสะสมต่อเนื่องมาจากปี 2547- 2548 และอาจส่งผลต่อเนื่องในปี 2549 เช่น พื้นที่ลุ่มน้ำมูลตอนบน ลุ่มน้ำภาคตะวันออก เป็นต้น และฝนตกมากในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือริมน้ำโขงมีฝนตกหนัก ทำให้มีปัญหาอุทกภัย อย่างไรก็ตามในฤดูแล้งปี 2549 ก็จะมีปัญหาขาดแคลนน้ำ จึงจำเป็นต้องมีมาตรการเร่งรัด เพื่อเก็บกักน้ำปลายฤดูฝนปี 2548 (เมื่อระดับน้ำท่วมลดลงแล้ว) เพื่อสำรองน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งปี 2549 กรมชลประทานจึงได้หาแนวทางและมาตรการเร่งด่วนในการที่จะช่วยเหลือปัญหาดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 6 กันยายน 2548--จบ--
ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ชี้แจงว่า ลุ่มน้ำโขงเป็นหนึ่งใน 25 ลุ่มน้ำ ในประเทศไทย มีพื้นที่รับน้ำอยู่ทางภาคเหนือบางส่วนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ 46,931.54 ตารางกิโลเมตร มีลำน้ำสาขาที่สำคัญ จำนวน 20 ลำน้ำ ซึ่งที่ผ่านมามีปัญหาที่เกิดขึ้น ดังนี้
1. ฤดูฝนมีปัญหาน้ำหลากท่วมของแม่น้ำโขง เนื่องจากมีปริมาณฝนเฉลี่ยในพื้นที่ริมน้ำโขงอยู่ในเกณฑ์สูงมากกว่าพื้นที่อื่น ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกิดน้ำหลากจากลำน้ำต่าง ๆ ในพื้นที่เป็นปริมาณมากเกิดขึ้นพร้อมกัน ทำให้เกิดปัญหาอุทกภัยจากน้ำท่วมที่เกิดจากแม่น้ำโขง และน้ำท่วมที่เกิดจากน้ำท่าในลำน้ำสาขา ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเกษตรกรและประชาชนที่มีพื้นที่การเกษตรและบ้านเรือนริมตลิ่งลำน้ำเป็นอย่างมาก เกิดขึ้นซ้ำซากทุกปี
2. ฤดูแล้งแม่น้ำโขง และลำน้ำสาขาต่าง ๆ เช่น แม่น้ำสงคราม แม่น้ำก่ำ จะมีระดับน้ำลดลงต่ำมากทำให้มีปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำในฤดูแล้งเสมอ
ซึ่งในปลายฤดูฝนปี 2547 มีฝนตกน้อยเกิดปัญหาวิกฤตภัยแล้งในเดือนมกราคม-เมษายน 2548 ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีมาตรการเฉพาะหน้าเพื่อช่วยเหลือราษฎร เช่น บริการสูบน้ำ รถบรรทุกน้ำ ทำฝนเทียม เจาะบ่อบาดาล ฯลฯ เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งปี 2548 แต่ในฤดูฝนปี 2548 มีปัญหาทั้งอุทกภัยและฝนตกน้อย คือ บางพื้นที่ยังมีปัญหาฝนตกน้อยมาก เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำสะสมต่อเนื่องมาจากปี 2547- 2548 และอาจส่งผลต่อเนื่องในปี 2549 เช่น พื้นที่ลุ่มน้ำมูลตอนบน ลุ่มน้ำภาคตะวันออก เป็นต้น และฝนตกมากในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือริมน้ำโขงมีฝนตกหนัก ทำให้มีปัญหาอุทกภัย อย่างไรก็ตามในฤดูแล้งปี 2549 ก็จะมีปัญหาขาดแคลนน้ำ จึงจำเป็นต้องมีมาตรการเร่งรัด เพื่อเก็บกักน้ำปลายฤดูฝนปี 2548 (เมื่อระดับน้ำท่วมลดลงแล้ว) เพื่อสำรองน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งปี 2549 กรมชลประทานจึงได้หาแนวทางและมาตรการเร่งด่วนในการที่จะช่วยเหลือปัญหาดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 6 กันยายน 2548--จบ--