แท็ก
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ร่างพระราชบัญญัติ
คณะรัฐมนตรี
รัฐธรรมนูญ
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอ โดยให้ตัดข้อความในวรรคที่ถัดจากคำปรารภเกี่ยวกับการอ้างบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจตรากฎหมายจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลออกทั้งวรรค และให้นำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1. เปลี่ยนชื่อร่างพระราชบัญญัติเป็น “ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ....” เพื่อให้เกิดความชัดเจน และสอดคล้องกับเจตนารมณ์และสาระสำคัญของกฎหมาย
2. กำหนดนิยามคำว่า “ระบบคอมพิวเตอร์” “ข้อมูลคอมพิวเตอร์” “ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” “ผู้ให้บริการ” และ “ผู้ใช้บริการ” เพื่อให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น
3. กำหนดฐานความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เช่น การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน การเปิดเผยมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ การดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ การทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ การทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นไม่สามารถทำงานได้ การทำข้อมูลเพื่อให้ผู้อื่นเชื่อว่าเป็นบุคคลที่สามหรือจัดทำโดยบุคคลที่สาม การทำข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ หรือเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หรือมีลักษณะอันเป็นการลามกเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ การนำภาพของผู้อื่นและภาพนั้นเป็นภาพที่สร้างขึ้น ตัดต่อ เติมหรือดัดแปลงเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ โดยประการที่อาจจะทำให้ผู้อื่นเสียหาย
4. กำหนดอำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการสั่งให้ส่งข้อมูลหรืออุปกรณ์เท่าที่จำเป็น การทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ให้ชัดเจนในกรณีที่มีเหตุสงสัยว่ามีการกระทำความผิด การตรวจสอบหรือเข้าถึงข้อมูลที่ใช้เป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานในการกระทำความผิด การถอดรหัสลับหรือส่งให้บุคคลอื่นกระทำการแทนอำนาจในการยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิด ซึ่งการยึดหรืออายัดดังกล่าวพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องทำเป็นหนังสือไว้เป็นหลักฐาน อำนาจในการสั่งห้ามจำหน่ายเผยแพร่ ระงับการใช้ ทำลาย หรือแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์
5. กำหนดห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการแก่บุคคลใด และบทกำหนดโทษแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ฝ่าฝืนหรือกระทำโดยประมาทเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว
6. บทกำหนดโทษแก่ผู้อื่นที่ล่วงรู้ข้อมูลที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มา และเปิดเผยข้อมูลนั้นเป็นความผิด
7. กำหนดให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาจากการกระทำความผิดตามมาตรา 20 มาตรา 21 หรือมาตรา 22 จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการดำเนินการใด ๆ อันเป็นโทษแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลดังกล่าวไม่ได้
8. กำหนดให้ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการที่ปรากฏในสัญญา โดยบังคับกับผู้ให้บริการประเภทใด เมื่อใด ให้เป็นไปภายในเงื่อนไขตามที่กำหนด
9. กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้ชำระค่าปรับทางปกครองในกรณีมีการขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
10. กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่รัฐมนตรีกำหนด เป็นพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งในการจับ ควบคุม ค้น สอบสวน และดำเนินคดีผู้กระทำความผิด กำหนดให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาตามอาญา ดำเนินการได้เฉพาะตามที่ได้รับการร้องขอจากพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยให้นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมกันกำหนดระเบียบในการดำเนินการดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 31 ตุลาคม 2549--จบ--
ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1. เปลี่ยนชื่อร่างพระราชบัญญัติเป็น “ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ....” เพื่อให้เกิดความชัดเจน และสอดคล้องกับเจตนารมณ์และสาระสำคัญของกฎหมาย
2. กำหนดนิยามคำว่า “ระบบคอมพิวเตอร์” “ข้อมูลคอมพิวเตอร์” “ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” “ผู้ให้บริการ” และ “ผู้ใช้บริการ” เพื่อให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น
3. กำหนดฐานความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เช่น การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน การเปิดเผยมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ การดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ การทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ การทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นไม่สามารถทำงานได้ การทำข้อมูลเพื่อให้ผู้อื่นเชื่อว่าเป็นบุคคลที่สามหรือจัดทำโดยบุคคลที่สาม การทำข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ หรือเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หรือมีลักษณะอันเป็นการลามกเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ การนำภาพของผู้อื่นและภาพนั้นเป็นภาพที่สร้างขึ้น ตัดต่อ เติมหรือดัดแปลงเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ โดยประการที่อาจจะทำให้ผู้อื่นเสียหาย
4. กำหนดอำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการสั่งให้ส่งข้อมูลหรืออุปกรณ์เท่าที่จำเป็น การทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ให้ชัดเจนในกรณีที่มีเหตุสงสัยว่ามีการกระทำความผิด การตรวจสอบหรือเข้าถึงข้อมูลที่ใช้เป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานในการกระทำความผิด การถอดรหัสลับหรือส่งให้บุคคลอื่นกระทำการแทนอำนาจในการยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิด ซึ่งการยึดหรืออายัดดังกล่าวพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องทำเป็นหนังสือไว้เป็นหลักฐาน อำนาจในการสั่งห้ามจำหน่ายเผยแพร่ ระงับการใช้ ทำลาย หรือแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์
5. กำหนดห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการแก่บุคคลใด และบทกำหนดโทษแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ฝ่าฝืนหรือกระทำโดยประมาทเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว
6. บทกำหนดโทษแก่ผู้อื่นที่ล่วงรู้ข้อมูลที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มา และเปิดเผยข้อมูลนั้นเป็นความผิด
7. กำหนดให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาจากการกระทำความผิดตามมาตรา 20 มาตรา 21 หรือมาตรา 22 จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการดำเนินการใด ๆ อันเป็นโทษแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลดังกล่าวไม่ได้
8. กำหนดให้ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการที่ปรากฏในสัญญา โดยบังคับกับผู้ให้บริการประเภทใด เมื่อใด ให้เป็นไปภายในเงื่อนไขตามที่กำหนด
9. กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้ชำระค่าปรับทางปกครองในกรณีมีการขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
10. กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่รัฐมนตรีกำหนด เป็นพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งในการจับ ควบคุม ค้น สอบสวน และดำเนินคดีผู้กระทำความผิด กำหนดให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาตามอาญา ดำเนินการได้เฉพาะตามที่ได้รับการร้องขอจากพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยให้นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมกันกำหนดระเบียบในการดำเนินการดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 31 ตุลาคม 2549--จบ--