สรุปสถานการณ์ภัยหนาว ภัยแล้ง และการให้ความช่วยเหลือ (ข้อมูล ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2552)

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday February 11, 2009 15:11 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ติดตามสถานการณ์ภัยหนาว และภัยแล้ง ที่เกิด ขึ้น และการให้ความช่วยเหลือ (ข้อมูล ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2552) สรุปสถานการณ์ภัยหนาว และภัยแล้ง ดังกล่าว รวมทั้งผลการปฏิบัติงานช่วย เหลือประชาชน ดังนี้

1. สรุปสถานการณ์ภัยหนาวและการให้ความช่วยเหลือ (ข้อมูล ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2552)

1.1 พื้นที่ประสบภัยหนาวที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส และได้ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินแล้ว จำนวน 49 จังหวัด ยกเว้น 3 จังหวัดที่ยังไม่ได้ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยหนาว) ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง และจังหวัด ปราจีนบุรี

1.2 จังหวัดที่ประสบภัยหนาวในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะ กิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาวระดับจังหวัด ปี 2551-2552 ณ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และมี 52 จังหวัด รายงานว่าได้มอบ ผ้าห่มกันหนาวให้แก่ประชาชนที่ขาดแคลนใน 602 อำเภอ 4,487 ตำบล 53,162 หมู่บ้าน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณ ภัย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) สมาคม มูลนิธิ ไปแล้ว รวม 2,643,781 ชิ้น (ผ้าห่มนวม 2,467,076 ผืน เสื้อกันหนาว 150,148 ตัว หมวกไหมพรม 6,041 ชิ้น อื่น ๆ 20,516 ชิ้น)

ที่  ภาค       จังหวัดที่แจกจ่ายเครื่องกันหนาว                  จำนวนราษฎรเดือดร้อนจากภัยหนาว    จำนวนเครื่องกันหนาว
                                                             คน          ครัวเรือน      ที่แจกจ่ายแล้ว(ชิ้น)
1  เหนือ      เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา แพร่ น่าน            3,107,015        1,124,974             965,630

ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์

อุทัยธานี ตาก กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์

พิษณุโลก สุโขทัย

2  ตะวันออก   กาฬสินธุ์ ขอนแก่น นครพนม สกลนคร มุกดาหาร      5,018,935        2,130,235           1,447,200
เฉียงเหนือ  เลย อุดรธานี ร้อยเอ็ด หนองคาย อำนาจเจริญ

หนองบัวลำภู บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ นครราชสีมา

สุรินทร์ มหาสารคาม ยโสธร ชัยภูมิ อุบลราชธานี

3  กลาง      สระบุรี ลพบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สุพรรณบุรี      506,264          322,027             186,864

อ่างทอง นครปฐม ชัยนาท ราชบุรี กาญจนบุรี

พระนครศรีอยุธยา

4  ตะวันออก   จันทบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี     485,805          172,851              44,087
   รวม       52 จังหวัด 602 อำเภอ 4,487                 9,118,019        3,750,087           2,643,781

ตำบล 53,162 หมู่บ้าน

1.3 การให้ความช่วยเหลือของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

1) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้โอนเงินงบประมาณไปตั้งจ่ายที่คลังจังหวัดเพื่อจัดซื้อเครื่องกันหนาวให้ทัน การแจก จ่ายในฤดูหนาวตามความเหมาะสมและจำเป็น จำนวน 47 จังหวัด และศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต ที่รับผิดชอบจังหวัดที่ประสบภัยหนาว เป็นเงินงบประมาณ 44,200,000 บาท

2) กระทรวงการคลัง ได้อนุมัติเมื่อวันที่ 9 ,12 และ 23 มกราคม 2552 ให้ 38 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก พะเยา ตาก ลำปาง สกลนคร ขอนแก่น แพร่ น่าน เชียงราย นครพนม ศรีสะเกษ เชียงใหม่ อุดรธานี เลย นครราชสีมา สระบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี นครนายก เพชรบุรี สุรินทร์ บุรีรัมย์ ชัยภูมิ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร กำแพงเพชร พิจิตร อุทัยธานี เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ อุบลราชธานี ยโสธร อำนาจเจริญ หนองคาย ชัยนาท และจังหวัดลพบุรี ที่ขอขยายวงเงิน โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถใช้จ่ายเงินทดรอง ราชการในอำนาจ (งบ 50 ล้านบาท) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อเครื่องกันหนาวในพื้นที่ที่ได้ประกาศให้เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัย หนาว) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ได้เท่าที่จ่ายจริงคนละไม่เกิน 240 บาท ภายในวงเงินรวมทั้งสิ้น 716,505,272 บาท

2. สรุปสถานการณ์ภัยแล้งและการให้ความช่วยเหลือ (ระหว่างวันที่ 18 ธันวาคม 2551 — 6 กุมภาพันธ์ 2552)

2.1 พื้นที่ประสบภัย 14 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร ตาก น่าน พิจิตร แพร่ ลำปาง พิษณุโลก ชัยภูมิ ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี ตราด สระแก้ว และจังหวัดตรัง รวม 61 อำเภอ 353 ตำบล 2,290 หมู่บ้าน (คิดเป็น 20.06 % ของหมู่บ้านใน 14 จังหวัดที่ ประสบภัยแล้ง และคิดเป็น 3.06 % ของหมู่บ้านทั้งประเทศ 74,944 หมู่บ้าน) แยกเป็น

ที่                          พื้นที่ประสบภัย                                                     ราษฎรประสบภัย
    ภาค       จังหวัด       อำเภอ       ตำบล      หมู่บ้าน    รายชื่อจังหวัด                      คน       ครัวเรือน
1   เหนือ          7          43        245      1,736    กำแพงเพชร ตาก น่าน          620,751       182,982

พิจิตร แพร่ ลำปาง พิษณุโลก

2   ตะวันออก       1           2         12        156    ชัยภูมิ                        58,889        14,336
เฉียงเหนือ
3   กลาง          3          11         79        174    ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี   107,322        25,457
4   ตะวันออก       2           4         12        196    ตราด  สระแก้ว                45,988        12,383
5   ใต้            1           1          5         28    ตรัง                              -             -
    รวมทั้งประเทศ  14          61        353      2,290                               832,950       235,158

ตารางเปรียบเทียบข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งปี 2552 กับปี 2551 ในห้วงเวลาเดียวกัน

ที่   ภาค      จำนวนหมู่บ้าน             ข้อมูลปี  2552               ข้อมูลปี  2551            เปรียบเทียบข้อมูลภัย
             ทั้งหมดใน          (ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2552)     (ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2551)     แล้ง ปี 2552 กับปี 2551
             จังหวัดที่ประสบ        หมู่บ้าน     คิดเป็นร้อยละ       หมู่บ้าน     คิดเป็นร้อยละ       จำนวน       คิดเป็น
             ภัยแล้ง             ที่ประสบ    (ของหมู่บ้านทั้ง      ที่ประสบ    (ของหมู่บ้านทั้ง       หมู่บ้าน       ร้อยละ
                                ภัยแล้ง    หมดในจังหวัดที่       ภัยแล้ง    หมดในจังหวัดที่      + เพิ่ม/
                                         ประสบภัยแล้ง)                ประสบภัยแล้ง)        - ลด
1   เหนือ           5,975        1,736          29.05         881          14.53       + 855     + 97.05
2   ตะวันออก        1,617          156           9.65       1,220          12.86     - 1,064     - 87.21
เฉียงเหนือ
3   กลาง           2,106          174           8.26         204           7.81        - 30     - 14.71
4   ตะวันออก          992          196          19.76         568          20.94       - 372     - 65.49
5   ใต้               723           28           3.87           -              -        + 28           -
    รวม           11,413        2,290          20.06       2,873          13.76       - 583     - 20.29

เปรียบเทียบช่วงเวลาเดียวกันของปี 2551 มีจังหวัดที่ประสบภัยแล้ง รวม 19 จังหวัด 89 อำเภอ 439 ตำบล 2,873 หมู่ บ้าน (หมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง 2,873 หมู่บ้าน คิดเป็น 13.76 % ของหมู่บ้านทั้งหมดใน 19 จังหวัดที่ประสบภัยแล้ง และคิดเป็น 3.86 % ของหมู่บ้าน ทั้งหมดของประเทศ) น้อยกว่าปี 2551 จำนวน 583 หมู่บ้าน

2.2 ความเสียหาย

  • ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 832,950 คน 235,158 ครัวเรือน
  • พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะเสียหาย รวม 84,953 ไร่ แยกเป็น พืชไร่ 30,442 ไร่ นาข้าว 25,154 ไร่ พืชสวน
29,357 ไร่ ประมาณการความเสียหาย 11,832,527 บาท

2.3 การให้ความช่วยเหลือ

1) ใช้รถบรรทุกน้ำ 50 คัน แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภคแล้ว จำนวน 8,400,000 ลิตร

2) ซ่อมสร้างทำนบ/ฝายชั่วคราวปิดกั้นลำน้ำ 201 แห่ง

3) จังหวัดมีเงินทดรองราชการ (งบ 50 ล้านบาท) ในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด และงบฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น ในการให้ความช่วยเหลือแก่ราษฎรผู้ประสบภัย

4) กรมชลประทานได้เตรียมความพร้อมเครื่องสูบน้ำ และรถบรรทุกน้ำเพื่อช่วยเหลือและ แก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ รวมทั้งทำ กิจกรรมด้านการเกษตร เครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ จำนวน 1,200 เครื่อง ปัจจุบันกรมชลประทานได้จัดส่งเครื่องสูบน้ำ 587 เครื่อง ไปให้ความช่วย เหลือ โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้ ภาคเหนือ 124 เครื่อง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 275 เครื่อง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคกลาง 186 เครื่อง และภาคใต้ 2 เครื่อง รถบรรทุกน้ำ จำนวน 295 คัน

3. การคาดหมายลักษณะอากาศระหว่างวันที่ 5-11 กุมภาพันธ์ 2552

3.1 กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายลักษณะอากาศว่า บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่แผ่ปกคลุมประเทศไทยมีกำลังอ่อนลง ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงใต้จะพัดปกคลุมภาคกลางและภาคตะวันออก รวมทั้งภาคใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงขึ้น กับมีหมอกหนาเกิดขึ้นได้ ในหลายพื้นที่ในระยะนี้ แต่ภาคเหนือและ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังมีอากาศหนาวเย็นในตอนเช้าต่อไปอีก ในช่วงวันที่ 7-10 กุมภาพันธ์ 2552 จะมี บริเวณความกดอากาศสูง จากประเทศจีนแผ่เสริมเข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือของประเทศไทย ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิ ลดลง 1-2 องศา ดังนั้น ในระยะนี้ขอให้ผู้ขับขี่ยานพาหนะระมัดระวังอันตรายในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกหนาไว้ด้วย

3.2 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้ง เตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ไว้ให้พร้อมเพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันต่อเหตุการณ์เมื่อเกิดสาธารณภัยขึ้น

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2552 --จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ