สรุปสถานการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูแล้ง ครั้งที่ 5

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday February 11, 2009 14:43 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปสถานการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูแล้ง ครั้งที่ 5 ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2552 ประกอบด้วย สถานการณ์น้ำ ผลการปลูกพืชฤดูแล้ง ผลกระทบด้านการเกษตร และการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร สรุปได้ดังนี้

1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ มีปริมาณน้ำในอ่างฯทั้งหมด 51,540 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 74 ของ ความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด (ปริมาณน้ำใช้การได้ 28,184 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 41 ของความจุอ่างฯ) น้อยกว่าปี 2551 (53,277 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 1,737 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 3 ของความจุอ่างฯ

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างสะสมในช่วงฤดูแล้ง ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2551 ถึงปัจจุบัน จำนวน 7,197 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณ ระบายสะสมในช่วงฤดูแล้งตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2551 ถึงปัจจุบัน จำนวน 11,211 ล้านลูกบาศก์เมตร

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ และป่าสักชลสิทธิ์

หน่วย : ล้าน ลบ.ม.

อ่างเก็บน้ำ       ปริมาตรน้ำในอ่างฯ         ปริมาตรน้ำใช้การได้     ปริมาตรน้ำไหลลงอ่างฯ             ปริมาณน้ำระบาย
               ปริมาตร   %ความจุ     ปริมาตร      %ความจุ     วันนี้          สะสม     วันนี้     เมื่อวาน       สะสม
                   น้ำ     อ่างฯ         น้ำ        อ่างฯ             1 ม.ค. 51                      1 ม.ค.51
1. ภูมิพล         8,306       62      4,560          33    0.96            69   36.00      36.00    1,202.8
2. สิริกิติ์         6,675       73      4,125          43    5.63           212   29.13      29.67    1,019.7
รวมภูมิพล+สิริกิติ์   14,981       65      8,631          37    6.59           281   65.13      65.67    2,222.5
3. ป่าสักชลสิทธิ์      705       73        702          73    0.29         44.96    5.22       6.24      139.2

เมื่อเปรียบเทียบปริมาตรน้ำปัจจุบันกับปี 2551 เขื่อนภูมิพล น้อยกว่า จำนวน 1,340 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนสิริกิติ์ มากกว่า จำนวน 921 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มากกว่า จำนวน 130 ล้านลูกบาศก์เมตร

อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯ จำนวน 13 อ่าง ได้แก่

ภาค                    จำนวนอ่างฯ             อ่างฯ/ร้อยละของความจุที่ระดับน้ำเก็บกักของอ่างฯ

ทั้งหมด มากกว่า 80%

เหนือ                   5            2        แม่งัด(97),กิ่วลม(87)
ตะวันออกเฉียงเหนือ       12            5        จุฬาภรณ์(82),ลำตะคอง(82),ลำพระเพลิง(98),มูลบน(91), ลำแซะ(88)
กลาง                   3            1        กระเสียว(100)
ตะวันตก                 2            1        ศรีนครินทร์(88)
ตะวันออก                5            2        หนองปลาไหล(81),ประแสร์(83)
ใต้                     4            2        รัชชประภา(81),บางลาง(80)
รวม                   31           13

2. สภาพน้ำท่า

แม่น้ำ                                     ที่ตั้งสถานี                         อยู่ในเกณฑ์     แนวโน้ม
                        สถานี              อำเภอ         จังหวัด
ปิง           P.7A       สะพานบ้านห้วยยาง    เมือง          กำแพงเพชร        ปกติ          เพิ่มขึ้น
             P.17       บ้านท่างิ้ว           บรรพตพิสัย      นครสวรรค์         ปกติ          เพิ่มขึ้น
วัง           W.4A       บ้านวังหมัน          สามเงา        ตาก              ปกติ          ลดลง
ยม           Y.1C       สะพานบ้านน้ำโค้ง     เมือง          แพร่              น้อย          ทรงตัว
             Y.17       บ้านสามง่าม         สามง่าม        พิจิตร             น้อย          ลดลง
น่าน          N.5A       สะพานเอกาทศรถ     เมือง          พิษณุโลก           ปกติ          ลดลง
             N.67       สะพานบ้านเกศไชย    ชุมแสง         นครสวรรค์         ปกติ          ลดลง
ท่าตะเภา      X 158      สะพานบ้านวังครก     ท่าแซะ         ชุมพร             น้อย          ลดลง
ตาปี          X 37A      บ้านย่านดินแดง       พระแสง        สุราษฎร์ธานี        น้อย          ลดลง
คลองท่าดี      X 203      บ้านนาป่า           เมือง          นครศรีธรรมราช     น้อย          ลดลง
ปัตตานี        X 40A      ท้ายเขื่อนปัตตานี      เมือง          ยะลา             น้อย          เพิ่มขึ้น
โก-ลก        X 119A     บ้านปาเสมัส         สุไหงโก-ลก     นราธิวาส          น้อย          ลดลง
คลองตันหยงมัศ  X 73       บ้านตันหยงมัส        ระแงะ         นราธิวาส          น้อย          ทรงตัว
คลองนาท่อม    X 170      บ้านคลองลำ         ศรีนครินทร์      พัทลุง             น้อย          ทรงตัว
             X 68       บ้านท่าแค           เมือง          พัทลุง             น้อย          ลดลง

แม่น้ำเจ้าพระยา (C.2) มีปริมาณน้ำไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ 486 ลบ.ม.ต่อวินาที (ลดลงจากเมื่อวาน) รับน้ำเข้าระบบชลประทาน ฝั่งตะวันออก 173 ลบ.ม.ต่อวินาที (ลดลงจากเมื่อวาน) รับน้ำเข้าระบบชลประทานฝั่งตะวันตก 193 ลบ.ม.ต่อวินาที (เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน)

ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา (C.13) มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 45 ลบ.ม.ต่อวินาที (เท่ากับเมื่อวาน) อยู่ในเกณฑ์ปกติ

เขื่อนพระรามหก ปิดการระบายน้ำ

3. คุณภาพน้ำ

กรมประทาน ได้ติดตามตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และ แม่น้ำแม่กลอง ในการดูแลรักษา คุณภาพน้ำ ทำการตรวจวัด ณ วันที่ 18 มกราคม 2552

แม่น้ำ          จุดเฝ้าระวัง                     ค่าออกซิเจนละลายในน้ำ (Do) (มิลลิกรัม/ลิตร)   ค่าความเค็ม(กรัม/ลิตร)
เจ้าพระยา      ท่าน้ำจังหวัดนนทบุรี                                                2.19                0.089
ท่าจีน          ที่ว่าการอำเภอสามพราน จ.นครปฐม                                   2.25                0.175
แม่กลอง        ปากคลองดำเนินสะดวก จ.ราชุบรี                                     4.19                0.202
หมายเหตุ : ค่าออกซิเจนละลายในน้ำ (Do) ไม่ต่ำกว่า 2 มิลลิกรัม/ลิตร

ค่าความเค็ม น้ำสำหรับการเกษตร ไม่เกิน 2 กรัม/ลิตร

ผลการปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2551/2552

ผลการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ข้อมูล ณ วันที่ 21 มกราคม 2552 มีพื้นที่ปลูกพืชฤดูแล้งทั้งประเทศ จำนวน 6.62 ล้านไร่ แยกเป็น ข้าวนาปรัง จำนวน 6.15 ล้านไร่ (ในเขตชลประทาน 5.88 ล้านไร่ และนอกเขตชลประทาน 0.27 ล้านไร่) และพืชไร่-ผัก จำนวน 0.47 ล้านไร่ (ในเขตชลประทาน 0.30 ล้านไร่ และนอกเขตชลประทาน 0.17 ล้านไร่ )

หน่วย:ล้านไร่

                                 คาดการณ์พื้นที่ปลูก                            พื้นที่ปลูกจริง
                    ข้าวนาปรัง       พืชไร่-ผัก       รวม        ข้าวนาปรัง       พืชไร่-ผัก         รวม
ในเขตชลประทาน           8.79          0.76      9.55            5.88        (66.9)        0.30
                                                              (39.4)          6.18      (64.7)
นอกเขตชลประทาน          2.82          2.04      4.86            0.27        (9.57)        0.17
                                                              (8.33)          0.44      (9.05)
รวม                    11.61          2.80     14.41            6.15        (53.0)        0.47
                                                              (16.8)          6.62      (45.9)
หมายเหตุ ( )  หมายถึง ร้อยละของพื้นที่คาดการณ์

ผลกระทบด้านการเกษตร (ตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม 2551 - ปัจจุบัน)

ด้านพืช พื้นที่ประสบภัย 13 จังหวัด เป็นพื้นที่ประสบภัยด้านการเกษตร 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุตรดิตถ์ แพร่ เพชรบุรี และประจวบ คีรีขันธ์ เกษตรกรได้รับผลกระทบ 16,993 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 58,850 ไร่ แยกเป็น ข้าว 10,433 ไร่ พืชไร่ 47,165 ไร่ และพืชสวน และอื่นๆ 1,252 ไร่

สำหรับด้านปศุสัตว์และด้านประมงยังไม่ได้รับรายงานผลกระทบ

การให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร

กรมชลประทาน เตรียมความพร้อมเครื่องสูบน้ำ และรถบรรทุกน้ำ เพื่อช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ รวมทั้งกิจกรรมด้านการ เกษตร เครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ 1,200 เครื่อง ปัจจุบันได้ส่งเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่แล้ว 587 เครื่อง โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้ ภาคเหนือ 124 เครื่อง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 275 เครื่อง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคกลาง 186 เครื่อง และภาคใต้ 2 เครื่อง

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2552 --จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ