โครงการแทรกแซงตลาดน้ำมันปาล์มดิบ ปี 2551/52 (เพิ่มเติม)

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday February 18, 2009 11:27 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการดำเนินโครงการแทรกแซงตลาดน้ำมันปาล์ม ปี 2551/52 (เพิ่มเติม) ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ได้แก่ การขยายปริมาณรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบ ขยายระยะเวลารับซื้อผลปาล์ม ดังนี้

(1) ขยายปริมาณรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบจากเดิม 100,000 ตัน เป็น 200,000 ตัน

(2) ขยายระยะเวลารับซื้อผลปาล์มจากเดิมสิ้นเดือนมกราคม 2552 ออกไปถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม 2552 โดยให้องค์การคลังสินค้าเข้า แทรกแซงรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบ เมื่อราคารับซื้อผลปาล์มทะลาย ณ หน้าโรงงานสกัดฯ ต่ำกว่า กก.ละ 3.50 บาท (น้ำมันร้อยละ 17) โดย

คงราคารับซื้อน้ำมันปาล์มดิบ กก.ละ 22.50 บาท (ส่งมอบ ณ คลังเขตกทม.และปริมณฑล)

คงราคารับซื้อผลปาล์มทะลาย กก.ละ 3.50 บาท (น้ำมันร้อยละ17) ส่งมอบ ณ หน้าโรงงานสกัด

คงระยะเวลาโครงการเดือนพฤศจิกายน 2551 — ธันวาคม 2552

สำหรับวงเงินค่าใช้จ่ายในการรับจำนำให้ใช้จากวงเงินกู้สำหรับการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวและผลผลิตทางการเกษตร วงเงิน 110,000 ล้านบาท และจากกรอบวงเงินเพิ่มเติมสำหรับการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตร วงเงิน 13,580.75 ล้านบาท ที่คณะรัฐมนตรีได้ อนุมัติไว้แล้ว ทั้งนี้ ที่ประชุมมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ) รับไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ สำนักงบประมาณ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาแนวทางการดำเนินการและการบริหารจัดการด้านการเงินให้ เหมาะสมต่อไป

ข้อเท็จจริง

1. ผลการดำเนินโครงการฯ

(1) การรับสมัคร—อนุมัติ-เปิดจุดรับซื้อ อคส.เป็นผู้ดำเนินการโดยได้อนุมัติโรงงานสกัดฯ เข้าร่วมโครงการ 42 โรงงาน ใน 7 จังหวัด มีโรงงานสกัดฯ เปิดจุดรับซื้อ 16 โรงงาน ใน 6 จังหวัด (จ.กระบี่ สุราษฎร์ธานี ชุมพร ตรัง สตูล ชลบุรี) และได้จัดสรรการรับซื้อ ตามสัดส่วนผลผลิตแต่ละจังหวัดและตามกำลังการผลิตแต่ละโรงงาน

(2) ผลการรับซื้อ เริ่มเปิดจุดรับซื้อ 12 มกราคม 2552 ถึง 31 มกราคม 2552 มีเกษตรกรนำผลปาล์มขายรวมปริมาณ 95.90 ตัน สกัดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 16.31 ตัน

(3) วงเงินรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบและ

2. สถานการณ์ ปี 2552

             (1) ราคา  (บาท/กก.)               ก่อนแทรกแซง          ระหว่างแทรกแซง           ปัจจุบัน
                                              ตค.51    พย.51        ธค.51    มค.52         13 กพ.52
                 ผลปาล์มทะลาย ณ หน้าโรงสกัด       2.93     2.88         3.06     3.58        3.90-4.35
                 น้ำมันปาล์มดิบ  ไทย(กทม.)        17.02    18.32        20.32    23.42      26.50-26.75
                             มาเลเซีย          16.98    15.00        15.37    18.25            18.89

(2) สต็อคน้ำมันปาล์มทั้งระบบ ลดลงจาก 170,677 ตัน ณ สิ้นเดือน ตุลาคม 2551 (ก่อน-แทรกแซง) เหลือ 107,947 ตัน ณ สิ้นเดือน ธันวาคม 2551

(3) ผลผลิต กระทรวงเกษตรฯ พยากรณ์ว่า ปี 52 มีผลปาล์มทะลาย 9.433 ล้านตันเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.49 ดังนี้

   ผลปาล์มทะลาย  (ล้านตัน)          ปี 2551          ปี 2552        %เพิ่ม
          ณ เดือน ม.ค.51           7.873               -           -
          ณ เดือน ม.ค.52           9.028           9.433       +4.49
   น้ำมันปาล์มดิบ  (ล้านตัน)            1.544           1.605       +3.95

(4) ฤดูกาล กระทรวงเกษตรฯ พยากรณ์ว่า ผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากขึ้นตามลำดับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ (7.50%) และช่วงเดือน มีนาคม — กันยายน 2552 จะมีปริมาณมากต่อเนื่อง ในสัดส่วนเดือนละ 8.50-9.00% ของปริมาณรวมทั้งปี

(5) ประมาณการสต็อคสิ้นปี 2552 จากการคำนวณผลปาล์ม 9.433 ล้านตัน x น้ำมัน 17% จะได้ผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบ 1.605 ล้านตัน การใช้ผลิตน้ำมันพืช(เพื่อบริโภค อุตสาหกรรมและส่งออก) คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 5 เป็นประมาณ 1.055 ล้านตัน การใช้ผลิตไบโอดีเซลประมาณ 0.350 ล้านตัน (กระทรวงพลังงาน) ดังนั้น ในเบื้องต้นจะเหลือผลผลิตส่วนเกิน ประมาณ 0.307 ล้านตัน

3. แผนการระบาย เมื่อได้รับซื้อน้ำมันปาล์มดิบใน ปี 2552 ได้วางแนวทางการระบายไว้ 3 แนวทาง ดังนี้ (1) จำหน่ายเพื่อ ผลิตไบโอดีเซล (2) จำหน่ายเพื่อผลิตน้ำมันพืช (3) จำหน่ายเพื่อส่งออกตามความเหมาะสมกับสถานการณ์

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2552 --จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ