สรุปสถานการณ์ภัยหนาว ภัยแล้ง และการให้ความช่วยเหลือ (ข้อมูล ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2552)

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday February 18, 2009 15:37 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ติดตามสถานการณ์ภัยหนาวและภัยแล้งที่เกิดขึ้น และการให้ความช่วยเหลือ (ข้อมูล ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2552) สรุปสถานการณ์ภัยหนาวและภัยแล้ง ดังกล่าว รวมทั้งผลการปฏิบัติงานช่วยเหลือ ประชาชน ดังนี้

1. สรุปสถานการณ์ภัยหนาวและการให้ความช่วยเหลือ (ข้อมูล ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2552)

1.1 พื้นที่ประสบภัยหนาวที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส และได้ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินแล้ว จำนวน 49 จังหวัด ยกเว้น 3 จังหวัดที่ยังไม่ได้ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยหนาว) ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง และจังหวัด ปราจีนบุรี

1.2 จังหวัดที่ประสบภัยหนาวในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะ กิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาวระดับจังหวัด ปี 2551-2552 ณ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และมี 52 จังหวัด รายงานว่า ได้มอบ ผ้าห่มกันหนาวให้แก่ประชาชนที่ขาดแคลนใน 610 อำเภอ 4,602 ตำบล 54,582 หมู่บ้าน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณ ภัย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) สมาคม มูลนิธิ ไปแล้ว รวม 3,170,470 ชิ้น (ผ้าห่มนวม 2,988,786 ผืน เสื้อกันหนาว 152,985 ตัว หมวกไหมพรม 6,041 ชิ้น อื่น ๆ 22,658 ชิ้น)

ที่  ภาค         จังหวัดที่แจกจ่ายเครื่องกันหนาว             จำนวนราษฎรเดือดร้อนจากภัยหนาว          จำนวนเครื่องกันหนาว
                                                        คน          ครัวเรือน             ที่แจกจ่ายแล้ว (ชิ้น)
1  เหนือ        เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา แพร่ น่าน     3,247,707        1,180,673                   1,206,032

ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน เพชรบูรณ์

อุตรดิตถ์ อุทัยธานี ตาก กำแพงเพชร

พิจิตร นครสวรรค์ พิษณุโลก สุโขทัย

2  ตะวันออก     กาฬสินธุ์ ขอนแก่น นครพนม สกลนคร       5,131,415        2,245,961                   1,654,684
เฉียงเหนือ    มุกดาหาร เลย อุดรธานี ร้อยเอ็ด

หนองคาย อำนาจเจริญ หนองบัวลำภู

บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ นครราชสีมา สุรินทร์

มหาสารคาม ยโสธร ชัยภูมิ อุบลราชธานี

3  กลาง        สระบุรี ลพบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี       534,716          328,660                     225,767

สุพรรณบุรี อ่างทอง นครปฐม ชัยนาท

ราชบุรี กาญจนบุรี พระนครศรีอยุธยา

4  ตะวันออก     จันทบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา              485,805          172,851                     83,987

นครนายก ปราจีนบุรี

   รวม         52 จังหวัด 610 อำเภอ 4,602          9,399,643        3,928,145                  3,170,470

ตำบล 54,582 หมู่บ้าน

1.3 กระทรวงการคลัง ได้อนุมัติเมื่อวันที่ 9 ,12 และ 23 มกราคม 2552 ให้ 38 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก พะเยา ตาก ลำปาง สกลนคร ขอนแก่น แพร่ น่าน เชียงราย นครพนม ศรีสะเกษ เชียงใหม่ อุดรธานี เลย นครราชสีมา สระบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี นครนายก เพชรบุรี สุรินทร์ บุรีรัมย์ ชัยภูมิ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร กำแพงเพชร พิจิตร อุทัยธานี เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ อุบลราชธานี ยโสธร อำนาจเจริญ หนองคาย ชัยนาท และจังหวัดลพบุรี ที่ขอขยายวงเงิน โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถใช้จ่ายเงินทดรองราชการในอำนาจ (งบ 50 ล้านบาท) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อเครื่องกันหนาวในพื้นที่ที่ได้ประกาศให้เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยหนาว) ในปีงบ ประมาณ พ.ศ. 2552 ได้เท่าที่จ่ายจริงคนละไม่เกิน 240 บาท ภายในวงเงินรวมทั้งสิ้น 716,505,272 บาท

1.4 การให้ความช่วยเหลือ (สิ่งของพระราชทาน)

มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ นำโดยนายดิสธร วัชโรทัย ประธานกรรมการบริหาร และนายประสงค์ พิทูรกิจจา เลขาธิการมูลนิธิฯ พร้อมคณะส่วนกลาง เดินทางไปมอบผ้าห่มกันหนาวพระราชทาน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ราษฎรที่ประสบภัยหนาว ในท้องที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2552 จำนวน 1,536 ครอบครัว ดังนี้

  • อบต.ห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 1,036 ครอบครัว
  • อบต.ป่าเด็ง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 500 ครอบครัว

2. สรุปสถานการณ์ภัยแล้งและการให้ความช่วยเหลือ (ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2551 — 16 กุมภาพันธ์ 2552)

2.1 พื้นที่ประสบภัย 19 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร ตาก น่าน พิจิตร แพร่ ลำปาง พิษณุโลก สุโขทัย ชัยภูมิ ขอนแก่น ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี ตราด สระแก้ว จันทบุรี ระยอง ชุมพร และจังหวัดตรัง รวม 101 อำเภอ 618 ตำบล 4,643 หมู่บ้าน (คิด เป็น 28.14 % ของหมู่บ้านทั้งหมดใน 19 จังหวัดที่ประสบภัยแล้ง และคิดเป็น 6.20 % ของหมู่บ้านทั้งประเทศ 74,944 หมู่บ้าน) แยกเป็น

ที่                          พื้นที่ประสบภัย                                                     ราษฎรประสบภัย
    ภาค       จังหวัด       อำเภอ       ตำบล      หมู่บ้าน    รายชื่อจังหวัด                      คน       ครัวเรือน
1   เหนือ          8          55        350      2,459    กำแพงเพชร ตาก น่าน พิจิตร     769,733       227,219

แพร่ ลำปาง พิษณุโลก สุโขทัย

2   ตะวันออก       2          12         82        776    ชัยภูมิ ขอนแก่น                393,888        89,693
เฉียงเหนือ
3   กลาง          3          12         87        306    ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี   135,426        32,229
4   ตะวันออก       4          17         80        994    ตราด สระแก้ว จันทบุรี สระแก้ว   455,680       146,840
5   ใต้            2           5         19        108    ชุมพร ตรัง                    23,184         6,781
    รวมทั้งประเทศ  19         101        618      4,643                             1,777,911       502,762

ตารางข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งเปรียบเทียบกับจำนวนพื้นที่ประสบภัยแล้งใน 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา
ที่  ภาค          จำนวนหมู่บ้าน      27 ม.ค. 2552        3 ก.พ. 2552        10 ก.พ. 2552        16 ก.พ. 2552
                     ทั้งหมด    หมู่บ้าน      + เพิ่ม  หมู่บ้าน     + เพิ่ม      หมู่บ้าน     + เพิ่ม      หมู่บ้าน     + เพิ่ม
                                          - ลด             - ลด                 - ลด                 - ลด
1  เหนือ             16,504    1,253        -    1,469      +216      1,736      +267      2,459     + 723
2  ตะวันออกเฉียง      33,123        -        -      156      +156        156         0        776     + 620
เหนือ
3  กลาง             11,809      148        -      148         0        174      + 26        306     + 132
4  ตะวันออก           4,857      121        -      196      + 75        196         0        994     + 798
5  ใต้                8,651        -        -        -         -         28       +28        108      + 80
   รวม              74,944    1,522        -    1,969      +447      2,290     + 321      4,643   + 2,353

ตารางเปรียบเทียบข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งปี 2552 กับปี 2551 ในห้วงเวลาเดียวกัน

ที่   ภาค      จำนวนหมู่บ้าน             ข้อมูลปี  2552               ข้อมูลปี  2551            เปรียบเทียบข้อมูลภัย
               ทั้งประเทศ      (ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2552)    (ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2551)    แล้ง ปี 2552 กับปี 2551
                                หมู่บ้าน     คิดเป็นร้อยละ       หมู่บ้าน     คิดเป็นร้อยละ       จำนวน    คิดเป็นร้อย
                               ที่ประสบ    (ของหมู่บ้านทั้ง      ที่ประสบ    (ของหมู่บ้านทั้ง       หมู่บ้าน     ละของหมู่
                                ภัยแล้ง        ประเทศ)       ภัยแล้ง      ทั้งประเทศ)      + เพิ่ม/     บ้านที่ประ
  • ลด สบภัยแล้ง

ปี 2551

1   เหนือ         16,504         2,459          14.90       1,312           7.95    + 1,147      + 87.42
2   ตะวันออก      33,123           776           2.34       2,443           7.38    - 1,667      - 68.24
เฉียงเหนือ
3   กลาง         11,809           306           2.59         204           1.73      + 102      + 50.00
4   ตะวันออก       4,857           994          20.46         568          11.69      + 426      + 75.00
5   ใต้            8,651           108           1.25           -              -      + 108            -
    รวม          74,944         4,643           6.20       4,527           6.04      + 116       + 2.56

เปรียบเทียบช่วงเวลาเดียวกันของปี 2551 มีจังหวัดที่ประสบภัยแล้ง รวม 23 จังหวัด 136 อำเภอ 675 ตำบล 4,527 หมู่บ้าน (หมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง 4,527 หมู่บ้าน คิดเป็น 17.52 % ของหมู่บ้านทั้งหมดใน 23 จังหวัดที่ประสบภัยแล้ง และคิดเป็น 6.04 % ของหมู่บ้านทั้ง หมดของประเทศ) ปี 2552 มากกว่าปี 2551 จำนวน 116 หมู่บ้าน

2.2 ความเสียหาย

  • ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 1,777,911 คน 502,762 ครัวเรือน
  • พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะเสียหาย รวม 58,799 ไร่ แยกเป็น พืชไร่ 47,165 ไร่ นาข้าว 10,382 ไร่ พืชสวน
1,252 ไร่

2.3 การให้ความช่วยเหลือ

1) ใช้รถบรรทุกน้ำ 156 คัน แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภคแล้ว จำนวน 19,615,170 ลิตร

2) ซ่อมสร้างทำนบ/ฝายชั่วคราวปิดกั้นลำน้ำ 753 แห่ง

3) ขุดลอกแหล่งน้ำ 8 แห่ง

4) งบประมาณดำเนินการใช้จ่ายไปแล้ว 177,342,991 บาท แยกเป็น

  • งบทดรองราชการของจังหวัด (50 ล้านบาท) 48,430,005 บาท
  • งบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 128,812,986 บาท
  • งบอื่น ๆ 100,000 บาท

5) กรมชลประทาน ได้จัดส่งเครื่องสูบน้ำ 676 เครื่อง ไปให้ความช่วยเหลือ โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้ ภาคเหนือ 164 เครื่อง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 297 เครื่อง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคกลาง 212 เครื่อง และภาคใต้ 3 เครื่อง รถบรรทุกน้ำ จำนวน 295 คัน

6) การประปาส่วนภูมิภาค สำนักงานการประปาส่วนภูมิภาค 228 แห่ง สนับสนุนน้ำฟรี ให้แก่รถบรรทุกน้ำ ของทางราชการที่ นำไปช่วยเหลือประชาชน โดยหน่วยงานที่ขอรับการสนับสนุนจะต้องมีหนังสือแจ้งพร้อมระบุหมายเลขทะเบียนรถบรรทุกน้ำให้แก่สำนักงานการประปา ด้วย ซึ่งตั้งแต่เดือนมกราคม 2552 ได้สนับสนุน จ่ายน้ำช่วยเหลือภัยแล้งไปแล้ว จำนวน 22 ล้านลิตร

3. การประชุมเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ภัยแล้ง ปี 2552

เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2552 กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการ อำนวยการศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ปี 2552 ครั้งที่ 1/2552 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล) เป็นประธานการประชุม ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้แทนส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อรับทราบสถานการณ์น้ำ ต้นทุนในอ่างเก็บน้ำของประเทศ และแนวโน้มสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้น เพื่อกำหนดแนวทางและมาตรการเร่งด่วนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัย แล้งในห้วงระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน 2552 รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้ประสบภัยให้เป็นไปอย่างรวดเร็วและ ทันต่อเหตุการณ์ โดยให้จังหวัดดำเนินการเพิ่มเติมและขอความร่วมมือส่วนราชการให้การสนับสนุนแก่จังหวัด ดังนี้

3.1 มาตรการเร่งด่วน 6 ข้อ ประกอบด้วย

1) การจัดหาน้ำอุปโภคบริโภค ให้อำเภอประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดตั้งศูนย์แจกจ่ายน้ำประจำหมู่บ้าน บริหาร จัดการประปาชุมชนให้เพียงพอ จัดหาแหล่งน้ำเพิ่มเติม (ซ่อม/เป่าล้างบ่อบาดาล จัดหาถังน้ำกลาง ขุดลอกแหล่งน้ำ) ให้พอใช้ตลอดช่วงฤดูแล้ง

2) การจัดหาน้ำเพื่อการเกษตร ให้จังหวัดประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการลุ่ม น้ำจังหวัดทุกสัปดาห์ เพื่อบริหารการจัด สรรน้ำให้ทั่วถึง ป้องกันความขัดแย้ง และขอความร่วมมือเกษตรกรปลูกพืช ตามแผน/งดทำนาปรัง ครั้งที่ 2 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำหนด ตลอดจนติดตามสภาวะอากาศเพื่อประสานงานกับสำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ทำฝนหลวงเมื่ออากาศอำนวย

3) การสร้างรายได้และส่งเสริมอาชีพระยะสั้น ให้ดำเนินการจัดฝึกอบรมอาชีพระยะสั้นให้แก่ราษฎรในหมู่บ้านที่ประสบภัย แล้ง โดยประสานงานกับสำนักงานแรงงานจังหวัด รวมทั้งขอความร่วมมือให้ผู้รับเหมาโครงการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจ้างแรงงานในหมู่บ้าน ร่วมโครงการเพื่อเป็นการสร้างรายได้ และป้องกันปัญหาการอพยพเข้ามาหางานในเมือง

4) การควบคุมและป้องกันโรค ให้สาธารณสุขจังหวัดดูแลป้องกันโรคในช่วง ฤดูร้อนตลอดจนตรวจสอบเฝ้าระวังความสะอาด ของตลาดสด ร้านอาหารและน้ำดื่มอย่างต่อเนื่อง โดยออกหน่วยให้ความรู้ แก่ประชาชนจัดทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วออกไปสอบสวนโรคในพื้นที่ ทันทีที่ได้รับรายงาน

5) ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ให้กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดร่วมกับฝ่ายปกครองกำหนดแผนป้องกันและปราบ ปรามโจรผู้ร้ายในช่วงฤดูแล้ง มิให้ลักขโมยเครื่องมือเกษตร เครื่องสูบน้ำ หรือโค กระบือ เพื่อมิให้ประชาชนผู้ประสบภัยได้รับความเดือดร้อนซ้ำเติม อีก

6) การระมัดระวังเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติอื่นๆ ในช่วงฤดูร้อน ได้แก่

  • พายุฤดูร้อน ในช่วงฤดูร้อนอาจจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นได้บ่อยครั้งซึ่งจะส่งผลกระทบต่อชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งปลูกสร้าง
ตลอดจนพืชผลทางการเกษตร ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำชับเจ้าหน้าที่ติดตามการพยากรณ์อากาศอย่างใกล้ชิด ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของ
ป้ายโฆษณาต่างๆ หากพบว่าไม่ปลอดภัย หรือติดตั้งโดยไม่ได้รับอนุญาต ให้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่อย่างเคร่งครัด และแจ้งเตือนให้ประชาชนระมัด
ระวังตลอดจนดูแลบ้านเรือน โรงเรือนต่างๆ ให้อยู่ในสภาพที่แข็งแรงและปลอดภัย สำหรับเกษตรกรชาวสวนให้ดูแลและค้ำยันต้นไม้ ให้แข็งแรงเพื่อ
ป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
  • อัคคีภัยและไฟป่า ช่วงฤดูร้อนจะมีลักษณะอากาศแห้ง ซึ่งเอื้ออำนวยต่อการเกิดอัคคีภัย และไฟป่าได้ง่าย ให้แจ้ง
ประชาชนระมัดระวังการใช้เชื้อเพลิงในกิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงงดการเผาหญ้าริมทางและเผาฟางข้าวเพื่อลดมลภาวะทางอากาศที่มีผลกระทบต่อสิ่ง
แวดล้อม และเป็นการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนอีกทางหนึ่ง

3.2 ด้านการประสานการปฏิบัติและการให้การสนับสนุนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

1) ขอความร่วมมือทุกส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือกับศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัย แล้งจังหวัด ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ เพื่อให้มีการบูรณาการ การปฏิบัติและใช้ข้อมูลเดียวกันสำหรับการช่วยเหลือผู้ประสบภัย

2) ให้การสนับสนุนงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์และกำลังคน แก่จังหวัดโดยเร็วเมื่อได้รับการร้องขอ

4. การคาดหมายลักษณะอากาศ ระหว่างวันที่ 16-20 กุมภาพันธ์ 2552

4.1 กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายลักษณะอากาศว่า บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียง เหนือของประเทศไทย และทะเลจีนใต้ ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคตะวันออก และภาคกลาง ทำให้ บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้ใน บางพื้นที่

4.2 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้ง เตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ไว้ให้พร้อมเพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันต่อเหตุการณ์เมื่อเกิดสาธารณภัยขึ้น

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2552 --จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ