คณะรัฐมนตรีพิจารณามาตรการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้จ่ายงบประมาณ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. เห็นชอบการปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณของส่วนราชการและจังหวัด รวมเป็นเงินจำนวน 5,110.642 ล้านบาท ทั้งนี้เมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติการปรับแผนฯ ดังกล่าวแล้ว ให้ส่วนราชการและจังหวัดถือปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2548 รวมทั้งระเบียบและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป
2. หากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และจังหวัดใดที่ได้ดำเนินการหรือที่ยังมิได้ดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้จ่ายงบประมาณ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2549 วันที่ 25 กรกฎาคม 2549 และในครั้งนี้แล้ว แต่ยังมีความจำเป็นต้องปรับแผนฯ หรือจะต้องใช้เงินเหลือจ่ายเพิ่มเติมอีกก็สมควรให้นำไปใช้จ่ายได้เฉพาะกรณีดังต่อไปนี้
2.1 ค่าใช้จ่ายตามมาตรการฯ ข้อ 1.1 (1) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2549 ได้แก่ ชำระหนี้ค่าสาธารณูปโภค ชดเชยค่างานสิ่งก่อสร้างตามสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K) ดำเนินโครงการ/รายการที่มีข้อผูกพันตามกฎหมายหรือตามสัญญาหรือตามข้อตกลง ดำเนินโครงการ/รายการที่สามารถดำเนินการได้เร็วกว่าแผน (เดิม) ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากผลกระทบจากการปรับราคาน้ำมันสูงขึ้น
2.2 ค่าใช้จ่ายตามสิทธิฯ เช่น เงินเพิ่มวิทยฐานะ เงินปรับบัญชีค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐค่าตอบแทนบุคลากรด้านสาธารณสุข เป็นต้น
2.3 ค่าใช้จ่ายในโครงการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนโดยตรง
2.4 ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องจ่ายเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของหน่วยงานหากไม่ดำเนินการจะเกิดความเสียหายต่อทางราชการ
ทั้งนี้ ให้เป็นอำนาจของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและจังหวัด พิจารณาดำเนินการได้ตามข้อ 2.1-2.4 ดังกล่าวข้างต้น โดยให้ดำเนินการตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2548 รวมทั้งระเบียบและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป
3. หากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและจังหวัดใดยังมีความจำเป็นต้องปรับแผนฯ นอกเหนือจากกรณีที่กำหนดตามข้อ 2 ให้นำเสนอรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัดแล้วแต่กรณีเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนดำเนินการตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2548 รวมทั้งระเบียบและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และให้นำเสนอกระทรวงเจ้าสังกัดรวบรวมรายการงบประมาณดังกล่าว รายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบต่อไป
4. กรณีที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและจังหวัดดำเนินการตามมาตรการแล้วฯ แต่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและจังหวัดได้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณไปก่อนที่จะทราบมติคณะรัฐมนตรี โดยโอนเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณที่ได้รับจัดสรรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2548 และได้ปรับแผนฯ โดยไม่สอดคล้องกับมาตรการฯ นั้น ให้กระทรวงเจ้าสังกัดดำเนินการรวบรวมรายการงบประมาณในลักษณะดังกล่าวรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบต่อไป
5. เนื่องจากมาตรการฯ ดังกล่าวกำหนดให้ก่อหนี้ผูกพันได้ภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2549 หากคณะรัฐมนตรีมีมติผ่อนผันให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและจังหวัด ก่อหนี้ผูกพันได้ภายหลังกำหนดการดังกล่าว ก็ให้ถือปฏิบัติตามระยะเวลาที่ได้มีการผ่อนผันนั้น
6. เพื่อให้การปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้สำนักงบประมาณมีหน้าที่ติดตามประมวลผล พร้อมวินิจฉัยการปฏิบัติตามมาตรการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้จ่ายงบประมาณ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2549
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 สิงหาคม 2549--จบ--
1. เห็นชอบการปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณของส่วนราชการและจังหวัด รวมเป็นเงินจำนวน 5,110.642 ล้านบาท ทั้งนี้เมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติการปรับแผนฯ ดังกล่าวแล้ว ให้ส่วนราชการและจังหวัดถือปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2548 รวมทั้งระเบียบและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป
2. หากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และจังหวัดใดที่ได้ดำเนินการหรือที่ยังมิได้ดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้จ่ายงบประมาณ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2549 วันที่ 25 กรกฎาคม 2549 และในครั้งนี้แล้ว แต่ยังมีความจำเป็นต้องปรับแผนฯ หรือจะต้องใช้เงินเหลือจ่ายเพิ่มเติมอีกก็สมควรให้นำไปใช้จ่ายได้เฉพาะกรณีดังต่อไปนี้
2.1 ค่าใช้จ่ายตามมาตรการฯ ข้อ 1.1 (1) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2549 ได้แก่ ชำระหนี้ค่าสาธารณูปโภค ชดเชยค่างานสิ่งก่อสร้างตามสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K) ดำเนินโครงการ/รายการที่มีข้อผูกพันตามกฎหมายหรือตามสัญญาหรือตามข้อตกลง ดำเนินโครงการ/รายการที่สามารถดำเนินการได้เร็วกว่าแผน (เดิม) ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากผลกระทบจากการปรับราคาน้ำมันสูงขึ้น
2.2 ค่าใช้จ่ายตามสิทธิฯ เช่น เงินเพิ่มวิทยฐานะ เงินปรับบัญชีค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐค่าตอบแทนบุคลากรด้านสาธารณสุข เป็นต้น
2.3 ค่าใช้จ่ายในโครงการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนโดยตรง
2.4 ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องจ่ายเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของหน่วยงานหากไม่ดำเนินการจะเกิดความเสียหายต่อทางราชการ
ทั้งนี้ ให้เป็นอำนาจของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและจังหวัด พิจารณาดำเนินการได้ตามข้อ 2.1-2.4 ดังกล่าวข้างต้น โดยให้ดำเนินการตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2548 รวมทั้งระเบียบและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป
3. หากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและจังหวัดใดยังมีความจำเป็นต้องปรับแผนฯ นอกเหนือจากกรณีที่กำหนดตามข้อ 2 ให้นำเสนอรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัดแล้วแต่กรณีเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนดำเนินการตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2548 รวมทั้งระเบียบและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และให้นำเสนอกระทรวงเจ้าสังกัดรวบรวมรายการงบประมาณดังกล่าว รายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบต่อไป
4. กรณีที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและจังหวัดดำเนินการตามมาตรการแล้วฯ แต่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและจังหวัดได้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณไปก่อนที่จะทราบมติคณะรัฐมนตรี โดยโอนเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณที่ได้รับจัดสรรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2548 และได้ปรับแผนฯ โดยไม่สอดคล้องกับมาตรการฯ นั้น ให้กระทรวงเจ้าสังกัดดำเนินการรวบรวมรายการงบประมาณในลักษณะดังกล่าวรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบต่อไป
5. เนื่องจากมาตรการฯ ดังกล่าวกำหนดให้ก่อหนี้ผูกพันได้ภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2549 หากคณะรัฐมนตรีมีมติผ่อนผันให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและจังหวัด ก่อหนี้ผูกพันได้ภายหลังกำหนดการดังกล่าว ก็ให้ถือปฏิบัติตามระยะเวลาที่ได้มีการผ่อนผันนั้น
6. เพื่อให้การปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้สำนักงบประมาณมีหน้าที่ติดตามประมวลผล พร้อมวินิจฉัยการปฏิบัติตามมาตรการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้จ่ายงบประมาณ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2549
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 สิงหาคม 2549--จบ--